รูปคชสีห์

ด้ามกระบี่รูปคชสีห์

            กระบี่ของกองทัพไทยเดิมนั้นด้ามเป็นหัวคชสีห์      ซึ่งเป็นเครื่องหมายของกระทรวงกลาโหม  มีความหมายว่า "ราชสีห์"  เป็นผู้มีอำนาจ  มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด     "ช้าง"  เป็นผู้มีกำลัง กระทรวงกลาโหมนั้น   ต้องเป็นผู้ที่ใช้ทั้งอำนาจ  สติปัญญา  และกำลังประกอบกัน   จึงจะสามารถปกป้องบ้านเมืองไว้ได้    จึงใช้เครื่องหมายคชสีห์    ส่วนมหาดไทยหรือแต่เดิมคือ สมุหนายกนั้นใช้ตราราชสีห์  ซึ่งเป็นเครื่องหมายของอำนาจและสติปัญญาใช้ในการดูแลปกครองประชาชนเท่านั้นไม่ต้องใช้กำลัง                                             
            อนึ่งลายกนกของพระราชสีห์นั้นเหยียดตรงเกือบตั้งฉากกับหัวของราชสีห์   ส่วนลายกนกของพระคชสีห์นั้นลาดไปข้างหน้าประมาณสี่สิบห้าองศา    ทำให้ได้แนวความคิดในการออกแบบด้ามกระบี่คชสีห์ที่จะสามารถจะแก้ปัญหาที่    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่าเมื่อทรงถือแล้วเจ็บได้อย่างเด็ดขาดและได้คชสีห์ที่ถูกต้องตามหลักฐาน                                                    

ใบกระบี่

 การออกแบบลายบนใบกระบี่กรมสรรพาวุธทหารบก   ได้พยายามค้นคว้าข้อมูลตลอดจนได้ปรึกษาท่านผู้รู้ต่างๆ
เล่มแรกเป็นกระบี่ด้ามงาช้างสันนิษฐานว่า  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับพระบรมวงศานุวงศ์   โดยที่ด้ามกระบี่มีตรามงกุฏครอบช้างสามเศียรหล่อติดไว้   ซึ่งข้าราชการทั่วไปไม่อาจใช้เครื่องหมายเช่นนี้   นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์โดยทรงพระแสงกระบี่ชุดนี้ด้วย   เนื่องจากกระบี่นี้น่าจะเป็นกระบี่ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นชุดแรกๆ จึงน่าจะลอกลายกระบี่ที่ปรากฏอยู่บนกระบี่เล่มนี้   ถ่ายทอดวงบนพระแสงกระบี่ใหม่นี้ด้วย     กรมสรรพาวุธทหารบก   จึงได้ออกลายกระบี่นี้และถ่ายทอดลงบนใบพระแสงกระบี่ด้านขวา   (เมื่อหันคมออกจากตัว)         นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเติมพระปรมาภิไธย  "ภปร" เอาไว้ตรงส่วนกลางของลาย   และนำเอาพระราชลัญจกรประจำพระองค์ไว้ตรงโคนกระบี่ด้วย
เล่มที่สอง  เป็นกระบี่หัวคชสีห์ที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของกรมสรรพาวุธทหารบก   เป็นกระบี่ของพันเอกพระเฉลิมอากาศ   ซึ่งมีข้อความสลักไว้ที่กระบี่ว่า  "ที่ระลึกในการสงครามโลก ฑ.๕.๒๔๖๑ จาก พันเอกพระเฉลิมอากาศ (สุวรรณประทีป) ผู้บังคับการกองทหารม้าในราชการสงคราม"   ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า   ในสมัยก่อนนั้นกระบี่นายทหารแห่งกองทัพไทย   ใช้ด้ามกระบี่รูปหัวคชสีห์   ซึ่งเป็นตราของกระทรวงกลาโหม   แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหัวช้างเมื่อใด  ด้วยคำสั่งและเหตุผลใด   ปัจจุบันยังไม่สามารถหาหลักฐานได้   อย่างไรก็ตามลายไทยที่ปรากฏบนตัวกระบี่มีความสวยงาม      จึงคัดลอกลายกระบี่ลงไว้บนตัวพระแสงกระบี่ด้านซ้าย (เมื่อหันคมกระบี่ออกจากตัว)   และได้นำเอาตราแผ่นดินมาไว้ตรงบริเวณโคนกระบี่ด้านข้างนี้ด้วย  

 การผลิตใบกระบี่   ใบกระบี่นายทหารทั่วไปเดิมเป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ   แต่เนื่องจากเหล็กมีน้ำหนักมาก     เพื่อเป็นการลดน้ำหนักกรมสรรพาวุธทหารบก     จึงได้ตัดสินใจใช้อลูมินัมอัลลอยใช้ในการผลิตรังเพลิง  หัวรบ  และท่อแก๊ส (Nozzle) ของจรวดต่อสู้รถถัง   ทำให้ใบพระแสงกระบี่มีความแข็งแรงประหนึ่งเหล็กกล้า     มีส่วนผสมของโครเมียม  อยู่   ซึ่งเมื่อนำมาปัดแล้วผิวจะเป็นมันเรียบสวยงามเสมือนหนึ่งเหล็กชุบโครเมียม   ภายหลังจากการกัดลายบนตัวใบพระแสงกระบี่แล้ว   ก็จะนำใบกระบี่นี้มาทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำกรด  ล้างน้ำสะอาด  เช็ดให้แห้ง   จากนั้นจึงนำมาปัดให้มันเคลือบอบด้วยเทฟลอนน ี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดสนิมการกัดกร่อน

 ฝักพระแสงกระบี่
่เดิมนั้นตั้งใจผลิตด้วยอลูมินัมอัลลอย    แต่เนื่องจากี้แข็งแต่เปราะ ทำให้เนื้อโลหะเป็นรอยร้าวไม่สวยงาม   ดังนั้นจึงต้องใช้ฝักกระบี่ที่ผลิตด้วยเนื้อทองเหลืองผสมนิเกิลดังที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน

 ลวดพันด้ามกระบี่

กระบี่ที่ผลิตใช้แจกจ่ายนายทหารทั่วไปใช้ลวดทองเหลืองนำมาชุบโครเมียม   ซึ่งเมื่อใช้ไประยะหนึ่งโครเมียมหลุดออกก็จะดำ   กรมสรรพาวุธทหารบก   จึงได้ตัดสินใจใช้ทองขาว   ซึ่งเป็นส่วนผสมของทองคำ  ร้อยละ ๗๐   ทองคำขาว ร้อยละ ๒๐   และเงิน ร้อยละ ๑๐  มาผสมกัน แล้วนำไปชุบทองคำขาวอีกชั้นหนึ่ง     ด้วยวัสดุและกรรมวิธีนี้ลวดพันด้ามกระบี่จะไม่มีวันหมองและดำ

โกร่งพระแสงกระบี่
โกร่งพระแสงกระบี่ผลิตด้วยเนื้อทองเหลือง   ผสมนิเกิ้ลเช่นเดียวกับกระบี่ที่ผลิตแจกจ่ายนายทหารทั่วไป   แต่รีดให้บางกว่าเพื่อลดน้ำหนัก

ยางรองพระแสงกระบี่ ผลิตด้วยยางซิลิโคน จึงให้ความนุ่มนวล   มีการยึดติดที่ดี ทนความร้อน ไม่ฉีกขาดง่าย

หน้าที่ผ่านมา

[Home] [ประวัติความเป็นมา] [เดินชมพิพิธภัณฑ์] [ปืนดีที่สะพานแดง] [ผลงานที่ภูมิใจ] [ห้องภาพ]