บทความเกี่ยวกับ Overhead Projector




ส่วนประกอบภายใน Overhead Projector
       1.หลอดฉาย (Projection lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสง มักเป็นหลอดแฮโลเจน 220 โวลต์ กำลัง 650 วัตต์ หรือหลอดว๊อตไอโอดีน 24 โวลต์ กำลัง 250 วัตต์ แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต และยังสามารถปรับหรี่ความเข้มให้มากน้อยได้ตามต้องการด้วย
       2.แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) มักเป็นโลหะเว้าเป็นหลุมคล้ายเตาขนมครก ฉาบด้วยเงินหรือปรอท ทำหน้าที่หักเหและสะท้อนแสงที่ออกจากทางด้านหลังของหลอดฉายให้กลับไปทางด้านหน้าทำให้แสงมีความเข้มมากขึ้น
       3.เลนส์ควบแสงหรือเลนส์รวมแสง (Condenser lens) ลักษณะเป็นเลนส์นูนวางอยู่เหนือหลอดฉาย ทำหน้าที่บีบแสงให้มีความเข้มมากขึ้น ปัจจุบันเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะส่วนใหญ่จะไม่มีเลนส์ชุดนี้แล้ว เพราะใช้เลนส์เกลียแสฃแทน
       4.เลนส์เกลียแสง (Fresnel lens ) เป็นเลนส์ชนิดพิเศษมีขนาดโตกว่าแทนวางวัสดุฉายเล็กน้อย วางอยู่ใต้แท่นวางวัสดุฉายหรือเหนือหลอดฉาย ทำหน้าที่เฉลี่ยหรือเกลียแสงที่มาจากหลอดฉายให้ผ่านวัสดุฉายทุกพื้นที่เท่า ๆ กันอย่างทั่วถึง ไม่สว่างเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น (สำหรับเครื่องรุ่นเก่าจะไม่มีเฟรสนัลเลนส์ แต่จะมีเลนส์ควบแสง)
       5.แท่นวางวัสดุฉาย (Transparency table) เป็นส่วนบนของตัวเครื่องฉาย ทำด้วยกระจกใสระนาบมีขนาด 7x7 นิ้ว หรือมาตรฐาน 10x10 นิ้ว หนาประมาณ 4 มม. รอบ ๆ มีหมุดยึดตรึงแผ่นโปร่งใสและบางยี่ห้อมีรางสำหรับวางปากกาด้วย ใช้วางแผ่นโปร่งใสเพื่อให้แสงจากหลอดฉายส่องผ่านทะลุวัสดุฉายขึ้นไผยังเลนส์ฉายด้านบนเหนือแท่นวางวัสดฉายนั่นเอง
       6.เลนส์ฉาย (Objective lens) ลักษณะเป็นเลนส์นูนอยู๋ในส่วนที่เรียกว่า หัวฉาย ซึ่งติดยึดอยู่กับ แขนเครื่องฉาย สามารถปรับเลื่อนขึ้นลงตามแนวดิ่งได้ เลนส์ฉายทำหน้าที่ขยายภาพวัสดุฉายให้มีขนาดโตปรากฏขึ้นบนจอตามต้องการ กลับภาพและปรับความคมชัดของภาพ (โฟกัสภาพ)
       7.กระจกเงาระนาบหรือกระจกเอน (Tilt mirror) ลักษณะเป็นกระจกเงาสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ วางอยู่เหนือเลนส์ฉายด้านหนึ่งติดยึดกับหัวฉาย แต่สามารถปรับให้เอียงทำมุมมากน้อยกับเลนส์ฉายได้ ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์ฉายและหักเหลำแสงให้ไปปรากฏภาพบนจอฉาย
       8.พัดลม (Fan or electric fan) อยู่ภายในตัวเครื่องฉายใกล้ ๆ กับหลอดฉาย ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับหลอดฉาย บางเครื่องมีสวิสช์แยกสำหรับ ปิด-เปิด พัดลมโดยเฉพาะ บางเครื่องเป็นสวิสช์อัตโนมัติ ที่เรียกว่า เทอร์โมสตาท (Thermostat) จะเปิดให้พัดลมทำงานเมื่อเครื่องร้อนและจะหยุดทำงานเมื่อเครื่องเย็นดีแล้ว
ส่วนประกอบภายนอกและรูปแบบ
       1.ตัวเครื่องฉาย มีลักษณะเป็นกล่องมักทำด้วยโลหะแข็งแรง ด้านบนมีกระจกแท่นวางวัสดุฉาย และมุมบนด้านขวามือมีเสาสำหรับติดตั้งหัวฉายซึ่งบางยี่ห้อถอดเก็บได้ ด้านข้างมีแกนยึดแผ่นโปร่งใสแบบม้วน วึ่งสามารถถอดออกได้ ส่วนด้านหลังมีสายไฟ และสวิสช์ควบคุมการทำงานของเครื่อง คือ สวิสช์ปิด - เปิด หลอดฉายและพัดลม (Power ON - OFF) บางเครื่องมีสวิสช์เลือกระดับความเข้มของแสง (Hi - low) หรือบางเครื่องมีปุ่มสำหรับหรี่ ลด - เพิ่ม ความเข้ม (Dimmer) และบางเครื่องมีก้านโยกสำหรับเปลี่ยนหลอดฉายสำรอง (Spare Lamp) เทื่อหลอดใช้งานขาด ส่วนขนาดของเครื่องก็แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใชงานด้านต่าง ๆ
       2.แขนเครื่องฉายและหัวฉาย แขนของเครื่องฉายจะประกบต่ออยู่กับเสาเครื่องฉาย สามารถปรับเลื่อน ขึ้น - ลง ตามแนวดิ่งได้ โดยการหมุนปุ่มสำหรับปรับเลื่อนส่วนปลายแขนเครื่องฉายจะเป็นหัวฉาย ซึ่งภายในมีแก้งเลนส์ฉาย อาจมีชิ้นเดียวหรือเป็นชุด โดยทั่วไปมักมีทางยาวโฟกัสประมาณ 315 มม. สำหรับห้องเรียนปกติ และ 275 มม. สำหรับห้องเรียนเล็ก ๆ ส่วนบนหัวฉายมีกระจกเงาระนาบสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถปรับทำมุมกับเลนส์ฉายได้
       3.อุปกรณ์ประกอบการฉายภาพพิเศษ เป็นส่วนที่ใช้เสริมเทคนิคการนำเสนอ แผ่นโปร่งใสแบบเคลื่อนไหว (Polarizing transparency) ซึ่งจะทำให้ภาพบางส่วนเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น อุปกรณ์ชิ้นนี้เรียกว่า จานหมุน หรือ โพลาไรซ์ฟิลเตอร์ (Polarize filter) หรือ สปินเนอร์ (Spinner) ลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ กลม ฝังอยู่ในกรอบซึ่งมีมอเตอร์รอบช้าขับเคลื่อนให้หมุนช้าหรือเร็วตามต้องการติดยึดไว้ด้วยขาตั้ง ใช้นำมาวางไว้ใต้เลนส์ฉายให้แสงผ่านทะลุแผ่นโปร่งใส ผ่านสปินเนอร์ ผ่านเลนส์ฉายไปปรากฏบนจอภาพ

ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ

กลับหน้าแรก