หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
อริยสัจ
๔ อริยสัจ ๔
แปลว่าความจริงอันประเสริฐ
คือความจริงที่ทำให้ผู้รู้แจ้งพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง
มี ๔ ประการ คือ
๑. ทุกข์ แปลว่า
ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ
๒. สมุทัย
แปลว่าเหตุของความทุกข์
สมุทัยเกิดจากความอยากซึ่งมีอยู่ในจิตใจ
เรียกว่าตัณหา
แปลว่าความอยาก
๓. นิโรธ แปลว่า
ความดับทุกข์
หมายถึงการกำจัดเหตุเกิดของทุกข์อันได้แก่ตัณหา
๔. มรรค แปลว่า
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ได้แก่อริยมรรค
แปลว่าทางอันประเสริฐ
มีองค์ประกอบ ๘ ประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดชอบ)
สัมมากัมมันตะ ( การกระทำชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ)สัมมาวายามะ(ความเพียรพยายามชอบ)
สัมมาสติ(ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (
ความตั้งจิตมั่นชอบ)
ทุจริต แปลว่าความประพฤติชั่ว
มี ๓ ประการ
กายทุจริต
๑. การฆ่าสัตว์
หมายถึงมนุษย์และสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหมด
๒. การลักทรัพย์
หรือถือเอาสิ่งขงที่เจ้าของไม่ให้มาเป็นของตน
๓. ประพฤติในกามทั้งหลาย
วจีทุจริต
๑. การพูดเท็จ
๒. การพูดส่อเสียด
๓. การพูดไม่สุภาพ หยาบคาย
๔. การพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล
มโนทุจริต
๑.
ความโลภอยากได้ของผู้อื่น
๒.
ความมุ่งร้ายคิดทำร้ายศัตรูคู่อาฆาตให้ย่อยยับหรือตายไป
๓. ความเห็นผิด
คือเห็นสิ่งที่ชั่วเป็นดี
เห็นสิ่งที่ดีเป็นชั่ว
สุจริต แปลว่า ความประพฤติดี มี ๓ ประการ
กายสุจริต
๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. งดเว้นจาการลักทรัพย์
๓. งดเว้นจาการประพฤติในกาม
วจีสุจริต
๑. งดเว้นจากการพูดเท็จ
๒. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. งดเว้นจาการพูดหยาบ
๔. งดเว้นจาการพูดเพ้อเจ้อ
เหลวไหล
มโนสุจริต
๑. ไม่อยากได้ของผู้อื่น
๒. ไม่มุ่งร้าย ไม่คิดทำลาย
๓. ความเห็นชอบ
คือความเห็นชอบตามตามทำนองครองธรรม
บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า
ที่ตั้งแห่งการทำความดีหรือหลักการทำความดี
มี ๓ ประการ คือ
๑. ทานมัย
ทำบุญด้วยการให้ มี ๓
ประการ คือ
๑) อามิสทาน การให้วัตถุสิ่งของแก่ผู้ที่สมควรให้
๒) ธรรมทาน
การให้ธรรมคือการให้ตำแนะนำสั่งสอน
๓) อภัยทาน การให้อภัย
คือการให้ความปลอดภัยไม่เอาโทษ
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีลเพราะเป็นเครื่องงดเว้นความชั่วทางกายวาจา
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
ภาวนาแปลว่าการอบรมจิต
ได้แก่กรรมฐานซึ่งมี ๒ ชนิด
คือ
๑) สมถกรรมฐาน แปลว่า
ที่ตั้งแห่งการทำให้จิตสงบ
๒) วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า
ที่ตั้งแห่งการทำให้จิตสงบแล้วเกิดปัญญามีความรู้แจ้ง
เป็นอุบายทำให้เกิดปัญญา
พระสงฆ์และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์
พระสงฆ์
คือสาวกของพระพุทธเจ้า
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและแนะนำคำสอนนั้นมาสอนประชาชน
พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ามี
๒ ประเภท คือ พระอริยสงฆ์
และสมมุติสงฆ์
การอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ มี ๓
วิธี คือ
๑. เอหิภิกขุอุปสมปทา
หมายถึงการอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้โดยตรง
มีเฉพาะในสมัยพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
๒. ติสรณคมนูปสัมปทา
หมายถึงการบวชด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชให้
๓.ญัติคิจตุตถกัมมอุปสัมปทา
หมายถึงการบวชด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์บวชให้แก่บุคคลที่ต้องการบวชโดยให้บวชเป็นสามาเณรก่อนแล้วจึงขอบวชเป็นพระสงฆ์
โดยให้พระสงฆ์ในที่ประชุมยอมรับ
ถ้าไม่มีใัดรคัดค้านเป็นอันสำเร็จเป็นพระสงฆ์ได้
เป็นวิธีที่ใช้อุปสมบทในปัจจุบัน
ความดีของพระสงฆ์ที่เป็นเหตุ
คุณความดีของพระสงฆ์ที่เป็นเหตุให้ควรแก่การการยกย่องเคารพนับถือของพุทธศาสนิกชน
มี ๔ ประการ
๑. สุปฎิปนฺโน หมายถึง
ผู้ปฏิบัติดี
คือปฏิบัติถูกธรรม
ถูกวินัย
๒. อุชุปฏิปนฺโน หมายถึง
เป็นผู้ปฏิบัติตรง
คือไม่เป็นคนเจ้าเลห์หลอกลวงไม่คดโกง
๓. ญายปฏิปนฺโน หมายถึง
เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
คือปฏิบัติถูกทางเพื่อให้เกิดความรู้เห็นภาวะทั้งหลายตามเป็นจริง
๔. สามีจิปฏิปนฺโน หมายถึง
เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
คือควรแก่การกราบไหว้
การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ในศาสนพิธีที่วัด
มีแนวการปฏิบัติดังนี้
๑. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
เช่นสตรีไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้น
ไม่สวมเสื้อคอกว้าง
ไม่นุ่งกางเกงขาสั้น
เป็นต้น
๒.
เมื่อผ่านอุโบสถสมควรไหว้พระประธาน
๓.
นั่งพับเพียบด้วยอาการสำรวม
ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
๔.
ควรไปถึงวัดก่อนที่จะประกอบศาสนพิธี
๕.
ขณะพระสงฆ์แสดงธรรมหรือให้ศีล
ควรตั้งใจฟังอย่างสำรวมให้จิตมีสมาธิ
ขณะที่พระสงฆ์ให้ศีลควรประนมมือและกล่าวตามอย่างชัดถ้อยชัดคำ
ไม่ควรนั่งเฉย ๆ
๖.
การสนทนากับพระสงฆ์ควรสนทนาอย่างสำรวมและขณะสนทนาธรรมควรประนมมือด้วย
เมื่อจบการสนทนาหรือจบการแสดงธรรมแล้วให้กราบแบบเบญจางตประดิษฐ์
๗.
ไม่กระทำสิ่งที่จะเป็นการรบกวนการประกอบศาสนพิธีของผู้อื่น
เช่นพูดคุยเสียงดัง
สูบบุหรี่ ร้องเพลง
หรือเด็กเล็กที่ซุกชนมากถ้าไม่จำเป็นไม่ควรพาไปวัดด้วยเพราะอาจจะไปสร้างความรำคาญให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธีได้
๘.
การรวมพิธีเวียนเทียนให้เดินตามพระภิกษุและสามเณรไม่เดินนำขบวนหรือปะปนกับพระภิกษุและสามเณร
เดินด้วยอาการสำรวม
ไม่พูดคุยหรือเย้าเหย่กัน
ให้รำลึกถึงพระพุทธ
พระธรรม และพระสงฆ์
๙.เมื่อเวียนเทียน ๓
รอบแล้วให้นำดอกไม้
ธูปเทียนไปวางไว้บริเวณที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้
ภาษาบาลีและพุทธศาสนสุภาษิต
ภาษาบาลี
มีหลักเกณฑ์การอ่านดังนี้
๑. พยัญชะตัวใดที่เขียนโดด ๆ
ไม่มีสระกำกับให้อ่าน เสียง
อะ เช่น ภควโต อ่านว่า
พะ คะ วะ โต เป็นต้น
๒. พยัญฃนะตัวใดที่มีสระแต่ไม่มีตัวสะกด
ให้อ่านออกเสียงตามรูปสระที่ปรากฏ
เช่น อุปัชฌายะ อ่าน อุ ปัด
ชา ยะ
๓. เครื่องหมาย พินทุ ( ฺ )
อยู่ใต้พยัญชนะใด พยัชนะตัวนั้นเป็นต้วสะกด
เช่น เสยฺโย อ่านว่า เสยโย
เป็นต้น
๔. ถ้าพินทุ ( ฺ )
อยู่ใต้พยัญชนะต้นตัวหน้า
ถือว่าเป็นอักษรควบ
ให้อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา
เช่น พฺยาธิ อ่านว่า
พยา - ธิ เป็นต้น
๕. ถ้านิคหิต ( ํ )
อยู่เหนือพยัญชนะ
ให้อ่านออกเสียงมี ง สะกด
เช่น กตํ อ่านว่า กะ - ตัง
เป็นต้น
๖. ถ้านิคหิต ( ํ )
อยู่บนพยัญชนะที่ไม่มีรูปปรากฏ
ให้อ่านออกเสียงเหมือนเปลี่ยนรูป
อะ เป็นไม้หันอากาศ และมี ง
สะกด เช่น สรณํ อ่านว่า สะ -
ระ - นัง เป็นต้น
พุทธศาสนาสุภาษิต
พาลสงฺคลจารี หิ ทีฆมฑฺธาน
โสจติ ( เขียนแบบบาลี)
พาละสังคะตะจารี
หิทิจะมัทธาจะ โสจะติ (
เขียนแบบไทย) อ่านว่า พา - ละ -
สัง - คะ - ตะ - จา - รี -หิ - ที -
คะ - มัด - ทา - นะ - โส - จะ - ติ
แปลว่า
ผู้มักเที่ยวสมคบกับคนพาลย่อมเศร้าโศก
ตลอดกาลนาน
คนพาล คือ คนที่คิดชั่ว
พูดชั่ว ทำชั่ว
พฤติกรรมของคนพาลได้แก่
คนที่ชอบพูดเท็จ
พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้อ
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติในกาม
ความเศร้าโศก
ที่เกิดจากการคบคนพาล
หมายถึง ความทุกข์
ความเสียใจ
ที่ต้องประกอบอาชีพทุจริตร่วมกับคนพาล
หรือต้องหนีเรียน
ติดสิ่งเสพติด
เที่ยวกลางคืน
ไม่มีงานทำ
เพราะการคบกับคนพาลย่อมนำไปสู่ความเสื่อม
ถูกมองในแง่ร้าย
กลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือ
ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว
คำศัพท์ทางพระพุทธสาสนา
๑. อิจฉา เดิมหมายถึง
ความต้องการ ความปรารถนา
ความอยาก
๒. กรรม หมายถึง
การกระทำที่บุคคลทำในอดีต
การบริหารจิตและการเจริญปัญญา
การบริหาจิต
คือการฝึกสมาธิ สมาธิ
แปลว่าความตั้งมั่นของจิตหรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนดจนเเกิดความสงบ
ไม่ฟุ่งซ่านจดจ่อต่อสิ่งที่กำลังคิดกำลังพูด
และกำลัสมาธิมีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจดังนี้
๑. ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
จิตที่เป็นสมาธิจะเป็นจิตใจที่ไม่เครียด
ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
ในทางร่างกายจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
เพราะถ้าจิตใจขุ่นมัวก็จะมีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ
เจ็บป่วยได้ง่า
๒. ทำให้มีบุคลิกภาพดี เช่น
เป็นคนสุภาพ เยือกเย็น
มีเมตตากรุณา
๓.
เป็นจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา
ได้แก่ความสามารถในการข่มกิเลสตัณหาไว้ได้
ทำให้จิตใจสงบ
การฝึกสมาธิตามหลักอานาปานสติ
อาณาปานสติ
หมายถึงการอบรมจิตใจโดยมีสติกำหนดลมหายใจเข้า
- ออก
เป็นวิธีการฝึกสมธิที่นิยมปฏิบัตืกันเนื่องจากปฏิบัติได้ง่าย
การเจริญปัญญา ปัญญา
แปลว่าความรู้ทั่ว
หมายถึงความรู้ทั่วถึงเหตุและผล
เมื่อรู้เหตุของสิ่งใดก็สามารถรู้ล่วงหน้าได้ผลว่าของสิ่งนั้นเป็นอย่างไรทางที่ทำให้เกิดปัญญามี ๓ ทาง
๑.สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟังหรือการศึกษาเล่าเรียน
ในสมัยโบราณคนอ่านหนังสือไม่เป็น
แต่ความรู้เกิดจากการได้ฟังและจดจำนำไปถ่ายทอดหรือบอกเล่ากันอีกต่อหนึ่ง
คนที่ฟังมากเรียกพหูสูต
ในปัจจุบันผู้ที่ได้ชื่อว่าพหูสูตไม่ได้หมายความว่ามีความรู้จาการฟังเพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการอ่านด้วย
๒.จินตามยปัญญา ปัญยาเกิดจาการคิด
หมายถึงการคิดหาเหตุผล
ก่ารพิจารณาวิเคราะห์ สิ่งต่าง
ๆ ที่ได้ฟังได้ศึกษาอย่างเป็นระบบอย่างเป็นเหตุเป็นผล
เช่นคนที่ไม่ชอบเรียนหนังสือ
ชอบเที่ยวเตร่
ชอบคบเพื่อนไม่ดี จะเป็นอย่างไร
๓.ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเกิดจาการฝึกฝนปฏิบัติหรือเกิดจาการลงมือทำ
ได้แก่
หลังจากที่ได้รับความรู้จากการฟังการศึกษาเล่าเรียนมาแล้ว
นำไปคิดวิเคราะห์
หาเหตุผลจนเข้าใจลึกซึ้งแล้วก็ควรจะนำสิ่งนั้นมาลงมือปฏิบัติเพื่อให้เห็นประจักษ์
ในเรื่องของการบริหารจิตและเจริญปัญญานี้
เป็นการสร้างสมาธิให้เกิดขึ้นกับจิต
เมื่อจิตสงบแล้วก็สามารถที่จะเข้าใจความจริงของชีวิตว่า
คนเรามีทั้งสุขและทุกข์
สมหวังและผิดหวัง
คลุกเคล้ากันไป
เมื่อรู้เท่าทัน
ความจริงของชีวิตแล้ว
ก็สามารถสร้างปัญญาในระดับสูงต่อไปได้
กลับหน้าแรก
กลับหน้าแรก
ส๐๑๑๐
หน้าต่อไป