สาระน่ารู้

27/05/47

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ของ   วิทยาการจังหวัดสระบุรี  ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000 โทร.0-3631-3301

 

โฮม

ประวัติความเป็นมา

บุคลากร

โครงสร้าง

ภารกิจ

ผลงาน

สาระน่ารู้

ติดต่อเรา

ข่าวสาร

 
Hit Counter
มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชม
เว็บไซท์ของฉันแล้ว

 

ยาเสพติด

 

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ

 

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.. 2522  มาตรา  ได้ให้นิยามคำว่า 

 “ยาเสพติดให้โทษ”  หมายความว่า  สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ  ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่

ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน  ดม  สูบ  ฉีด  หรือด้วยประการใดๆ  แล้วทำให้เกิด

ผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ  เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อย ๆ  มี

อาการถอนยาเมื่อขาดยา  มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง

อยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลงกับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วน

ของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้

โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิดยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย  ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตาม

กฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่ ฉะนั้น  ยาเสพติดให้โทษจึงหมาย

ถึง  ตัวยาเสพติดโดยตรงหรืออย่างอื่นที่ไม่ว่าเรียกชื่ออย่างไร เช่น จะเรียกว่าเป็นสาร

เคมี  วัตถุใด ๆ  พืช  หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ 

 หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และหมายความรวมถึงสารเคมีที่ใช้ในการ

ผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุขจะเป็นผู้ลงนาม

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและทั้งนี้ลักษณะสำคัญของยาเสพติดให้โทษยังอยู่กับ

ฤทธิ์ของยาด้วยกล่าวคือ  เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้ว  ย่อมทำให้เกิดผลต่อร่างกาย

และจิตใจในลักษณะสำคัญ  เช่น  ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อย ๆ  มีอาการถอน

เมื่อขาดยา  เป็นต้น

 

ประเภทของยาเสพติดให้โทษ

 

ยาเสพติดที่ปรากฏแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันนี้มีจำนวนมากจึงมีการจัดหมวดหมู่หรือจัด

ประเภทของยาเสพติดเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจตรงกันแต่การจัดประเภทของยา

เสพติดในปัจจุบันก็ยังแตกต่างกันไป  ทั้งนี่เนื่องจากใช้หลักเกณฑ์การจำแนกประเภท

ต่างกัน  ต่อไปนี้จะเสนอตัวอย่าง การจัดประเภทของยาเสพติดจาก 3 หลักเกณฑ์ 

 ดังนี้ประเภทของยาเสพติด  ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พ.. 2522 

 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.. 2522  (กองนิติการ  สำนักงานคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ,2540 :16)   ได้จำแนกยาเสพติดไว้เป็น 

 ประเภท  ดังนี้

 

ยาเสพติดให้โทษแบ่งออกเป็น  ประเภท  คือ

 

(1)  ประเภท ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง  เช่น  เฮโรอีน  เมทแอมเฟตามีน  ฯลฯ
(2)  ประเภท ยาเสพติดให้โทษทั่วไป  เช่น  มอร์ฟีน  โคคาอีน  ฝิ่นยา

(3)  ประเภท ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษใน

ประเภท ผสมอยู่ด้วย  ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจา

นุเบกษา .

(4)  ประเภท สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท

 เช่น  อาเซติคแอนไฮไดรด์ , อาเซติลคลอไรด์

(5)  ประเภท ยาเสพติดให้โทษที่มิได้อยู่ในประเภท 1 ถึง ประเภท เช่น  กัญชา

  พืช  กระท่อม  พืชเห็ดขี้ควาย

อนึ่ง  คำว่า  “ฝิ่นยา”  ตามประเภท นั้น  หมายถึง  ฝิ่นที่ได้ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง

โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้ในทางยา

การแบ่งประเภทยาเสพติดให้โทษข้างต้น  เป็นการแบ่งประเภทตามความร้ายแรงของ

 ยาเสพติดแต่ละชนิด  แต่ละประเภทที่มีผลต่อผู้เสพลดหลั่นกันลงมาตั้งแต่ต้ายแรง

มาก  ปานกลาง และน้อย   ส่วนชนิดหรือชื่อยาเสพติดให้โทษอะไรจะจัดอยู่ใน

ประเภทไหน  ขึ้นอยู่กับว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะประกาศให้อยู่ใน

ประเภทใด  เช่น  เฮโรอีน  ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  ฉบับที่ 135  (..

 2539)  จัดอยู่ในยาเสพติดให้โทษประเภท และกัญชา  พืชกระท่อมจัดอยู่ในยา

เสพติดให้โทษประเภท 5

 

ประเภทของยาเสพติด  ตามแหล่งกำเนิดของยาเสพติด

 

หากจัดประเภทของยาเสพติดตามแหล่งกำเนิดของยาเสพติดแล้วจะจำแนกได้เป็น 

  ประเภท  ดังนี้

ประเภทที่ ยาเสพติดธรรมชาติ  (Natural  Drugs)   ได้แก่  สิ่งที่ได้มาจากพืช

 หรือพันธุ์ไม้บางชนิด โดยตรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เช่น  ฝิ่น  กัญชา  กระท่อม 

 โคเดอีน   เป็นต้น

ประเภทที่ ยาเสพติดสังเคราะห์  (Synthetic  Drugs)   ได้แก่  ยาเสพติดที่ผลิต

ขึ้นด้วยวิธีทางเคมีและนำมาใช้แทนสิ่งเสพติดธรรมาชาติได้  เช่น  การนำฝิ่นมาทำ

เป็นมอร์ฟีน  ยาระงับประสาท

 

ประเภทของยาเสพติด  ตามฤทธิ์ของยาที่มีต่อร่างกาย

 

   หากจัดประเภทของยาเสพติด ตามฤทธิ์ของยาที่มีต่อร่างกายแล้ว จะจำแนกได้เป็น

  ประเภท  ดังนี้

ประเภทที่ ยากดประสาท  (Depressant)   ทำให้ประสาทสมองมึนชา  อารมณ์จิต

ใจเฉื่อยชา  กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว  ได้แก่  มอร์ฟีน  (อนุพันธ์ของฝิ่น) เฮโรอีน

และยานอนหลับ  เช่น  บาร์บิตูเรท ,ไดอาซีแพม

ประเภทที่ ยากระตุ้นประสาทสมอง  (Stimulant)   ทำให้ประสาทและสมองตื่นตัว

กระวนกระวาย  ได้แก่  กระท่อม  เมทแอมเฟตามีน  หรือยาบ้า ยาขยัน  เป็นต้น

ประเภทที่ ยาหลอนจิตประสาท  (Hallucinogen)   ทำให้ประสาทหลอนเห็นภาพ

ผิดไปจากปกติ  ความรู้สึกสัมผัสแปรปรวน  มีปฏิกิริยาผิดไปจากความจริงทั้งหมด 

 ได้แก่  LSD  DMT  และ  STP

ประเภทที่ ยาที่ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน  (Mixed)   ยาเสพติดบางชนิดเมื่อเสพ

ปริมาณน้อยจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท  เช่น  กัญชา  แต่ถ้าเสพปริมาณมากขึ้นอีก 

 จะทำให้เกิดประสาทหลอน

 

หน้าแรก / ประวัติความเป็นมา / บุคลากร / โครงสร้าง / ภารกิจ / ผลงาน / สาระน่ารู้ / ติดต่อเรา / ข่าวสาร