|
เหตุเพราะว่าไม่มีสังคมใด อยู่รอดถ้าไม่มีกฏเกณท์ และ กฏเกณท์ จะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีบทบัญญัติ เพราะต่างคนต่างกลุ่ม ต่างจิต ต่างใจ ต่างความเชื่อ ต่างความหวังและต่างความอยาก กลุ่มชนที่ยังไม่เจริญ หรือ คนเถื่อนที่ไม่มีศาสนาหรือ วัฒนธรรม มักใช้กฏหมู่ หรือกฏเถื่อนหรืออำนาจที่มีเหนือกว่าเป็นกฏ ดังตัวอย่างประวัติของพระเจ้าอโศกมหาราชเอง ที่ปกครองอณาเขตกว้างใหญ่ของอินเดียใต้ปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าอาณาจักรทมิลาคัม หรืออาณาจักรทมิฬ ได้ใช้การปกครองตามแบบพระเจ้าจันทรคุปต ซึ่งเป็นปู่ ตามประวัติศาสตร์เล่าถึงความโหดร้ายในอดีต ของคุกที่ใช้เป็นที่จำคุกนักโทษ ได้ชื่อว่า เป็น "นรกพระเจ้าโศก" ที่มีทารุณ และไม่มีใครรอดชีวิตจากคุกของพระองค์ได้ แต่วันหนึ่งก่อนที่พระองค์จะกลับคืนสู่ปราสาท พระองค์ได้เข้ารับศาสนาพุทธ และได้เปลี่ยน พฤติกรรม สั่งทำลายคุก เปลี่ยนกฏหมายที่โหดร้ายและไม่เป็นธรรม ให้มีความเมตตากรุณา แม้เมื่อพระองค์ได้ทราบว่า ทหารของพระองค์รบชนะ ชนเผ่า กาลิงกา และจับเฉลย เป็นจำนวนมาก พระองค์ทรงปฏิรูปจาก "การทำลายล้าง การทารุณกรรม และสร้างความแตกแยก" กลับมา สั่งปล่อยเชลยที่ถูก พรากให้กลับไปสู่ครอบครัว สำหรับตัวท่านเอง เลิกการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และรับศิลแปด และปกครองบ้านเมืองด้วยเมตตาธรรม และสันติ และสร้างความเจริญแก่โลก โดยใช้แนวศาสนาพุทธเป็นแนวการปกครอง สั่งทหารและเจ้าหน้าที่รัฐบาล ให้ปกครองประชาชนด้วยความเที่ยงธรรมเหมือนลูกหลาน ไม่มีการลงโทษอย่างไม่เป็นธรรม หรือ ทรมาน จากเพียงตัวอย่างของพระพุทธศาสนามีผลต่อความประพฤติของพระเจ้าอโศก จากร้ายกลายเป็นดี เช่นนี้แล้ว พุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของจริยธรรมของสังคมได้อย่างไร? จริยธรรม เป็นกฏหมายร่วมที่ทำให้สังคมอยู่รอด และ เข้ากับสังคมอื่นๆได้ และความเจริญ ของโลก และสังคม จะมีไม่ได้ ถ้า ปราศจากจริยธรรม โลกมนุษย์ปั่นป่วนเพราะความโลภ, ความไม่ซื่อสัตย์, ความมัวเมา และการทำลายล้าง สัตว์โลกทุกๆประเภทต่างก็เกลียดความทุกข์ ต่างดิ้นรนเพื่อแสวงหาความสุขตามปรารถนา ของตนๆแต่ความสุขที่เขาเหล่านั้น ต้องการอาจไม่เหมือนกัน เพราะความแตกต่างในฐานะชั้นภูมิของเขา เหล่านั้นไม่เหมือนกัน สัตว์เดรฉานพ้นความทุกข์ ความหิวโหย ก็ต้องมีการฆ่าเพื่อเป็นอาหาร เพื่อความอยู่รอด สัตว์สวาปาม กิน อย่างสัตว์ เพราะไม่รู้ว่าจะล่าอาหารได้อีกเมื่อไหร่ แต่เมื่ออิ่ม สัตว์ก็ยังหยุดกิน มนุษย์เราก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในจำพวกของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลกนี้ แต่มนุษย์เราเป็น สัตว์ร้ายกว่าเขาทั้งหมด สำหรับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต การทำลายล้างซึ่งกันและกัน มีมาตั้งแต่สมัยเถื่อน มีการฆ่า เพื่อแย่งอาหารแย่งที่ทำกัน คิดทำลายล้างผลาญกัน ต่อกันมาถึงยุคปัจจุบัน เมื่อใช้อาวุธที่มีประจำตัวของแต่ละบุคคลทำลายกันไม่ทันกับความต้องการ ก็คิดสร้างอาวุธ ที่ร้ายแรงประหารกันตามทีละเป็นร้อยๆพันๆ ก่อเป็นสงครามทาพื้นดินด้วยเลือด และยังฆ่ากันในยามสันติ คนเถื่อนบางเผ่าจะไม่ยุติข้อโต้แย้งจนมีการฆ่ากันตายกันไปคนละข้าง คนเอสกิโมใน สมัยเถื่อน เมื่อถึงช่วงอดหยาก ลูกต้องฆ่าพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ไม่มีประโยชน์และ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า สอนปาณาติปาตไม่ให้มี การฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต เป็นเนื้อนาคุณ ช่วยให้โลกและมนุษย์ สุสุขํ วต ชีวาม หน้าต่อไป
|
|