ชีวประวัติขุนนิพัทธ์จีนนคร ธรรมชาติสร้างให้มนุษย์เกิดมาคล้ายคลึงกันแต่ฐานะของมนุษย์กลั บแตกต่างกันไป เฉกเช่นเดียวกั บวิถีชีวิตของบุคคลหนึ่งที่ต้องจากแดนไกลมาอย่างเดียวดายจากดินแดนอั นไกลโพ้น ข้ามน้ำ ข้ามทะเลมายังดินแดนใหม่ต่อสู้กับความลำบาก บุกป่าฝ่าหนาม ด้วยความขยันขันแข็งและความปรีชาสามารถเฉพาะตนบวกกั บเป็นผู้มองการณ์ไกล ได้บุกเบิกแหล่งรกร้างทำคุณประ โยชน์แก่ชุมชนอย่างยิ่งโดยการสร้างเมือง สร้างตลาด อีกทั้งได้ อุทิศที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียน ปัจจุบันคือ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลั ย อุทิศที่ดินส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 14 ไร่ ให้กั บเทศบาลเมืองหาดใหญ่เพื่อสร้างสนามกีฬาจิระนคร อุทิศที่ดินส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 4.5 ไร่ ให้กั บเทศบาลเมืองหาดใหญ่เพื่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ อุทิศที่ดินจำนวน 180 ไร่ เพื่อใช้เป็นสุสานเมืองหาดใหญ่ ปัจจุบันคือ สุสานบ้านพรุ อนุญาตให้ใช้สถานที่เพื่อสร้างสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 1.5 ไร่ ตั ้งอยู๋ริมถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 อุทิศที่ดินตัดถนนธรรมนูญวิถี ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1-5 ถนนซอยนิพัทธ์สงเคราะห์รวม 25 สาย ถนนจิระนคร ถนนนิพัทธ์ภักดี ตรอกจิระอุทิศ และซอยนิพัทธ์อุทิศ รวมทั ้งหมด 39 สายให้กับเทศบาลเมืองหาดใหญ่ เป็นประจักษ์หลักฐานว่า ท่านได้ว่ารากฐานอันมั ่นคงเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ทั้งในด้านการศึกษา การกีฬา และสถานที่สำคั ญสำหรับคนเกิด แก่ เจ็บ ตายอย่างสมบูรณ์ ยากนักที่จะ หาบุคคลใดเสมอเหมือนในด้านการเสียสละเพื่อมวลชนเช่นนี้ได้ อีกทั้งยั งเป็นผู้ริเริ่มวางผังเมืองและพั ฒนาเมืองหาดใหญ่จนได้กลายเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของประเทศไทย ชีวิตที่น่าศึกษา ควรแก่การยกย่องนับถือของท่านผู้นี้คือ ท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร(เจียกีซี) ต้นตระกูลจิระนคร ท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร หรือ นายเจียกีซี เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2429 ที่บ้านตำบลจูไฮ อำเภอเหมยเซี่ยน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คนของนายเจียซุ้นหลิ่นและ นางหลิ่มคอนกู เป็นหลานปู่ของนายเจียหยุ่นฟองและคุณย่าแซ่หยองซื่อ ฉื่อเฉา ต้นตระกูลเจีย เชื้อสายเจียพุ่กลุ่ก ของนายเจียกีซี(ขุนนิพัทธ์ฯ)เกิดขึ้นที่ อำเภอเหมยเซี่ยน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในปีพ.ศ.1821 มีทหารแซ่เจียประจำกองของขุนพลหวุ่นเทียนเสียงท่านหนึ่ง ได้ยกทั พจากมณฑลกังไสนำทหารบุกเข้าโจมตีอำเภอเหมยเซี่ยน ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของชาวมองโกลเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ.1820 (หรือในปลายสมัยราชวงศ์ซ่ง) ปีถัดมา(พ.ศ.1821) นายทหารเจียพุ่กลุ่ก หรือ เจียซิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองอำเภอเหมยเซี่ยนแต่นั้นมา ท่านได้สืบเชื้อสายตระกูลเจียไว้หลายรุ่นจนถึงเหลนรุ่น 11 ได้แยกครอบครั วออกไปตั้งรกรากที่ตำบลจูไฮ สืบลูกหลานถึงรุ่นที่ 20 คือ นายเจียซุ้นหลิ่น จึงได้กำเนิดนายเจียกีซี(ขุนนิพัทธ์) พร้อมทั้งพี่น้องชายหญิงอีก 5 คน ต่อมาภายหลังบิดามารดาและ พี่ชายน้องชายของนายเจียกีซีได้อพยพมาอยู่ที่แผ่นดินสยามทั้งหมด ขุนนิพัทธ์ฯในวัยเยาว์ได้รั บการอบอรมศึกษาจากคุณปู่ซึ่งเป็นอาจารย์มาอย่างดี เมื่อคุณปู่สิ้นชีวิตลง บิดาของขุนนิพัทธ์ฯได้เดินทางไปประกอบอาชีพส่วนตัวที่เมืองซินปูฮี เมื่อท่านขุนนิพัทธ์ฯมีอายุ 17 ปี ได้เดินทางไปที่เมืองซินปูฮีเพื่อช่วยบิดาทำกิจการค้าจนกระทั่งมีอายุได้ 19 ปี ได้อพยพถิ่นฐานมาทำมาหากินบนผืนแผ่นดินสยาม ในปี พ.ศ.2447 ขุนนิพัทธ์ฯเดินทางมากับเรือของบริษัทญี่ปุ่นขนาดระ วาง 1,000 ตันกรอส บรรทุกผู้โดยสาร 500 คน เสียค่าโดยสารคนละ 5 เหรียญ แออัดยัดเยียดรอนแรมในทะเลเป้นเวลา 7 วันจึงเข้าเทียบท่าบางกอก เมื่อถึงแผ่นดินสยามแล้ว ขุนนิพัทธ์ฯได้เข้าทำงานที่ร้านจำหน่ายสุราต่างประ เทศ(ยี่ห้อเต็กเฮงไท้) ที่บางกอกเป็นร้านของนายหย่องเฮี้ยงซิ้ว ผู้เคยเป็นศิษย์ของคุณปู่ขุนนิพัทธ์ฯ ขุนนิพัทธ์ฯทำงานอยู่ที่ร้านจำหน่ายสุราได้ระ ยะหนึ่งก็ลาออกไปเผชิญโชคด้วยตัวเอง บางกอกในปีพ.ศ.2448 เป็นยุคของการปฏิรูปการปกครอง จัดกระทรวง ทบวง กรมใหม่ทั้งในด้านชลประทาน การรถไฟ การเกษตร การตั้งโรงไฟฟ้า กรมไปรษณีย์โทรเลข การประปา ฯลฯ ต่อมาในปี 2452 สมเด็จพระ ปิยมหาราชเจ้า มีพระ บรมรายโองการให้สร้างทางรถไฟสายเพชรบุรีจรดสุดชายแดนภาคใต้ ขุนนิพั ทธ์ฯได้สมัครเข้าทำงานกับบริษัทรับเหมาทางรถไฟสายนี้ โดยรั บหน้าที่เป็นผู้ตรวจการและผู้จัดการทั่วไป งานสร้างทางรถไฟสายใต้ในสมัยนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ปักษ์ใต้ยั งมีพลเมืองน้อย เป็นป่าทึบเต็มไปด้วยไข้ป่า บางแห่งเป็นที่ลุ่มน้ำขึ้นสูง ขุนนิพั ทธ์ฯมีหน้าที่ควบคุมงานถางป่าให้เป้นแนวกว้างประมาณ 40 เมตร เพื่อเป็นแนวทางการลงดิน ลงหินสำหรับวางรางรถไฟ เนื่องจากงานสร้างทางรถไฟมีระยะ ทางยาวหลายร้อยกิโลเมตรจึงต้องแบ่งงานออกเป็นช่วงๆ ช่วงละ 30 กิโลเมตร แต่ละช่วงมีโรงงานขนาดใหญ่กว่า 10 แห่ง มีคนงานช่วงละ 200 คน มีนายช่างอิตาลีเป็นผู้ดำเนินการทางเทคนิค พร้อมผู้ช่วยชาวเอเชียอีก 2 คน คนงานสร้างทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นคนจีนหลายภาษา จึงต้องแบ่งหน้าที่การงานโดยให้ชาวจีนแคะทำหน้าที่บุกเบืกถางป่า ชาวจีนแต้จิ๋วทำหน้าที่โกยดินถมทางให้สูงประมาณ 4.5 เมตร ชาวจีนกวางตุ้งทำหน้าที่โรยหินบนดินที่ถมไว้เพื่อเป็นแนวทางรถไฟบางครั ้งงานที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วถูกน้ำป่าเซาะทลายก็ต้องเริ่มต้นงานกันใหม่อีก ตลอดเส้นทางการสร้างรางรถไฟสายใต้นี้ต้องใช้คนงานทั้งหมดหลายพันคน การสร้างรถไฟสายใต้นี้ รัฐบาลพระปิยมหาราชเจ้าได้กู้เงินจากอั งกฤษเพื่อการนี้โดยเฉพาะ วัสดุก่อสร้างต่างๆ กระทำสำเร็จรูปมาจากอังกฤษ การสร้างสะพานก็ต้องส่งปูนซิเมนต์มาก่อเป็นคอสะพานแล้วจึงส่งสะ พานสำเร็จรูปซึ่งทำจากอังกฤษมาวางให้พอดี ขนาดของสะพานเหล็กนี้มีตั้งแต่ 30-80 ตัน การลำเลียงปูฯซิเมนต์และ รางเหล็กจากเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ต้องลำเลียงโดยทางน้ำ และ ทางบกเป็นทอดๆ ไป จนถึงอำเภอและจังหวัดต่างๆ ระหว่างการสร้างทางรถไฟสายใต้นี้ ได้สร้างมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่าบ้านน้ำน้อย(อยู่ครึ่งทางระ หว่างหาดใหญ่-สงขลา)บ้านน้ำน้อยหรือตำบลน้ำน้อย เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านตั ้งอยู่ริมถนนกาญจนวานิชย์ ในสมั ยก่อนโน้นบ้านน้ำน้อยมีแร่เหล็กมากมายจนได้ชื่อว่าชาวน้ำน้อยเป็นช่างเหล็กฝี มือดีแห่งหนึ่ง ขุนนิพัทธ์ฯได้ลาออกจากงานแล้วนั่งเกวียนไปสงขลา ตั้งใจจะพำนั กอยู่ที่สงขลาสักระยะหนึ่ง แต่กลับถูกขโมยขึ้นบ้านกวาดทรัพย์สินไปเกือบหมด ท่านจึงต้องเช่าเรือจากสงขลาล่องเรือย้อนกลับไปพัทลุงเพื่อไปหา นายชี จื้อ ถิ่น ที่จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นผู้รับเหมาสร้างทางรถไฟสายนั้นอยู่ ขุนนิพัทธ์ฯจึงได้รั บมอบหมายงานจากนายชี จื้อ ถิ่น ให้เป็นผู้ควบคุมทางรถไฟสายทุ่งสงเป็นเวลา 1 ปี ในปีพ.ศ.2453 ท่านได้แต่งงานกับ คุณเลี่ยน แซ่ฮิว ซึ่งเป็นคนร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำเนิดบุตรชาย 2 คน หญิง 1 คน ต่อมาย้ายมาอยู่ที่หาดใหญ่และได้ให้กำเนิดบุตรชายหญิงอีก 7 คน รวมทั้งหมด 10 คน แต่เดิมท่านมีภรรยาจากเมืองจันแล้ว 1 คน เนื่องจากต้องเสี่ยงโชคมายั งดินแดนสยามในสมัยนั้นจึงไม่สามารถพาภรรยามาด้วย แต่ได้เดินทางตามมาในปีพ.ศ.2457 มาพำนักอยู่ที่บ้านหาดใหญ่ในกับขุนนิพั ทธ์ฯจวบจนปี พ.ศ.2459 จึงได้ให้กำเนิดบุตรชายกับนางจุงซ้อนยิน 1 คน คือ นายกี่ จิระนคร ที่บ้านริมคลองอู่ตะเภาข้างที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ บุตรชายหญิงของขุนนิพัทธ์ฯทั้ง 11 คนคือ 1.นายสุกิตติ์ จิระนคร 2.นายสุธรรม จิระนคร 3.นางอัมพา(เชื่อม) จูตระกูล 4.นายกี่ จิระนคร 5.นางชูจิตร ชูจิตรบุตร 6.นางจินตนา แซ่ฉั่ว(ถึงแก่กรรมพ.ศ.2505) 7.นายจุรีย์ ตันพานิช 8.นางมาลี จิระนคร 9.นายนิพัทธ์ จิระนคร(ถึงแก่กรรม พ.ศ.2521) 10.นางกรองกาญจน์ สินสกุล 11 นายกิตติ จิระนคร ในปีพ.ศ.2453 ขุนนิพัทธ์ฯได้รับเหมางานสร้างทางรถไฟช่องพั ทลุงถึงร่อนพิบูลย์ ซึ่งมีช่องเขากันดารเป็นป่าทึบ ท่านรับเหมางานขุดดินเจาะ อุโมงค์ลอดเขาจากนายชี จื้อ ถิ่น ซึ่งเป็นผู้รับเหมาต่อจากบริษัทต่างประ เทศอีกทอดหนึ่ง ก่อนหน้านี้เคยมีบริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด รับเหมาขุดเจาะ อุโมงค์อยู่ก่อนแล้ว แต่คนงานรุ่นแล้วรุ่นเล่านับร้อยๆ คนต้องประสบกั บความตายมากมาย เนื่องจากเป็นช่องเขาอันกันดาร เมื่อขุนนิพัทธ์ฯรั บเหมางานนี้แล้ว ได้ใช้ความสุขุมรอบคอบในการควบคุมงานอย่างเต็มที่ จนสามารถขุดอุโมงค์เสร็จได้ตามกำหนดเวลา ซึ่งอุโมงค์นี้ก็คือชุมทางเขาชุมทอง หลังจากนั ้นแล้วจึงเข้าควบคุมเส้นทางรถไฟสายฉวาง-ทุ่งสงต่ออีก 2 ปี เมื่อเสร็จจากงานรับเหมาช่วงฉวาง-ทุ่งสงแล้ว ก็ได้รั บเหมาสร้างทางรถไฟสายใต้ช่วงต่อไปอีก งานรั บเหมาได้มาสิ้นสุดลงที่สถานีอู่ตะเภา ซึ่งตั้งอยู่แถบคลองอู่ตะเภา ห่างจากที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ชุมทางสถานีอู่ตะ เภาเป็นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่ในสมัยนั้นปัจจุบันใช้เป็นเพียงที่หยุดรถไฟ ท่านรับเหมางานสร้างทางรถไฟช่วงต่อไปอีกที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปั ตตานี เป็นเวลาหลายปี เสร็จจากงานที่อำเภอโคกโพธิ์แล้ว ได้กลับมารั บงานซ่อมทางรถไฟสายอู่ตะเภา-สงขลา ซึ่งถูกน้ำท่วมทางขาด ระ หว่างการซ่อมทางรถไฟสายนี้ ท่านต้องอาศัยไปๆ มาๆ ระหว่างตำบลน้ำน้อย- อู่ตะเภายามว่างจากงานก็ออกสำรวจหาแหล่งแร่ดีบุด วุลแแฟรม ที่เขาวังพา ตำบลทุ่งตำเสา และตำบลท่าช้าง ซึ่งเป็นป่าทึบอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ บางครั ้งต้องค้างคืนในป่าเพื่อการค้นหาแหล่งแร่ เป็นอยู่เช่นนี้จนเกือบจะ ตลอดชีวิตของท่านจนในบั้นปลายของชีวิตท่านได้ทิ้งมรดกการทำเหมืองแร่ให้กั บลูกหลานได้รับช่วงต่อมา งานสร้างทางรถไฟสายใต้จากเพชรบุรีจรดสุดชายแดนภาคใต้เสร็จสิ้นลง ด้วยดี สถานีสุดท้ายสุดชายแดนคือสถานีสุไหงโกลก และ สถานีปาดังเบซาร์ ในปี พ.ศ.2455 เสร็จจากงานรับเหมาสร้างทางรถไฟช่วงหนึ่งแล้ว ขุนนิพั ทธ์ฯได้มาพักอาศัยอยู่ที่ริมคลองอู่ตะเภา ข้างที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ แถบสถานีรถไฟอู่ตะเภานี้มีสภาพเป็นลุ่มน้ำท่วมเป็นประจำ ท่านมีความรู้สึกว่าไม่เหมาะกับการตั้งสถานีและบ้านเรือน จึงได้ออกสำรวจหาแหล่งพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรั บการปลูกบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรต่อไป ก็พบป่าเสม็ดแห่งหนึ่งมีผู้อาศั ยอยู่บ้างประปราย เป็นป่าบริเวณโดยรอบ บ้านโคกเสม็จชุน อยู่ห่างจากที่ตั ้งสถานีรถไฟอู่ตะเภาประมาณ 3 กิโลเมตร ท่านได้เริ่มทำการซื้อขายป่าต้นเสม็ดรายแรกเป็นจำนวน 50 ไร่ เป็นเงิน 175 บาท จากชาวบ้านผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณนั้น โดยผ่านนายหน้าช่วยติดต่อซื้อขายคือ ผู้ใหญ่บ้านหนูเปียก จันทร์ประทีป และ ผู้ใหญ่บ้านพรหมแก้ว คชรัตน์ ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านโคกเสม็จชุนแต่อาศั ยอยู่ในละแวกบ้านหาดใหญ่ *บ้านโคกเสม็จชุน เขียนตัวสะกดตามบทความเรื่อง จำนวนบ้านเรือนและวัดเมืองสงขลาฯลฯ หจช.กรมศิลปากร ร.5 ม.5 3/1 ในหนังสืออณุสรณีย์ของคุณสุชาติ รัตนปราการ ก่อนปี พ.ศ.บ้านโคกเสม็จชุนมีบ้านอยู่ 10 หลังคาเรือน และ บ้านหาดใหญ่มีอยู่ 4 หลังคาเรือน อยู่ในความปกครองของอำเภอหลวงรั กษาพลสยาม สังกัดเมืองสงขลา ต่อมาในปี พ.ศ.2457 มีบุตรหลานของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่บ้านหาดใหญ่ได้ทำการสำรวจและทำหลั กฐานขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ พบว่าเฉพาะฝั่งถนนศรีภูวนารถ มีบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทั้งหมด 9 หลัง ปลูกเลียบริมฝั ่งคลองเตยอยู่ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟหาดใหญ่ไปทางตะวันออก ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านหาดใหญ่ อำเภอฝ่ายเหนือ(ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอหาดใหญ่ ในปี พ.ศ.2460) หลังจากที่ขุนนิพัทธ์ฯได้ซื้อที่ป่าต้นเสม็ดแล้ว ทางการได้ขอซื้อที่ดินส่วนหนึ่งต่อจากท่านในราวปี พ.ศ.2458 เพื่อทำเป็นย่านรถไฟ ได้ขอซื้อที่ถัดจากแนวทางรถไฟที่มีอยู่ก่อนแล้ว เริ่มจากด้านหลังของสถานที่หยุดรถไฟชั่วคราว โคกเสม็จชุน หรือสถานีรถไฟหาดใหญ่ในปัจจุบั นกินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้างตลอดริมถนนธรรมนูญวิถีทั ้งสองฟาก(หรือถนนเจียกีซีในสมัยนั้น) จรดสี่แยกถนนธรรมนูญวิถีติดกั บถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ต่อมาในปี พ.ศ.2459 ขุนนิพั ทธ์ฯก็ได้ทำการโค่นต้นเสม็ดเพื่อปราบพื้นที่ให้กว้างใหญ่ไว้สร้างห้องแถวให้กั บครอบครัวท่านพร้อมเพื่อนบ้าน เริ่มด้วยการสร้างห้องแถวหลังคามุงจากจำนวน 5 ห้อง ต่อจากเขตย่านรถไฟ(ปัจจุบันคือที่ตั้งของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด) การเริ่มต้นของท่านครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นบุคคลที่กล้าหาญและ เป็นผู้มองการณ์ไกลอย่างยิ่ง ก่อนจะทำการสร้างห้องแถว ท่านไว้วางผังเมืองไว้อย่างมีระเบียบ โดยการตัดถนนดินแดงขึ้นสายแรกอยู่ด้านหลังของสถานีรถไฟ ถนนสายนี้แรกว่า ถนนเจียกีซี พร้อมกันนั้นท่านก็ได้ตัดถนนขึ้นอีก 3 สาย คือ ถนนเจียกีซี 1, ถนนเจียกีซี 2, และถนนเจียกีซี 3 ตัดผ่านถนนเจียกีซีมีลักษณะ เป็นตารางหมากรุก ต่อมา ถนนเจียกีซี ได้เปลี่ยนเป็น ถนนธรรมนูญวิถี ถนนเจียกีซี 1, ถนนเจียกีซี 2, และถนนเจียกีซี 3 ได้เปลี่ยนเป็นถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, ถนนนิพัทธ์อุทิศ 2, ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 (ชื่อนิพัทธ์ เป็นชื่อราชทินนามของขุนนิพัทธ์จีนนคร ซึ่งพระ ยามสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระ ราชทานให้เมื่อปี พ.ศ.2472) ปัจจุบันถนนทั้ง 4 สาย ยังคงเป็นถนนสายสำคัญที่สุดของตั วเมืองหาดใหญ่ การวางผังเมืองนี้ท่านได้ความคิดจากเมืองสุไหงปัตตานี ประเทศมลายู เนื่องจากสภาพเมืองสุไหงปัตตานีมีลักษณะคล้ายกับสภาพพื้นที่ที่ท่านได้จั บจองไว้(ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นบริเวณตัวเมืองหาดใหญ่) ห้องแถวห้าห้องแรกของขุนนิพัทธ์ฯ สร้างด้วยเสาไม้กลม ตัวบ้านเป็นฝาขั ดแตะ หลังคามุง จาก ห้องแถวหลังแรกและหลังที่สอง เพื่อของท่านได้เช่าทำโรงแรม มีชื่อว่า โรงแรมเคี่ยนไท้และ โรงแรมหยี่กี่ ส่วนสามห้องสุดท้ายนั้น ท่านใช้เป็นที่พักอาศัย ร้านขายของชำ และโรงแรม ซีฟัด หลังสุดท้ายนี้สร้างไว้ตรงหัวมุมสี่แยก ถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 (ที่ตั้งของธนาคารนครหลวงไทย จำกัดในปัจจุบัน) ในระหว่างที่ขุนนิพัทธ์ฯและครอบครัวพร้อมทั ้งเพื่อนบ้านได้ย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวสร้างใหม่นั้นท่านยั งคงมีการติดต่อจดหมายกับชาวมลายูเสมอ แต่บริเวณที่ท่านพักอาศั ยนี้เคยเป็นป่าต้นเสม็ด ไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ เพื่อเป็นการสะ ดวกในการติดต่อจดหมายกับชาวต่างประเทศ ท่านได้ใช้ชื่อบ้านหาดใหญ่ ซึ่งเป็นชื่อของละแวกบ้านใกล้เคียงเป็นสถานที่ติดต่อส่งจดหมายมายั งจุดหมายปลายทางก็ปรากฎว่าส่งได้ถูกต้อง หลังจากที่ทางการได้ซื้อที่ดินจากขุนนิพัทธ์ฯไว้บริเวณย่านรถไฟแล้ว อีก 3 ปีต่อมา(ประมาณปี พ.ศ.2460-2461) ได้มีการเปลี่ยนป้ายสถานีโคกเสม็จชุน มาเป็นสถานีรถไฟหาดใหญ่ แต่ก่อนจะ มีการเปลี่ยนชื่อป้ายสถานีรถไฟใหม่นี้ ข้าราชการหลายท่านพร้อมทั้งปลั ดเทศาภิบาล นายไปรษณีย์ ได้เชิญขุนนิพัทธ์ฯ ไปปรึกษาหารือเกี่ยวกับการตั ้งชื่อสถานีรถไฟ ขุนนิพัทธ์ฯได้ชี้แจงในที่ประ ชุมถึงการที่ท่านมีการติดต่อจดหมายกับชาวมลายู และได้ใช้ชื่อ หาดใหญ่ เป็นสถานที่ติดต่อ ที่ประชุมเห็นชอบด้วยกั บการใช้ชื่อนี้จึงเสนอให้ใช้ชื่อ สถานีหาดใหญ่ ตลาดหาดใหญ่ได้เริ่มขึ้นจากห้องแถวห้าห้องริมถนนเจียกีซี ถนนสายแรกหลังสถานีรถไฟหาดใหญ่ เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของขุนนิพัทธ์ฯ ดั งมีจดหมายของพระประมณฑ์ปัญญาจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาชลบุรี ถึงนายกสมาคมจีนแคะ เมื่อ 2 มีนาคม 2508 ที่ได้รับหนังสือชีวประวัติขุนนิพั ทธ์จีนนคร ซึ่งพิมพ์ในปี พ.ศ.2507 มีข้อความตอนหนึ่งว่า ...ผมมีความยินดีมากที่ได้หนังสือฯ นี้มาไว้ในห้องสมุดของผม เพราะ ได้เปิดหูเปิดตาผมหลายประการ เช่น เมื่อปี พ.ศ.2462 ผมไปเที่ยวประ เทศชวาได้ผ่านหาดใหญ่เป็นครั้งแรก และขากลับได้พักค้างคืนที่โรงแรมชั ่วคราวหลังสถานีรถไฟ ซึ่งเป็นโรงแรมทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก ใช้ฟากทำด้วยไม้ใผ่เหมือนกัน แต่ก็พักนอนหลับได้สบายดี ผมมาคำนึงถึงโรงแรมชั่วคราวนี้เป็นของใครหนอมาสร้างไว้ เพราะมองดูรอบๆ แล้วก็เป็นป่าละเมาะทั้งนั้น เพิ่งทราบจากหนังสือฯนี้เองว่าท่านขุนนิพั ทธ์จีนนครเป็นผู้สร้างไว้ หาดใหญ่เวลานั้นก็คือป่าละเมาะเราดีๆ นี่เอง จะ แลไปทางไหนไม่เห็นบ้านผู้คน รู้สึกว่าสถานีหาดใหญ่ตั้งอยู่โดเดี่ยวกลางทุ่ง ต่อจากนั้นมาถึงบัดนี้เวลาได้ล่วงเลยมา 45 ปี และเมืองหาดใหญ่ของท่านขุนฯ ก็ได้เกิดขึ้น ที่ดินซึ่งเกือบจะไม่มีค่าอะไรเลยซื้อขายกันในขณะ นี้ไร่หนึ่งราคาเป็นล้านๆ บาทชาวต่างประเทศผู้หนึ่งซึ่งเดินทางผ่านหาดใหญ่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทำนายว่าหาดใหญ่จะเป็นเมืองกัวลาลัมเปอร์อีกเมืองหนึ่ง ก็ดูจะ เป็นความจริงขึ้นมาแล้ว ทั้งนี้เพราะท่านขุนฯเป็นกำลังสำคั ญที่สุดสมควรอย่างยิ่งที่ชาวหาดใหญ่จะต้องสร้างอนุสาวรีย์ให้เป็นที่ระ ลึกแก่ท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร(เจียกีซี) บุคคลอีกท่านหนึ่งที่เป็นต้นเหตุให้เกิดเมืองหาดใหญ่ ซึ่งผมจะละ เว้นกล่าวเสียมิได้คือ เสด็จในกรมพระกำแพงเพชร์อัครโยธิน ซึ่งได้ทรงตั ดทางรถไฟผ่าป่าดงไปทางนั้นและทรงตั้งสถานีรถไฟขึ้นที่นั่น (ลงชื่อ) พระประมณฑ์ปัญญา ประมาณปี พ.ศ.2463 ขุนนิพัทธ์ฯได้สร้างห้องแถวหลั งคามุงจากเพิ่มขึ้นอีกหลายห้อง โดยได้สร้างต่อจากห้องแถวห้องที่ห้า เริ่มจากหั วมุมสี่แยกถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ไปทางด้านตะวันออก(ปั จจุบันคือที่ตั้งของร้านขายหนังสือหนานหยางและร้านรอยัลตลอดแถว) จรดสี่แยกถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 ภายหลั งต่อมาห้องแถวช่วงนี้ได้ขายให้กับพระยาอรรถกระวีสุนทร ตลาดหาดใหญ่เริ่มมีผู้คนสั ญจรไปมามากมายเนื่องจากกรรมกรสร้างทางรถไฟสายใต้ที่เสร็จสิ้นจากงานแล้ ว ในระหว่างปี พ.ศ.2458-2459 ได้ลงทุนทำสวนยางบริเวณรอบนอกอำเภอหาดใหญ่ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ในราวปีพ.ศ.2466 กรรมกรสวนยางจากท้องที่อื่นๆ และ กรรมกรเหมืองแร่เริ่มทะยอยเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น ขุนนิพั ทธ์ฯได้ขยายกิจการโดยเปิดสำนักงานยี้ซุ้นชอง และโรงแรม วั้นออนฝ่อ ที่เรือนไม้สองชั้นหลังคามุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้นสองหลั งแรกในหาดใหญ่ ที่สร้างไว้ริมถนนเจียกีซีฝั่งตรงข้ามกับห้องแถวห้าห้องแรก ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนี้เอง คุณพระเสน่หามนตรี นายอำเภอหาดใหญ่ ก็ได้ให้ผู้อื่นมาเช่าที่ของท่านเพื่อปลูกบ้านพักหรือร้านค้า ที่ดินของท่านอยู่บริเวณช่วงถัดไปของสี่แยกถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพั ทธ์สงเคราะห์ 1 ถึง 3 (บริเวณที่ตั้งของโรงแรมแหลมทองในปัจจุบัน) ในสมัยนั ้นห้องแถวช่วงนี้สร้างเป็นห้องแถวหลังคามุงจากเช่นกัน ขุนนิพัทธ์จีนนครได้ขายที่ดินว่างเปล่าริมถนนเจียกีซี 1, 2 และ 3 ให้กั บชาวจีนในประเทศมลายูหลายแปลง บุคคลเหล่านี้ได้มาลงทุนปลูกสร้างบ้านไม้สองชั้นไว้หลายหลัง ในช่วงของการขยายตัวของตลาดหาดใหญ่นี้ คุณพระเสน่หามนตรี พระ ยาอรรถกระวีสุนทร และ คุณชีกิมหยง ต่างก็มีที่ดินว่างเปล่ามากมาย ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความเจริญให้กับท้องถิ่น โดยการสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้นและตัดถนนอีกหลายสาย ภายหลังต่อมา คุณชีกิมหยงยังได้อุทิศที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนศรีนคร และตัดถนนสายต่างๆ เช่น ถนนละม้ายประดิษฐ์ ถนนชีวานุสรณ์ ถนนฉัยยากุล เป็นต้น รวมทั ้งได้สร้างตลาดชีกิมหยง และ ยังอุทิศที่ดินหลายแห่งในการสร้างวัดจีน, สุเหร่า, โรงเจ และ โรงพยาบาลมิชชั่นด้วย ในปี พ.ศ.2467 ได้มีการทำพิธีฉลองเปิดสถานีหาดใหญ่และ ตลาดหาดใหญ่ที่ขุนนิพัทธ์ฯเป็นผู้เริ่มก่อตั้งและวางผังเมืองเอง ซึ่งในสมัยนั ้นมีบ้านเรือนในตลาดหาดใหญ่กว่า 100 หลังคาเรือนแล้ว ตลาดหาดใหญ่ได้เริ่มกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจ มีการทำการค้ากั บชาวมลายูมากขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2471 ท้องที่ตลาดหาดใหญ่ได้ถูกยกฐานะให้เป็นสุขาภิบาล ขุนนิพัทธ์ฯได้รับการแต่งตั ้งให้เป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วย ต่อมาเมื่อ 7 ธันวาคม 2478 ได้ยกฐานะ เป็นเทศบาลตำบลหาดใหญ่ และเมื่อ 16 มีนาคม 2492 ได้ยกฐานะ เป็นเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ก่อนที่ถูกยกเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่เมื่อ............ ในราวปี พ.ศ.2470 ขุนนิพัทธ์ฯได้ย้ายครอบครั วจากห้องแถวริมถนนเจียกีซี หรือถนนธรรมนูญวิถี ในปัจจุบันไปอยู่ที่ฝั ่งถนนเพชรเกษม แต่ท่านมิได้หยุดพัฒนาเมืองเพียงเท่านี้ ท่านได้สร้างห้องแถวบนที่ดินว่างเปล่าของท่านเอง ซึ่งอยู่ปลายถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ในราวปี พ.ศ.2480 ที่ท่านได้ขยายบ้านเรือนไปยังปลายถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 นั้น ถนนสายนี้ยังเป็นสถานที่ค่อนข้างเงียบเหงา ท่านได้ขายห้องแถวห้องแถวเหล่านั้นในราคาต่ำกว่าต้นทุน เพื่อเป็นการชั กจูงให้ผู้คนขยายแหล่งทำกินออกไปให้กว้างขวางขึ้นอีก ท่านได้ตั ้งตลาดเอกชนขึ้นด้วย เรียกว่าตลาดเจียกีซี ตั้งอยู่ที่ 636 ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1-2 ซึ่งได้อนุญาตจากนายกเทศมนตรีตำบลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2482 ตามใบอนุญาตที่ 192/2483 ให้เปิดตลาดตั้งแต่เวลา 04.00 น. ถึง 19.00 น. และต่อมาก็ได้สร้างโรงภาพยนต์เฉลิมยนต์ และตึก 3 ชั้นได้เช่าให้กั บธนาคารเอเซีย จำกัด ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกเสด็จประ พาสภาคใต้ ได้พิจารณาถึงคุณงามความดีและกิตติศัพท์อันเลื่องลือ ถึงความขยั นขันแข็งของท่าน ในการสร้างตนเองและพั ฒนาตลาดหาดใหญ่จากป่าต้นเสม็ดมาเป็นเมืองใหญ่ของภาคใต้ จึงมีพระ บรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ท่านเป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร และพระ ราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยในปีพ.ศ.2472 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.อ.พระ ยาพหลยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้กราบทูลขอพระ ราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นสามแก่ท่าน จนกระทั่งมาสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้กราบทูลขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งเหรียญตราและเข็มกว่า 30 ชนิด มีบทความตอนหนึ่งของ นายวิทย์ บุญรัตน์ นักท่องเที่ยวและเป็นผู้สั งเกตการณ์ท่านหนึ่งได้มีโอกาสมาเยือนเมืองหาดใหญ่ ได้นำบั นทึก สภาพเมืองหาดใหญ่ ลงตีพิมพ์ในหนังสือกรุงเทพฯวารศัพท์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2479 ดังนี้ ...สิ่งที่สดุดตาและสดุดใจข้าพเจ้ามาก และจะ ได้นำมากล่าวเป็นพิเศษก็คือ ชื่อถนนซึ่งปรากฎว่ามีหลายต่อหลายสายที่ใช้ชื่อ เจียกีซี ซึ่งข้าพเจ้าได้นำเอาความแปลกใจอันนี้ไปถามชาวหาดใหญ่บางคนดู ซึ่งได้รั บคำตอบอธิบายว่า ในการที่หาดใหญ่มีถนนชื่อเจียกีซี หลายต่อหลายถนนนั้น ก็เพราะถนนเหล่านั้น ท่านเจียกีซี ธนบดีผู้มั่งคั่งคนหนึ่งในหาดใหญ่ได้สละทุนทรั พย์ส่วนตัวของท่านเองสร้างถนนเหล่านั้นขึ้นเพื่อความเจริญและ สดวกในการขนส่ง จึงได้นำเอาชื่อท่านผู้สร้างนั้นมาเป็นชื่อถนนเพื่อเป็นที่ระ ลึกของท่านผู้สร้างนี้ต่อไป และต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ตั้งสุขาภิบาลขึ้นแล้ว ต่อมาได้ประกาศใช้การเทศบาล ท่านผู้นี้ได้ยกบรรดาถนนต่างๆ และ ที่ดินที่ท่านได้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวนั ้นให้อยู่ในความดูแลของสุขาภิบาลแะเทศบาลหมด ด้วยเหตุที่ท่านเจียกีซีผู้นี้ ได้เป็นผู้หนึ่งที่ทำความเจริญรุ่งเรืองให้แก่หาดใหญ่มาทางรัฐบาลจึงได้แต่งตั ้งให้เป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ท่านผู้นี้ได้ตั ้งใจช่วยเหลือรัฐบาลในการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติโดยมิได้หวั งผลตอบแทนอย่างไร.. และบทความอีกตอนหนึ่งเขียนไว้ว่า ...เท่าที่ข้าพเจ้าได้ทราบมา นอกจากท่านผู้นี้ได้สละทุนทรัพย์ส่วนตั วสร้างถนนให้หาดใหญ่หลายต่อหลายแล้วนั้น ท่านเจียกีซียังได้อุทิศที่ส่วนตั วของท่านให้เป็นที่สำหรับจอดรถสาธารณะเพื่อสดวกในการจราจรอีก และ เมื่อเดือนสิงหาคมปีนี้(พ.ศ.2479) ท่านผู้นี้ได้เสนอเรื่องราวเพื่อซ่อมแซมถนนสายหนึ่ง ซึ่งเมื่อ 30 ปีก่อนนายอำเภอคนเก่าได้สร้างไว้และ เวลานี้ถูกทอดทิ้งจนใช้เป็นทางคมนาคมไม่ได้แล้วนั้นขึ้นเพื่อเป็นผลประ โยชน์ในการคมนาคม และการขนส่งไปยังคณะกรรมการอำเภอเพื่อขอนุมั ติในการสร้างและซ่อม และขอให้ทางคณะกรรมการอำเภอติดต่อกับเจ้าของที่ดิน ซึ่งอยู่ติดกับทางสายนั้น ในอันที่จะต้องทำถนนให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้รถยนต์หลีกกั นได้ ความประสงค์ในการสร้างและ ซ่อมแซมถนนสายคลองเรียนไปจดถนนไทรบุรีนี้ก็ได้รับอนุมัติ และ ราษฎรเจ้าของที่ดินตอนที่จะต้องถูกทับถมเป็นถนนขึ้นเพื่อให้รถยนต์หลีกกันได้นั ้นก็เต็มใจยินดีเสียสละที่ดินตอนนั้นให้ด้วย การลงมือการสร้างก็ได้ดำเนินมาจนถึงบัดนี้ ปรากฎว่ายังมีทางที่กำลั งซ่อมแซมอีกเล็กน้อยเท่านั้น ก็จะเปิดใช้การได้แล้ว การสร้างและ ซ่อมถนนสายนี้พร้อมทั้งได้สร้างสพานไม้ข้ามคลองเตย ปรากฎว่าท่านขุนนิพั ทธ์จีนนครจะต้องใช้เงินส่วนตัวนับเรือนพันๆ ที่เดียว ควรนับว่าท่านผู้นี้ควรจะ เป็นตัวอย่างของท่านผู็มีเงินทั้งหลายได้คนหนึ่ง...ลงชื่อ วิทย์ บุญรัตน์ นับแต่ปี พ.ศ.2459 เรื่อยมาขุนนิพัทธ์ฯได้พยายามทำความเจริญให้กั บท้องถิ่นและเพื่อที่จะทำให้หาดใหญ่เป็นชุมทางคมนาคม ท่านได้อุทิศที่ดินและ วางผังเมืองด้วยตนเองจากการตัดถนนสายแรกขึ้นคือ ถนนเจียกีซี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนธรรมนูญวิถี และได้ตัดถนนสายต่างๆ ดังนี้ ถนนเจียกีซี สาย 1 ต่อมาเปลี่ยนเป็น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ถนนเจียกีซี สาย 2 ต่อมาเปลี่ยนเป็๋น ถนนไทยอิสระ แล้วเปลี่ยนอีกครั้งเป็น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 ถนนเจียกีซี สาย 3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น ถนน 24 มิถุนาฯ แล้วเปลี่ยนอีกครั ้งเป็น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 หลังจากท่านได้ย้ายไปอยู่ฝั่งถนนเพชรเกษมแล้ว ท่านยังได้พั ฒนาที่ดินแถบนั้นอีก โดยการอุทิศที่ดินให้กับเทศบาลเมืองหาดใหญ่เพื่อตั ดถนนอีก 35 สายดังนี้คือ ถนนนิพัทธ์สงคราะห์ 1-5 ถนนซอยนิพัทธ์สงเคราะห์รวม 25 สาย ถนนจิระนคร ถนนจิระอุทิศ ถนนซอย 1 นิพัทธ์อุทิศ 1 และ วอย 2 นิพัทธ์อุทิศ 1 ตรอกจิระพัทธ์ ถนนนิพัทธ์ภักดี นอกจากการอุทิศที่ดินเพื่อตัดถนนหลายสายแล้ว ท่านยั งได้อุทิศที่ดินส่วนหนึ่งและขายอีกส่วนหนึ่งให้กับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อุทิศที่ดินจำนวนสี่ไร่ครึ่งให้กับเทศบาล เพื่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ อุทิศที่ดินจำนวนสี่สิบไร่ให้กับเทศบาลเมืองหาดใหญ่ และ ต่อมาได้ขายที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้กั บเทศบาลเมืองหาดใหญ่เพื่อสร้างสนามกีฬาจิระนคร จากการขายที่ดินในครั้งนั ้นท่านได้บริจาคเงินอีกสองแสนบาทเพื่อเป็นรเงินสมทบส่งเสริมการกีฬาให้กั บเทศบาล ในปีพ.ศ.2498 ปัจจุบันนี้สถานที่ทั้งสามแห่ง เช่นสนามกีฬาจิระนคร โรงพยาบาลหาดใหญ่ และ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ขุนนิพัทธ์ฯได้รับอนุญาตให้แปลงสัญ๙าติเป็นไทยจากกระ ทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2482 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2484 ท่านได้รับอนุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวคือนิพัทธ์ จากกระทรวงมหาดไทย และได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนนามสกุลจิระนคร จากกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2487 ตามลำดับ ขุนนิพัทธ์ฯได้สร้างชื่อเสียงให้กับวงศ์ตระกูลและครอบครั วของท่านมากมาย แต่ในขณะเดียวกันท่านก็ได้บำเพ็ญกุศลเพื่อส่วนรวม และ หน่วยราชการทุกสาขาควบคู่กันมาโดยตลอด ดังมีหนังสือตอบขอบคุณพร้อมทั ้งยกย่องเกียรติคุณของท่านปรากฎเป็นหลักฐานดังต่อไปนี้ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2483 มีหนังสือจากหลวงเกรียงศักดิพิชิต จากกองบัญชาการกองพลที่ 6 ตอบขอบคุณที่ท่านได้เอื้อเฟื้อจัดที่พัก 1 หลัง ให้กั บนายพันตรี หลวงรังสรรคพสุธา ได้มาปฏิบัติหน้าที่สำรวจแผนที่ในเขตจังหวั ดสงขลา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2482 ถึงเดือนกรกฎาคม 2483 โดยไม่ได้คิดค่าเช่าบ้าน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2486 กองข้าหลวงตรวจการสรรพากรภาค 5 สงขลา มีหนังสือเชิญท่านไปรับแหนบตราพระอุเทนทราธิราชซึ่งเป็นตราประ จำตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร จากการที่ท่านได้ช่วยให้รัฐบาลได้รับชำระ เงินอากรรังนกที่นายลิ่มยิ่นค้อค้างชำระเป็นเงินสามถึงสี่แสนบาท ซึ่งในสมัยนั ้นยังมองไม่เห็นลู่ทางว่าจะได้รับเงินชำระจากนายลิ่มยิ่นค้ออย่างไร แหนบที่ขุนนิพัทธ์ฯได้รับนี้เป็นแหนบที่กรมสรรพากรได้สร้างขึ้นเป็นแหนบแรก และท่านก็เป็นคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้เช่นกัน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2489 ที่ว่าการจังหวัดทหารบกสงขลา ได้เชิญท่านให้เป็นสมาชิกกิติมศักดิ์ของค่ายทหารคอหงส์ เนื่องจากท่านได้เคยมีอุปการคุณเกื้อกูลแก่ราชการทหารตลอดมา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2490 สโมสรข้าราชการจังหวั ดสงขลาเชิญท่านเป็นสมาชิกกิติมศักดิ์สโมสรข้าราชการจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2493 ศาลากลางจังหวัดสงขลามีหนั งสือเชิญท่านให้ไปรับเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ เนื่องจากท่านได้บำเพ็ญคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์แก่ราชการและ สาธารณชน ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯนิวัตสู่พระนครและประ กอบพระราชพิธีราชาภิเษกเถลิราชสมบัติ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2498 ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่มีหนั งสือเชิญท่านให้ไปรับเข็มเครื่องหมายทองประดั บเพ็ชรเป็นเครื่องหมายตอบแทนส่วนบุคคล เนื่องจากท่านได้อุทิศที่ดินทำถนน 22 สาย ยาว 8.650 กิโลเมตร พร้อมทั้งค่าก่อสร้างถนนเป็นเงินทั้งสิ้น 619,570 บาท ก่อนมอบให้เทศบาลเมืองหาดใหญ่ดำเนินการต่อไป ประมาณ 15 ปีก่อน ชีวประวัติขุนนิพัทธ์จีนนคร เคยได้รั บการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Succesful Men of Southeast Asia เป็นหนังสือที่เขียนเฉพาะชีวประวัติบุคคลในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ที่ประสบความสำเร็จในด้านการทำงานและได้บำเพ็ยประโยชน์ต่อสังคมและประ เทศชาติ นอกจากท่านจะเป็นผู้มองการณ์ไกล มีจิตใจกว้างขวางและ โอบอ้อมอารีแล้ว ท่านยังมีความสามารถในการคิดค้นทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ด้วย เช่น สมัยสงครามเอเซีย ราวปีพ.ศ.2486 น้ำมันขาดแคลน เนื่องจากภาวะ สงคราม ท่านเริ่มทดลองกลั่นน้ำมันจากยางพาราทันทีได้ใช้เวลาทดลองอยู่ประ มาณ 6 เดือน ก็นำสินค้าออกสู่ตลาดแต่คุณภาพยังไม่อยู่ในเกณฑ์ดีเท่าที่ควร ท่านก็มิได้ย่อท้อยังคงทดลองเพื่อปรับคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอีก จนในที่สุดสามารถกลั่นจากยางพาราซึ่งมีคุณภาพระดับมาตรฐานได้ประ มาณเดือนละ 70,280 ปี๊บ อุปโภคกันทั่วทั้งหาดใหญ่-สงขลา รวมทั้งประ เทศเพื่อนบ้าน 4 รัฐมาเลเซีย เช่น รัฐเปอร์ลิส รัฐเคดาห์ รัฐตรังกานูและรัฐกลันตัน แห่งประเทศมลายูก็ยังสั่งซื้อน้ำมันจากท่านเช่นกัน ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการต่อสู้ชีวิต ขุนนิพัทธ์ฯมิเคยละ เว้นการประกอบคุณงามความดีแม้แต่สักครั้ง ดังจะ เห็นได้จากการช่วยเหลือเกื้อกูลทุกหน่วยงาน รวมทั้งสมาคมต่างๆ ในหาดใหญ่เต็มกำลังความสามารถของท่าน จนมีอายุได้ 87 ปี ท่านได้ถึงแก่กรรมที่บ้านเลขที่ 428 ถนนเพชรเกษม หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ธั นวาคม 2515 ได้รับพระราชทานเครื่องขอขมาในการฝังศพ เมื่อวันที่ 25 ธั นวาคม 2515 ที่สุสานจิระนคร ภายในสวนขุนนิพัทธ์ฯอยู่ด้านหลั งของสถานีรถไฟน้ำน้อย ตำบลน้ำน้อย(ครึ่งทางระหว่างหาดใหญ่-สงขลา) เรียบเรียงโดย ลักษมี จิระนคร/10 มิถุนายน 2528 |
|
บริษัท พีรพัฒน์ เคมี อุตสาหกรรม จำกัด
![]() ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |