โดย

Home

ยา

ผู้หญิง

เด็ก

เครื่องสำอาง

ปฐมพยาบาล

โรคทั่วไป

อื่นๆน่าสนใจ

สอบถามปัญหา

ใบแปะก๊วย Ginkgo Biloba

Last update : 21/11/42

This Page
Related Topics
Interesting Webs


Search the whole world
Enter the Key word :
Select the Search Engine(s):
Yahoo
Altavista
WebCrawler
Excite
Lycos

เชิญ ติชม สอบถาม เสนอแนะ

ชื่อ
email
ติชม เรื่องที่อยากสอบถาม

สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด หรือทำฟัน แนะนำให้ท่านงดการรับประทาน
สารสกัดจากใบแปะก๊วยก่อนล่วงหน้า
เพราะอาจทำให้เลือดหยุดช้าลงได้
ทั่วไป        

เป็นพืชดึกดำบรรพ์ชนิดสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่บนโลก จึงถือว่าเป็นฟอสซิลที่ยังมีชีวิตอยู่ "Living Fossil"

ต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แล้วจึงแพร่หลายไปทั่วโลก ในฐานะไม้ประดับ

ส่วนที่ถูกใช้เป็นยาตามที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์จีน คือ เมล็ด ผล และใบ

สารสำคัญในใบถูกตรวจพบในปี 1930 แต่เริ่มมีการค้นคว้าอย่างจริงจัง ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 เมื่อมีการสกัดสารสำคัญจากใบมาใช้ประโยชน์ในการรักษา

มีอะไรในใบแปะก๊วย ?        

ในสารสกัดจากใบแปะก๊วย ประกอบด้วยสารที่เรียกว่า 

  • Glavone Glycosides 24% ประกอบด้วย Quercetin, Kaempferol, Isorhamnetin
  • Terpene Lactones 6% ประกอบด้วย  Bilobalide, Ginkgolides (A, B, & C)
  • อื่นๆอีก

ผลประโยชน์ของใบแปะก๊วย เกิดจากการออกฤทธิ์ร่วมกันของสารต่างๆข้างบนนี้

ผลต่อร่างกาย        

ผลหลักของสารต่างๆคือ

  • ลดการทำงานของ Platelet Activating Factor (PAF) - ลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ซึ่งผลหลักเรื่องนี้น่าจะเป็น Ginkgolide B
  • มีผลในการเป็นสาร Antioxidant ที่จะทำลายสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่เรียกว่า Free Radical
  • อาจมีผลต่อ Norepinephrine, Serotonin, Monoamine oxidase, Acetylcholine & Nitric Oxide รวมทั้งการสังเคราะห์ Corticosteroid โดยรวมแล้ว จึงทำให้มีผลลดความเครียด และช่วยปกป้องระบบประสาทด้วย
ประโยชน์        

คนจีนใช้เพื่อรักษาโรค หอบ , ไอ , การปัสสาวะผิดปกติ , บำรุงสมอง มาตั้งแต่สมัยโบราณ

ฝรั่งเศส , เยอรมัน ใช้สารสกัดจากใบเพื่อรักษา และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง ( Cerebral Insufficiency )

มีรายงานในผู้ป่วยที่รับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า พบว่า ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ แต่ยังไม่เป็นที่ยืนยันเด่นชัด

นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้ในโรคต่างๆเหล่านี้

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เส้นเลือดขอด
  • ริดสีดวงทวารหนัก
  • หลอดเลือดดำอักเสบ
  • อาการซึมเศร้า
  • โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ที่ไม่ควรใช้        
  • ผู้ที่แพ้แปะก๊วย
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดช้าผิดปกติ ( Hemophilia )
  • ผู้ที่กำลังรับประทานยาต่อต้านการแข็งตัวของเลือด ( Anticoagulant, Antiplatelet agent)
  • หญิงตั้งครรภ์ & ให้นมบุตร
ผลข้างเคียง        
  • ส่วนใหญ่พบน้อยมาก และไม่รุนแรง ได้แก่
  • ปวดศรีษะ, ผื่นคัน , อาการทางกระเพาะลำไส้ ได้แก่ คลื่นไส้, ท้องอืด, ลมแน่นท้อง
  • อาการแพ้ส่วนใหญ่จะพบกับผู้ที่ทานเมล็ด และผลของแปะก๊วยมากกว่าใบ
ความเป็นพิษ        

เท่าที่มีการศึกษามายังไม่พบพิษ ไม่ว่าต่อตับ ไต

แต่พบในรายงานหนึ่งว่า ทำให้เกิดอาการเลือดไหล หยุดช้ากว่าปกติ ซึ่งพบกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่พบในผู้ที่ขนาดสารสกัดที่ถูกต้อง
ขนาดการใช้        
ขนาดทั่วไป ครั้งละ 40-60 mg วันละ 3 ครั้ง
สำหรับรักษาอาการเกี่ยวกับ
  • การไหลเวียนของโลหิตในสมอง
  • ความจำเสื่อม
ครั้งละ 120-160 mg วันละ 3 ครั้ง

ขอเน้นว่าขนาดยาที่ระบุเป็นขนาดที่ถูกทำให้ได้มาตรฐาน
( Standardized Extract ) ซึ่งหมายความว่า สารสกัดที่ถูกทำให้ได้ความเข้มข้นคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตาม lot ที่ผลิต ซึ่งไม่พบในกลุ่มที่เป็นอาหารเสริม

ในการหวังผลจากสารสกัดใบแปะก๊วย จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน

 

Post a Message in My Message Board!

ถ้าท่านชอบ web  นี้ 
ท่านที่ต้องการสอบถาม เสนอแนะ เชิญครับ mailto:vichiena@yahoo.com
ขอขอบคุณ Geocities.com ที่ให้พื้นที่ฟรีสำหรับการจัดทำ Web Site นี้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่สำคัญ discoveryhealth | mediconsult | mayohealth | medscape.com | healthylives | สมาคมแพทย์โรคผิวหนัง USA | fda.gov | my.yahoo.com