ภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ห่าง จากกรุงเทพฯ 862 กิโลเมตร เป็นเกาะเดียวที่มีฐานะเป็น จังหวัด คำว่าภูเก็ตมาจาก "ภูเก็จ" ซึ่งมีความหมายว่าภูเขา แก้ว ได้รับสมญานามว่า มุกงามของไทย เป็นเกาะที่มีชื่อ เสียงมาแต่โบราณ เคยเป็นดินแดนแห่งเศรษฐีเหมืองแร่ดีบุก มีแร่ดีบุกมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งการขุดแร่ดีบุกที่ภูเก็ต มีประวัติความเป็นมากว่า 500 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีการ ปลูกยางพารา ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และทำการ ประมง

    จังหวัดภูเก็ต เป็นเกาะอยู่ในทะเลอันดามันและเกาะน้อยใหญ่อีก 32 เกาะ มีพื้นที่โดยรวม 543.034 ตารางกิโลเมตร จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร ท่องเที่ยวทางทะเล จึงมีสมญานามว่า "ไข่มุกอันดามัน" เป็นจุดดึงดูดของนักท่องเที่ยวที่ สำคัญของภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้และของโลกด้วยความ พร้อมในศักยภาพและ โอกาสหลายๆ ด้าน อันจะเป็นการสนับสนุนให้จังหวัดภูเก็ตมีโอกาสพัฒนาเป็น "เมืองนานาชาติ" ในภูมิภาคนี้

 
ที่ตั้งและขนาด

   จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันตกของภาคใต้หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ระหว่างละติจูดที่ 7 องศา 45 ลิปดา ถึง 8 องศา 15 ลิปดา เหนือ และลองจิจูด
ที่ 98 องศา 15 ลิปดา ถึง 98 องศา 40 ลิปดาตะวันออก

   ภูเก็ตเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่โดยรวม ประมาณ
543.3 ตาราง-กิโลเมตร หรือ ประมาณ 339,375 ไร่ ประกอบด้วย
เกาะบริวาร จำนวน 32 เกาะ

งานท้าวเทพกษัตรีย์ ท้าวศรีสุนทร
ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม ในงานเฉลิมฉลองนี้ มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย
เพื่อสดุดีในวีรกรรมของท่านครั้งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่สองวีรสตรี
สามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร

อาณาเขต

ภูเก็ตมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและทะเลอันดามัน ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ช่องแคบปากพระ อำเภอตะกั่วทุ่ง
จังหวัดพังงา  ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย   ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน เขตอำเภอเกาะยาว
จังหวัดพังงา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

สำหรับทิศเหนือของจังหวัดที่ติดต่อกับ ช่องแคบปากพระ ซึ่งมีความกว้างประมาณ 490 เมตรมีสะพานเชื่อมต่อกับจังหวัดพังงา
2 สะพาน คือ สะพานสารสิน และสะพานท้าวเทพกระษัตรี

แผนที่

แผนที่

  อาณาเขต  
 
ทิศเหนือ   จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและ สะพานท้าวเทพกษัตรีย์
ทิศใต้   จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก   จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
ทิศตะวันตก   จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
 
 
ประชากร
ประชากรจังหวัดภูเก็ต (31 ธันวาคม 2540) เป็นชาย 113,597 คน
เป็นหญิง  112,706 คน รวมประชากรของจังหวัด ภูเก็ตทั้งสิ้น 231,203 คน
ในเขต เทศบาล เมืองภูเก็ตประชากร 64,598 คน พื้นที่ 12 ตร.กม.
ความหนาแน่น ประชากร 538.3 คน/ตร.กม. นอกเขตเทศบาลประชากร
80,535 คน ความหนาแน่นประชากร 64.598 คน/ตร.กม.

เขตการปกครอง

จังหวัดภูเก็ต มีเขตการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล
103 หมู่บ้านและมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ คือ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (1 อบจ.) เทศบาล(6 เทศบาล) และ
องค์การบริหารส่วนตำบล(13 อบต.) นอกจากนี้สามารถ
แยกพิจารณาแต่ละอำเภอได้ดังนี้

อำเภอเมืองภูเก็ต แบ่งการปกครองเป็น 8 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้แก่
ตำบลตลาดใหญ่ตลาดเหนือ กะรน เกาะแก้ว ฉลอง รัษฎา ราไวย์
และวิชิต มี 2 เทศบาล คือ เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลกะรน
มี 6 องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ อบต.กะรน เกาะแก้ว ฉลอง
รัษฎา ราไวย์ และวิชิต

เขารัง

anti.jpg (9686 bytes)



อำเภอกะทู้ แบ่งการปกครองเป็น 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกะทู้ กมลา และป่าตอง มี 2 เทศบาล คือ เทศบาลตำบล
ป่าตอง และกะทู้ มีองค์การบริหารส่วนตำบล 1 อบต. คือ อบต.กมลา

อำเภอถลาง แบ่งการปกครองเป็น 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเทพกระษัตรี ป่าคลอก ไม้ขาวศรีสุนทร สาคู และเชิงทะเล
มี 2 เทศบาล คือ เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี และเทศบาลตำบล เชิงทะเล มีองค์การบริหารส่วนตำบล 6 อบต. คือ อบต.
เทพกระษัตรี ป่าคลอก ไม้ขาว ศรีสุนทร สาคู และเชิงทะเล

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นหมู่เกาะ วางตัวในแนวจากทิศเหนือไปทิศใต้
พื้นที่โดยรอบประกอบด้วย ภูเขา ทะเล และหาดทราย
พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 77 เป็นภูเขา มียอดเขาสูงที่สุด คือ
ยอดเขาไม้เท้าสิบสองสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร พื้นที่ประมาณ
ร้อยละ 30 เป็นที่ราบอยู่ตอนกลางและตะวันออกของเกาะ พื้นที่ชายฝั่งด้าน
ตะวันออกเป็นดินเลน และป่าชายเลนสำหรับฝั่งทะเลด้านตะวันตก
เป็นภูเขาและหาดทรายที่สวยงาม

 

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะแบบเขตศูนย์สูตร อยู่ในเขตอิทธิพล
ของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน แต่ละฤดู
มีระยะเวลา ดังนี้ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤศจิกายน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม

 

ฝน

ปริมาณน้ำฝนของจังหวัดภูเก็ต ระหว่างปี พ.ศ.2538-2542
อยู่ในช่วง 1,770.7 มม. ถึง 2,550.3 มม.   มีฝนตกมากที่สุด คือ
ในปี พ.ศ.2542 วัดได้ถึง 2,550.3 มม. มีจำนวนวันฝนตก 189 วัน
ฝนตกน้อยที่สุดในปี พ.ศ.2539 วัดได้ 1,770.7 มม. และมีจำนวน
วันฝนตก 177 วัน

อุณหภูมิ

จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538-2542 มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปี
อยู่ในช่วง 27.8 องศาเซลเซียส ถึง 29.3 องศาเซลเซียส
โดยมีอุณหภูมิต่ำสุด อยู่ในช่วง 21.5 องศาเซลเซียส ถึง
22.7 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำที่สุด คือ ในปี พ.ศ.2542 สำหรับ
อุณหภูมิสูงสุด อยู่ในช่วง 35.7 องศาเซลเซียส ถึง 37.8 องศาเซลเซียส
มีอุณหภูมิสูงสุดในปี พ.ศ.2541

ทรัพยากรธรรมชาติ-ป่าไม้

ในปี 2542 ภูเก็ตมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 122,578 ไร่ หรือ ร้อยละ 36.12 ของพื้นที่ทั้งหมด ในจำนวนนี้ประกอบด้วย พื้นที่ป่าทั่วไป และพื้นที่ป่าสงวน

ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และการละเล่นพื้นเมืองประจำจังหวัด

จังหวัดภูเก็ตในอดีตเจ้าถิ่นเดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวน้ำ(ชาวเล หรือ ชาวไทยใหม่) ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย
และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาสำหรับชาวไทยได้มีการอพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้น
ทำให้สามารถยึดครองภูเก็ตได้มากกว่าชาติอื่น และในที่สุดชาวไทยที่อาศัยอยู่ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ
มาปรับปรุง และดัดแปลง จนกระทั่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ตสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

old_building.jpg (7656 bytes)ด้านสถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของชาวภูเก็ตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย
สถานที่ราชการ และวัดวาอาราม สำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์
ของชาวภูเก็ตสามารถแบ่งได้เป็น สถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้าน
สถาปัตยกรรมแบบจีน

ด้านประเพณีและวัฒนธรรม

จังหวัดภูเก็ต มีการจัดงานเทศกาลหรือประเพณีที่สำคัญเป็นประจำทุกปีอันได้แก่ งานท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร
ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมในงานจะมีการบวงสรวงวีรสตรีทั้งสองท่านการจัดงานเฉลิมฉลอง และมีกิจกรรม
ต่าง ๆ มากมาย เพื่อเป็นการสดุดีวีรกรรมของท่านและรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถ
ปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่า นอกจากประเพณีดังกล่าวแล้ว จังหวัดภูเก็ตยังมีประเพณี-วัฒนธรรมอื่น ๆ
ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองอีกมากมาย อันได้แก่ การอุปสมบท และการแต่งงาน เป็นต้น

การอุปสมบท

ชาวภูเก็ตในปัจจุบันจะนิยมรวบรัดพิธีอุปสมบท โดยให้มีการโกนผมนาคในตอนเช้าตรู่ของวันอุปสมบท และทำพิธีอุปสมบท
ในตอนสาย เมื่อเสร็จพิธีอุปสมบทในเวลาฉันเพลก็จะเลี้ยงภัตตาหารเพลพระภิกษุสงฆ์ในวัด เพื่อเป็นการฉลองพระภิกษุ
ที่บวชใหม่ไปพร้อมกัน

การแต่งงาน

ชาวภูเก็ตจะมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและจีนร่วมกัน นั่นคือเมื่อมีการสู่ขอและกำหนดวันแต่งงาน
เรียบร้อยแล้ว ในตอนเช้าของวันแต่งงานเจ้าบ่าวจะแห่ขันหมากและของหมั้นต่าง ๆ มาบ้านเจ้าสาว พร้อมการจุดประทัด
ต้อนรับเจ้าบ่าว เมื่อมาถึงบ้านเจ้าสาว และเมื่อมีการหมั้นเจ้าสาวเรียบร้อยแล้วเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องไปสักการะ
เจ้าแม่กวนอิม(ปุดจ้อ)ณ ศาลเจ้าปุดจ้อ และไปไหว้หลวงพ่อแช่ม ณ วัดฉลอง เมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวแล้วก็จะเป็น
การเลี้ยงฉลองการแต่งงานซึ่งก่อนการเลี้ยงฉลองจะมีการเชิญญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายรับการคาราวะน้ำชาจาก
เจ้าสาวและเจ้าบ่าว เรียกว่า "ผั่งเต๋" เมื่อเสร็จการเลี้ยงฉลองจะมีการส่งตัวเจ้าสาวเจ้าบ่าวเข้าเรือนหอตามประเพณีทั่วไป

วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร

อาหารส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดภูเก็ตจะเน้นไปทางด้านอาหารจีน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของจังหวัดภูเก็ตเอง นอกจากนี้ใน
การรับประทานอาหารเช้า ชาวจังหวัดภูเก็ตจะนิยมรับประทานเป็น ขนม น้ำชา-กาแฟ หรือขนมจีน แทนการรับประทานข้าว

อาหารที่มีลักษณะเฉพาะของชาวภูเก็ต ได้แก่ หมี่ฮกเกี้ยน หมี่หุ้นปาฉ่าง หมี่สั่ว กาหรี่ไหมขวัญ โอวต้าวปอเปี๊ยะสด เสี่ยวโบ๋ย
โลบะ ขนมจีน น้ำชุบหยำ น้ำพริกกุ้งเสียบ และ แกงพุงปลา เป็นต้น สำหรับขนมหวาน ได้แก่ โอเอ๋ว ตูโบ้ เกียมโก้ย
และอาโป้ง ฯลฯ นอกจากนี้ภูเก็ตมีน้ำจิ้มมะม่วงที่เป็นลักษณะเฉพาะ คือ คล้ายน้ำปลาหวาน แต่ประกอบจากกะปิ น้ำตาล
และซีอิ้วดำแทนน้ำปลา เรียกว่า เกลือเคย


ด้านการละเล่น

การละเล่นพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต คือ "รองเง็ง" เป็นการละเล่น หรือ นาฎศิลป์ของชาวเล ที่มีการร่ายรำ และเต้นรำ
ด้วยการเคลื่อนไหวของมือ เท้า ลำตัว ที่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน ด้วยทำนองและเนื้อร้องของเพลงต้นโยง ที่มีเครื่องดนตรี
ไวโอลิน ฆ้อง ฉิ่ง และกรับไม้ เป็นส่วนประกอบสำคัญ    สำหรับการแต่งกายในการละเล่น รองเง็ง นั้น ชาวเลผู้หญิง
จะนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อลูกไม้แขนยาวสีสรรฉูดฉาด ซึ่งชุดที่ใช้สวมใส่จะมีลักษณะคล้ายชุดยอหยา

 
สถานที่สำคัญ แผนที่ ขึ้น