สปาร์กชิป ไมโครโปรเซสเซอร์แบบ RISC
จุดเริ่มต้นและความเป็นมา
ทำไมผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์จึงเลือกเดินทางแบบ RISC
ทำไม RISC จึงทำงานได้เร็วขึ้น
SPARC เป็นซีพียูที่แพร่หลายและแนวโน้มที่ดี
โครงสร้างรีจีสเตอร์
คำสั่งที่ใช้กับตัวเลขโฟลตติ้งพอยด์และคำสั่งที่ใช้กับโคโปรเซสเซอร์
บทนำ
แนวความคิดของนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนียร์ ได้พัฒนาซีพียูที่ชื่อว่า RISC I แนวความคิดนี้ คือ
ให้ซีพียูทำงานที่ไซเกิลแน่นอน โดยลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการ 
ไปป์ไลน์ (pipe line) คือ นำคำสั่งมาเรียงการทำงานแบบขนานเหลื่อมกันหรือเข้าทำงานแต่ละสถานี
ตามลำดับเรียงกันไป ทุกสถานีงานจะมีงานทำตลอดเวลาการลดจำนวนคำสั่งลง จึงกลายมาเป็น
ซีพียูประเภท RISCหรือ Reduce Instruction Set Computer คอมพิวเตอร์แบบ RISC
จึงทำงานได้เร็ว และเป็นกลไกที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถโดยรวมได้หลายบริษัทจึงหันมา
พัฒนา RISC จนในที่สุดมีซับซีพียูที่กำหนดขึ้นมา และบริษัทซันไมโครซิสเต็ม นำมาใช้เป็น
ซีพียูหลักของตนซีพียูดังกล่าวคือ SPARC
SPARC เป็นซีพียูที่มีการกำหนดโครงสร้างสถาปัตยกรรมและคำสั่งไว้ชัดเจน โดยมีบริษัท
หลายบริษัทนำไปพัฒนาโครงสร้างซิปแลบะผลิตซิปไมโครโปรเซสเซอร์ SPARC จึงเป็นซีพียู
ที่มีผู้ผลิตทั้งจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาทำให้ SPARC ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถและ
ประยุกต์เข้ากับเครื่องเวิร์กสเตชันและไฟล์เซิร์ฟเวอร์อย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2535 
บริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ พัฒนาซิปไมโครโปรเซสเซอร์ SPARC รุ่นใหม่และให้ชื่อว่า
ซูเปอร์สปาร์ก (SuperSPARC) เทคโนโลยีที่เท็กซัสพัฒนาใช้กับSPARC คือ BICMOS
โดยใช้กรรมวิธีการผลิตแบบ Epic2b ขนาด0.8 ไมครอน ขนาดซิป 16*16 มิลลิเมตร
มีจำนวนทรานซิสเตอร์ 3.2 ล้านตัว ทำงานครบตามฟังก์ชันที่กำหนดตามสถาปัตยกรรมSPARC
เวอร์ชัน 8 หลังจากนั้นบริษัทซันไมโครซิสเต็มนำมาผลิตเป็นเครื่อง SPARC 10 ที่มีขีดความ
สามารถสูงกว่าเดิมอักมากโดยที่มีขนาดเล็กลง ความเร็วในการทำงานเร็วขึ้น