ประเภท ลักษณะ ที่มา โทษ ภูมิคุ้มกัน แหล่งรักษา กฎหมาย หน้าแรก
 
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
 วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เป็นสิ่งธรรมชาติ หรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ประเภทและชื่อของวัตถุออกฤทธิ์

ประเภท 1 เช่น ดีอีที (DET), เมสคาลีน (MESCALINE), คาทิโนน (CATHINONE) เป็นต้น
ประเภท 2 เช่น แอมฟิพราโมน (AMFEPRAMONE), อีเฟดรีน (EPHEDRINE), ฟลูราซีแพม (FLURAZEPAM), เพโมลีน (PEMOLINE), ซูโดอีเฟดรีน (PSEUDOEPHEDRINE) เป็นต้น
ประเภท 3 เช่น อะโมบาร์บิตาล (AMOBARBITAL), ไซโคบาร์บิตาล (CYCLOBARBITAL) เป็นต้น
ประเภท 4 เช่น บาร์บิตาล (BARBITAL), ไดอาซีแพม (DIAZEPAM), ลอราซีแพม (LORAZEPAM) เป็นต้น

ความผิดและอัตราโทษ


ฐานความผิด วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2
ผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย - จำคุกห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับหนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท (ม.89) (รวมถึงกรณีครอบครอง หรือใช้ประโยชน์เกิน 0.5 กรัม) 
ครอบครองหรือ ใช้ประโยชน์ - ปริมาณไม่เกิน 0.5 กรัม จำคุกหนึ่งถึงห้าปี และปรับสองหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท (ม.106) 
เสพ - จำคุกหนึ่งปีถึงห้าปี และปรับสองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท (ม.106 ตรี) 
ฐานความผิด วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3 วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4
ส่งออก - จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (ม.90) 
ฐานความผิด วัตถุออกฤทธิ์
ประเภท 1
วัตถุออกฤทธิ์
ประเภท 2
วัตถุออกฤทธิ์
ประเภท 3
วัตถุออกฤทธิ์
ประเภท 4
ผลิต นำเข้า - วัตถุออกฤทธิ์ปลอม จำคุกห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับหนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท (ม.98)
- วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน หรือที่ถูกสั่งเพิกถอน จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับสองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท (ม.99)
- วัตถุออกฤทธิ์ที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียน จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.101) 
นำเข้า ขาย - วัตถุออกฤทธิ์เสื่อมคุณภาพ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำโดยไม่รู้ ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท (ม.100) 
ขาย - วัตถุออกฤทธิ์ปลอม จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับสองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากกระทำโดยไม่รู้ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.98)
- วัตถุออกฤทธิ์ผิดมาตรฐาน หรือที่ถูกสั่งเพิกถอน จำคุกหกเดือนถึงห้าปี และปรับหนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท หากกระทำโดยไม่รู้ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท (ม.99)
- ที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียน จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.101) 
นำผ่าน - จำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (ม.90) 
ยุยงส่งเสริม หลอกลวง หรือขู่เข็ญ ให้ผู้อื่นเสพ - จำคุกสองปีถึงสิบปี และปรับสี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากกระทำต่อหญิง หรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจ ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือผู้อื่น ในการกระทำความผิดทางอาญา จำคุกสามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับหกหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท (ม. 106 จัตวา) 

ย้อนกลับหน้ากฎหมาย
 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

จัดทำโดย...นายไชยา  เฉลียวพงษ์  อาจารย์ 1 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย