ประเภท ลักษณะ ที่มา โทษ ภูมิคุ้มกัน แหล่งรักษา กฎหมาย หน้าแรก


ชื่อทั่วไป :
ยาบ้า 
ชื่ออื่น ๆ : ยาม้า ยาขยัน

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :
(+)-2-methylamino-1-phenylpropane

สารเคมีที่ออกฤทธิ์ :
สารเคมีประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) โดยผลการตรวจพิสูจน์ยาบ้าใน ประเทศไทยปัจจุบันเกือบทั้งหมดมีเมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์(Methamphetamine Hydrochloride)

ลักษณะทางกายภาพ :

ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆกัน  เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ , ? , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99 หรืออาจ เป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้

ประวัติความเป็นมา
ยาบ้า เป็นชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งขึ้นแทนชื่อ ยาม้า เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง แต่เดิมนิยมเรียกว่า ยาม้า เพราะมาจากเครื่องหมายการค้าของบริษัท WELLCOME ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ส่งยาชนิดนี้มาขายในประเทศไทย ยาบ้ามีสารประกอบหลักในกลุ่ม Amphetamine เป็นยาอันตรายที่แพร่หลายทั่วไปทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เพราะผลิตง่าย และมีความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น 

 

 

 

Amphetamine เป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (EDELENO) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แอมเฟตามีน และยาบ้าที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ก็มีสารประกอบหลักเป็นเมทแอมเฟตามีนนี้เอง

ในอดีตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แอมเฟตามีนถูกใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด ที่นิยมแพร่หลายเป็นยาดมแก้หวัด คัดจมูก ชื่อ ยาเบนซีดริน (Benzedrine) มีไส้กระดาษชุบด้วยน้ำยา บรรจุไว้ในหลอดให้สูดดม แต่ก็มีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อกระตุ้นร่างกาย และลดความอ้วน โดยนำไส้กระดาษซับมาจุ่มน้ำ เพื่อละลายตัวยาแล้วนำมาใช้กินแทน ต่อมามีการผลิตแอมเฟตามีนอยู่ในในรูปยาเม็ดใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลาย เป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ซื้อหามาใช้ได้ ในขณะนั้นมีการโฆษณาสรรพคุณของ แอมเฟตามีนว่าสามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น โดยไม่ได้ตระหนักถึงฤทธิ์ของยาที่ทำให้เสพติดกันมากนัก และมีประชาชนจำนวนมากที่นำมาใช้ในทางที่ผิด จนกระทั่งในปี ค.ศ.1939 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ยาจำพวก แอมเฟตามีนเป็นยาควบคุม ซึ่งต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์จึงจะซื้อได้ ทำให้การใช้ยาชนิดนี้ลดน้อยลงจากท้องตลาด และเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายอย่างผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย

วิธีเสพยาบ้าทำได้หลายวิธี เช่น รับประทาน หรือนำไปผสมลงในเครื่องดื่มครั้งละ ?, ? หรือ 1-2 เม็ด หรือบางครั้งอาจใช้วิธีฉีดเข้าเส้น แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม วิธีที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ วิธีสูบ หมายถึงการใช้หลอดสูบเอาควันที่ได้จากการเผาไหม้เม็ดยาเข้าทางปาก คล้ายกับการสูบบุหรี่ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีอันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างรุนแรงและรวดเร็วกว่าวิธีการเสพในรูปแบบอื่น

ประเภทของยา
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ชนิดร้ายแรง) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

แหล่งผลิต : 
การผลิตยาบ้าอาศัยเทคโนโลยีและสารตั้งต้นที่หาง่ายกว่าเฮโรอีนมาก การผลิตแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การผลิตหัวเชื้อยาบ้า และการผลิตประเภทอัดเม็ด โดยแหล่งผลิตใหญ่ของยาบ้าเป็นชนกลุ่มน้อยตามชายแดนไทย – พม่า ทำการผลิตแบบครบวงจรทั้งผลิตหัวเชื้อและผลิตอัดเม็ด ซึ่งสามารถผลิตได้ปีละหลายร้อยล้านเม็ด และตลาดส่วนใหญ่ของผู้ผลิต ก็คือเยาวชนของไทย ผิดกับเฮโรอีนซึ่งประเทศไทยมักจะเป็นทางผ่านเพื่อส่งต่อไปยังประเทศอื่น

สำหรับการผลิตในประเทศเป็นการผลิตอัดเม็ดโดยใช้หัวเชื้อยาบ้าจากพื้นท ี่ชายแดนภาคเหนือเป็นหลัก โดยมีฐานการผลิตอยู่ไม่น้อยกว่า 15 จังหวัดเป็นแหล่งอัดเม็ดขนาดใหญ่ ที่สามารถอัดเม็ดยาบ้าเป็นจำนวนล้านเม็ด แต่ที่ร้ายแรงไปกว่านั้น ปัจจุบันเรายังพบหลักฐานว่ามีการอัดเม็ดในลักษณะอุตสาหกรรมครัวเรือน (Home Lab) โดยมีอุปกรณ์ตอกเม็ดขนาดเล็กซึ่งตอกเม็ดยาบ้าที่ผสมแอมเฟตามีนกับสารประกอบอื่นๆ  เช่น คาเฟอีน อีฟีดีน และแป้ง เป็นต้น กระจายอยู่ทั่วประเทศ

การแพร่ระบาด :
สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาบ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น “ยาบ้า” ที่แพร่ระบาดในประเทศมีทั้งที่ลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศและที่ลักลอบผลิตภายในประเทศ เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตเฮโรอีนหันมาผลิตยาบ้ามากขึ้น เพราะขบวนการผลิตยาบ้าทำได้ง่ายกว่า และลงทุนน้อยกว่า แต่ผลกำไรสูง และที่สำคัญตลาด”ยาบ้า” อยู่ในประเทศไทยนี่เอง เส้นทางลำเลียงจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ค้ารายย่อย จนถึงผู้บริโภคทำได้ง่ายกว่าเฮโรอีน ยาบ้าจึงมีสภาพการแพร่ระบาดสูง พื้นที่ที่แพร่ระบาดมาก คือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร และภาคใต้ ตามลำดับ

การออกฤทธิ์ :
 

ยาบ้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Over dose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้

 

ผลต่อร่างกาย :
 

วัยรุ่นที่เสพยาบ้าเป็นประจำ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกาย โดย สังเกตจากร่างกายที่ทรุดโทรม โดยเฉพาะพวกที่ใช้ยาแล้วออกเที่ยวเตร่กลางคืนและส่วนมากพอใช้ไปสักระยะหนึ่ง น้ำหนักจะลดเพราะไม่ค่อยอยากอาหาร เนื่องจากยาบ้ามีผลต่อ ศูนย์ควบคุมความอยากอาหารในสมอง

กลุ่มที่เสพยาบ้าเกินขนาด ร่างกายไม่สามารถทนต่อยาตามขนาดที่เสพได้ ผู้เสพจะมีอาการเมาเราเรียกว่า “เมายาบ้า” บางรายจะมีอาการคลุ้มคลั่ง หวาดระแวง ถึงขนาดทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ บางรายจะมีอาการประสาทหลอน มีความรู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ตามแขนขาหรือลำตัว การรับรู้ทางการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น และการสัมผัสจะเสียไป 

กลุ่มที่เสพยาบ้าจนติดแล้ว จะสังเกตเห็นความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายจะทรุดโทรม น้ำหนักลด มีการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในเพศชายอวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัว ไม่หลั่งน้ำอสุจิ ในเพศหญิงประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โอกาสมีลูกยาก

การบำบัด :

การบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้าไม่ใช่การทำให้ร่างกายปลอดจากยาเสพติด แต่เป็นการบำบัดรักษาความผิดปกติของร่างกายจากผลของยาเสพติด คือ ความผิดปกติของระบบประสาท โดยเฉพาะสมองส่วนกลาง (Central nervous system) และสารสื่อเคมีสมอง (Neurotransmitter) สมองของผู้ติดยาเสพติดต้องการฤทธิ์ของยาเสพติดที่จะกระตุ้นให้ระบบสมองทำงานอย่างปกติ หากช่วงใดขาดยาเสพติดไปกระตุ้นก็จะเกิดอาการผิดปกติขึ้น

อาการผิดปกติของร่างกายที่เห็นทันทีที่หยุดยาบ้า คือ อาการถอนพิษยา ซึ่งจะมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระวนกระวาย อ่อนเพลียและมีความรู้สึกจิตใจหดหู่ บางรายมีอาการถึงขนาด อยากฆ่าตัวตาย ในระยะนี้ ผู้ติดยาบ้าจะอยากนอนและนอนเป็นเวลานานในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก

ต่อจากอาการถอนพิษยา ผู้ติดยาบ้าจะมีอาการอยากยามาก ในช่วงนี้ผู้ติดยาเสพติดจะมีความ รู้สึกไม่เป็นสุข ไม่มีกำลังทั้งทางร่างกายและจิตใจ อยากที่จะใช้ยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้เกิดความกระชุ่มกระชวยกลับมาใหม่

การบำบัดรักษายาบ้าในช่วงแรก เป็นการบำบัดรักษาเพื่อลดอาการถอนพิษยาจึงเป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดความเครียด อาการซึมเศร้า หรืออาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหวาดระแวง เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถประคับประคองตนเองผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ หลังจากหยุดยาบ้าประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการถอนพิษยาและอาการอยากยาจะลดน้อยลง

แม้ว่าผู้ติดยาบ้าที่ผ่านการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยาแล้ว จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ความผิดปกติของระบบสมอง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้แก้ไข จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน ฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อไป เพื่อให้ผู้ติดยาบ้าหายขาดไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีก

การที่ต้องผ่านขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูให้สมองของผู้ติดยาเสพติด กลับมาเป็นสมองของคนปกติ เนื่องจากระบบประสาทของคนติดยาต้องการเสพติดเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้มีสารเคมีสมองพอเพียงที่จะทำให้เกิดความสุขไม่วิตกกังวล หากขาดการกระตุ้นจากยาเสพติด สมองของผู้ติดยาเสพติดจะมีปฏิกริยาตรงกันข้าม คือผู้ติดยาจะหงุดหงิดไม่เป็นสุข มีความเครียด วิตกกังวลและมีความอยากที่จะกลับไปเสพ ยาเสพติดอีกดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรให้ส่วนต่างของสมอง ได้ปรับตัวกลับเป็น ปกติในช่วงที่ระบบสมองปรับตัวเป็นปกติ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีก

นอกจากระบบสมองแล้ว พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของผู้ติดยาต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพมีหลายวิธีการที่จะช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด เช่น การเข้าค่ายฟื้นฟูฯ การให้ คำปรึกษา การทำจิตบำบัด และชุมชนบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าใจถึงปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด ปรับสภาพครอบครัวให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและช่วยกันดูแลประคับประคองผู้ติด ยาเสพติด ปรับสภาพกลุ่มเพื่อนให้ห่างไกลจากเพื่อนที่จะมาชักชวนให้เสพยาเสพติด สร้างความมั่นคงทางจิตใจผ่านทางผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มที่เลิกยาแล้ว ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่หวนกลับไปเสพยาอีก

 

 



การบำบัดรักษายาบ้าให้หายขาด ไม่หวนกลับไปเสพใหม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และความช่วยเหลือจากผู้ที่ใกล้ชิด การบำบัดรักษาเฉพาะอาการในช่วงถอนพิษยาอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอจำเป็นต้องมีกระบวน การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งปรับพฤติกรรมสภาพแวดล้อมทั้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนให้ดีขึ้น จึงจะทำให้ผู้ติดยาเสพติดหลุดพ้นจากการเป็นทาสยาเสพติดได้อย่างถาวร

ผลของการเสพยาบ้า
 ยาบ้า   ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบการไหลเวียนโลหิต   กล้ามเนื้อเป็นตะคริว   ทำให้หัวใจเต้นแรงเร็วผิดจังหวะ  หลอดโลหิตในสมองแตกอาจทำให้เสียชีวิตทันทีหรือเป็นอัมพาต  หัวใจวาย 
เมื่อใช้ยาไประยะหนึ่งหรือติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้สมองและร่างกายถูกกระตุ้นตลอดเวลา  จะทำให้สุขภาพเสื่อม  เบื่ออาหาร  อ่อนเพลียง่าย  ทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ   ทำให้ร่างกายเกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย   เช่น   โรคตับอักเสบ  ไตไม่ทำงานเกิดอาการประสาทตึงเครียด   โกรธง่าย   กระวนกระวาย  มีอาการทางจิต   สมองสับสน   การตัดสินใจผิดพลาด   ควบคุมอารมณ์ไม่ได้   ก้าวร้าว   ชอบทะเลาะวิวาท   และเกิดอาการ  vanic  คือ  หวาดกลัวอย่างรุนแรงเหมือนตัวเองกำลังจะตาย  หวาดระแวง  กลัวคนมาทำร้าย ประสาทหลอน  เช่น  มองเห็นภาพหลอน   หูแว่ว  รู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ตามร่างกาย  ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น   อาจถึงขั้นหมดสติและตายได้ในผู้ที่มีอาการระยะเฉียบพลัน 
การใช้ยาในขนาดสูง  และติดต่อกันเป็นเวลานานจนเสพติด  เมื่อมีอาการถอนยา  บางรายอาจพบลักษณะซึมเศร้า , ไร้อารมณ์ , บางรายอาจฆ่าตัวตายได้ 
อาการข้างเคียงที่เป็นพิษต่อร่างกาย   ผู้ที่เสพยาบ้าเข้าไปแล้วจะเกิดอาการใจสั่น   หัวใจเต้นเร็ว  ความดันโลหิตสูง   เจ็บแน่นหน้าอก   หน้าแดง   มือเท้าซีดเซียว   ปากแห้ง   ม่านตาขยาย   หายใจไม่ออก   ไข้สูง   ปวดศีรษะ  คลื่นไส้อาเจียน  ขบกรามโดยไม่รู้สึกตัว  มือสั่น  เดินเซ
อาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต   หัวใจหยุดเต้น   หมดสติ   อาการทางระบบประสาทที่มีตั้งแต่อาการกระตุกเกร็งของร่างกาย   ชัก   โคม่า   และเสียชีวิต   การตายมักเกิดจากใช้  amphetamine ในขนาดสูง  ทำให้ผู้เสพมีไข้สูง   ร่วมกับอาการชักรุนแรง   เส้นโลหิตสมองแตกและช็อคจากระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดเสียไป   ดังนั้นจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งในผู้ป่วยเหล่านี้คือ  ผู้ป่วยเบาหวาน   ความดันโลหิตสูง   ไทรอยด์เป็นพิษ   ต้อหิน   ต่อมลูกหมากโต    โรคหัวใจจากหลอดเลือดตีบ   โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและผู้หญิงมีครรภ์
การใช้แอมเฟตามีนในขนาดสูง  และติดต่อกันเป็นเวลานานจนเสพติด เมื่อมีอาการถอนยา  บางรายอาจพบลักษณะซึมเศร้า , ไร้อารมณ์ , บางรายอาจฆ่าตัวตายได้
 การใช้แอมเฟตามีนปริมาณ  50  ม.ก. / วัน  ติดต่อกัน  3  วัน  อาจกระตุ้นให้เกิดอาการทางจิตได้   ตัวยาที่ใช้เสพกันนั้นนอกจากแอมเฟตามีนแล้วยังประกอบด้วยอีฟิดริน  คาเฟอีนและอื่น ๆ  ซึ่งอีฟิดรินมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต  ยาบ้าบางเม็ดอาจไม่มีสารแอมเฟตามีนอยู่เลย  ด้วยเหตุที่ส่วนประกอบของยาบ้าไม่เหมือนกันทุกเม็ด  จึงมีผลทำให้ผู้เสพได้รับฤทธิ์ของยาบ้าแตกต่างกันไปแต่ละบุคคลและแต่ละครั้งที่เสพ

ทำไมจึงเกิดอุบัติเหตุเมื่อใช้ยาบ้า
 เพราะ
- ร่างกายถูกกระตุ้นให้ต้องทำงานหนักเกินกำลัง   ประสาทและสมองสั่งการไม่สัมพันธ์กับระบบการทำงานของร่างกาย  จึงควบคุมตนเองไม่ได้
- เกิดหลับในขณะขับรถ เนื่องจากหมดฤทธิ์ยา
- คลุ้มคลั่ง  ประสาทหลอน
ผู้เสพยาบ้าจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุและความทุกข์ร้อนได้มากกว่าผู้อื่น

 

การป้องกันตนเองและครอบครัวให้พ้นจากยาบ้า
1. ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิด  เพราะติดง่าย  เลิกยาก
2. พ่อแม่  ผู้ปกครอง  ครูอาจารย์  ควรสอดส่องดูแลสังเกตเด็กในความดูแลของท่านและบุคคลในครอบครัว  หากพบว่ามีพฤติกรรมเสพยาบ้าหรือยาเสพติดอื่น ๆ  ควรรีบพาไปปรึกษาโดยเร็ว
3. หากท่าหรือสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วย  ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง  ควรไปพบแพทย์หรือเภสัชกร  เพื่อขอคำปรึกษาที่ถูกต้อง
4. ไม่ควรทำงานหนัก  หักโหม  หรือขับรถระยะทางไกลเป็นเวลานานติดต่อกัน  ควรหยุดพักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยทำงานหรือขับรถต่อ  เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
5. ผู้ที่ทำงานกลางคืน  ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอในเวลากลางวัน
6. นักเรียนนักศึกษาควรตั้งใจขณะเรียนหนังสือและเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ   เพื่อจะได้ไม่ต้องดูหนังสือหักโหมเมื่อใกล้สอบ
7. ดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์   และพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
8. โรงเรียนต้องให้คำปรึกษาแนะแนวและเอาใจใส่เด็กให้มากขึ้น  เข้าใจวัยรุ่น  สอดส่องพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง   ส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องยาเสพติด
9. ส่งเสริมกิจกรรมการกีฬา   การดนตรีต่าง ๆ และจริยธรรมควบคู่ไปพร้อมกัน  ทั้งทางโรงเรียนและครอบครัว
10. รู้จักเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

โทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ชนิดร้ายแรง) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

ข้อหา ยาเสพติดให้โทษประเภท 1
ผลิต นำเข้า ส่งออก - จำคุกตลอดชีวิต (ม.65 ว.1)
- ถ้ากระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (ม.65 ว.2)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย (ม.15)
จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย - คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000 -500,000 บาท (ม.66 ว.1)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต (ม.66 ว.2)
ครอบครอง - คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1-10 ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (ม.67)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.15)
เสพ - จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000– 100,000 บาท (ม.91)
ใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายฯให้ผู้อื่นเสพ - จำคุก 2-20 ปี และปรับ 20,000 -200,000 บาท และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะระวางโทษประหารชีวิต 
- ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 4-30 ปี และปรับ 40,000-300,000 บาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000 – 50,000 บาท (ม.93 ทวิ)

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

จัดทำโดย...นายไชยา  เฉลียวพงษ์  อาจารย์ 1 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย