wpe35.gif (8110 bytes)

หมากรุกไทย

เกมส์อัจฉริยะของไทย

   หมากรุกคอมพิวเตอร์  

wb00830_.gif (131 bytes)

wb00830_.gif (131 bytes) wb00830_.gif (131 bytes)
          ส่วนการจะเดินตาใดก่อนหลังนั้น ไม่มีกติกา
กำหนดไว้ ยกเว้นเมื่อคู่ต่อสู้ เดินหมากตัวใดตัวหนึ่ง
มารุกขุน จะต้องเดินขุนก่อนเสมอ เว้นเสียแต่ว่า
สามารถเดินหมากตัวอื่นมาปิดตารุกได้ ก็ไม่ต้อง
เดินขุน
         ผูก   คือการเดินหมาก ให้อยู่ในตำแหน่ง ที่มี 

หมากตัวอื่นคุ้มกันเชื่อมโยงถึงกันตลอด หากคู่ต่อสู้
กินหมากตัวใดตัวหนึ่ง ก็สามารกินตอบโต้ได้ทันที่
ผู้ที่จะเล่นหมากรุกเก่งได้ จะต้องสามารถเดินหมาก
ให้ผูกคล้องกันเป็นสายโซ่
       ขาด มีความหมายตรงกันข้ามกับผูก คือการเดิน

หมากที่ตัวหมากอยู่กระจัดกระจาย ขาดตัวคุ้มกัน
ซึ่งกันและกัน หากคู่ต่อสู้กินหมากตัวใดตัวหนึ่งได้
จะทำให้หมากตัวอื่นๆ พลอยถูกกินไปด้วย ซึ่งจะเป็น
เหตุให้พ่ายแพ้ได้ในที่สุด
        กิน   คือการกำจัดหมากคู่ต่อสู้ ออกไปจากกระ

ดาน  การกินกันจะเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สามารถเดินหมาก เข้าไปทับที่หมากของคู่ต่อสู้ได้
โดยการยกหมากคู่ต่อสู้ออก แล้ววางหมากของตน
ลงไปแทนที่ หมากทุกตัวกินกันได้หมด ยกเว้น ขุน
ห้ามกินเด็ดขาด

         รุก   เป็นการเดินหมากตัวใดตัวหนึ่ง เข้าไปยังตา

ที่สามารถจะกินขุนได้ แต่เนื่องจากมีกติกาห้ามกินขุน
ฝ่ายที่จะถูกกินขุน จะต้องเดินขุนหลบ หรือเดินหมาก
ตัวอื่นมาบัง หรือกินหมากตัวที่บังอาจมารุก ขุน ก็ได้
ถ้าไม่อยู่ในตาที่หมากคู่ต่อสู้ตัวอื่นยืนจ้องรุกขุนอยู่ก่อน
         รุกฆาต   กรณีคล้ายกับการรุก แต่เป็นการเดิน

หมาก ที่สามารถจะกินหมากคู่ต่อสู้ได้ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป
ซึ่งในจำนวน หมากที่จะถูกกินนั้น จะต้อง มีขุนอยู่ด้วย
ฝ่ายที่ถูกรุกฆาต จะต้องเดินขุนหลบ โดยต้องจำยอม
ให้หมากตัวใดตัวหนึ่ง ถูกกินฟรี
         เปิดรุก    คือการเดินหมากตัวใดตัวหนึ่ง เพื่อเปิด

ทางให้หมากตัวหลังรุก ขุน ได้ ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นเรือ
ที่อาจอยู่ห่างจากขุนถึง ๘ ตา ซึ่งบางครั้งคู่ต่อสู้ ไม่ทัน
ได้มอง
           จึงมีมารยาทในการเล่นหมากรุกอยู่ว่า ฝ่ายที่รุก

จะต้องบอก ให้ฝ่ายถูกรุกทราบ ว่าเปิดรุกแล้วนะ
เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามหาทางหลบขุนไป หรือเดินหมาก
ตัวอื่นมาบังหน้าขุนไว้ ภาษาหมากรุก เรียกว่า "เปิดรุก"             อับ / เสมอ   หมากอับคือการที่ขุนหมดตาเดิน
อันเนื่องมาจากถูกหมากคู่ต่อสู้ล้อมไว้ทุกด้าน โดยไม่มี
ตารุก มักเกิดขึ้นใน ๒ กรณี คือเกิดจากการเดิน พลั้ง
เผลอหรือจงใจเดินเข้าตาอับ
           การตั้งใจเดินหมากให้อับ เป็นกลยุทธ์หนึ่งใน

การเล่นหมากรุก เมื่อฝ่ายตกเป็นลองเห็นว่า   มีโอกาส
แพ้สูง ก็ใช้กลวิธีเดินหมากให้อับ เพราะตามกติกา
การเล่นหมากรุก หมากอับถือว่าเสมอกัน
         เสมอ  การเสมอกันในการเล่นหมากรุก เกิดขึ้น

ได้ ๒ กรณีด้วยกัน กรณีแรกเกิดจากการเดินหมาก เข้าตาอับ ตามที่กล่าวแล้ว กรณีที่สองเกิดจากการ
ไล่ไม่จน  ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจ คือ.-
        ในการเล่นหมากรุก   จะมีระยะการเล่นอยู่ ๓

ระยะด้วยกัน เรียกว่าระยะต้นกระดาน ระยะกลาง
กระดาน และระยะปลายกระดาน
         ระยะต้นกระดาน เป็นการขึ้นหมากดูเชิง ชิงไหว

ชิงพริบกัน ระยะกลางกระดานจะเริ่มประหมัด กินตัว
กันไปเรื่อย จนกว่าจะมีการได้เปรียบเสียเปรียบกัน
เกิดขึ้น ก็จะเข้าสู่ระยะที่สาม
         ในระยะที่ ๓ นี้ ฝ่ายเสียเปรียบ ซึ่งโดยปกติจะเป็น
ฝ่ายที่เหลือตัวน้อยกว่า จะเป็นฝ่ายตั้งรับ ฝ่ายได้เปรียบ
จะเป็นฝ่ายรุกไล่   หากไล่ครบตามกติกาแล้ว   ฝ่ายหนี
ยังหนีไปได้ไล่ไม่จน ให้ถือว่าหมากกระดานนั้นเสมอกัน
         กติกาการไล่หมาก ยังมีรายละเอียดที่ต้อง ทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีก ในย่อหน้าต่อ ๆ ไป
        จน / แพ้   การแพ้ชนะของหมากรุก นั้น ไม่ได้ดู

ที่หมากใครเหลือมากเหลือน้อย แต่ถือตัว ขุน เป็นเกณฑ์
ขุน ฝ่ายใดถูกรุกจน ฝ่ายนั้นคือฝ่ายแพ้ ฝ่ายผู้รุกเป็น
ฝ่ายชนะ การจนจะเกิดขึ้นเมื่อขุนฝ่ายใดก็ตาม
ถูกคู่ต่อสู้ใช้หมากตัวใดตัวหนึ่งรุก แล้วไม่มีทางหลบ
เนื่องจากเดินไปตาใดก็เป็น ตาที่จะถูกกิน อย่างนี้เรียก
ว่า จนคือแพ้

        กติกาการไล่หมาก    ในการรุกไล่ขุนคู่ต่อสู้ให้จน
นั้น จะมีเรื่องกติกาในการนับ เข้ามาเกี่ยวข้อง ๒ วิธี คือ
นับศักดิ์กระดาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ ๖๔ คือไล่ได้ ๖๔ ตา
ตามจำนวนตารางหมากรุก  และการนับศักดิ์หมาก  ซึ่ง
ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายไล่ ว่าไล่ด้วยหมากตัวใด จำนวนตา (ครั้ง)
ที่จะไล่ได้  ก็ขึ้นอยู่กับศํกดิ์ของหมากตัวนั้น ๆ
        กรณีที่หนึ่งนับศักดิ์กระดาน จะเกิดขึ้นได้เมื่อเบี้ย

ของผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นเบี้ยหงายหมดทุกตัว และฝ่าย
เสียเปรียบ เห็นว่าตนเองมีโอกาสแพ้สูง จึงใช้สิทธ์ขอ
นับศักดิ์กระดาน คือนับ ๖๔ ครั้ง  เพื่อหาโอกาส
เอาเสมอ
        วิธีนับศักดิ์กระดาน เมื่อฝ่ายเสียเปรียบเริ่มเดิน ก็ให้

นับ ๑ ดัง ๆ พอที่คู่ต่อสู้ได้ยิน และเมื่อเดินตาต่อ ๆ ไป ก็
นับ ๒…๓…ไปตามลำดับ หากฝ่ายไล่รุกไล่จนครบ ๖๔
ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๖๕ ฝ่ายหนี ยังเดินต่อไปได้อีก ก็ให้
ถือว่าหมากเสมอกันไม่มีการแพ้ชนะ
       นอกจากนี้ ขณะที่มีการรุกไล่กันอยู่นั้น หากมีการ

กินกัน จนฝ่ายถูกไล่เหลือขุนเพียงตัวเดียว จะต้องยุติ
การนับศักดิ์กระดานทันที และเปลี่ยนมาเป็นการนับ
ศักดิ์หมากแทน ดังนี้.-
         วิธีนับนับศักดิ์หมาก ก่อนลงมือนับศักดิ์หมาก ผู้เล่น

ทั้ง ๒ ฝ่ายต้องสำรวจหมากบนกระดาน ว่าเหลือหมาก
อะไรบ้างและมีจำนวนเท่าไร เนื่องจากหมากแต่ละตัว
มีศักดิ์ หรืออาวุโสแตกต่างกัน เช่น ฝ่ายไล่มีเรือ ม้า โคน
ให้นับศักดิ์เรือ ถ้าไม่มีเรือจึงนับศักดิ์ ม้า ถ้าไม่มี ม้า
จึงนับศักดิ์ โคน และถ้าไม่มี เรือ ม้า หรือ โคน
อยู่เลยก็ให้ไปนับศักดิ์ เม็ด หรือเบี้ยหงาย ตามลำดับ
        ยกตัวอย่างการนับ สมมุติว่าฝ่ายไล่มีเรือ ๑ ลำ
ม้า ๑ ตัว เบี้ยหงาย ๑ กับ ขุน อีก ๑ เท่ากับว่าฝ่ายไล่
มีหมากทั้งหมด ๔ ตัว ฝ่ายถูกไล่แน่นอนว่าต้องเหลือ

ขุนเพียงตัวเดียวเท่านั้น มิฉะนั้น การนับศักดิ์หมาก
จะเกิดขึ้นไม่ได้
        เมื่อนำจำนวนหมากทุกตัวบนกระดานมารวม
กันจะมีหมากอยู่ ๕ ตัว เมื่อฝ่ายหนีเริ่มเดินจะไม่นับ
๑ ตรงนี้แตกต่างจากการนับศักดิ์กระดานเพราะจะ
เริ่ม นับ ๖  ทันที คือนับต่อจากจำนวนหมากทั้งหมดที่
มีอยู่ บน กระดาน
       ในที่นี้ มีการนับศักดิ์เรือ ซึ่งเรือมีศักดิ์การนับ ๑๖

เมื่อเริ่มนับที่ ๖ เท่ากับว่าฝ่ายไล่ มีโอกาสไล่ได้เพียง
๑๐ ครั้ง ก็จะครบ ๑๖ หากไล่ไปครบ ๑๖ ครั้งแล้ว
ฝ่ายหนียังหนีต่อไปได้ ก็ต้องถือว่าเสมอกัน
         ศักดิ์หรืออาวุโสของหมาก   มีกติกากำหนดไว้ ดังนี้.- 
        ๑. เรือ      ๑ ลำ        มีศักดิ์การไล่     ๑๖    ครั้ง
        ๒. ม้า     ๑ ตัว                   "               ๖๔     ครั้ง
        ๓. โคน   ๑ ตัว                   "               ๔๔     ครั้ง
        ๔. เม็ด และเบี้ยหงาย       "               ๖๔     ครั้ง

        กติกาหาร ๒ ในการนับศักดิ์ของหมากลำดับ

ที่ ๑ - ๓ นั้น หากหมากตัวที่ถูกใช้เป็นเกณฑ์ ในการ
ไล่ครั้งนั้น ๆ ยังอยู่ครบทั้ง ๒ ตัว ศักดิ์ในการนับ ก็จะ
ลดทอนลงครึ่งหนึ่ง เช่น เรือ ๑ ลำ มีศักดิ์ ๑๖ ถ้ายังอยู่
ครบทั้ง ๒ ลำ ศักดิ์การนับก็จะเหลือเพียง ๘ เท่านั้น           ส่วนหมากลำดับที่ ๔ คือเม็ดซึ่งมีเพียง ๑ ตัว และ
เบี้ยหงายจะมีรวมกันทั้งหมดกี่ตัวก็ตาม ก็คงนับ ๖๔
ครั้งเสมอ

การเดินหมากตาแรกหรือการขึ้นหมาก

       
        wpe41.gif (54771 bytes)
                    ตัวอย่างขึ้นหมากแบบ "สูตรเม็ด"
         
         ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงพื้นฐาน การเล่นหมาก
รุกไทยมาถึงขั้นตอนนี้ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเพียงพอ
สำหรับการฝึกเล่นหมากรุกแล้ว บางท่านอาจจะ
นึกสนุกอยากลองเดินหมาก ดูบ้างก็เป็นได้
         คราวนี้เรามาดูถึงวิธีเดินหมาก ตาแรก
หรือภาษาหมากรุก เรียกว่า การขึ้นหมาก ดูบ้าง
ตามที่กกล่าว   ไว้ในเบื้องต้นแล้วว่า ไม่มีกติกา
กำหนดไว้ว่าจะต้องขึ้น หมากตัวใดก่อน แต่ในทาง
ปฏิบัติ สำหรับมือสมัครเล่น อนุญาตให้ขึ้นหมาก
แบบ "สูตรเม็ด" ได้        
         คือให้เดิน เบี้ยตา ๓จ ขึ้นไปตา ๔จ จากนั้น
ก็เดินเม็ด ตา ๑จ ขึ้นไปแทนที่ เบี้ย ตา ๓จ (ดูภาพ
ประกอบการขึ้นหมากสูตรเม็ด)
         วิธีนี้เท่ากับอนุญาตให้เดินเม็ดได้ ๓ ตารวด

การขึ้นหมากสูตรเม็ดนี้ เป็นการป้องกันคู่ต่อสู้
ฉวยโอกาสโจมตีได้ เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ป้องกันตัว
ไว้แต่แรก สนามภูธรนิยมขึ้นหมากสูตรนี้กัน
         สำหรับการเล่นทั่ว ๆ ไปนั้น จะเดินหมาก

ตัวใดก่อนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของผู้เล่นแต่ละคน
ซึ่งก็มีสูตรสำเร็จอยู่หลายแบบ เช่น กระแตแยกเขี้ยว
สิงห์โตล่อแก้ว ม้าเทียมรถ ม้าผูก ม้าโยง เป็นต้น

พื้นฐาน ๑๒ ข้อสำหรับนักเล่นหมากรุก
         ๑. ความสุขุมรอบคอบ ใจเย็น มีสติ สมาธิ คือคุณ

สมบัติประการแรก ของนักเล่นหมากรุกที่ดี
         ๒. การเดินหมากเบี้ย ควรเดินขึ้นเป็นคู่ ๆ เวลากิน อย่ากินในตาที่ทำให้เบี้ยของเราอยู่ซ้อนกัน อย่าให้เบี้ย   ขวางทางหมากตัวใหญ่ หากคู่ต่อสู้ขึ้นเบี้ยสูง ซึ่งมีโอกาส  เป็นเบี้ยหงาย ต้องรีบกำจัดเสียก่อน
         ๓. ในการขึ้นหมาก หากขึ้นเบี้ย ให้เดินโคน หรือ

เม็ด ขึ้นไปคุ้มกัน
         ๔. ในการกินหมากคู่ต่อสู้ ไม่ควรเอาหมากใหญ่

ไปแลกหมากเล็ก
         ๕. อย่าเดินหมากอื่นขวางทางเดิน ระหว่างเรือ

กับเรือ ต้องให้เรือ ๒ ลำ เดินถึงกันตลอด
         ๖.   เมื่อคู่ต่อสู้เดินหมากม้า ให้ระวังจงหนัก

เพราะ แสดงว่ามีแผนจะรุกฆาต กินฟรีเรา
         ๗.  หมากโคน เป็นหมากที่มีอำนาจก่อกวน

คู่ต่อสู้สูง พยายามขึ้นโคนให้สูงไว้ โดยทิ้งตัวหนึ่ง
ไว้คุ้มกันขุน คู่กับเม็ด
          ๘. หมากม้า เมื่อยู่กลางกระดานจะมีรัศมีทำ

การ ได้ไกลกว่าริมกระดาน ยิ่งถ้าเดินคู่จะยิ่งมีพลัง
จู่โจมสูง
         ๙. อย่าปล่อยขุนให้โดดเดี่ยว อย่างน้อยต้องมี

เม็ด ไว้คุ้มกัน ๑ ตัว
        ๑๐. หากคู่ต่อสู้ใช้เรือกด หรือสกัดแนวหลัง ขุน

ต้องรีบหาทางแก้ไข
        ๑๑. ไม่ควรเดิน ขุน ในแถวเดียวกับ เรือ ของ

คู่ต่อสู้
        ๑๒. เมื่อเดินและผูกหมากของเรารัดกุมดีแล้ว

ให้มองหาช่องโหว่ของคู่ต่อสู้ เมื่อพบอย่าแสดงปฏิ
กิริยาใดๆ ให้คู่ต่อสู้รู้    ให้รีบทำการโจมตีทันที

        wb00830_.gif (131 bytes)

wb00830_.gif (131 bytes)

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม หากท่านประสงค์จะเยี่ยมชม web site   อื่น ๆ ต่อไป เชิญได้ตามนี้ครับ Chat ดังเมืองไทย  Pantip.Com   แหล่งรวม download โปรแกรมฟรี Sanook.Com  แหล่งรวม links ทั่วโลก  Hunsa.Com   เวบดังติดอันดับ  Mthai.Com เวบชวัญใจวัยรุ่น  Narak.Com  Jorjae.Com

Copyrigh (C) 2001 Srimuang  home. All rights reserved.