เคมีม.4 (ว 432)    สารและสมบัติของสาร /  ะตอมและตารางธาตุ/  พันธะเคมี

เคมีม.4 (ว 036)  โมลและปริมาณต่อโมล/ ปริมาณสัมพันธ์/ ก๊าซ ของเหลว และของแข็ง/ สมบัติของธาตุตามตารางธาตุ

เคมี ม.5 (ว 037)  อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี/ สมดุลเคมี/ กรด-เบส/ ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี

เคมี ม.5 (ว 038) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน/สารชีวโมเลกุล/ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

ทักษะด้านเคมี     ข้อสอบออนไลน์ /  คลังข้อสอบเคมีEntrance/  โปรแกรมดาวนน์โหลดทางเคมี/ประวัติผู้จัดทำ Web


ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี

เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วให้กระแสไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น เซลล์ไฟฟ้าเคมี ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์ และเซลล์เชื้อเพลิงที่มนุษย์อวกาศใช้ใน การเดินทางไปสำรวจดวงจันทร์(เกิดปฏิกิริยาเคมี ได้กระแส)  

การสร้างเซลล์กัลวานิก

 นำโลหะต่างชนิดกันจุ่มในภาชนะทีบรรจุสารละลายที่มีอิออนของโลหะนั้น เช่น โลหะ A จุ่มใน A2+ และโลหะ B จุ่มใน B2+ เป็นต้น และภาชนะ 2 ใบนี้มีสะพานอิออนเชื่อมถึงกัน แล้วต่อลวดตัวนำจากขั้วทั้งสองเข้ากับโวลต์มิเตอร์ (volt meter) ซึ่งมีเข็มแสดงทิศทางการไหลของอิเล็กตรอน พบว่าเข็มกระดิกแสดงว่าอิเล็กตรอนไหล

 

 จากรูปพบว่าเข็มของโวลต์มิเตอร์เบนจาก A ไปยัง B แสดงว่าอิเล็กตรอนไหลจาก A ไปยัง B เราต้องการทราบสิ่งต่อไปนี้  

1. ขั้วบวกและขั้วลบ

 1.1 ขั้วบวก คือ ขั้วที่มีอิเล็กตรอนหนาแน่นน้อยกว่า หรือขั้ว e ไหลเข้า ได้แก่ ขั้ว B

1.2 ขั้วลบ คือ ขั้วที่มีอิเล็กตรอนหนาแน่นมากกว่า หรือขั้ว e ไหลออก ได้แก่ ขั้ว A

2. ขั้วแอโนด (Anode) และขั้วแคโทด (Cathode)

2.1 แอโนด คือขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ได้แก่ ขั้ว A เพราะให้ e

2.2 แคโทด คือขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน ได้แก่ ขั้ว B เพราะรับ e

3. แผนภาพเซลล์กัลวานิก เขียนได้ดังนี้

 3.1 เขียนครึ่งเซลล์แอโนดไว้ทางซ้าย ครึ่งเซลล์แคโทดไว้ทางขวา คั่นกลางด้วยสะพานอิออน ซึ่งใช้เครื่องหมาย || หรือ //

3.2 สำหรับครึ่งเซลล์แอโนดและแคโทดเขียนอิเล็กโทรดไว้ซ้ายสุดและขวาสุด ภายในครึ่งเซลล์ถ้าต่างวัฏภาคกันใช้เครื่องหมาย / คั่น

 3.3 สารละลายที่ทราบความเข้มข้นให้เขียนระบุไว้ในวงเล็บ

 3.4 ถ้าครึ่งเซลล์ที่เป็นก๊าซให้ระบุความดันลงในวงเล็บด้วย

 ตัวอย่าง การเขียนแผนภาพเซลล์ไฟฟ้าเคมี

 

1. A | A2+(aq) || B2+(aq) | B หรือ A | A2+ || B2+ | B

2. Zn | Zn2+(0.1 M) || Cu2+(0.1 M) | Cu

3. Pt | H2(1 atm) | H+(1 M) || Cu2+ | Cu(s)

 4. ปฏิกิริยาที่เกิดในเซลล์ไฟฟ้าเคมี

 ปฏิกิริยาครึ่งเซลล์

 4.1 แอโนด เกิดปฏิกิริยา Oxidation

4.2 แคโทด เกิดปฏิกิริยา Reduction

ปฏิกิริยาทั้งเซลล์ เป็นปฏิกิริยา Redox

5. สมการแสดงปฏิกิริยา

 สมการแสดงปฏิกิริยาครึ่งเซลล์

 แอโนด (Oxidation) A ----> A2+ + 2e ........(1)

แคโทด (Reduction) B2+ + 2e ------> B ........(2)

สมการแสดงทั้งเซลล์เป็น Redox (ทำให้ e หมดไป) (1) + (2)

 6. สารใดให้อิเล็กตรอนง่ายกว่าหรือเป็นตัวรีดิวซ์ดีกว่า โลหะ A > โลหะ B

7. สารใดเป็นตัวชิงอิเล็กตรอนดีกว่าหรือเป็นตัวออกซิไดซ์ดีกว่า B2+ > A2+

8. ศักย์ไฟฟ้าใครสูงกว่า ศักย์ไฟฟ้าที่ขั้วบวกสูงกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ขั้วลบคือ B > A ดังนั้น กระแสจะไหลจาก B ไปยัง A       สวนทางกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน

 ความต่างศักย์ = ศักย์ที่ขั้วบวก - ศักย์ที่ขั้วลบ

 9. เข็มจะไม่กระดิกในกรณีที่ศักย์ทั้งสองขั้วเท่ากัน

 กลับหน้าหลัก