กุหลาบเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงามยากที่จะหาดอกไม้ชนิดอื่นมาเปรียบเทียบ ได้จนกระทั่งมีผู้ให้ฉายา ว่า "ราชินีแห่งดอกไม้" ดังนั้นกุหลาบจึงเป็นดอกไม้ที่ นิยมปลูกและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้กุหลาบยัง มีคุณสมบัติที่ดีเด่นอีกหลายประการ สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น ใช้ เป็นไม ้กระถาง ไม้ตัดดอก ตกแต่งสถานที่ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็น น้ำมันหอมระเหยและดอกไม้แห้ง ใน การปลูกเป็นการค้าก็ยังได้เปรียบดอกไม้อีก หลายชนิดเป็นต้นว่า สามารถควบคุมการออกดอกได้ง่ายซึ่งทำให ้กำหนดการออกดอก ให้ตรงกับเทศกาลทำให้สามารถจำหน่ายได้ราคาดี และเนื่องจากกุหลาบเป็นดอกไม้ ที่นิยม ของคนทั่วไป ดังนั้น จึงสามารถหาตลาดจำหน่ายได้ง่ายกว่าดอกไม้อื่น ๆ นอกจากนี้กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทย ยังเจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาวซึ่งต่างกับ ประเทศในแถบยุโรปที่ต้องการกุหลาบมาก การจะปลูกกุหลาบในฤดู หนาวต้อง ปลูกในเรือนกระจก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงจึงส่งผลให้ดอกกุหลาบมีราคาแพง ดังนั้น ประเทศที่ปลูก กุหลาบได้ดีในฤดูหนาวจึงสามารถตัดดอกส่งไปขายในตลาดต่าง ประเทศได้ราคาดี
พันธุ์กุหลาบ กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกโดยสังเขปจะได้ดังนี้ 1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที (Hybrid Tea หรือ HT)J ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดโต กลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไป ตามท้องตลาดขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่า งไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดีทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็น ต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่ ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับจะใช้ เป็นพันธุ์สำหรับตัดดอก คือ
1. แข็งแรง ต้นโต เลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดี
2. ออกดอกสม่ำเสมอไม่โทรมไวเมื่อถูกตัดดอกไปมาก ๆ
3. ทนต่อโรคและแมลงได้ดีพอสมควร
4. ลำต้นตั้งตรง ซึ่งจะทำให้ปลูกได้ชิดกันเป็นการประหยัดเนื้อที่
5. ให้กิ่งก้านยาวตรง มีหนามน้อย ใบงามสมดุลกับกิ่ง
6. ฟอร์มดอกดี ทรงดอกยาวแบบแจกันหรือปลายกลีบดอกแหลม
7. กลีบดอกไม่ซ้อนหนาเกินไปจนดอกบานไม่ออก
8. กลีบดอกหนา ทนต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง
9. ดอกมีสีสะดุดตาและไม่เปลี่ยนสีเมื่อดอกโรย
10. ไม่เหี่ยวเฉาง่ายหลังจากตัดแล้ว 11. ดอกมีกลิ่นหอม (ถ้าเป็นไปได้)
ปัจจุบันกุหลาบที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ปลูกมีดังนี้
- พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช , คริสเตียนดิออร์ , โอลิมเปียด , นอริค้า , แกรนด์มาสเตอร์พีช , ปาปามิลแลนด์ , เวก้า
- พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม , ซันคิงส์ , เฮสมุดสมิดท์ , นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน
- พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์ , แซนดรา , ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา
- พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย , คาสลาส , ไอเฟลทาวเวอร์ , สวาทมอร์ , เฟรนด์ชิพ , เพอร์ฟูมดีไลท์ , จูวังแซล , เฟิร์สท์ไพรซ์ , อเควเรียส , ซูซานแฮมเชียร์
- พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล , ดับเบิ้ลดีไลท์ , เบลแอนจ์ นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสำหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม
2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตร เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์ , พันธุ์แองเจลเฟส
3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูง และแข็งแรง เช่ น พันธุ์คาเมล็อท , พันธุ์คาเสทไนท์
4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงและดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลงและใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด
5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน , พันธุ์ค็อกเทล
6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้ายกุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่
มีลักษณะของพันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย
7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน
8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า , โรซ่า มัลติฟลอร่า , โรซ่า รูโกซ่า
การเตรียมดินและการปลูก
ถึงแม้กุหลาบจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ การเจริญเติบโตดีเลวต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนปลูกควรเตรียมดินดังนี้ ในภาคกลางซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างเหนียว และค่อนข้างเป็นกรดจัด ระดับ น้ำใต้ดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจะนิยมปลูกแบบร่องสวน ซึ่งมีคูน้ำคั่นกลาง โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูแล้ง คือจะต้องฟันดินและตากดินให้แห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช ก่อน ในขณะที่ตากดินนี้อาจโรยปูนขาวลงไปด้วยก็ได้ เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงกลับ หน้าดิน และชักดินในแต่ละแปลงให้มีขอบสูง ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ขนาด ของแปลงกว้างและยาวตามพื้นที่เดิมที่เคยปลูกผักมาแล้ว การวางระยะห่างของ ต้นที่จะปลูกอาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถวเพื่อความสะดวกในการตัดดอก และตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลางสำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจ ปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง กุหลาบสามารถปลูกได้ทั้งในดินที่เป็นกรดหรือด่าง แต่เจริญได้ดีในดิน ที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือมี pH ประมาณ 4.5-6.5 ถ้าดินเป็นกรดมากให้เติม ปูนขาว 60-100 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา แต่ถ้าดินเป็นด่างก็ใส่กำมะถันผง 20-50 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา เมื่อเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ขุดหลุม ปลูกกว้างและลึก 30 x 30 เซนติเมตร (ถ้าเตรียมหลุมปลูกกว้างและลึกกว่านี้ จะ เป็นการดียิ่งขึ้น) จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว ฯลฯ ประมาณหลุมละ 1 บุ้งกี๋ ใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือกระดูกป่นเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์กุหลาบซึ่งอาจจะเป็นกิ่งตอนหรือต้นติดตา ลงไปปลูก กลบดินที่โคนต้นให้กระชับและรดน้ำให้ชุ่ม กิ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าในปัจจุบันได้แก่ กิ่งตัดชำและกิ่งตอนจะมีเกษตรกรบางรายที่ปลูกโดยใช้ต้นติดตา แต่มีน้อยราย
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์กุหลาบที่นิยมใช้มี 3 วิธี คือ
1. การตัดชำ วิธีการตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12- 15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 ( เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แล้วแต่พันธุ์ การชำกิ่งนี้ นิยมทำกันมากในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก
2. การตอน กิ่งที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์ที่จะใช้ตอน
3. การติดตา วิธีการทำต้นกุหลาบติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออก ดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า (ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุต ขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น
วิธีติดตา วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ
1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง
2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย
3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ
4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก
เพื่อให้ตาเจริญเติบโตเร็วขึ้น ควรปล่อยให้กิ่งใหม่เจริญเติบโตจนกระทั่ง กิ่งใหม่ยาวพอสมควรแล้วจึงตัดต้นตอที่อยู่เหนือกิ่งใหม่ออกทั้งหมด สำหรับ พลาสติก ที่ติดตาอยู่นั้นอาจจะปล่อยให้ผุหรือหลุดไปเองก็ได้ถ้าเห็นว่าแผ่นพลาสติกนั้นรัด ต้นเดิมแน่นเกินไปหรือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของกิ่งใหม่ก็ให้แกะออก ส่าหรับกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้ ควรมีไม้ผูกพยุงกิ่งไว้เสมอเพราะอาจจะ เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อได้ง่ายเนื่องจากรอยประสานยังไม่แข็งแรงนัก
ในกรณีที่การติดตานั้นไม่ได้ผล คือ แผ่นตาที่นำไปติดตานั้นเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลหรือสีดำให้รีบแกะแผ่นพลาสติกและแผ่นตานั้นออกแล้วติดตาใหม่ในด้าน ตรงข้ามกับของเดิม หากไม่ได้ผลอีกต้องเลี้ยงดูต้นตอนั้นจนกว่ารอยแผลจะเชื่อม ก้นดีแล้วจึงนำมาติดตาใหม่ได้ สำหรับการติดตาในกุหลาบแบบทรงต้นสูง ( Standard) นั้นก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ตำแหน่งที่ติดตาอยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้นเอง การติดตาจะติดที่ต้นตอหรือกิ่ง ขนาดใหญ่ที่แตกออกมาก็ได้
การให้น้ำกุหลาบ
กุหลาบเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ปริมาณน้ำที่รดลงไปในดินปลูกควร กะให้น้ำซึมได้ลึกประมาณ 16-18 นิ้วและอาจเว้นระยะการรดน้ำได้คือ ไม่จำเป็น ต้องรดน้ำทุกวัน ( ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก) มีข้อควรจำอย่างยิ่งในการรดน้ำ กุหลาบคือ อย่ารดน้ำให้โดนใบเนื่องจากโรคบางโรคที่อยู่ตามใบหรือกิ่งจะแพร่ระบาด กระจายไปได้โดยง่าย การให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำกระแทกดินปลูกแรงๆ เพราะเม็ดดิน จะกระเด็นขึ้นไปจับใบกุหลาบ ทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินระบาดกลับ ขึ้นไปที่ต้นโดยง่ายและถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดน้ำในตอนเช้า
การใส่ปุ๋ย
ในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำมือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบ รากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบ ๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้วแล้วแต่ขนาดของ ทรงพุ่ม จากนั้นก็รดน้ำตามให้ซุ่ม (แต่อย่ารดน้ำจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไปเพื่อเร่งการออกดอก และทำให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้วคือควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบ ๆ ต้น อย่างสม่ำเสมออย่าใส่เป็นกระจุก ๆ ที่จุดใดจุดหนึ่งเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป
การป้องกันและกำจัดวัชพืช
อาจจะใช้แรงงานคนเก็บถอนหรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชซึ่งมีทั้งชนิดคุม กำเนิดและชนิดที่ถูกทำลายต้นตาย (อัตราการใช้จะระบุอยู่ที่ฉลากของขวด) ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชนี้คือ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะฉีดพ่นสาร ให้ถูกต้นหรือใบกุหลาบและไม่ใช้ถังฉีดพ่นปะปนกับถังที่ใช้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด โรคและแมลงการคลุมดินแปลงปลูก
เนื่องจากกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ดังนั้นสถานที่ปลูกกุหลาบจึงต้องเป็นที่โล่งแจ้งและจะต้องมีความชื้นสูงด้วย การ คลุมแปลงปลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่าหรับการปลูกกุหลาบโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายใน ท้องถิ่นนั้นๆ เซ่น หญ้าแห้ง ฟาง เปลือกถั่วลิสง ซังข้าวโพด ชานอ้อย ขุยมะพ้าว แกลบ และขี้เลื่อย เป็นต้น ควรจำไว้ว่าวัสดุที่จะนำมาคลุมแปลงปลูกนี้ควรเป็น วัสดุที่เก่า คือ เริ่มสลายตัวแล้วมิฉะนั้นจะทำให้เกิดการขาดไนโตรเจนกับต้น กุหลาบ ดังนั้นถ้าไซ้วัสดุที่คลุมแปลงค่อนข้างใหม่ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจนลงไปด้วย การคลุมแปลงนี้นอกจากจะช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิรวมทั้งเพิ่มความโปร่ง ของดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินในแปลงปลูกแล้วยังช่วยป็องกันวัชพืชให้ขืน ช้าอีกด้วย การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกกุหลาบ ถ้าผู้ปลูกกุหลาบไม่มี การตัดแต่งกิ่งเลยก็จะทำให้ต้นกุหลาบเจริญเติบโตอย่างอิสระ แตกกิ่งก้านมาก เกินไป ทำให้ดอกมีขนาดเล็ก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น เกษตรกรจึง ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นได้รูปทรง พุ่มต้นและโคนต้นโปร่งได้รับแสงแดด มากขึ้น ดอกที่ได้จะมี ขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังช่วย กำจัดโรคและแมลงที่แอบแฝงอยู่ในพุ่มต้นได้ดีอีกด้วย รวมทั้งสามารถแต่งดิน ในแปลงปลูกได้สะดวก ทำให้กุหลาบที่ได้มีการตัดแต่งกิ่งแล้วเจริญเติบโตดีขึ้น
1. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มากเพื่อให้มีอาหารเลี้ยงต้นมาก การตัดแต่งกิ่งมีหลักในการพิจารณาเลือกกิ่งที่จะต้องตัดออกคือกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ที่เจริญเข้าหาทรงพุ่ม กิ่งที่ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรจะต้องให้ตาที่อยู่บนสุดของกิ่งหันออกนอกพุ่มต้น เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หัน ออกนอกทรงพุ่มด้วยและตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา สำหรับการตัดแต่งกิ่งแบบให้ เหลือกิ่งไว้กับต้นยาวนี้ใช้ได้กับกุหลาบที่ปลูกจากกิ่งตัดชำและกิ่งตอน
2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 30- 45 เซนติเมตร แล้วเหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้นการตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะตัดแต่งได้เฉพาะต้นกุหลาบที่ปลูกจากต้นติด ตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรก แต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการและกิ่งชักเกอร์ (กิ่งของต้นตอซึ่งเป็นกุหลาบ พันธุ์ป่า)
สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่ง กิ่งให้น้อยลงตามความต้องการแล้วควรใช้ปูนแดงผสมกับยากันรา หรือใช้สีน้ำมัน ทาบนรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันการเน่าลุกลามของเชื้อราจากรอบแผลที่ตัด นอกจาก นี้ควรเก็บกิ่งและใบที่ตัดออก ทำความสะอาดแปลงให้เรียบร้อยด้วยแล้วจึง แต่งดินในแปลงปลูก คือ ไถพรวนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้วัสดุ คลุมแปลงปลูกพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่มด้วย จะทำให้กุหลาบแตกตาได้เร็วและได้ต้น ที่สมบูรณ์
การตัดดอกกุหลาบ
การตัดดอกกุหลาบเพื่อจำหน่ายนั้น ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่ง เสมอ (กิ่งที่มีใบย่อยครบ 5 ใบ) ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจาก ต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในน้ำทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำจากกิ่ง โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมตัดดอกในตอนบ่ายและเย็น หรืออาจตัดในตอนเช้าก็ได้ ( เพื่อจะได้ส่งตลาดทันเวลา) แต่เนื่องจากดอกกุหลาบมีอายุการใช้งานสั้นและกลีบดอก ก็ช้ำได้ง่าย ฉะนั้นการตัดดอกกุหลาบในช่วงที่ยังไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ถ้าตัดดอกตูมเกินไป ดอกก็จะไม่บานและคอดอกจะโค้งงอง่าย แต่ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกกุหลาบจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น
โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ
1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำกลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วย ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม- 45 แคปแทน เบนเสท และเบนโนมิล
2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและดอกอ่อนมีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิด
อาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาว ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน
3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำลายแผลที่เกิดจากรอยตัด หรือ เด็ด
หนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำให้กิ่งก้าน เหี่ยวแห้งตายไปในที่สุดควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง
4. โรคใบจุดสีน้ำตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีน้ำตาลขนาด 1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสท ไดเทนหรือแบนแซดดี
5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือง เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีหนอนและแมลงชนิดต่างๆ
1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดกหรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน
2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใซ้ได้ผลดี เช่น เอนดริน
3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อน้ำของกิ่งหรือต้น ทำให้กิ่งและต้นแห้งตาย ควรป้องกันกำจัดโดยการ ตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสียหรือ ป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด
4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำและสีน้ำตาลขนาดประมาณ 1.5- 2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน
5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง
6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีน้ำตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อน ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออน คลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต
7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับน้ำ ได้ยาก
8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากลำต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีน้ำตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบ เพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้น้ำมันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม
9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น
10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบ โดยจะเกาะและดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่ถูกทำลายนั้น ปรากฎเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ เคลเทน