|
เพื่อให้ให้สิทธิประโยชน์ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่กรมปศุสัตว์ให้การรับรองสามารถดำเนินการได้ |
ภายใต้กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องของกรมปศุสัตว์ อันเป็นปัจจัยในการสนับสนุนผู้ประกอบการ |
เลี้ยงสัตว์ในการพัฒนาารเลี้ยงสัตว์ให้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งจะมีผลให้ผลผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ |
ผลิตสู่ตลาดมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค
และเป็นการ |
เสริมสร้างความมั่นใจต่อประเทศ ผู้ต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์จากประเทศไทย
ซึ่งให้หน่วย |
งานของกรมปศุสัตว์ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันดังนี้ |
|
1.เรื่องการเคลื่อนย้ายสัตว์ |
-ให้ปศุสัตว์จังหวัดที่อยู่นอกเขตพื้นที่ปลอดโรคระบาดสัตว์ มีอำนาจพิจารณาและออกใบอนุ- |
ญาตให้เคลื่อนย้ายสัตว์ ชนิดโคนมและสุกร เข้าในหรือผ่านเขตปลอดโรคระบาดแทนอธิบดี |
กรมปศุสัตว์ให้แก่ฟาร์มเลี้ยงโคนม และฟาร์มเลี้ยงสุกร ที่ผ่านการรับรองของกรมปศุสัตว์เป็น |
ฟาร์มมาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของ |
ประเทศไทย พ.ศ. 2542 โดยผู้ประกอบการฟาร์มมาตรฐานต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุ- |
สัตว์ ว่าด้วยการนำเข้าหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. 2537 |
(2) ยกเว้นการขอเคลื่อนย้ายสุกรขุนเพื่อเข้าหรือผ่านเขตจังหวัดภาคใต้ |
|
2.เรื่องวัคซีนป้องกันโรคสุกร |
-สำนักงานปศุสัตว์ตจังหวัด มีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจความต้องการวัคซีนป้องกันโรค |
ปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์สุกร ให้มีอย่างเพียงพอตามปริมาณสุกรที่เลี้ยงได้ของฟาร์ม |
เลี้ยงสุกรที่ผ่านการรับรองของกรมปศุสัตว์เป็นฟาร์มมาตรฐานตามประกาศกระทรวงเกษตร- |
และสหกรณ์ เรื่องมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย พ.ศ. 2542
พร้อมทั้งดำเนินการ |
แจ้งกองสัตวรักษ์ทราบทุก 6 เดือน เพื่อกองสัตวรักษ์ จะได้ดำเนินการแจ้งให้กองผลิตชีวภัณฑ์ |
ผลิต และจัดสรรวัคซีนจำหน่ายให้แก่ฟาร์มมาตรฐานการเลี้ยงสุกร อย่างเพียงพอตามความ |
ต้องการ |
|
3.เรื่องการให้บริการตรวจสอบโรคสัตว์ประจำปี |
-สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด มีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจและแจ้งปริมาณความต้องการแอน |
ติเจน และจำนวนวัสดุวิทยาศาสตร์ หรือการแพทย์ที่ต้องใช้ประกอบการตรวจสอบโรคสัตว์
ทั้ง |
ในการตรวจสอบโรคแท้งติดต่อในพ่อแม่พันธุ์สุกร รวมทั้งโรคแท้งติดต่อและวัณโรคไนโคนม |
แจ้งให้กองสัตวรักษ์ทราบ เพื่อกองสัตวรักษ์จะได้ดำเนินการแจ้งกองควบคุมโรคระบาดดำเนิน
|
การจัดซื้อจัดหาให้กับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดโดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ |
ตรวจสอบโรคให้กับฟาร์มสุกร และฟาร์มโคนมที่ผ่านการรับรองของกรมปศุสัตว์เป็นฟาร์ม |
มาตรฐานตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของประ |
เทศไทย พ.ศ. 2542 โดยไม่คิดมูลค่า ในกรณีเมื่อตรวจพบสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรค
ให้แจ้งเจ้า |
ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อแยกตัวสงสัยออกจากฝูงและส่งตัวอย่างตรวจพิสูจน์ที่ศูนย์วิจัย
และ |
ชัณสูตรโรคสัตว์ในพื้นที่ หรือในส่วนกลางให้ส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
เมื่อผลการ |
ตรวจสอบยืนยันแน่ชัด ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแจ้งกองควบคุมโรคระบาดทราบเพื่อดำเนิน
|
การตามกฎระเบียบของกรมปศุสัตว์ต่อไป |
|
4.เรื่องการให้บริการตรวจวินิจฉัยและการชันสูตรโรค |
-ให้สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ในพื้นที่
รับผิดชอบให้บริการ |
ตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ให้กับตัวอย่างที่ส่งตรวจจากฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อสุกรและโคนมที่ |
ที่ผ่านการรับรองของกรมปศุสัตว์เป็นฟาร์มมาตรฐานตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
เรื่องมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย พ.ศ. 2542 โดยไม่คิดมูลค่า
ทั้งนี้โดยให้สำนัก |
งานปศุสัตว์จังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ รวมทั้งการแจ้งผลการตรวจให้ |
ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และกองสัตวรักษ์ทราบ |
|
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (สั่ง ณ วันที่
14 มีนาคม พ.ศ. 2543)
|
|
นายระพีพงศ์ วงศ์ดี อธิบดีกรมปศุสัตว์
|
|
|
|
|