สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร
ระเบียบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร
ของประเทศไทย
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร ของ ประเทศไทย พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้กำหนด มาตรฐาน ฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ การปรับปรุงคุณภาพ การ อำนวยความสะดวกทางการค้า และการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดถึงการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม ในการนี้ กรมปศุสัตว์จึงจัดทำระเบียบมาตรฐาน ฟาร์มเลี้ยงสุกร ขึ้น เพื่อให้เจ้าของฟาร์มเลี้ยงสุกร และสัตวแพทย์ผู้ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ด้านสุขภาพสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสุกร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ได้ยึดถือ ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน โดยเนื้อหาของระเบียบ จะกล่าวถึงองค์ประกอบของ ฟาร์ม และการจัดการที่สำคัญ 3 ด้านของฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ได้มาตรฐาน ได้แก่ การจัดการฟาร์ม การจัดการสุขภาพสัตว์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผล ในการพัฒนาฟาร์มเลี้ยงสุกร ให้ได้มาตรฐาน ตามวัตถุประสงค์ของประกาศ กระทรวง เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเจ้าของฟาร์มต่อไป โดยมีรายละเอียดของระเบียบดังนี้
คำนิยาม
1. ฟาร์มขนาดเล็ก หมายถึง ฟาร์มที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ ตั้งแต่ 6 ถึงน้อยกว่า 60
  (เทียบเท่าจำนวนสุกรตั้งแต่ 50 ตัว ถึงน้อยกว่า 500 ตัว)
2. ฟาร์มขนาดกลาง หมายถึง ฟาร์มที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์ตั้งแต่ 60 ถึง 600
  (เทียบเท่าจำนวนสุกรตั้งแต่ 500 ตัว ถึง 5,000 ตัว)
3. ฟาร์มขนาดใหญ่ หมายถึง ฟาร์มที่มีน้ำหนักหน่วยปศุสัตว์มากกว่า 600
  (เทียบเท่าจำนวนสุกรมากกว่า 5,000 ตัว)
4. โรงเรือนระบบเปิด หมายถึงโรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ และ
  อุณหภูมิ จะแปรไปตามสภาพของอากาศรอบโรงเรือน
5. โรงเรือนระบบปิด หมายถึงโรงเรือนที่สามารถ ควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับ
  ความเป็นอยู่ของสุกร ได้แก่อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และแสงสว่าง และ
  สามารถป้องกันพาหะนำโรคได้
รายละเอียดมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทย พ.ศ. 2542
1. องค์ประกอบของฟาร์ม
1.1
ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม
  สถานที่ตั้งของฟาร์มควรอยู่ห่างไกลชุมชน ผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น และแหล่งน้ำสาธารณะ
  พอสมควร แต่ต้องห่างจากโรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ ไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร
1.2
ลักษณะของฟาร์ม
  ฟาร์มต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม มีการจัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน โดย
  ต้องมีรั้ว เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ชนิดอื่น เข้า-ออก บริเวณพื้นที่เลี้ยงสัตว์ได้ และมีผัง
  แสดงการจัดวางที่แน่นอน ดังนี้
  (1) พื้นที่เลี้ยงสัตว์
  (2) โรงเก็บอาหารสัตว์ โรงผสมอาหารสัตว์
  (3) พื้นที่ทำลายซากสัตว์
  (4) พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
  (5) อาคารสำนักงาน ที่จอดรถ และบ้านพักอาศัย
1.3
ลักษณะโรงเรือน
  -ลักษณะโรงเรือนระบบเปิด
  1.3.1 โรงเรือนควรตั้งยาวตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก สภาพโรงเรือนโปร่ง ลม
  ผ่านสะดวก แต่ละโรงเรือนควรห่างกันไม่น้อยกว่า 25 เมตจร
  1.3.2 ขนาดของโรงเรือนต้องเหมาะสมกับจำนวนสุกร แต่ไม่ควรเกินหลังละ1,000
  ตัว
  -พื้นที่สำหรับสุกรพ่อพันธุ์ ประมาณ 4-8 ตารางเมตร/ตัว
  -แม่พันธุ์ท้องว่าง ประมาณ 1.2-1.5 ตารางเมตร/ตัว
  -แม่พันธุ์ตั้งท้อง ประมาณ 1.2-3 ตารางเมตร/ตัว
  -คอกคลอดและแม่เลี้ยงลูก ประมาณ 3-4 ตารางเมตร/ตัว
  -ลูกสุกรขุน
  - สำหรับพื้นคอนกรีต ประมาณ 1.2-1.5 ตารางเมตร/ตัว
  - สำหรับพื้นแสล็ต ประมาณ 1.0 ตารางเมตร/ตัว
  1.3.3 โรงเรือนต้องมีโครงสร้าง และส่วนประกอบที่แข็งแรง
  (1) เสาและโครงของโรงเรือน ทำจากเสาปูนหรือเหล็ก โครงเหล็ก หรือไม้ที่มีความ
  แข็งแรง
  (2) หลังคา ควรมุงด้วยกระเบื้อง ถ้าเป็นสังกะสี ควรเป็นหลังคาแบบตจั่ว 2 ชึ้น และ
  สูงพอควร เพื่อระบายความร้อน
  (3) พื้นคอก ควรเป็นพื้นคอนกรีตไม่หยาบ และไม่ลื่นจนเกินไป มีความเอียง หรือ
  เป็นพื้นแสล็ต เพื่อความสะดวกในการดูแล และทำความสะอาด
  (4) ผนังคอก ควรใช้อิฐบล็ค หรือแป๊ปน้ำ สร้างอย่างแข็งแรง ความสูงประมาณ 1
  เมตร ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ ควรสูง 1.2 เมตรโดยประมาณ
  (5) มีระบบทางระบายน้ำเสียระบายจากโรงเรือนสู่บ่อบำบัดได้อย่างสะดวกไม่อุดตัน
  (6) หน้าโรงเรือนแต่ละหลัง มีบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับจุ่มเท้าก่อนเข้า-ออกโรงเรือน
  -ลักษณะโรงเรือนระบบปิด
  1.3.4 ขนาดเหมือนกับโรงเรือนสุกรโดยทั่วไป คือ กว้างประมาณ 8-10 เมตร หรือ
  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยเน้นให้มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และการถ่าย
  เทอากาศที่ดี เหมาะสมกับขนาดและชนิดของสุกรที่เลี้ยง
  1.3.5 หลังคาโรงเรือนเป็นหลังคาแบบจั่ว ไม่ต้องสูงมาก อาจมีวัสดุที่เป็นฉนวนกัน
  ความร้อนบุใต้หลังคา หรือทำเพดานด้วยวัสดุที่เหมาะสม และควรมีช่องว่างระหว่าง
  หลังคากับเพดานเป็นแบบเปิด เพื่อให้มีการระบายความร้อนที่ดี
  1.3.6 ผนังโรงเรือน ต้องมีผนังปิดรอบโรงเรือนให้มิดชิด ด้วยวัสดุที่เหมาะสม (แข็ง
  แรงไม่ติดไฟง่ายเกินไป) เพื่อให้สามารถบังคับทิศทางลม และการถ่ายเทอากาศได้
  ดี และออกแบบให้มีการเปิด-ปิดได้สะดวกในกรณีที่ไฟฟ้าดับ เช่น เป็นม่านพลาสติก
  หน้าต่าง
  1.3.7 พื้นคอก ควรเป็นพื้นคตอนกรีตไม่หยาบและไม่ลื่นจนเกินไป มีความลาดเอียง
  หรือเป็นพื้นแสล็ต เพื่อสะดวกในการดูแลทำความสะอาด
  1.3.8 แสงสว่างตอนกลางวันมีแสงสว่างจากธรรมชาติผ่านทางแผ่นพลาสติก หรือ
  ช่องหน้าต่างกระจก (ยกเว้นโรงเรือนพ่อพันธุ์จะเป็นระบบทึบหมด) มีไฟฟ้าให้แสง
  สว่าง เพื่อความสะดวกในการทำงานหรือในเวลากลางคืนเมื่อจำเป็น
  1.3.9 ระบบระบายน้ำและกำจัดของเสีย
  (1) ทางระบายน้ำอยู่ภายในหรือด้านล่างของคอกตรงทางออก และต้องเป็นระบบปิด
  เพื่อไม่ให้อากาศเข้า
  (2) บ่อกำจัดน้ำเสียต้องอยู่ด้านท้ายคอก (หลังพัดลม)
  1.3.10 ระบบเตือนภัย ควรมีระบบเตือนภัย ในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง หรืออุณหภูมิผิด
  ปกติ เพื่อให้ผู้เลี้ยงสามารถเปิดม่าน หรือหน้าต่าง หรือแก้ไขระบบควบคุมอุณหภูมิ
  ได้โดยเร็ว หรืออาจใช้ระบบลดผ่าม่านอัตโนมัติ เพื่อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  1.3.11 พื้นที่/ตัวของสุกรที่อยู่ในระบบปิดจะน้อยกว่าในระบบเปิด แต่ต้องอยู่อย่าง
  สุขสบาย เช่น สำหรับสุกรช่วงการขุนต้องไม่น้อยกว่า 0.75 ตารงเมตร/ตัว
2.การจัดการฟาร์ม
2.1
การจัดการโรงเรือน
  2.1.1 โรงเรือนควรออกแบบ และจัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เพื่อความ
  สะดวกในการปฏิบัติงาน
  2.1.2 โรงเรือนควรให้มีส่วนการผลิตแยกกันอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
  (1) ชนิด 2 ส่วนผลิต ประกอบด้วย
  -ส่วนที่ 1 โรงเรือนพ่อ-แม่พันธุ์
  -ส่วนที่ 2 โรงเรือนสุกรอนุบาล และสุกรขุน
  (2) ชนิด 3 ส่วนผลิต ประกอบด้วย
  -ส่วนที่ 1 โรงเรือนพ่อ-แม่พันธุ์
  -ส่วนที่ 2 โรงเรือนสุกรอนุบาล
  -ส่วนที่ 3 โรงเรือนสุกรขุน
  และแต่ละส่วนผลิต มีระบบ เข้า-ออก ทีเดียวพร้อมกัน
  2.1.3 ต้องมีระยะพักของโรงเรือน หลังจากการย้ายสุกรออกโดยต้องทำความสะอาด
  โรงเรือนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค พักโรงเรือนประมาณ 5-7 วัน ก่อนนำสุกรชุดใหม่เข้า
  มาเลี้ยง
  2.1.4 พื้นคอก อุปกรณ์การให้อาหารและน้ำ ต้องทำความสะอาดทุกวัน
  2.1.5 มีระบบระบายอากาศที่ดี เพื่อถ่ายเทอากาศ และปรับอุณหภูมิภายในโรงเรือน
  ให้เหมาะสม
  2.1.6 โรงเรือนควรได้รับการดูแล และซ่อมบำรุง ให้ใช้ประโยชน์ได้ดี และมีความ
  ปลอดภัยต่อทั้งผู้ปฏิบัติงาน และตัวสุกร
2.2
การจัดการด้านบุคลากร
  2.2.1 ให้สัตวแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ชั้นหนึ่ง และได้รับใบ
  อนุญาตควบคุมฟาร์ม จากกรมปศุสัตว์ เป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ภาย
  ในฟาร์ม
  2.2.2 ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งฟน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรในแต่ละ
  ตำแหน่งอย่างชัดเจน อัตรากำลังและแรงงานต้องมีอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  2.2.3 บุคลากรภายในฟาร์มควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ตามกำหนด
  ของกระทรวงสาธารณสุข
2.3
คู่มือการจัดการฟาร์ม ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
  2.3.1 การเตรียมโรงเรือน
  2.3.2 การจัดการเกี่ยวกับการให้อาหารและน้ำ
  2.3.3 การผสม การเข้าคล้อด การให้ความอบอุ่นกับลูกสุกร การหย่านม
  2.3.4 การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
  (1) โปรแกรมการใช้วัคซีนป้องกันโรค
  (2) การใช้ยา
  (3) การจัดการสุกรป่วย-ตาย
  2.3.5 การจัดการด้านสุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม
  (1) อุณหภูมิ
  (2) การระบายอากาศ
  (3) การกำจัดของเสีย
2.4
ระบบการบันทึกข้อมูล
  ฟาร์มเลี้ยงสุกรต้องมีระบบการบันทึกข้อมูลที่ง่ายต่อการตรวจสอบ ประกอบด้วย
  2.4.1 การผลิต ได้แก่ การผสม การเข้าคลอด การหย่านม และตัวเลขแสดงประสิทธิ
  ภาพการผลิต
  2.4.2 การนำสุกรเข้า-ออก ยานพาหนะ และการเข้าเยี่ยมฟาร์ม
  2.4.3 การตรวจสุขภาพสัตว์ การรักษาพยาบาล และการดูแลสุขภาพสัตว์
  2.4.4 การใช้ยา วัคซีน และอาหารสัตว์
  2.4.5 การตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน
2.5
การจัดการด้านอาหารสัตว์และน้ำ
  2.5.1 อาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพที่กำหนดตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
  ที่ประกาศ และมีผลบังคับใช้ในขณะนั้น
  2.5.2 ภาชนะบรรจุและการขนส่งอาหารสัตว์
  (1) เป็นภาชนะบรรจุที่ใหม่ แห้ง สะอาด และกันความชื้น
  (2) ผิวภายในภาชนะบรรจุที่ทำด้วยโลหะต้องไม่มีสนิม และถ้าเคลือบ ต้องเคลือบ
  ด้วยสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
 

(3) รถไซโลเฉพาะกิจที่ใช้ในการขนส่งต้องทำให้ส่วนที่บรรจุแห้ง และสะอาดไม่มี

  การตกค้างของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในส่วนที่บรรจุ
  2.5.3 การให้อาหาร
  (1) อุปกรณ์การให้อาหารแบบราง ความยาวไม่ควรต่ำกว่า 25 เซนติเมตร/ตัว
  (2) อุปกรณ์การให้อาหารแบบถังกลม หรือรางอาหารกล มีเพียงพอและเหมาะสม
  กับสุกรที่เลี้ยง และตามมาตรฐานของอุปกรณ์ชนิดนั้น ๆ
  (3) คตุณภาพอาหารที่ใช้เลี้ยงต้องได้มาตรฐานเหมาะสมและสอดคล้องกับช่วงอายุ
  และชนิดของสุกร
  2.5.4 การให้น้ำ
  (1) ต้องไม่ใช้สารต้องห้ามตามกฎหมายผสมในน้ำ
  (2) มีระบบและอุปกรณ์ให้น้ำอย่างเพียงพอ
  (3) ควรมีอุปกรณ์สำหรับผสมยาละลายน้ำให้สุกรกินเมื่อจำเป็น
   
(ยังมีต่อในหน้าต่อไป)