พระพุทธรูปศิลปะพม่า


อายุ: พุทธศตวรรษที่ 17 - 24


ศิลปะกรรมยุคนี้ปรากฏงานศิลปะนิกายหินยาน แต่การสร้างพระพทธรูปจะมีทั้งพระพุทธรูปที่มีจีวรเรียบแบบนิกายหินยาน และทรงเครื่องแบบนิกายมหายาน การสร้างนิยมสร้างพระสาวกมากกว่ารูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โดยในช่วงหลังนิยมสร้างพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องใหญ่ปั้นจากรัก ประดับกระจกแบบศิลปะมัณฑเลย์ เช่นพระบัวเข็มพิมพ์ต่างๆ
พระพุทธรูปศิลปะชาน ฐานพระได้รับอิทธิพลมาจากแบบพุกาม สนิมเขียว

ศิลปะในยุคสถาปนาอาณาจักรพม่าแบ่งตามอายุได้ดังต่อไปนี้

ศิลปะ
อายุ
ศิลปะพุกาม (PAGAN)

ศิลปะยุคแรกของพม่า ราวพุทธศตวรรษที่ 17-19

ศิลปะอังวะ (AVA)

พบเห็นในประเทศไทยไม่มากนัก

ศิลปะชาน (SHAN)

ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23

ศิลปะอาระข่านระยะหลัง (Late Arakan)
ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23
ศิลปะมอญ (Mon)

ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23

ศิลปะตองอู (Tong-oo)

พบเห็นในประเทศไทยไม่มากนัก

ศิลปะอมรปุระ (Amarapura)

พบเห็นในประเทศไทยไม่มากนัก

ศิลปะมัณฑเลย์ (Mandalay)

พุทธศตวรรษที่ 23 - 24 ปัจจุบันพบเห็นในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

พระพุทธรูปหลายๆ องค์ ที่มีศิลปะพม่า แบ่งแยกได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีหนังสือ หรือตำรา บางบอกโดยชัดเจนถึงพุทธลักษณะของศิลปะในแต่ละยุค ส่วนพระพุทธรูปพม่าที่สามารถแบ่งได้ค่นข้างชัดเจนนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ยุคสมัย คือ

ศิลปะพุกาม เนื่องจากได้เป็นยุคแรกที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียโดยตรง พบเห็นได้ในประเทศไทยค่อนข้างมาก

ศิลปะชาน เป็นพระพุทธรูปที่พบเห็นได้ทั่วไปจากร้าน Antique ส่วนมาก และเนื่องจากยุคสมัยของชานอยู่ที่
200 - 300 ปี และมีความงามดูน่าเกรงขาม ทั้งแบบธรรมดา และทรงเครื่อง อีกทั้งราคาเช่าหาไม่สูงมากนักเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับศิลปะพุกาม จึงมีผู้นิยมสะสมมากกว่าศิลปะอื่นๆ

ศิลปะมัณฑเลย์ เป็นศิลปะที่สามารถพบเห็นได้มากที่สุด ในร้าน Antique ต่างๆ ในภาคเหนือ เนื่องจากอายุของศิลปะแบบนี้ไม่นานมากนัก และมีความงดงาม อ่อนช้อย ไม่แพ้ศิลปะของประเทศอื่นๆ ราคาเช่าหาทั่วไปถือว่าไม่สูงนัก แต่สำหรับพระพุทธรูปบางองคที่มีการประดับ ตกแต่ง อย่างงดงาม ราคาเช่าหา จะแพงตามไปด้วย

ณัฐพล โอจรัสพร
www.thaiantiquer.com

Back