ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว (ซิตาโคซอรัส - Psittacosaurus)
สยามโมซอรัส (Siamosaurus) ไดโนเสาร์เทอโรพอดพันธุ์ใหม่
สยามโมซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดพันธุ์ใหม่ที่พบในประเทศไทย โดยตั้งชื่อเต็มว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus Suteethorni) เพื่อเป็นเกียรติแก่นายวราวุธ สุธีธร ผู้มีส่วนสำคัญในการค้นพบฟอสซิลในประเทศไทย
เหตุที่สยามโมซอรัสนี้เป็นไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ เพราะขณะที่ไดโนเสาร์เทอโรพอดทั่วไปจะมีฟันลักษณะเป็นฟันแบน ๆ มีปลายแหลมโค้งงอเล็กน้อย มีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ฟันของสยามโมซอรัส กลับมีลักษณะเป็นรูปแท่งกรวยปลายแหลม มีสันเล็ก ๆ ยาวตลอดฟันจึงสันนิษฐานว่า ขณะไดโนเสาร์เทอโรพอดพันธุ์อื่น ๆ ใช้ฟันที่มีรอยหยักนั้นกัดเฉือนเนื้อสัตว์อื่นกินเป็นอาหารแต่ฟันของ สยามโมซอรัสไม่มีรอยหยัก ไม่สามารถกัดเฉือนเนื้อได้เลย น่าจะใช้ลักษณะอื่นมากกว่า เคยมีผู้วิจัยว่าสยามโมซอรัสนี้น่าจะคล้ายกันกับพวก กินปลาเป็นอาหารที่มีปากแคบยาวคล้ายกับจระเข้ หรือ เพลสซิโอซอร์ เราพบฟอสซิลของสยามโมซอรัสที่ภูประตูตีหมา ซึ่งเป็นเขา เทือกเดียวกับภูเวียง ในจังหวัดขอนแก่นแต่เนื่องจากฟอสซิล ของสยามโมซอรัสที่เราพบนั้นมีเพียงฟันเท่านั้นจึงไม่สามารถบอกลักษณะ ได้ชัดเจนมากนักคงสันนิษฐานว่าน่าจะ มีลักษณะของไดโนเสาร์เทอโรพอดที่มีปากคล้ายจระเข้
ฟอสซิลฟันของสยามโมซอรัส พบที่ขอนแก่น
อิกธิโอซอร์ สัตว์เลื้อยคลานคล้ายปลา
อิกธิโอซอร์ (Ichthyosaurs) นั้นไม่ใช่ไดโนเสาร์และไม่ใช่ปลา แต่อิกธิโอซอร์เป้นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนใจจากการอาศัยอยู่บนบก กลับลงไปอาศัยอยู่ในทะเล ครั้นเมื่อต้นตระกูลอิกธิโอซอร์ ใช้ชีวิตอยู่ในทะเลนานวันเข้าก็วิวัฒนาการจนมีรูปร่างคล้ายปลา (เช่นเดียวกับปลาโลมา และปลาวาฬในปัจจุบัน) เจ้าอิกธิโอซอร์มีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสสิกตอนต้นถึงครีเตเซียสตอนปลายซึ่งเป็นยุคเดียวหกับไดโนเสาร์ และเป็นที่น่าเสียดายว่าอิกธิโอซอร์ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
ในประเทศไทย ดร.จงพันธ์ จงลักษมณี นักโบราณชีววิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ได้พบฟอสซิลของอิกธิโอซอร์ ขนาดตัวยาวเพียง 20 ซม. ในหินปูนยุคไทรแอสสิกตอนล่าง ที่เขาทอง จังหวัดพัทลุงอิกธิโอซอร์ที่พบตัวนี้มีวิวัฒนาการอยู่ในช่วงปรับตัวเพื่อใช้ชีวิต ในทะเลยังไม่สมบูรณ์ดี เราจะเห็นว่าแขนทั้งสองข้างยังเปลี่ยนเป็นใบพายไม่สมบูรณ์นักรูปร่างและโครงสร้างของกะโหลกยังเหลือร่องรอย ของการสืบทอดจากสัตว์บกอยู่มาก
ฟอสซิลของอิกธิโอซอร์ชิ้นนี้นั้บเป็นอิกธิโอซอร์ที่โบราณมาก แตกต่างไปจากพวกที่เคยพบมาแล้ว จึงได้ชื่อใหม่ว่า ไทยซอรัส จงลักษมณี (Thaisaurus chonglakmanii) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.จงพันธ์ จงลักษมณีผู้ค้นพบ