นนนนน
ตำนานของกระยาสารท


แกกเล่ากันว่าสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ ในเพลาราตรีมีเปรตตนหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู ขณะที่พระองค์ประทับอยู่กับราชบริพารเหล่าสนมกำนัลใน เปรตตนนี้ปลอมตัวเข้าไปในลักษณะของพระสงฆ์ พระเจ้าอชาตศัตรูทำที่จะนมัสการเปรตเห็นดังนั้นจึงร้องห้ามว่า
กกกกกกกก "มหาบพิตรอย่าไหว้เลย ข้าพเจ้าหาใช่พระสงฆ์ทรงสิกขาดังที่เห็นไม่ ข้าพเจ้าเป็นเพียงเปรตที่ต้องเสวยกรรมเก่าเท่านั้น"
กกกกกกกก "เธอทำกรรมสิ่งใดไว้"
กกกกกกกก "ข้าพเจ้าเคยเป็นสงฆ์ ได้บวชอยู่นานหลายสิบปี มีความโลภในจตุปัจจัยที่มีคนถวาย ได้สะสมไว้มากมาย ไม่ได้สละเป็นทานต่อไป เมื่อสิ้นชีวิตจึงได้เกิดเป็นเปรตตามอกุศลนั้น แต่ยังคงอยู่ในรูปพระสงฆ์ เพื่อจะได้ขอทานอาหารมาบรรเทาความหิวโหย เมื่อเขาให้แล้วก็กลับกลาย เป็นเปรตจะเป็นอยู่เช่นนี้อีกช้านานจนกว่าจะหมดเวร"
กกกกกกกก"แล้วที่เจ้ามาหาเราในวันนี้มีประสงค์อะไร" พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามด้วยความสนพระทัย
กกกกกกกก"ข้าพเจ้าใคร่ขอรับพระราชทานกระยาสารทอันปรุงแต่งด้วยของเจ็ดอย่าง มีน้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเม่า น้ำนมวัว เป็นต้น พวกข้าพเจ้าอดอยากยิ่งนัก ถ้าได้รับพระราชทานกระยาสารทก็คงชุ่มชื่นเป็นแน่แท้"
กกกกกกกก"ถ้าเราทำตามที่เธอบอก แล้วเธอจะได้รับพระราชทานกระยาสารทนั้นได้อย่างไรล่ะ"
กกกกกกกก"ขอได้โปรดนำถวายพระสงฆ์แล้วอุทิศกุศลถึงข้าพเจ้าก็คงจะสำเร็จดังปรารถนา"
กกกกกกกก"เอาเถิดเราจะทำให้"

^ขั้นตอนทำขนมกระยาสารทที่ต้องร่วมมือด้วยความเต็มใจ
กกกเมื่อเปรตได้ฟังพระเจ้าอชาตศัตรูดังนั้นแล้ว ก็ถวายบังคมลากลับไปพระเจ้าอชาตศัตรูรับสั่งให้วิเสทจัดทำกระยาสารทตามตำราที่เปรตบอกทันที ครั้นรุ่งเช้าพระเจ้าอชาตศัตรู มีรับสั่งให้ไปนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสาวกเข้ามาในพระราชวังถวายกระยาสารท แล้วกรวดน้ำอุทิศให้แก่เปรตตามที่เปรตได้ทูลไว้ทุกประการ วันที่พระเจ้าอชาตศัตรูถวายกระยาสารทแด่พระสงฆ์ครั้งนั้นตรงกับวันสารทพอดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบรรดาประชาราษฎร์ก็พากันปฏิบัติตาม พอถึงวันพระแรม ๑๕ค่ำ เดือน ๑๐ ก็พากันกวนกระยาสารททำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วในประเพณีการทำบุญวันสารท นอกจากมีกระยาสารทแล้วยังมีการกวนข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ซึ่งในส่วนของพระราชพิธีการกวนข้าวทิพย์ในวังหลวงนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงสันนิษฐานว่าคงจะกวนตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้มีการกวนข้าวทิพย์ในรัชสมัยของพระองค์ตลอดมา โดยให้พระเจ้าลูกเธอฝ่ายในทรงกวนทั้งสิ้น ซึ่งถือว่าผู้ที่กวนข้าวทิพย์ได้นั้นต้องเป็นสาวพรหมจารี คือยังไม่มีสามีนัยหนึ่ง
กกกกอีกนัยหนึ่งคือ หญิงที่ยังไม่มีระดู กล่าวว่าเป็นพรหมจารีแท้เนื่องเพราะถือในความบริสุทธิ์ของผู้กวนตามคติของพราหมณ์แต่เดิมมานั่นเอง
ประวัติความเป็นมาของประเพณีทำบุญวันสารท การทำพิธีสารทนี้ไทยเรารับมาจากคติความเชื่อของพราหมณ์ซึ่งในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้กล่าวถึงพระราชพิธีนี้ว่า เป็นพราหมณ์พุทธศาสนาทำตามอย่างพราหมณ์... เมื่อพระราชพิธีของพราหมณ์ตกเข้ามาในแผ่นดินสยาม ก็พลอยประพฤติตามลัทธิพราหมณ์ด้วย

กกกกคำว่า "สารท" เป็นคำของอินเดีย หมายถึงฤดูตรงกับภาษาอังกฤษว่าออทั้ม (autumn) ซึ่งเราแปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง อยู่ระหว่างฤดูฝนและฤดูหนาว ฤดูสารทเป็นเวลาที่พืชพรรณธัญญาหารและผลไม้เริ่มสุกให้ดอกผลเป็นครั้งแรกในฤดูนี้ จึงถือเป็นเทศกาลรื่นเริงยินดี ทำพิธีตามคติความเชื่อถือและเลี้ยงดูกัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า seasonal festivals ตามคติความเชื่อโบราณของชาติต่างๆ ในเรื่อง "ผลแรกได้" ที่ถือว่าเมื่อเก็บเกี่ยวได้ผลเป็นครั้งแรกจะเป็นผลไม้หรืออะไรก็ตามที เมื่อได้มาในครั้งแรกต้องนำสิ่งเหล่านั้นสังเวยบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือเสียก่อน เนื่องจากมีความเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือหรือกลัวเกรงนั้นย่อมเป็นผู้บันดาลให้พืชพรรณธัญญาหารงอกงาม การทำบุญตักบาตรด้วยกระยาสารท ต้องตัดเป็นชิ้นแล้วห่อด้วยใบตอง ควบคู่กับกล้วยไข่เสมอ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าในช่วงเดือน 10 เป็นช่วงที่กล้วยไข่สุกพอดี กระยาสารทเป็นขนมที่มีรสหวานจัด พอได้กล้วยไข่มากินแกล้ม ก็จะทำให้ช่วยลดความหวานและเสริมรสชาติกันไปได้ดี เมื่อชาวบ้านทำบุญตักบาตรแล้วก็มีการแจกจ่ายกระยาสารทที่เหลือจากการทำบุญแก่เพื่อนบ้าน เป็นการแลกเปลี่ยนรสกระยาสารท ดีหรือไม่ดี หวานหรือไม่หวาน มัน เหนียว หรือไม่ กินแล้วไม่ออกความเห็นที่ติชมกัน เพียงแต่ต่างฝ่ายต่างอวดรสอวดฝีมือกัน และก็จะเป็นที่รู้กันว่ากระยาสารทบ้านไหนอร่อยมีฝีมือถือชื่อ กระยาสารทที่นิยมกันว่าอร่อยต้องมีรสหวานแหลมมันและเหนียวหนืด เมื่อพิจารณาถึงขนมกระยาสารทที่ชาวบ้านนำไปทำบุญตักบาตรในวันเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ถ้าเป็นงานซึ่งต้องทำขึ้นมาเป็นจำนวนมากเกินกำลัง ก็จะขอความร่วมมือกันด้วยความเต็มใจ ความสามัคคีและความสนิทสนมกลมเกลียว
   

บ้านขนมสวย(บุญธรรม)
๓๒ หมู่ ๑ ต.ลาดชิด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๒๐
โทร: (๐๓๕)๓๙๑-๕๕๕ ,(๐๓๕)๒๓๙-๒๑๘
www.oocities.org/thaibesteating
All rights reserved.
Prasertprasri@hotmail.com