ศรีทะนนไชย ศรีทะนนไชยสำนวนกาพย์ สำนวนเก่าที่สุดที่ค้นพบ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ เสภาเรื่องศรีทะนนไชยเซียงเหมี้ยง |
ศรีทะนนไชยสำนวนกาพย์ มีศรีทะนนไชย ที่นิยมเล่ากันมาอีกแนว หนึ่ง ซึ่งต่างกับศรีทะนนไชยเซียงเหมี้ยง ในท้องเรื่องอีกเรื่องนั้น ศรีทะนนไชยเป็นชาว ศรีอยุธยา เป็นฉบับศรีทะนนไชยสำนวนกาพย์ ในฉบับนี้ศรีทะนนไชยถูกทำให้กลายเป็น บุคคลพิเศษ เพราะเขาไม่ใช่ลูกชาวนาอย่างเซียงเหมี้ยงแต่เขาเป็นลูกขุนนาง ผู้ซึ่งต้อง การจะมีลูกเหลือเกิน และเทวดาก็ได้มาถือกำเนิดเป็นตัวเขา ถึงตอนนี้ ศรีทะนนไชยก็ กลายเป็นพระเอก ตามแบบวรรณคดีราชสำนักไป ชีวิตของศรีทะนนไชยระหกระเหินมา ก่อนที่จะได้เข้าวัง เริ่มตั้งแต่ศรีทะนนไชย ผ่าท้องน้องของตนเองเพื่อชำระล้างให้สะอาด ตามคำสั่งของมารดา เมื่อถูกขับจากเรือนไปอยู่กับยายแก่ขายขนม ก็เอาขนมนั้นเททิ้งน้ำ หมดตามคำสั่งของยายที่ให้ขายเป็นเทน้ำเทท่า เรื่อยไปจนได้ไปรับใช้หลวงนายและหลวง นายทนความกะล่อนของศรีทะนนไชยไม่ไหวจึงนำตัวศรีทะนนไชยถวายพระเจ้าเจษฎา ถึงตรงนี้พญาซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหลวงของเซียงเหมี้ยง กลายเป็น "พระเจ้าแผ่น ดิน" ไปแล้ว ศรีทะนนไชยฉบับศรีอยุธยา นั้นมีบทบาทตัวโกงรุนแรงกว่าเซียงเหมี้ยง หลายเท่าในขณะที่ศรีทะนนไชย เซียงเหมี้ยง ยังเล่นตลกอยู่ในกรอบประเพณีและชุมชน ศรีทะนนไชยฉบับศรีอยุธยาใชัปัญญาเกะกะระราน เอารัดเอาเปรียบไปจนถึงขูดรีด เพื่อ ประโยชน์แก่ฐานะและความสำเร็จของตนเองและกระทำเอาแก่ทุกคนที่ขวางหน้า ไม่ใช่แก่ กษัตริย์และพระสงฆ์ ซึ่งชุมชนก็ถือว่าเป็นว่าส่วนนอกที่เข้ามาทีหลังชุมชนสถาปนาแล้ว บทศรีทะนนไชยฆ่าน้อง "แขวนคอควาย" "บีบลูกอัณฑะของนาย" "เอาสาร หนูให้ยายกิน" "ไล่ตีแมวรุกไปในที่ดินของชาวบ้านเพื่อเอาที่เท่าแมวดิ้นตาย" หลอกพนัน เพื่อจะได้ทรัพย์สินเงินทองของบรรดาข้าหลวง เหล่านี้ ทำให้ศรีทะนนไชยมีบุคลิกใกล้เข้า ไปสู่เป็นการแสดงออกถึงความเป็นคนชั่วมากขึ้นทุกที และเป็นการสะท้อนให้เห็นบริบท ของสังคมที่ศรีทะนนไชยอาศัยอยู่ ว่ามีเขตแดนกว้างขวางมีชนชั้นอยู่หลากหลาย เป็น สังคมใหญ่ซึ่งผู้คนเริ่มจะหันไปใช้ไหวพริบ ฉลาดแกมโกงไปเพื่อการเอาเปรียบ ทำร้าย และเอาประโยชน์ จากกันและกันเสียแล้ว จึงเห็นได้ว่าไหวพริบและความฉลาดแกมโกงนี้ เมื่อพ้นจากขีดความพอดี แล้วมันจะก้าวไปสู่อะไร มีประเด็นที่น่าสนใจมากทีเดียวว่า เกือบครึ่งหนึ่งของศรีทะนนไชยฉบับศรี อยุธยานี้เป็นเรื่องราวที่ศรีทะนนไชยใช้ปัญญาต่อสู้ประลองกับชนชาติอื่น ที่มาเกี่ยวข้อง กับศรีอยุธยา ด้วยเหตุต่างๆ เช่น กรณีแข่งขันนกพูดได้ กรณีลังกาขอท้าอยุธยาตอบ ปัญหาธรรม กรณีแข่งขันผ้าวิเศษกับชาวฝรั่งเศส กรณีมวยปล้ำ กรณีแข่งกันสร้างเจดีย์ กรณีแข่งดำน้ำในนานที่สุดรวมไปจนถึงตอนศรีทะนนไชย ไปค้าสำเภาถึงเมืองจีน จนได้ หลอกดูพระพักตร์ของพระเจ้าหน้าหมาเป็นผลสำเร็จ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในทุกๆ กรณีการแข่งขันศรีทะนนไชยเป็นฝ่ายชนะโดยง่าย โดย อาศัยเล่ห์เพทุบาย กล่าวในแง่นี้ ศรีทะนนไชยได้ขยายบทบาทจากการล้อเลียนต่อสถาบัน กษัตริย์ และสถาบันสงฆ์ไปเป็นการรักษาชาติบ้านเมืองเอาไว้จากการเสียทีและเสียหน้าแก่ ชนชาติอื่น นิทานที่แต่งขึ้นในแนวนี้ตอบสนองต่อความรู้สึกของชนชาติเป็นอย่างดี ใน สภาพที่ศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับหลายชนชาติในสมัยนั้น ถ้าคนไทยสมัยศรีอยุธยาจะ มีความรู้สึกเปรียบเทียบระหว่างอารยธรรมของชาติตนว่ามีอะไรต่ำต้อยกว่าชาติอื่น ศรี ทะนนไชยก็ได้ช่วย "กู้หน้าไว้" ด้วยการใช้ไหวพริบแกมโกงว่าศรีอยุธยาเหนือกว่า ทั้งๆ ที่ พระเจ้าเจษฎาเองทรงวิตกกำสรวลทุกครั้งว่ากรุงศรีอยุธยาจะไปสู้กับชาติอื่นได้อย่างไร ในเรื่องซึ่งศรีอยุธยาไม่ได้เคยสะสมความรู้มาก่อน สิ่งอันพึงพิจารณามีอยู่ว่า พื้นฐานวิธีคิดแบบศรีทะนนไชยที่คนไทยนิยมชม ชอบนี้ได้สะท้อนให้เห็นด้วยหรือเปล่าว่าคนไทยพอใจที่จะได้ชัยชนะ ทั้งๆ ที่ไม่อยู่ในฐานะ ที่จะสู้เขาได้ชัยชนะแบบนี้จะมีอยู่ชั่วระยะหนึ่งของการแข่งขันดำเนินอยู่ แต่เมื่อการแข่ง ขันจบลงแล้ว นกที่พูดได้เจื้อยแจ้ว ผ้าวิเศษที่มีควันลอยออกมา นักมวยปล้ำชั้นเลิศ นัก ดำน้ำที่อยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลานาน หรือนักสร้างเจดีย์ ตัวจริงนั้น ก็ล้วนแต่เป็นของชาติอื่น หาใช่ของชาติไทยเราไม่ เราอาจพอใจที่หลอกเขาได้หรือ มีเหลี่ยมเหนือเขา แต่เราปฎิเสธ ไม่ได้ว่าคนที่เป็นผู้รู้หรือเก่งจริง คือ เขา ซึ่งเป็นชนชาติอื่นไม่ใช่เรา นี่คือเรื่องในนิทานที่ จะสะท้อนหรือทวงถามความจริงต่อคนไทยยุคปัจจุบัน |