ลูกอีสาน
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๙ (บรรณกิจ)

คำพูน บุญทวี
(พ.ศ.๒๔๗๑ - )


		
		ลูกอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็น
	ถ่ายทอดในรูปของนิยาย   โดยได้เขียนเป็นตอนๆ  ประมาณ ๓๖ ตอน  เพื่อพิมพ์ลงใน
	นิตยสารฟ้าเมืองไทย  ช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ 

		ผู้เขียนใช้วิธีการเล่าเรื่องราวโดยผ่านเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในถิ่นชนบท
	ของอีสาน  แถบที่จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งของไทยชีวิตความเป็นอยู่ของ
	ครอบครัวเด็กชายคูน  ประกอบด้วยพ่อแม่ และลูก ๓ คน  และเพื่อนบ้านในละแวกนั้น
	ไม่มีความแตกต่างกันนัก  นั่นก็คือ  ความจนข้นแค้นต้องหาอาหารตามธรรมชาติทุก
	อย่างที่กินได้  เมื่อความแห้งแล้งอย่างรุนแรงมาเยือน  ครอบครัวเพื่อนบ้านก็เริ่มอพยพ
	ออกไป  แต่ครอบครัวของเด็กชายคูน และกลุ่มที่สนิทชิดเชื้อกันยังคงอยู่  เพราะเขามี
	พ่อและแม่ที่เอาใจใส่  ขยันขันแข็งไม่ย่อท้อภัยและอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนมองเห็น
	ความสำคัญของการศึกษา  แม้จะยากจนอย่างไร  เด็กชายคูนก็ได้เข้าเรียนในระดับการ
	ศึกษาประชาบาล  เด็กชายคูนมีเพื่อนสนิทชื่อจันดี  ผู้เป็นคู่หูในการทำอะไรด้วยกันตาม
	ประสาเด็กผู้ชาย  แล้วยังมีครอบครัวของทิดจุ่นและพี่คำกอง สองสามีภรรยา เป็นต้น

		ผู้เขียนได้เล่าถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความเชื่อของชาวอีสาน
	โดยผ่านเด็กชายคูน  รวมไปถึงการบรรยายถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คน
	และสภาพแวดล้อม  เช่น  การเกี้ยวพาราสีกันของทิดจุ่นและพี่คำกอง จนท้ายที่สุดก็ได้
	แต่งงานกัน  การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน  การเดินทางไปหาปลาที่ลำน้ำชีเพื่อนำปลามา
	ทำอาหาร  และเก็บถนอมเอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น  เรื่องราวทั้งหมด
	นั้นเน้นวิถีชีวิตความเป็นอยู่  แสดงวิธีการของการดำรงชีวิตตามธรรมชาติในถิ่นอีสาน
	เป็นสิ่งสำคัญ  นอกจากนั้นยังแทรกความสนุกสนามเพลิดเพลินจากการทำบุญตามประ
	เพณีไว้หลายตอนด้วย  ได้แก่การจ้างหมอลำหนู  ซึ่งเป็นหมอลำประจำหมู่บ้าน  ลำคู่กับ
	หมอลำ ฝ่ายหญิงที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น  ทั้งกลอนลำและการแสดงออกของหมอลำ
	ทั้งสองได้สร้างความสนุกสนานครึกครื้นแก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงานอย่างมาก

		ลูกอีสานเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ด้วยภาษาที่ตรงไปตรง
	มา และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต  ความเป็นอยู่ของชาวอีสานว่าต้องเผชิญกับความยาก
	ลำบากอย่างไร  การเรียนรู้ที่จะอดทนเพื่อเอาชนะกับความยากแค้นตามธรรมชาติ  ด้วย
	ความมานะบากบั่น  ความเอื้ออารีที่มีให้กันในหมู่คณะ  ความเคารพในระบบอาวุโส  สิ่ง
	เหล่านี้ปรากฎอยู่ในแต่ละตอนของลูกอีสาน  ดังที่พ่อของคูนบอกว่า
		
		         "...เรื่องน้ำใจ  พ่อของคูนเคยสอนคูนเหมือนกันว่าคนมีชื่อนั้นคือ คน
		รู้จักสงสารคนและช่วยเหลือคนตกทุกข์  ถ้าไม่มีสิ่งของช่วย ก็เอาแรงกาย
		ช่วย  และไม่เลือกว่าคนๆ นั้นจะอยู่บ้านใด อำเภอใด"
		
		ลูกอีสานได้รับรางวัลดีเด่น  ประเภทนิยาย  ของคณะกรรมการพัฒนา
	หนังสือแห่งชาติ  ในปีพ.ศ.๒๕๑๙  และรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม
	แห่งอาเซียน (ซีไรท์) ปี พ.ศ.๒๕๒๒  เป็นหนังสือดีที่สะท้อนสังคมชนบทอีสาน
	ในแง่มุมหนึ่งได้อย่างน่าสนใจ


กลับไปหนังสือประเภทนิยาย