โฉมหน้าศักดินาไทยปัจจุบัน
พิมพ์ครั้งแรก ในนิติศาสตร์ ๒๕๐๐

สมสมัย ศรีศูทรพรรณ
(นามแฝงของ จิตร ภูมิศักดิ์)

(พ.ศ.๒๔๗๓ - ๒๕๐๙)



		โฉมหน้าศักดินาไทย เป็นเรื่องที่ผู้เขียน ต้องการเขียนขึ้นเพื่อให้
	เข้าใจลักษณะที่แท้จริงของศักดินาในฐานะที่เป็นระบบการผลิต โดยใช้แนวคิดของ
	มาร์กซเป็นกรอบการศึกษา  เป็นงานทางประวัติศาสตร์ที่แหวกวงล้อมออกจากการ
	เขียนงานทางประวัติศาสตร์สกุลดำรงราชานุภาพ ที่เป็นวิธีการเขียนหลักของนัก
	ประวัติศาสตร์ไทย  ผู้เขียนต้องการตีความประวัติศาสตร์ใหม่ แหวกวงล้อมของ
	การตีความประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนบอกว่า ตกอยู่ในมือของฝ่ายศักดินา แต่ผู้เขียน
	เห็นว่าเป็นการนำประวัติศาสตร์มาบิดเบือนทำให้  "ประวัติศาสตร์แทนที่จะเป็น
	ประวัติศาสตร์แห่งการเคลื่อนไหวก้าวหน้าของประชาชน  ตรงข้ามกลับเป็นประวัติ
	การสืบสันตติวงศ์ของกษัตริย์..." (หน้า ๕๙)

	มีเนื้อหาในหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย แบ่งออกเป็น

		๑. ลักษณะของระบบผลิตศักดินา และกำเนิดระบบศักดินาโดย
	ทั่วไป กล่าวถึงความหมายของคำว่า ศักดินา ลักษณะทางเศรษฐกิจสังคม
	และการเมือง  เป็นการวางกรอบทฤษฎีไว้ในเบื้องต้น

		๒. กล่าวถึงระบบศักดินาในไทยโดยเฉพาะ จิตรอธิบายให้เห็นว่า
	สังคมไทยมีพัฒนาการผ่านขั้นตอนการผลิตอย่างที่มาร์กซอธิบายไว้ กล่าวคือ
	ก่อนที่จะพัฒนาเป็นสังคมศักดินา ประเทศไทยได้ผ่านสังคมทาสในสมัยสุโขทัย
	มาก่อน ผู้เขียนได้พิสูจน์ด้วยการอ้างหลักฐานจากพงศาวดารล้านบ้าง เพื่อเป็น
	การล้มล้างความเชื่อถือในการศึกษาไทยว่า  สังคมสุโขทัยไม่เคยมีทาส และไทย
	ไม่เคยผ่านระบบทาส  ผู้เขียนยังได้ค้นคว้าย้อนไปไกลกว่าสังคมสุโขทัย เพื่อ
	แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยเคยผ่านยุคชุมชนบุพกาลมาแล้วอีกด้วย

		ระบบศักดินาตามที่ ผู้เขียนอธิบายเป็นระบบที่ขึ้นอยู่กับ การถือ
	ครองที่ดินเป็นพื้นฐาน  สังคมของชนเชื้อชาติไทยก้าวสู่สังคมศักดินา ตั้งแต่
	สมัยสุโขทัย คือ เริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่สามารถรวบอำนาจในการ
	เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด และยกตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ต่อมาถูกอาณา
	จักรอยุธยา ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓  (และได้ก่อรูประบบการผลิตแบบศักดินา
	ขึ้นแล้ว) ผนวกสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่ง และทำให้ระบบศักดินาในอยุธยาเข้ม
	แข็งขึ้น

		ผู้เขียนได้ให้ข้อมูลอย่างกว้างขวาง ทั้งจากข้อมูลที่ได้จาก กฎหมาย
	ตรา ๓ ดวง ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ของ ร. แลงกาต์ เพื่ออธิบายถึงลักษณะ
	ของการถืออำนาจในการครอบครองที่ดินของกษัตริย์ เพื่อยืนยันว่าสังคมอยุธยา
	เป็นสังคมศักดินา

		๓. ลักษณะทางเศรษฐกิจของระบบศักดินาไทย ผู้เขียนชี้ว่ากษัตริย์
	เป็นผู้ถืออำนาจครอบครองที่ดินทั้งหมด  กษัตริย์แจกจ่ายที่ดินให้ขุนนางข้าราช
	การ ไพร่ วัด ซึ่งกระทำกันครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๑๙๙๘  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตร
	โลกนาถ ดังปรากฏอยู่ในกฎหมาย พระอัยการตำแหน่งนายทหารและพลเรือน ที่
	กำหนดอัตราการถือครองที่ดินของพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ไพร่ พระ อย่าง
	ตายตัวตามบรรดาศักดิ์ เช่น อุปราชมีศักดินา ๑๐๐,๐๐๐ ไร่  ไพร่ มีศักดินา ๒๕
	-๑๐ ไร่ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนกับความจงรักภักดี และไดัรับภาษีอากร เป็น
	การตอบแทน

		ผู้เขียนโต้แย้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงมีความเห็นว่า
	จำนวนศักดินานั้น ไม่ได้หมายถึงจำนวนไร่ที่ได้รับตามบรรดาศักดิ์ แต่ หมายความถึง
	จำนวนไร่ของที่นาที่อนุญาตให้ซื้อได้ (อ้างในหน้า ๑๕๑)  แต่ผู้เขียนเชื่อว่า มีการแบ่ง
	ที่ดินกันตามนั้นจริงๆ และกฎหมายพระอัยการตำแหน่งนายทหารและพลเรือน ไม่ใช่
	กฎหมายลม โดยให้เหตุผลว่า กษัตริย์ได้มีการแบ่งสรรปันส่วนที่ดิน ด้วยเหตุผลว่า
	เป็นเพราะความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของชนชั้นศักดินาและกฎการ
	ภววิสัยของความพัฒนาแห่งระบบการผลิต ผู้เขียนอธิบายว่าที่ดินของอยุธยามี
	เหลือเฟือสำหรับการแบ่งปันจัดสรรที่ดิน (หน้า ๑๖๒ - ๑๖๓) การจัดสรรที่ดินของ
	ชนชั้นศักดินายังคงดำเนินเรื่อยมาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ยังมีหลักฐานปรากฎให้เห็น
	และการขูดรีดเอารัดเอาเปรียบของชนชั้นศักดินาที่มีต่อไพร่ นั้นกระทำผ่านทางการ
	ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน "...พวกไพร่ทั้งปวงได้ถูกชนชั้นศักดินากีกันที่ดินสงวนไว้
	แบ่งปัน แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว จนกระทั่ง ทุกคนต้องกลายเป็นไพร่เลว เป็น
	เลก เป็นทาสกันเต็มบ้านเต็มเมือง" (หน้า ๑๕๑) เพราะไพร่เองมีสิทธิครอบครองที่
	ดินเพียงประมาณ ๕-๒๐ ไร่ ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการครองชีพ

		การผูกขาดภาษีที่ชนชั้นศักดินาได้สัมปทานแก่เจ้าภาษีนายอากรใน
	การเก็บภาษีแก่ราษฎรก็ทำความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน เพราะมักจะมีการ เก็บ
	นอกเหนือพิกัดอัตราที่กำหนดไว้  และชนชั้นศักดินาร่วมกับเจ้าภาษีนายอากรต่าง
	พยายามหาวิธีการเพิ่มภาษีจากการขายผักบุ้ง ซึ่งเป็นอาหารของคนทั่วไปที่ยากจน  
	ผู้เขียนยังได้โยงให้เห็นว่าเจ้าภาษีอากรนี่แหละ ที่ต่อมาคือ พวกนายทุนนายหน้าผูก
	ขาดที่เป็น สมุนของนายทุนจักรพรรดินิยม อีกด้วย
	
		ผู้เขียนได้ใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นว่า ชนชั้นศักดินามี
	เพทุบายอย่างไรบ้าง ในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แม้ว่าการแสวงหาผล
	ประโยชน์นั้นบางครั้งเป็นสิ่งที่ให้โทษแก่ประชาชน เช่น การเปิดบ่อนการพนัน เพียง
	เพื่อรัฐได้รายได้จากการเก็บภาษีอากร ดังที่ผู้เขียนให้ตัวเลขไว้ว่า ในพ.ศ. ๒๔๓๑ มี
	บ่อนเบี้ยในกรุงเทพฯ ถึง ๔๐๓ บ่อน  บ่อนใหญ่ ๑๒๖ บ่อนเล็ก ๒๗๗ กระจายอยู่
	อย่างทั่วถึงทุกตำบล


กลับไปหนังสือประเภทประวัติศาสตร์