ความเป็นอนิจจังของสังคม
พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๐๐

ปรีดี พนมยงค์
(พ.ศ.๒๔๔๓ - ๒๕๒๖)



		ความเป็นอนิจจังของสังคม เป็นงานเชิงปรัชญาทฤษฎีการ
	เปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักทางความคิดของผู้เขียน

		ความเป็นอนิจจังของสังคม มีแนวความคิดของหนังสือซึ่งได้เค้าโครงมา   	
	จาก "นักปราชญ์ซึ่งเป็นต้นฉบับแห่งวิทยาศาสตร์ทางสังคมสมัยใหม่" ยังมิได้แพร่
	หลายในสังคมไทยกว้างขวางมากนัก แนวคิดนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นหลัง "เหตุการณ์ ๑๔ 
	ตุลาคม ๒๕๑๖"  สำหรับผู้อ่านในวันนี้

		ลักษณะเด่นของหนังสือ ความเป็นอนิจจังของสังคม ที่คล้องกันทางโลก
	ทัศน์ มีอย่างน้อย ๕ ข้อ ดังนี้

		(๑) เป็นการประสานระหว่างความคิดปรัชญาแนวสังคมนิยม กับพุทธธรรม

		(๒) สำหรับองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ และการเผยแพร่แนวคิดสังคม
	นิยมในสังคมไทยเป็นงานริเริ่ม แปลกใหม่   ผู้เขียนได้พยายามให้หลักนำทางทฤษฎีกับ
	ลักษณะจำเพาะของแต่ละสังคมเชื่อมสัมพันธ์กัน เสริมจากลักษณะเฉพาะ ผู้เขียนได้
	เน้นประเด็นให้ระลึกว่า "นอกจากการพิจารณาให้เข้าใจ กฎแห่งอนิจจัง ซึ่งเป็นกฎของ
	ธรรมชาติโดยทั่วไปแล้ว นักสังคมจำต้องมี ศิลปะ อีกด้วยและต้องเป็นศิลปะที่ประณีต
	มาก ไม่ใช่ศิลปะที่ขรุขระกะพร่องกะแพร่ง โดยคัดลอกเอามาจากสังคมอื่นทั้งดุ้น"

		(๓) เนื้อหาของหนังสือ เกี่ยวกับเรื่อง กฎแห่งอนิจจังของสัมมาสัมพุทธเจ้า
	อันนำมาใช้ได้กับกรณีของมนุษย์สังคม  ตรงกับกฏธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ทางสังคม
	(น. ๑๕) นี้นั้น สอดคล้องกับสำนวนภาษา ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทย สำนวน ศัพท์ลายคราม
	และใช้อธิบายอย่างย่อความกระชับเข้าใจง่าย 

		(๔) ความเป็นอนิจจังของสังคม  ได้เสนอบัญญัติศัพท์อยู่หลายต่อหลายคำ
	ศัพท์ จริงอยู่ที่ศัพท์เหล่านั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นที่ยอมรับใช้กันทั่วไป เช่น คำว่า "เจ้าสม
	บัติ" แทนที่จะเป็น "กระฎุมพี" หรือ "ธนานุภาพ แทนที่จะเป็น "ระบบทุนนิยม"  เป็นต้น 
	แม้ว่าในการบัญญัติ ผู้เขียนจะมีเหตุผลทางภาษาศาสตร์หนักแน่น  แต่ศัพท์ในภาษาต่างๆ 
	มิได้ใช้ตามเหตุผลเท่านั้น ยังขึ้นกับความนิยม ความคุ้นเคยและอำนาจขององค์กร ของ
	สื่ออีกด้วย

		(๕) ถ้าความรู้จะเสริมส่งจริยธรรมได้  หนังสือ ความเป็นอนิจจังของสังคม 
	นี้ก็ให้ความตระหนักถึงชีวิตสังคมว่ายืนยาวกว่าชีวิตของปัจเจกบุคคลมากนัก ซึ่งเราแต่
	ละคนเป็นเพียงส่วนน้อยๆ ของเศษเสี้ยวเล็กๆ ส่วนหนึ่งของความเป็นไปประวัติศาสตร์  
	เมื่อรู้สึกถึงความเป็นเพียงธุลีหนึ่งนี้แล้ว  ก็อาจจะได้ช่วยลดอัตตาของตนได้บ้าง  ส่วน
	สารอีกด้านหนึ่งคือ มองตนเองให้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ  
	การมองข้างหน้าไปไกลๆ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความฝัน วาดความหวังในอนาคตที่
	สุขสว่างข้างหน้า  จากภาวะที่หมองหม่นในปัจจุบัน แต่เป็นดาวนำทาง  

		ส่วนในแง่ความรู้ คงจะได้ให้เกิดความอ่อนน้อมถ่อมตนยิ่งขึ้น อย่างที่ผู้เขียน
	ย้ำไว้ตอนท้ายว่า "วิทยาศาสตร์และประณีตศิลปะทางสังคมเท่านั้น จึงจะทำให้นักสังคม
	บรรลุถึง 'วิชชา' คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง ในสภาวะของสังคม  ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียง
	หนังสือเล่มนี้ยังมีความรู้น้อย  และมีความผิดพลาดบกพร่องหลายประการ เรื่องของ
	สังคมยังมีอีกมากมายที่จะต้องศึกษา" (น. ๗๕)


กลับไปหนังสือประเภทการเมือง, ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย,เศรษฐศาสตร์