![]() | เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า เขียนในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๕ - ๒๔๙๖ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๗ นายผี (อัศนี พลจันทร) |
เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า เป็นบทกวีประเภทฉันท์ ซึ่งผูกขึ้นเป็น เรื่องราวของชีวิตกรรมกรหญิงในโรงเลื่อยแห่งหนึ่ง กับแม่และน้องชายของเธอ ...ในราตรีอันพิกลพิการเงียบสงัดราตรีหนึ่ง ไม่มีแม้แสงดาวและแสงเดือน มีก็ เพียงแสงอนาถแห่งนัยน์ตาของลูกน้อยและแม่ มองดูกันด้วยความรันทดและสิ้น หวัง ผู้เป็นลูกน้อยนั้นป่วยหนักและกำลังจะจากโลกไป ฝ่ายแม่ซึ่งกำลังเจ็บนั้นเล่า สุดจะหาหยูกยามาหยุดความตายของลูกน้อย เธอผู้เป็นพี่ เป็นกรรมกรหญิงโรง เลื่อย เป็นผู้นำการต่อสู้ของเพื่อนกรรมกร จะต้องไปร่วมการต่อสู้นัดหยุดงาน ประท้วงของเพื่อนกรรมกร แต่ทว่า "เพื่อน้องนี่มาเจ็บ ก็ประจักษ์ว่ายากใจ จักปองแลมองไป ก็ปั่นป่วนอยู่รวนเร กำลังแม่อิดโรย ละเหี่ยโหยให้โผเผ ลุกนั่งยังโงเง ด้วยหย่อมงุ้มอยู่งันงัน อุ้มน้องอันนอนแบบ กับอกแนบบ่จำนรร จานิ่งคำนึงอัน ใดแลแม่มาทรมาน น้ำตาแม่ตกต้อง ทั้งสองแก้มยิ่งสงสาร แม่จ๋าอย่าทนทาน ให้ทุกข์ท่วมบ่ทานทน อ้าน้องนี่มาไข้ ยิ่งเจ็บใจในความจน แม่ลูกเราสามคน จะกอดคอเข้าคร่ำครวญ" (หน้า ๖๗) เรื่องราวของกรรมกรหญิงผู้นี้เป็นเรื่องในทำนองวีรสตรีสู้รบ เป็นการ วาดภาพวีรบุคคลซึ่งเชิดชูการต่อสู้ของฝ่ายกรรมกร แม่ของกรรมกรหญิงเป็น แม่ ซึ่งนายผีสร้างขึ้นมาเพื่อแทนความหมายของแม่ในอุดมคติ เป็นสัญลักษณ์ของความ รักอันเปี่ยมด้วยการเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นอุดมการณ์แรงกล้าในยุคที่ความคิดและ กระแสแห่งการปฏิวัติกำลังรุนแรง แม่จึงเป็นฝ่ายปลุกเร้าและให้กำลังใจให้กรรมกร หญิงสลัดความโลเลสับสนเสีย ในวาระสุดท้าย น้องชายของเธอ ได้จบชีวิตลงท่าม กลางความเศร้าโศกยิ่ง ค่ำแล้ว ในที่สุดผีตากผ้าอ้อมก็ย้อมฟ้าเป็นสีแดง ดวงอาทิตย์ จะลับโลก เช่นเดียวกับชีวิตน้อยๆ ที่ด่วนลาลับลงเสียแล้ว สามร่างสามรักสามลาญ สามพ่ายภัยพาล ลำพังเพราะไร้ลำเค็ญ สามแสนลำบากยากเย็น สามแม้เมื่อเป็น ประดุจสามยามตาย สามกายสอดกอดสามกาย กายหนึ่งนั้นวาย ชีวิตแต่สองยังทรง ดำรงชีพิตคือผง คลีดินดำรง ประดาษอยู่เพี้ยงร่างผีฯ (หน้า๗๘) กวีประพันธ์บทอันสลดรันทดระคนแค้นนี้ด้วยอารมณ์รัก คล้ายกับมี เจตจำนงร่วมเป็นร่วมตายกับสามแม่ลูกผู้เจ็บปวดจากชะตากรรมอย่างแท้จริง กรรมกรหญิงร่วมกันกับเพื่อนกรรมกรของเธอต่อสู้จนได้รับชัยชนะ เจ้าของโรงเลื่อยยินยอมเจรจาตกลงผลประโยชน์ อ่อนข้อให้แก่กรรมกร ครั้นกรรม กรหญิงกลับถึงที่พักของเธอ ก็พบว่าแม่ผู้เจ็บอยู่มาจากไปอีกคนหนึ่ง แสนแค้นแสนเคียดแสนระคาง แสนป่วยใจปาง ประจักษ์ว่าแม่มามรณ์ แสนรักแสนโรคแสนรอน แสนทุกท่วมทอน แสนถวิลจินดา สุดจะร่ำรำพันพรรณนา เสียงศัลย์สหสา ก็สุดสระอื้นอาลัย ขืนคิดคิดขืนคืนไป ขืนจักเข้าใจ ว่าแม่ยังมีชีวา เคียดคลุ้มอุ้มแม่ขึ้นมา กระซิบ..."แม่จ๋า" เราชะนะแล้ว...แม่จ๋า" (หน้า ๙๕) บทกวีเรื่อง เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า เป็นวรรณกรรมที่มีจุดมุ่งหมายทาง สังคมและการเมืองอย่างเด่นชัด แสดงจุดยืนของผู้แต่งอย่างแน่วแน่ บทกวีชนิด นี้เขียนขึ้นเพื่อสะท้อนความจริง ตั้งใจเขียนให้เห็นด้านของความรุนแรง เพื่อปลุก เร้าและเป็นพลังสนับสนุนให้แก่การต่อสู้ สาระของ เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า ต้องการชี้ให้เห็นถึงชีวิตยากแค้น และ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ต้องการแสดงจุดยืนอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และจิตใจ เสียสละ ต่อสู้องอาจของกรรมกรหญิง และแม้แต่แม่ของเธอซึ่งแก่ชราแล้วก็ยังยิน ดีกับการต่อสู้เพื่อเอาชัยชนะของลูก เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า ประกาศชัยชนะของ กรรมกรหญิงจากการประท้วง ยิ่งกว่านั้นผู้ประพันธ์ได้ประกาศความอัปลักษณ์ ของระบบสังคมทุนนิยม กับชะตากรรมอนาถของมนุษย์ที่ตกเป็นผู้ถูกเอารัดเอา เปรียบ นับเป็นวรรณกรรมแนวสัจนิยมที่รุนแรงมากชิ้นหนึ่ง สำหรับสังคมไทย ในยุค ๒๕๐๐ |