อัตชีวประวัติ ของ
หม่อมศรีพรหมา กฤดากร
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๒๒

หม่อมศรีพรหมา กฤดากร
(พ.ศ.๒๔๓๑ - ๒๕๒๑)



		หนังสืออัตชีวประวัติ ของหม่อมศรีพรหมา กฤดากร เป็นหนังสือ
	อัตชีวประวัติของสตรีที่หาได้ยาก  เพราะสตรีผู้มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกับท่าน ถ้า
	ไม่ขาดความรู้ก็จะขาดความสามารถทางการเขียนหนังสือ แม้มีความรู้ดีก็ไม่นิยม
	เขียนหนังสือ  โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นการบันทึกความทรงจำของตนยิ่งไปกว่านี้ 
	หม่อนศรีพรหมายังเป็นกุลสตรีผู้มีโอกาสเติบโตในแผ่นดินรัชกาลที่ ๕  เคยไปอยู่
	ต่างประเทศที่รัสเซีย และภายหลังเป็นหม่อมหรือภริยาของหม่อมเจ้าสิทธิพร 
	กฤดากร ผู้บุกเบิกการเกษตรสมัยใหม่ และผู้ต่อสู้คัดค้านเรื่องการเก็บภาษีพรีเมี่ยม
	ข้าวมายาวนาน เจ้านายผู้เคยประทับคุกด้วยตดีการเมือง (กบฏบวรเดช) และถูก
	เนรเทศไปอยู่เกาะตะรุเตา ชีวิตของหม่อมศรีพรหมาในฐานะคู่ทุกข์คู่ยาก จากเคย
	อยู่สบายมาผจญชีวิตยิ่งกว่าคนธรรมดาต้องประสบ เมื่อถ่ายทอดเป็นตัวอักษร
	จึงมีคุณค่าน่าอ่าน

		คุณค่าแห่งหนังสืออัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร เป็นวรรณ
	กรรมล้ำค่าประเภทอัตชีวประวัติซึ่งหาได้ยากทั้งหนังสือประเภทนี้ และหาได้ยากทั้ง
	ฐานะความเป็นคนเช่นนี้ ในส่วนที่เป็นอัตชีวประวัติและบทสัมภาษณ์ นอกจากความ
	น่าอ่านจากลีลาการบันทึกที่เรียบง่าย  ยังให้ความรู้ความคิดแสดงพัฒนาการของ
	สังคม และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติความคิดผู้หญิง ในกรณีของหม่อมศรีพรหมา 
	ทั้งนับเนื่องเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน สำหรับส่วนที่เป็นเรื่องการถนอม
	อาหาร มีคุณค่าอันสามารถนำไปปฎิบัติได้ในปัจจุบัน และแสดงหลักฐานการค้นคิด
	ประดิษฐ์อาหารจากผลผลิตเกษตรกรรมไทย จากภาคปฏิบัติและประสบการณ์
	ตรง

		ผลสะท้อนจากงานอัตชีวประวัติเล่มนี้ น่าจะเป็นที่หวังว่าสตรีไทย ผู้ได้
	ศึกษางานเขียนจะพิจารณาความเป็นแบบอย่างของท่าน เพื่อปรับประสานกับชีวิต
	ตนอย่างเหมาะสมัย การเผชิญชีวิตพลัดที่นาคาที่อยู่แม้จะได้รับการอุปถัมภ์อย่างดี  
	ก็ใช่เป็นสิ่งที่ราบรื่นรับรสสุขเสมอไป และเมื่อวัยดรุณรุ่นสาว ยังเป็นที่โปรดปราน
	ในรัชกาลที่ ๕ ด้วยมุ่งในราชประดิพัทธ์ แต่หม่อมศรีพรหมา อาศัยความเป็นตัว
	ของตนเอง กราบบังคมทูลปฏิเสธความรักพระมหาราชพระองค์นั้น เพราะมีเพียง
	ความจงรักภักดีเป็นล้นพ้นในฐานะข้าแผ่นดิน และความเป็นคุณข้าหลวง 

		การที่หม่อมศรีพรหมาเป็นสตรีที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง จะเห็น
	ได้จากการเลือกพ่อม่าย คือ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากรเป็นสามี และให้ความเห็นใน
	การที่หม่อมเจ้าชายพระองค์นั้น ทรงลาออกจากราชการในตำแหน่งสูง เพื่อทรงบุก
	เบิกทางเกษตรกรรม หรือทรงสู่วิถีทางการเมืองจนต้องประทับคุกตาราง  หม่อม	
	ศรีพรหมายืนเคียงข้างหม่อมเจ้าสิทธิพรเสมอ ไม่ว่าทุกข์หรือสุขในท่ามกลางการพึ่ง
	ตนเอง  แสดงความเข้มแข็งและบทบาทสตรีในครอบครัวไทยอันน่าสรรเสริญ  สิ่ง
	นี้น่าจะเป็นคุณค่าสำคัญของการศึกษาชีวประวัติ	และงานเขียนอัตชีวประวัติ คือ 
	คุณค่าในการถ่ายโอนผลประสบการณ์ ข้อคิดข้อพิจารณา และประจักษ์พยานความ
	มีอยู่จริงทางประวัติศาสตร์


กลับไปหนังสือประเภทสังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม