ปัญญาวิวัฒน์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๗ พันเอกสมัคร บุราวาศ (พ.ศ.๒๔๕๙ - ๒๕๑๘) |
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สมัคร บุราวาศ เรียนมาด้านวิทยาศาสตร์ และมี ความรู้อย่างดีในสาขานั้น ด้วยเหตุนี้เขาสามารถนำเอาการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประสานกับความรู้ทางสังคมศาสตร์ของมนุษย์อย่างน่าสนใจ เรา จึงได้เห็นภาพของการเคลื่อนไหวของสัมคมทุกยุคอย่างถี่ถ้วน ในทุกๆ แง่มุม ไม่ ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ เราจะเกิดภาพความรู้ได้อย่างชัดเจนว่า การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การประดิษฐ์ที่สำคัญๆ เชื่อมโยงกับพัฒนาการ ของสังคมมนุษย์ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ แล้วกระทบต่อวงการปรัชญา ศิลปะและ วรรณคดีอย่างกว้างขวาง จากนั้นตัวปรัชญา ศิลปะและวรรณคดีก็กลับมามีบท บาทเปลี่ยนแปลง หรือยกระดับสังคมและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อีกไม่รู้จักจบ สิ้น ไม่มีกระบวนการใดๆ แยกตัวอยู่โดดเดี่ยวไปจากอีกกระบวนการหนึ่งเลย สมัคร บุราวาศ ไม่เพียงแต่เขียนหนังสือด้วยความรู้อย่างลึกซึ้งเท่านั้น เขายังเขียนหนังสืออ่านง่าย และเป็นรูปธรรมอย่างยิ่ง ข้อเขียนของเขาพุ่งตรงเข้า หาใจกลางของสาระที่ต้องการจะอธิบาย เป็นระบบ และอย่างมีลำดับขั้นตอน ตรรกะ ที่วางไว้ในการเขียนตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้ายรัดกุม และแสดงความคลี่คลาย ของกระบวนความคิดที่เป็นเอกภาพ ไม่ใช่สิ่งง่ายเลยที่นักเขียนคนหนึ่งจะเข้าถึงและ อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เป็นหัวใจของยุคสมัยแต่ละระยะที่ผ่านมา และมองเห็นได้ ว่ามันเกาะเกี่ยวกันอยู่อย่างไร กับทั้งคลี่คลายออกไปสู่อีกสิ่งหนึ่งที่ใหม่กว่าเก่าได้ อย่างไร แต่สมัคร บุราวาศ ทำได้อย่างดียิ่ง นักศึกษาผู้ซึ่งได้เรียนวิวัฒนาการ ประวัติศาสตร์สังคมหรือวิทยาศาสตร์ เป็น "วิชา" ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี ๑ จนถึง ปีสุดท้าย ยังรู้สึกว่าแต่ละวิชาถูกตัดขาดออกจากกันระหว่างยุคต่อยุคและระหว่าง สังคมศาสตร์กับวิทยาศาสตร์จนทำให้ความรู้แยกย่อยกระจัดกระจายเหลือเกิน อาจ จะลองอ่านหนังสือของสมัคร บุราวาศเล่มนี้ดู ในที่นี่จะขอยกเป็น ตัวอย่างดังเมื่อ เขาอธิบายถึงวรรณคดีและศิลปะต้นศตวรรษที่ ๒๐ ดังนี้ "เนื่องจากเกิดวิทยุ ภาพยนตร์ วิทยุโทรภาพและเกิดการพิมพ์ สีมากกว่าสามสีขึ้น ศิลปะในศตวรรษนี้จึงก้าวไปในทางแพร่หลายไปสู่ ประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะภาพยนตร์นั้นกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ ชีวิตไป สำหรับศิลปะในการแสดงภาพยนตร์นั้น เราพบว่ามีการแสดง เรื่องเลียนชีวิตจริงมากขึ้น และเป็นที่นิยมของประชาชนด้วน ศิลปะ ใหม่ในภาพยนตร์ คือลีลาใต้น้ำและเรื่องใต้ทะเล ซึ่งในครั้งก่อนไม่มีผู้ ใดสามารถนำมาแสดงได้เลย การเขียนเรื่องการ์ตูนมีดนตรีประกอบ ก็เป็นศิลปะใหม่อันยากยิ่ง และต้องการทั้งศิลปะและเทคนิคอย่างสูง ในการ ซิ่งเครอะไนซ์ Synchronize ภาพและเสียง ละครลดความนิยม ลงไปบ้าง แต่มีการก้าวหน้าในทางจัดฉากให้ดูจริงจังมากขึ้น เนื่องจาก เกิดวิทยุ โทรทัศน์ จึงเกิดศิลปะใหม่ในการแสดงละครส่งโทรทัศน์ ละคร วิทยุ และวิธีเผยแพร่ความคิดทางวิทยุก็เป็นศิลปะเกิดใหม่ในสมัยนี้" "ในทางสถาปัตยกรรม เราเริ่มละทิ้งศิลปะโบราณ มายึดถือศิลปะ ใหม่ ซึ่งง่ายต่อการก่อสร้าง และซึ่งทุกส่วนมีความจำเป็นต้องใช้ การจัด ระบายอากาศและสาดแสงสว่างก็ได้ปรับปรุงดีกว่าเดิม การตกแต่งภายใน ก้าวหน้าไปสู่ขั้นใหม่ เพราะมีวิทยุและตู้เย็น มาประกอบเป็นเครื่องเรือน ด้วน ตู้และห้องหนังสือขณะนี้ ก็เป็นส่วนของสถาปัตยกรรมใหม่ ครัวได้รับ การตกแต่งและออกแบบใหม่ เพราะเกิดเครื่องครัวใหม่ๆ ขึ้น การจัดห้อง ได้รับการพิจารณาให้เดินไปมาหาสู่กันได้สะดวกเพราะว่าสถาปัตยกรรม ในขณะนี้ไม่ได้กระทำเพื่อความงามอย่างเดียว หากกระทำเพื่อสุขภาพ และประโยชน์อย่างสูงสุดด้วย การทำบริเวณบ้านและการเลือกที่ตั้งบ้านให้ รับกับภูมิประเทศก็เป็นสถาปัตยกรรมใหม่ กระจกถูกใช้มากขึ้นเพื่อแสง สว่าง และจึงเกิดการประดิษฐ์มู่ลี่ประกอบด้วย" "วรรณคดีร้อยกรองหายากเข้า และนับได้ว่าสูญสิ้นไปแล้ว ร้อยแก้ว ได้เข้ามาแทนที่อย่างสมบูรณ์ ได้เกิดนักเขียนมีชื่อ เช่น เบอนาร์ด ชอว์, (Bernard Shaw) ซึ่งเขียนละครเยาะเย้ยสังคมและชีวิตของชนชั้นกลาง เอช.จี. เวลลส์, (H.G. Wells) ก็เขียนนวนิยายแบบโรแมนติซิสซึม, (Romanticism) ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ก็โดยได้ศึกษาวิทยาศาสตร์และ มองเห็นอนาคต เขาเป็นคนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คน ที่ทำให้วิทยาการง่าย ลง โดยใช้วิธีอธิบายตามสำนวนการประพันธ์ ศิลปะในการสอนวิชาวิทยา ศาสตร์ให้เข้าใจได้ง่ายจึงเกิดขึ้น และจินตนิยายวิทยาศาสตร์ ก็เป็นการ กระทำอย่างหนึ่งในศิลปะใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพลังของ ประชาชนได้เกิดในประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก วรรณคดีสัจนิยมจึงก้าว มาสู่แนวหน้า แล้ววรรณคดีแบบจินตนิยมได้กลายเป็นเรื่องของเด็กๆ ไป ร้อยกรองตามวรรณคดีแบบสัจนิยมก็เกิดขึ้นมาอีก และมีหวังจะเฟื่องฟู ต่อไปเนื่องจากเกิดวีรกรรมของประชาชนขึ้นในประเทศต่างๆ" (หน้า ๑๔๗๒ - ๑๔๗๕) เมื่ออ่าน "ปัญญาวิวัฒน์" จบลง ก็รู้สึกต่อไปอีกว่า สมัคร บุราวาศ ไม่เพียง แต่เป็นนักคิด นักเขียน นักวิชาการที่ให้ความสำคัญกับความรู้แบบวิทยาศาสตร์เท่านั้น เขายังเข้าถึงองค์ความรู้หรือจิตวิญญาณของโลกตะวันออกอย่างลึกซึ้งด้วย การ วิเคราะห์ของเขาในแต่ละตอน แสดงให้เห็นว่าเขาศึกษาความรู้ตะวันออกไม่น้อย ขณะ ที่กล่าวถึงต้นกำเนิดชนชาติขึ้น เขาอ้างอิงถึงนิยายปรัมปราของจีนเรื่อง "ไคเภ็ก" เพื่ออธิบายยุคที่มนุษย์ยังนับถือมารดาเป็นใหญ่ว่า "เพียงอ่องสี ตี่อ่องสี และยี่นอ่องสี คนเหล่านี้เป็นประมุขของชาติ วงศ์ทั้งสิ้น ในสมัยของยี่นอ่องสี ราษฎรรู้คุณมารดาแต่หารู้คุณบิดาไม่นี่ แสดงถึงความเป็นอยู่ในชุมชนบุพกาลโดยแท้" (หน้า ๓๑๑) สมัคร บุราวาศ ได้เขียนไว้ด้วยว่า "เป็นที่น่าเสียดายที่นักวิทยาศาสตร์พวก นี้ไม่ได้สนใจถ่ายตำรับประวัติศาสตร์ของจีย, เล่มหนึ่ง, ชื่อว่า ไคเภ็ก เพราะผู้เขียน ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าในบรรดาคัมภีร์อันเก่าแก่ของฮินดูหรือยิวก็ดี ตำราไคเภ็ก ของจีน เล่าถึงระยะแรกเริ่มของมนุษยชาติได้ตรงตามที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ, อย่าง อัศจรรย์ที่สุด" (หน้า ๑๔๐) สมัคร บุราวาศ ใช้หนังสือจำนวนมากสำหรับการค้นคว้าเพื่อเขียนหนังสือ "ปัญญาวิวัฒน์" ซึ่งหนาถึง ๑,๖๑๖ หน้า ชุดนี้ นั้นก็ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า แม้เขา จะใช้ความรู้ของต่างประเทศเป็นหลักในการอธิบายวิวัฒนาการของปัญญา มนุษยชาติ แต่ความรู้ภายในหรือความเป็นปราชญ์ในตัวของเขานั้นเองได้ แสดงออกมาอย่างชัดแจ้ง จนไม่อาจกล่าวได้เลยว่า นี่เป็นการนำเอาตำราต่าง ประเทศหลายเล่มมาเรียบเรียงกันขึ้นใหม่ เพราะมันเป็นผลแห่งการตกผลึกของ องค์ความรู้สารพันรวมกับความหยั่งรู้ภายในของเขาเองมากกว่า สมัคร บุราวาศ เป็นเพียงนักคิด นักเขียนธรรมดาหรือ เปล่าเลย สมัคร บุราวาศ เป็นผู้ที่มีความคิดทางสังคม และเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วย เมื่อสุภา ศิริมานนท์ บรรณาธิการ "อักษรสาส์น" ผู้บัดนี้วายชนม์ไปแล้วประกาศ ทางนิตนสาร "อักษรสาส์น" ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ว่า ต้องการนักแปลฝีมือดีผู้มี ความรู้ดีทางวิทยาศาสตร์มาแปลงานวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ของ เจ. วี สตาลิน ลงในหนังสืออักษรสาส์น สมัคร บุราวาศได้อาสาเข้ามาทำงานนี้โดยนามปากกา 'ผู้ยิ่งน้อย' และยังเขียนแปลงานชิ้นอื่นๆ อีกโดยนามปากกา 'กัปตันสมุทร' ต่อมาเขาได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อต้านสงครามเรียกร้องสันติภาพ จนถูกจับติดคุกบางขวางกรณีกบฏสันติภาพ รวมทั้งได้ไปกล่าวปาฐกถาพิเศษ ภาคฤดูร้อน ณ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองหลายคราว บทความ ของเขาได้ถูกนำลงตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือ 'มหาชนทรรศนะ' ซึ่งขณะนี้คงกลาย เป็นหนังสือหายากไปแล้ว 'ปัญญาวิวัฒน์' และหนังสือทุกเล่มของสมัคร บุราวาศ เป็นเสมอด้วยการ วางรากฐานความคิดทางปรัชญาให้แก่ประชาชน น่าเสียดายที่ผลงานของเขาถูก ลืมในสมัยต่อ ๆ มา ทั้งๆ ที่เป็นผลงานเลิศด้วยสติปัญญาทั้งสิ้น ผลงานศึกษาค้นคว้าชิ้นอื่นๆ ของสมัคร บุราวาศ ที่น่าติดตามอ่านได้แก่ คำบรรยายวิชาปรัชญา ปรีชาญาณของสิทธัตถะ พัฒนาการแห่งพุทธปรัชญา ปัญญา และวัฒนธรรมไต-จีน เป็นต้น |