![]() |
พุทธธรรม พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๔
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) |
กล่าวโดยรวม พุทธธรรม เป็นอนรรฆมณีทางวรรณกรรมแห่งยุคสมัย ความเป็นมาของหนังสือนี้ สืบเนื่องจากโครงการตำราสังศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อัน มีศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประธานกรรมการได้จัดพิมพ์หนังสือชุดหนึ่งมีสอง เล่ม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร หรือพระเจ้าวร วงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ในโอกาสเจริญพระชนม์ครบ ๘๐ พรรษาบริบูรณ์ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๑๔ โครงการนี้อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นเลขานุการ ซึ่งเป็น ผู้อาราธนาพระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต) ตั้งแต่ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีวิสุทธิโมลี เป็นผู้เขียนเรื่องพุทธธรรมด้วยรูปแบบบทความทางวิชาการ เดิมกำหนดปริมาณต้นฉบับ ๕๐ หน้า หากพระคุณเจ้าเขียนแล้วเสร็จเป็นจำนวน ๒๐๖ หน้า ซึ่งกล่าวกันว่า ผลงานนี้ ดีที่สุดในหนังสือชุดเฉลิมพระเกียรติ เสด็จในกรมฯ นราธิปพงศ์ประพันธ์ เนื้อหาของงานนิพนธ์นี้ จัดแบ่งออกเป็นสองภาคใหญ่ คือ ภาคแรกมัชเฌน ธรรม หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ พุทธธรรมฉบับเดิม ๒๐๖ หน้า เมื่อเผย แพร่หลายก็เป็นที่ชื่นชมในกุศลบารมีอันเกิดจากปัญญา จึงมีผู้ขออนุญาตจัดพิมพ์หลาย ครั้ง กระนั้น พระเดชพระคุณท่านผู้นิพนธ์ตั้งความหวังจะขยายความให้สมบูรณ์ขึ้น ก่อนจะถึงวันที่มีฉบับสมบูรณ์นั้น พระธรรมปิฎกบำเพ็ญ สมณกิจเป็นอเนกประการ รวมทั้งสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการเรื่องอื่นๆ และแล้วความพร้อมที่จะจัดพิมพ์ฉบับ ปรับปรุงและขยายความ โดยพิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ ต่อจากนั้นยังได้ปรับปรุง อีกในเวลาต่อมา กระทั่งการจัดพิมพ์ปรับปรุงขยายความ ครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ.๒๕๓๘ ได้ สมบูรณ์โดยเนื้อหา เว้นแต่คำบาลีนั้นด้วยความไม่รู้ของฝ่ายเทคนิคการพิมพ์ จึงลบ เครื่องหมายภาษาบาลีออกเมื่อทำเพลท สำหรับขนาดรูปเล่มของฉบับปรับปรุงขยาย ความ เป็นหนังสือปกแข็ง ขนาดกว้าง ๑๙.๕ ซม. สูง ๒๖.๕ ซม. หนา ๑,๑๔๕ หน้า (รวมดัชนีพิสดาร เกือบสองร้อยหน้า) คุณค่าของหนังสือเล่มนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ดังมีคำอนุโมทนาต่อผล งานพุทธธรรมของพระธรรมปิฎก ที่ต่างตระหนักถึงคุณค่าบทนิพนธ์ มีทั้งจากบรรพ ชิตและทั้งคฤหัสถ์ พระไพศาล วิสาโล กล่าวไว้ในการวิจารณ์หนังสือพุทธธรรม (ปา จารยสาร ฉบับเมษายน ถึงมิถุนายน ๒๕๑๖) ความว่า "พุทธธรรมเป็นหนังสือเล่มเดียว ที่แสดงถึงหลักธรรมในพุทธศาสนาได้อย่างลุ่มลึก เป็นระบบและรอบด้านที่สุด เท่าที่ เคยมีมาในภาษาไทย จริงอยู่ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีหนังสือหลายเล่มที่ว่าด้วยหลักธรรม อย่างถึงแก่น อันสะท้อนถึงปรีชาญาณของผู้เขียนแต่ข้อเขียนเหล่านั้น ยากที่จะมีคุณ สมบัติสามประการครบถ้วน ดังมีอยู่ในพุทธธรรม" อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้อาราธนา ให้พระเดชพระคุณท่านนิพนธ์หนังสือสำคัญนี้ กล่าวไนบทแนะนำพุทธธรรม (วารสาร ธรรมศาสตร์ ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๒๕ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๔) โดยประเมินคุณค่าผลงาน นี้ทรงคุณค่าอย่างสูง คือ "หนังสือเล่มนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นข้อเขียนสาระสำคัญของคำสอน ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาในวรรณกรรมภาษา ไทย... การเขียนก็ใช้ภาษาที่สละสลวย และมีลีลาชวนให้ผู้อ่านติดตาม อย่างยิ่ง" เช่นเดียวกัน ศาสตร์จารย์ ดร.ระวี ภาวิไล ผู้ประสานงานคณะระดมธรรม ซึ่งเป็นคณะผู้จัดพิมพ์พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ ในการพิมพ์สอง ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ และ ๒๕๒๖ ตามลำดับ ได้กล่าวว่า "งานนี้มีคุณค่าดังเพชรน้ำหนึ่ง และจะเป็นรากฐานของความเจริญ ก้าวหน้า ในการศึกษาค้นคว้าทางพุทธธรรมสืบไปในอนาคต" แม้หนังสือนี้จะปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นในการฉบับพิมพ์ครั้งต่อมา แต่ ยังคงโครงสร้างเนื้อหาตามเดิม ดังที่แบ่งออกเป็นสองภาค คือ ภาคมัชเฌนธรรม หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ เป็นการศึกษาค้นคว้าอธิบายธรรมบนหลัก การอริยสัจ ๔ ศึกษาวิจัยและนำเสนออย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการศึกษาของผู้ ใฝ่ใจ กระทั่งสามารถเลือกอ่านตอนใดก่อนก็ได้ เพราะแต่ละตอนมีความสมบูรณ์ ในตัว ถึงผลงานนี้หนักแน่นด้วยหลักธรรมลึกซึ้ง หากท่านผู้นิพนธ์สามารถสื่อสาร กับผู้รับสื่อได้ง่ายขึ้น ดังการขยายความอริยสัจ ๔ และนำมาวิเคราะห์สู่แนวทาง ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานการพึ่งตนเอง เกิดสันติสุข และสังคมมีสันติภาพ ดังลำดับออก ๓ ตอน ๑. ชีวิตคืออะไร ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อัน ส่วนประกอบของชีวิตกับ อายตนะ ๖ แดนรับรู้ และเสพเสวย ๒. ชีวิตเป็นอย่างไร ประกอบด้วยพระไตรลักษณ์ (ทุกข์ อนิจจัง และ อนัตตา) ๓. ชีวิตเป็นไปอย่างไร ๔. ชีวิตควรเป็นอย่างไร อธิบายถึงวิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน ประโยชน์ยอดยิ่งที่พึ่งได้รับในชีวิต ความเข้าใจเรื่องนิพพาน การวิปัสสนา หลัก ธรรมอนัตตา และหลักการสำคัญของเรื่องนิพพาน และเสริมด้วยบทความประ กอบเรื่องชีวิตและคุณธรรมพื้นฐานของอารยชน บทความประกอบเรื่องศีลกับ เจตนารมณ์ทางสังคม บทความประกอบเรื่องปาฏิหาริย์กับเทวดา บทความเรื่อง ปัญหาเนื่องด้วยแรงจูงใจ และบทความประกอบเรื่องสุดท้าย เรื่องความสุข ๕. ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร อธิบายสาระเกี่ยวกับบทนำของมัชฌิมา ปฏิปทา คือ ปรโตโฆสะที่ดี การมีโยนิโสมนสิการ การเกิดปัญญา ศีลและสมาธิ |