อิทัปปัจจยตา
พิมพ์ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๑๖

พุทธทาสภิกขุ
(พ.ศ.๒๔๔๙ - ๒๕๓๖)



		ดังนั้น มนุษย์ที่รู้หลักอิทัปปัจจยตา จะเข้าใจกฎการดำรงอยู่ในภาวะต่างๆ
	ที่เกิดขึ้นจริงและบังเกิดสติปัญญาตามมา ว่าจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ในเงื่อนไข
	อย่างไร สิ่งใดที่อยู่ในภาวะเกินเงื่อนการรับรู้  ก็จักเข้าใจศักยภาพของตัวเองว่ากระทำ
	ได้หรือไม่  หรือมิฉะนั้นก็กระทำการศึกษาให้รู้เหตุปัจจัยอื่นที่เป็นจริงต่อไป

		พุทธทาสภิกขุเน้นว่าทางด้านจิตใจของมนุษย์ ผู้ที่เข้าถึงหัวใจอิทัปปัจจยตา
	อย่างถ่องแท้ อย่างเป็นกระบวนปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง  จักเกิดสำนึกที่เป็นไปเองแล้วทำ
	บาปไม่ได้ ทำบุญก็เป็นบุญอยู่โดยไม่ต้องทำ  และจิตใจบริสุทธิ์อยู่ในตัวเองเมื่อเห็น
	อิทัปปัจจยตา

		หนังสืออิทัปปัจจยตา มาจากการรวบรวมคำบรรยายหรือพระธรรมเทศนา
	ประจำวันเสาร์ ภาคมาฆบูชาในสวนโมกขพลาราม ประจำปี ๒๕๑๕ มารวมพิมพ์เป็นเล่ม
	เนื้อหาอุดมด้วยความรู้ในหลักธรรมพุทธศาสนามากมาย และการนำหลักอิทัปปัจจยตา
	มาอธิบายโลก  สรรพสิ่งที่เป็นเหตุผล สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาและปรัชญาสำคัญของ
	พุทธศาสนาที่ถูกลืมเลือนไป ซึ่งพุทธทาสภิกขุได้ฟื้นฟูมาเชิดชูไว้เป็นสัจธรรมสำคัญยิ่ง

		เนื้อหาสาระของหนังสืออิทัปปัจจยตา กล่าวถึง อิทัปปัจจยตา ในฐานะพุทธ
	วจนะที่ถูกมองข้าม ในฐานะเป็นวิชาหรือศาสตร์ทั้งปวง  อิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็น 
	"ตัวเรา" เป็นกฎของทุกสิ่งทั้งที่เป็นนามธรรมรูปธรรม เชื่อมโยงหลักอิทัปปัจจยตา
	เข้ากับ "พระเจ้า" ในศาสนาอื่น  โดยผ่านหลักธรรมที่ตรงกัน

		พุทธทาสภิกขุยังเสนอมุมมองอิทัปปัจจยตาในหลักคิดวิทยาศาสตร์ ใน
	ฐานะที่เป็นวิวัฒนาการของชีวิต เป็นกฎเหนือกฎทั้งหลาย เป็นธรรมหรือสิ่งทั้งปวง
	รอบตัวมนุษย์  ในด้านศาสนาพุทธ  อิทัปปัจจยตามีฐานะเป็นพระรัตนตรัยและไตร
	สิกขา ในฐานะเป็นสิ่งต่อรองระหว่างศาสนา เป็นสิ่งที่ฆราวาสต้องรู้และปฏิบัติ เพื่อ
	จะไม่ต้องตกนรกทั้งเป็น และเป็นฆราวาสชั้นดี  ชาวพุทธพึงให้ความสำคัญของ
	อิทัปปัจจยตาในฐานะเป็นกฎแห่งกรรม  สามารถใช้แก้ทุกปัญหาได้ทันการณ์ เข้าใจ
	กรรมประเภทศีลธรรมและกรรมประเภทสัจธรรม

		นอกจากนี้ พุทธทาสภิกขุยังได้อธิบายอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นคำสอน
	พระพุทธองค์อื่นๆ เช่น เป็นปฏิจจสมุปบาทแบบต่างๆ ได้แก่ ปฏิจจสมุปปบาทใน
	รูปอริยสัจ ปฏิจจสมุปยาทแบบที่ให้เกิดทุกข์  แบบที่ไม่เกี่ยวกับความทุกข์ แบบที่คาบ
	เกี่ยวกันทั้งดีและชั่ว

		หลักอิทัปปัจจยตาที่พุทธทาสภิกขุนำมาอธิบายนั้น  กล่าวได้ว่าเป็นขุมทรัพย์
	ทางปัญญา เป็นวิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นปรัชญาสูงสุดของพุทธศาสนาและเป็นหลัก
	ธรรมที่ชี้ทางไปสู่การแสวงหาความจริงแท้ของมนุษยชาติ  และสู่อิสระเสรีภาพที่แท้จริง  
	ควรที่ชาวพุทธควรอ่านและติดเป็นอาวุธทางความคิด เพื่อต่อสู้กับความไม่รู้ทั้งปวง  แม้
	ว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะอ่านยากด้วยศัพท์ภาษาบาลีศัพท์พุทธศาสนาที่อมความทางธรรมะ
	เอาไว้มากมาย  แต่ถ้าหากพยายามอ่านไปเรื่อยๆ หรือหลายครั้ง  ความเข้าใจจะเพิ่มมาก	
	ขึ้น  และได้ประโยชน์ในกาลเบื้องหน้า
	
		หนังสืออิทัปปัจจยตา เป็นหนังสือทางสติปัญญาที่ล้ำค่าเล่มหนึ่งของชาว
	พุทธ อยู่ในคลังแห่งความรู้ที่เป็นผลงานของพุทธทาสภิกขุ ชุด "ธรรมโฆษณ์ของ
	พุทธทาส" ซึ่งมีอยู่ ๓๙ เล่ม และอิทัปปัจจยตาที่นำมาเสนอนี้ เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ 
	จำนวน ๓,๐๐๐ ฉบับ ปี พ.ศ.๒๕๒๕  ธรรมทานมูลนิธิจัดพิมพ์ด้วยดอกผลทุน "เลื่อน 
	เธียรประสิทธิ์"
		
		ส่วนหนังสือเล่มอื่นๆ อันเป็นภูมิปัญญาของพุทธทาสภิกขุ ควรที่ชาวพุทธ
	จะหาอ่าน  ได้แก่  พุทธประวัติจากพระโอษฐ์  ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์  บรมธรรม  ศีล
	ธรรมกับมนุษยโลก  การกลับมาแห่งศีลธรรม  เยาวชนกับศีลธรรม  อานาปานสติภาวนา  
	เมื่อธรรมครองโลก  ตัวกูของกู  สุญญตาปริทรรศน์  ฆราวาสธรรม ปฏิจจสมุปบาทจาก
	พระโอษฐ์  ธรรมะกับการเมือง  ชุมนุมล้ออายุ ฯลฯ
	
		เพื่อให้การศึกษางานของพุทธทาสภิกขุลุ่มลึก  และเข้าใจพัฒนาการทาง
	ความคิดแต่ละช่วงชีวิตของท่าน  การอ่านหนังสือเล่าไว้เมื่อวัยสนธยา ของ พระประชา 
	ปสนฺนธมฺโม (สัมภาษณ์)  จักสะท้อนให้เห็นวิริยภาพของพุทธทาสภิกขุ  มาจากจิตใจแน่ว
	แน่ที่อุทิศตนเพื่อพุทธศาสนาอย่างถึงที่สุด


กลับไปหน้าแรก