หลักภาษาเควนยา
กลับหน้าหลัก (
หลักภาษาเควนยา
สรุปภาษาเควนยา
ศัพท์ภาษาเควนยา )
โฮมเพจนี้คือความพยายามที่จะสรุปหลักการ และไวยากรณ์ของภาษาเควนยา
ซึ่งถอดความมาจากเว็บไซด์ Ardalambion ของ Helge Kåre Fauskanger และบางส่วนจากเว็บไซด์ conlang.nu ของ Daniel Andréasson
โดยพยายามเรียบเรียงให้อ่านได้ง่ายขึ้น และได้เพิ่มเติมบางตัวอย่างตามหลักการที่ผู้เขียนเข้าใจ
หากท่านผู้อ่านพบว่ามีข้อผิดพลาดประการใด โปรดแจ้งให้ผู้เขียนทราบ
และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โฮมเพจนี้เขียนขึ้นให้สามารถแสดงผลได้ทั้งอักษรภาษาไทยและอักษรลาตินโดยใช้ style sheet
ท่านผู้อ่านจะสามารถเห็นข้อความนี้เป็นภาษาไทย และสามารถเห็นข้อความต่อไปนี้เป็นสระลาติน
á, é, í, ó, ú ซึ่งเป็นตัว เอ, อี, ไอ, โอ, ยู
มีขีดอยู่ด้านบน แต่หากท่านผู้อ่านยังมองไม่เห็นสระลาติน ให้ลองดูที่
คำแนะนำในการ set browser เพื่ออ่านโฮมเพจนี้ครับ
การออกเสียง (Phonology)
- เสียงพยัญชนะและตัวสะกด
การสะกดภาษาเควนยาด้วยอักษรอังกฤษนั้น วิธีการอ่านส่วนใหญ่ ก็จะใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ อาจมียกเว้นบ้างบางตัว พอจะสรุปเสียงที่น่าสนใจได้ดังนี้
- c ให้ออกเสียงเป็น ค เสมอ, ไม่ใช่ ซ
- nd เสียง ด ขึ้นจมูก
- mb เสียง บ ขึ้นจมูก
- ng เสียง ก ขึ้นจมูก หรือ ง
- th เสียง th แบบในภาษาอังกฤษ
- ch ออกเสียงเป็น ค, ไม่ใช่ ช
- y ออกเสียง ย อย่างอักษรนำหรือตัวควบกล้ำ ไม่ใช่เป็นสระเหมือนภาษาอังกฤษ
สังเกตว่า ภาษาเควนยา จะไม่มีเสียง b, d, g แท้ๆ
แต่จะต้องออกเสียงขึ้นจมูกก่อน เป็น mb, nd, ng เท่านั้น
- สระ
เควนยามีสระอยู่ห้าเสียงได้แก่ a, e, i, o, u ออกเสียงว่า อา, เอ, อี, โอ, อู
ตามลำดับ เป็นสระเสียงสั้น ส่วนสระเสียงยาว เวลาเขียนจะแสดงด้วยเครื่องหมาย accent ที่ติดอยู่บนตัวอักษรดังนี้ á, é, í, ó, ú ในบางครั้ง โทลคีน
ใช้เครื่องหมาย diaeresis หรือสองจุดด้านบนสระ
ซึ่งไม่มีผลกับการออกเสียงสั้นหรือยาวแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการช่วยแสดงให้เห็นว่า
ให้ออกเสียงสระตัวนั้นอย่างชัดเจน ไม่ถูกกลืนหายไปเหมือนอย่างคำในภาษาอังกฤษ
เช่นถ้าเขียนว่า Oromë ก็คือ Orome แต่การที่เขียนแบบนี้ เพื่อเป็นการเตือนให้อ่านออกเสียงว่า โอโรเม ไม่ใช่ โอโรม หรืออย่าง Eärendil ที่เตือนให้ออกเสียงว่า เออาเรนดิล
ไม่ใช่ เอียเรนดิล
- สระควบกล้ำ
มีอยู่หกตัวได้แก่ ai, au, oi, ui, eu, iu (ส่วน ei ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ว่าใช่สระควบกล้ำอีกตัวหนึ่งหรือไม่) การออกเสียง เป็นตามลำดับดังนี้ ไอ, เอา, โอย, อุย, เอว, อิว
ตัวอย่าง
cirya = เคียร์ยา (คี-อาร์-ยา)
| nauco = เนาโค (นา-อู-โค)
|
meoi = เมโอย (เม-โอ-อี)
| ainur = ไอนัวร์ (อา-อี-นู-อาร์)
|
leuca = เลวคา (เล-อู-คา)
| uilë = อุยเล (อู-อี-เล)
|
nienniquë = เนียนนิเควฺ (นี-เอน-นี-เควฺ)
| erma = แอร์มา (เอ-อาร์-มา)
|
tinco = ทิงโค
| tildë = ทิลเด
|
isil = อิซิล
| laurëa = เลาเรอา (ลา-อู-เร-อา)
|
nainië = ไนนิเอ (นา-อี-นี-เอ)
| tiuca = ทิวคา (ที-อู-คา)
|
คำนาม (Noun)
คำนำหน้านาม (Article)
ในภาษาเควนยา ใช้ตัว i เป็นคำนำหน้านาม เทียบได้กับ the ในภาษาอังกฤษ
เช่น elen = star = a star, i elen = the star
การแปลงรูปคำนาม (Case Morphology)
กฏการแปลงรูปคำนามในภาษาเควนยา 10 กรณี มีดังนี้
-
รูปปกติ (Nominative)
ใช้เป็นประธาน สามารถแบ่งประเภทของคำนามตามจำนวนได้สี่ประเภท ได้แก่
เอกพจน์ (Singular), ทวิพจน์ (Dual), พหูพจน์ (Plural) และ พหุภาคพจน์ (Partitive plural)
- เอกพจน์ ไม่มีการดัดแปลงหรือเพิ่มเติมท้ายคำแต่อย่างใด
- ทวิพจน์ ถ้าคำมีพยางค์สุดท้ายเป็นเสียง t หรือ d ให้เปลี่ยนสระพยางค์สุดท้ายเป็น u ไม่เช่นนั้นให้ลงท้ายคำด้วย t
- พหูพจน์ ถ้าคำนั้นลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อท้ายด้วย r (หรือ n ในบางกรณี), หรือถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อท้ายด้วย i
(กรณีที่สระลงท้ายคือ e ให้เปลี่ยนเป็น i, กรณีที่สระลงท้ายคือ ie ให้เปลี่ยนเป็น ier)
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย li
ตัวอย่าง
- má (มือหนึ่งข้าง) => mát (มือทั้งสอง)
- elen (ดาวหนึ่งดวง) => eleni (ดาวหลายดวง)
- falma (คลื่น) => falmali (คลื่นจำนวนหนึ่ง)
-
กรรม (Accusative)
ในภาษาเควนยาแบบเก่าที่ใช้ในวาลินอร์ คำนามที่เป็นกรรม จะต้องถูกแปลงรูปด้วย
(การแปลงรูป accusative นี้จะพบได้แต่ในหนังสือภาษาเควนยาโบราณเท่านั้น ไม่มีใช้ในภาษาสมัยใหม่)
- เอกพจน์ เฉพาะคำที่ลงท้ายด้วยสระ จะถูกลากเสียงสระให้ยาวขึ้น
- ทวิพจน์ เฉพาะคำที่ลงท้ายด้วย u จะถูกลากเสียงให้เป็น ú
- พหูพจน์ ให้ลงท้ายด้วย i
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย lí
ตัวอย่าง
- cirya (เรือหนึ่งลำ) => ciryá,
ciryar (เรือหลายลำ) => ciryai
-
กรรมรอง (Dative)
คำซึ่งเป็นกรรมรองของกริยา เช่น ประธานกระทำบางอย่างกับกรรมตรง ให้/ไปยัง/สำหรับ กรรมรอง
- เอกพจน์ ให้ลงท้ายด้วย n
- ทวิพจน์ ให้ลงท้ายด้วย nt (หรือ en ถ้าคำนั้นลงท้ายด้วย u)
- พหูพจน์ ให้ลงท้ายด้วย in
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย lin
ตัวอย่าง
- i nís antanë i hínan anna = The woman gave the child a gift.
-
สัมพันธการก (Genitive)
สำหรับแสดงความสัมพันธ์ หรือความเป็นเจ้าของ
- เอกพจน์ ให้ลงท้ายด้วย o, กรณีที่สระลงท้ายคือ a ให้เปลี่ยนเป็น o
- ทวิพจน์ ให้ลงท้ายด้วย to
- พหูพจน์ ให้ลงท้ายด้วย on
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย lion
ตัวอย่าง
- Vardo tellumar = Varda's domes
- Quenta Silmarillion = The story of the Silmarils
-
การแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive)
เป็นคำแสดงความเป็นเจ้าของ ต่างกับ genitive ตรงที่ possesive จะแสดงถึงการมีอยู่ หรือครอบครอง ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วน genitive จะแสดงถึง การเป็นของ หรือ มาจาก ซึ่งของสิ่งนั้นอาจไม่ได้อยู่กับ"เจ้าของ"ก็ได้
- เอกพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย va, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย wa
- ทวิพจน์ ให้ลงท้ายด้วย twa
- พหูพจน์ ให้ลงท้ายด้วย iva (และถ้าสระลงท้ายเป็น e ให้ตัดทิ้งด้วย)
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย líva
ตัวอย่าง
- Mindon Eldaliéva = Tower of the Eldalië
- róma Oroméva = Oromë's horn
-
การบอกสถานที่ (Locative)
เพื่อแสดงความหมายว่า อยู่ ณ/อยู่ที่/อยู่บน บางแห่ง
- เอกพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย ssë, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย essë
- ทวิพจน์ ให้ลงท้ายด้วย tsë
- พหูพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย ssen, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย issen
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย lissë หรือ lissen
ตัวอย่าง
- Altáriello Nainië Lóriendessë = Galadriel's Lament in Lóriendë (Lórien)
- Vardo tellumar ... yassen tintilar i eleni = Varda's dome ... in which (where) the stars tremble
-
การบ่งบอกปลายทาง (Allative)
เพื่อแสดงความหมายว่า สู่/มายัง/ลงบน บางอย่าง
- เอกพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย nna, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย enna
- ทวิพจน์ ให้ลงท้ายด้วย nta
- พหูพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย nnar, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย innar
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย linna หรือ linnar
ตัวอย่าง
- i falmalinnar = upon the foaming waves
- Endorenna utúlien = I have come to Middle-Earth
-
การบ่งบอกต้นทาง (Ablative)
เพื่อแสดงความหมายว่า จาก/ออกมาจาก บางอย่าง
- เอกพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย llo, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย ello
- ทวิพจน์ ให้ลงท้ายด้วย lto
- พหูพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย llon หรือ llor, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย illon หรือ illor
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย lillo หรือ lillon
ตัวอย่าง
- Ondolindello = From Ondolindë (Gondolin)
- Et Eärello Endorenna utúlien = Out of the Greate Sea to Middle-Earth I am come
-
การบ่งบอกผู้กระทำ (Instrumental)
เพื่อแสดงความหมายว่า เป็นการกระทำโดยอะไรบางอย่างหรือใครบางคน
- เอกพจน์ ถ้าลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย nen, ถ้าไม่ได้ลงท้ายด้วยสระ ให้ต่อด้วย enen
- ทวิพจน์ ให้ลงท้ายด้วย nten
- พหูพจน์ ให้ลงท้ายด้วย inen
- พหุภาคพจน์ ให้ลงท้ายด้วย línen
ตัวอย่าง
- lantar lassi súrinen = Fall of the leaves in (by) the wind
- i carir quettar ómainen = Those who form words with voices
-
??? (Respective)
โทลคีนได้เขียนถึงกรณีที่สิบนี้ไว้ แต่ไม่มีคำอธิบายว่าไว้ใช้ในสถานการณ์ใด
ทั้งยังไม่เคยพบตัวอย่างการใช้งานด้วย จึงเป็นกรณีปริศนาอยู่
- เอกพจน์ ลงท้ายด้วย s
- ทวิพจน์ ลงท้ายด้วย tes
- พหูพจน์ ลงท้ายด้วย is
- พหุภาคพจน์ ลงท้ายด้วย lis
บุพบท (Preposition)
นอกจากการแปลงรูปเพื่อขยายความหมายของคำนามแล้ว ยังมีคำที่ใช้เป็นบุพบทต่างหากโดยเฉพาะ
เช่น mi = within, imbe = between, tar, pella = beyond, ve = as,
tere = through, tenna = until ฯลฯ
คำกริยา (Verb)
ศัพท์คำกริยาเบื้องต้น ที่เป็นรากศัพท์ในภาษาเอล์ฟ มักจะลงท้ายด้วยเสียงตัวสะกด ไม่มีสระต่อท้าย ศัพท์ประเภทนี้เรียกว่า Basic Stem (คำศัพท์ธรรมดา)
ยังมีคำศัพท์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแผลงมาจากรากศัพท์ดั้งเดิม เรียกว่า A-Stem (คำศัพท์ - อา)
เป็นคำศัพท์ที่มักจะลงท้ายด้วยเสียง อา บางคำก็มีความหมายใกล้เคียงกับรากศัพท์เดิม
แต่บางคำก็เปลี่ยนความหมายไปโดยสิ้นเชิง ในการแปลงรูปคำกริยานั้น
ส่วนใหญ่จะต้องพิจารณาด้วยว่า คำศัพท์นั้นเป็นประเภท A-Stem หรือไม่ โดยมีกฎเกณฑ์การแปลงรูปดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
การแปลงรูปตามจำนวน (Numbers Morphology)
เป็นการแปลงรูปตามจำนวนประธาน
สำหรับในคำกริยานั้น จะสนใจแค่ว่าประธานเป็น เอกพจน์ หรือ พหูพจน์
- เอกพจน์ ไม่มีการแปลงรูป
- พหูพจน์ ลงท้ายด้วย r
การแปลงรูปตามกาล (Tense Morphology)
- รูปปกติ (Aorist)
เป็นรูปแบบปกติ ที่แสดงถึงกริยาที่ไม่ได้บ่งบอกกาลเวลา หรือก็คือกริยา infinitive
- Basic Stem ให้ลงท้ายคำด้วย e แต่หากว่า e นั้นไม่ได้อยู่ท้ายคำ (เช่น ยังมีการแปลงรูปตามจำนวนต่อ) ก็ให้เปลี่ยน e เป็น i แทน
- A-Stem ไม่มีการแปลงรูปแต่อย่างใด
ตัวอย่าง
- car (ทำ) => carë (sg. aorist) => carir (pl. aorist)
- lanta (ตก, ร่วง) => lanta (sg. aorist) => lantar (pl. aorist)
- ปัจจุบัน (Present)
สำหรับกริยาที่กำลังเกิดขึ้น และดำเนินอยู่ในขณะนั้น (แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น present continuous)
- Basic Stem ให้ลากสระหลักของคำให้ยาวขึ้น และลงท้ายคำด้วย a
- A-Stem ให้ลากสระหลักของคำให้ยาวขึ้น และเปลี่ยน a ตัวท้ายเป็น ëa
โดยที่การลากเสียงสระหลักของทั้งสองกรณีนั้น ในภาษาเควนยา การลากเสียงจะทำได้ก็ต่อเมื่อ ตัวสะกดของสระตัวนั้น เป็นมีเสียงเดี่ยว เช่น t, l, c, ฯลฯ แต่เสียงต่อไปนี้ ถือว่าไม่ใช่เสียงเดี่ยว nt, mp, lt, ฯลฯ
ตัวอย่าง
- sil (ส่องแสง) => síla (sg. present) => sílar (pl. present)
- mat (กิน) => máta (sg. present) => mátar (pl. present)
- lanta (ตก, ร่วง) => lantëa (sg. present) => lantëar (pl. present)
- อดีต (Past)
สำหรับกริยาที่เกิดขึ้น และเสร็จสิ้นไปแล้วในอดีต
- ทั้ง Basic Stem และ A-Stem ให้ลงท้ายด้วย në
กรณีพิเศษของ Basic Stem
- หากคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วย p, t, c แทนที่จะเป็น pnë, tnë, cnë ให้แปลงเป็น mpë, ntë, ncë แทน
- หากคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วย l แทนที่จะเป็น lnë ให้แปลงเป็น llë แทน
ตัวอย่าง
- orta (ขึ้น, ยก) => ortanë
- tir (ดู, เก็บ) => tirnë
- tac (เร่ง) => tancë
- vil (บิน) => villë
- สัมบูรณ์ (Perfect)
สำหรับกริยาที่ได้ทำมาแล้วในอดีต และยังเป็นอยู่มาถึงปัจจุบัน
- Basic Stem แทรกสระหนึ่งตัวเข้าด้านหน้าคำ โดยให้เป็นสระเดียวกับสระหลักของคำ, ให้ลากสระหลักของคำให้ยาวขึ้น, และลงท้ายคำด้วย ië
- A-Stem แทรกสระหนึ่งตัวเข้าด้านหน้าคำ โดยให้เป็นสระเดียวกับสระหลักของคำ, ให้ลากสระหลักของคำให้ยาวขึ้น, และเปลี่ยน a ตัวท้ายเป็น ië
โดยการลากเสียงนั้น ให้คำนึงถึงตัวสะกดด้วยว่ามีเสียงเดี่ยวหรือไม่ เช่นเดียวกับการลากเสียงใน present tense
ตัวอย่าง
- mat (กิน) => amátië
- tec (เขียน) => etécië
- tul (มา) => utúlië
- panta (เปิด) => apantië
- อนาคต (Future)
สำหรับกริยาที่ยังไม่เกิดขึ้น
- Basic Stem ให้ลงท้ายด้วย uva
- A-Stem ให้ตัด a ตัวท้ายทิ้ง และเปลี่ยนเป็น uva
ตัวอย่าง
- mat (กิน) => matuva
- linda (ร้องเพลง) => linduva
- tir (ดู, เก็บ) => tiruva, tiruvantë = They will keep, nai tiruvantë = May they will keep (พวกเขาน่าจะเก็บไว้, พวกเขาคงจะเก็บไว้นะ)
การแปลงรูปกรณีอื่น ๆ
- การทำให้เป็นคำนาม (Gerund)
คำกริยาที่จะนำมาใช้เป็นคำนาม ต้องทำให้อยู่ในรูป extended infinitive ก่อน
(รูป infinitive ก็คือรูป aorist) ดังนี้
- Basic Stem ให้ลงท้ายคำ (จากรูป infinitive) ด้วย ta
- A-Stem ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
กรณีที่ต้องการแปลงเป็นคำนาม และคำนั้นเป็นกรรมรอง
คือไม่ใช่สิ่งที่ต้องการกล่าวถึงโดยตรงในประโยค
ให้ใช้วิธีการแปลงอีกวิธีหนึ่ง
- Basic Stem ให้ลงท้ายคำด้วย ië
- A-Stem ให้ตัด a หรือ ya ทิ้ง แล้วลงท้ายคำด้วย ië
ตัวอย่าง
- car (ทำ) => carita (การกระทำ)
- tyal (เล่น) => tyalië (การเล่น)
- กริยาคำสั่ง (Imperative)
สำหรับใช้ในประโยคคำสั่ง
- Basic Stem ให้นำหน้าคำด้วย á หรือ ลงท้ายคำด้วย a
- A-Stem ให้นำหน้าคำด้วย á
ตัวอย่าง
- car (ทำ) => cara! = á carë! (จงทำ), áva carë! (อย่าทำ)
- นอกจากนี้ยังมีบางคำเป็นคำเฉพาะด้วยเช่น
- ela! (ดูสิ), heca! (ไปซะ), ëa! (จงเกิดขึ้น)
คำคุณศัพท์ (Adjective)
คำคุณศัพท์ส่วนใหญ่ จะลงท้ายด้วย a หรือ ë โดยการนำคำคุณศัพท์ไปขยายคำนาม
จะต้องคำนึงถึงจำนวนของคำนามเช่นกัน ดังนี้
การแปลงรูปตามจำนวน (Numbers Morphology)
- เอกพจน์ ไม่มีการแปลงรูป
- พหูพจน์ แบ่งเป็นกรณี
- คำลงท้ายด้วย a ให้เปลี่ยนเป็น ë
- คำลงท้ายด้วย ë ให้เปลี่ยนเป็น i
- คำลงท้ายด้วย ëa ให้เปลี่ยนเป็น ië
- กรณีอื่น เข้าใจว่าใช้วิธีการแปลงเช่นเดียวกับคำนามพหูพจน์
ตัวอย่าง
vanya vendë = a beautiful maiden, vanyë vendi = beautiful maidens
carnë parma = a red book, carni parmar = red books
laurëa lassë = a golden leaf, laurië lassi = golden leaves
firin casar = a dead dwarf, firini casari = dead dwarves
ขั้นเปรียบเทียบ (Comparative & Superlative)
- ขั้นกว่า ไม่ปรากฎหลักฐานว่า มีการแปลงรูปอย่างไร
- ขั้นที่สุด ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า an
ตัวอย่าง
vanya (สวย), anvanya (สวยที่สุด)
calima (สว่าง), ancalima (สว่างที่สุด)
กริยาคุณศัพท์ (Participle)
คือการนำคำกริยามาใช้เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนาม
แบ่งออกตามผู้กระทำ หรือผู้ถูกกระทำดังนี้
- ผู้กระทำ (Present participle)
ให้ลากสระหลักของคำให้ยาวขึ้น แล้ว
- ถ้าคำลงท้ายด้วย a, r ให้ต่อด้วย la
- ถ้าคำลงท้ายด้วย l ให้ต่อด้วย ala
- กรณีอื่น ให้ลงท้ายคำด้วย ila
- ผู้ถูกกระทำ (Past participle)
ให้ลากสระหลักของคำให้ยาวขึ้น แล้ว
- ถ้าคำลงท้ายด้วย a, r ให้ต่อด้วย na
- ถ้าคำลงท้ายด้วย l ให้ต่อด้วย da
- กรณีอื่น ให้ต่อด้วย ina
คำกริยาคุณศัพท์นี้ ใช้วิธีแปลงตามรูปจำนวนแบบเดียวกับคำคุณศัพท์ปกติ
ยกเว้น present participle ที่จะไม่แปลงรูปตามจำนวน
ตัวอย่าง
falasta = foam (สาดกระเซ็น), falastala = foaming (present pt), falastana = foamed (past pt)
car = make (ทำ), carla = making (present pt), carna = made (past pt)
sil = shine (ส่องแสง), sílala = shining (present pt), silda = shined (past pt)
rac = break (หัก), rácila = breaking (present pt), rácina = broken (past pt)
sílala (singular) => sílala (plural)
silda (singular) => sildë (plural)
กริยาวิเศษณ์ (Adverb)
การนำคำคุณศัพท์มาใช้ขยายคำกริยา สามารถทำได้โดย
นำคำคุณศัพท์มาต่อท้ายด้วย ve
สรรพนาม (Pronoun)
สรรพนาม (Pronoun)
ภาษาเควนยา สามารถที่จะนำสรรพนามไปต่อท้ายคำกริยา เป็นส่วนหนึ่งของคำได้
โดยสามารถทำหน้าที่ได้ทั้ง ประธานและกรรมของกริยา โดยที่สรรพนามตัวแรกที่ต่อจากกริยา จะถือว่าเป็นประธาน และสรรพนามตัวที่สองที่ต่อจากกริยา จะถือว่าเป็นกรรม
คำสรรพนามบางคำที่มีความหมายเดียวกัน แต่มีการใช้คำหลายแบบนั้น
ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามีกฏเกณฑ์อย่างไร แต่พอจะสันนิษฐานออกมาได้ดังนี้
- I ให้ลงท้ายด้วย n, nyë
- You ให้ลงท้ายด้วย l, lyë (แบบสุภาพ)
- You ให้ลงท้ายด้วย ccë (แบบเป็นกันเอง)
- He ให้ลงท้ายด้วย ro
- She ให้ลงท้ายด้วย rë
- It ให้ลงท้ายด้วย s, t
- We ให้ลงท้ายด้วย mmë ("เรา" ไม่รวมผู้ที่ถูกกล่าวถึง)
- We ให้ลงท้ายด้วย lmë ("เรา" รวมผู้ที่ถูกกล่าวถึง)
- We ให้ลงท้ายด้วย lvë ("เรา" สองคน, dual)
- They ให้ลงท้ายด้วย ntë
ตัวอย่าง
lendë = went
lenden, lendenyë = I went
lendel, lendelyë = You went
lendentë = They went
utúvië = have found
utúvienyë = I have found
utúvienyes = I have found it
คำแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive)
การแปลงรูปคำนาม เพื่อแสดงผู้เป็นเจ้าของ
- My ให้ลงท้ายด้วย nya
- Your ให้ลงท้ายด้วย lya (แบบสุภาพ)
- Your ให้ลงท้ายด้วย cca (แบบเป็นกันเอง)
- His ให้ลงท้ายด้วย rya
- Her ให้ลงท้ายด้วย rya
- Its ให้ลงท้ายด้วย rya
- Our ให้ลงท้ายด้วย mma ("เรา" ไม่รวมผู้ที่ถูกกล่าวถึง)
- Our ให้ลงท้ายด้วย lma ("เรา" รวมผู้ที่ถูกกล่าวถึง)
- Our ให้ลงท้ายด้วย lva, lwa ("เรา" สองคน, dual)
- Their ให้ลงท้ายด้วย nta
ตัวอย่าง
parma = book
parmanya = My book
parmalya = Your book
parmanta = Their book
สรรพนามอิสระ (Independent pronoun)
คือคำโดดที่ใช้สำหรับเป็นกรรมสรรพนามโดยเฉพาะ ไม่ใช่เป็นการแปลงรูปคำกริยา ได้แก่
- Me = ni, inyë
- You = lë, elyë (แบบสุภาพ)
- You = tyë (แบบเป็นกันเอง)
- Him = so
- Her = së
- It = ta
- Us = më ("เรา" หลายคน)
- Us = met ("เรา" สองคน)
- Them = të