|
 |
 |
|
ลักษณะทั่วไป
FN ย่อมาจาก Fabrique Nationale ซึ่งเป็นโรงงานผลิตปืนเก่าแก่ในเบลเยี่ยมมีประวัติยาวนานในเรื่อง
การผลิตปืนทั้งปืนทหารและปืนพลเรือน ปืน FN เป็นที่นิยมอยู่ไม่น้อยในบ้านเราแต่คนส่วนใหญ่มักจะเรียก ว่าเป็นปืนบราวนิง ความเป็นมาในเรื่องนี้ก็เนื่องมาจากการที่ จอนห์ เอ็ม บราวนิง นักออกแบบปืนอัฉริยะ
ของโลกได้หอบปืนที่เขาออกแบบไปให้โรงงาน FN ผลิตมากมายหลายกระบอก ไม่ว่าจะเป็น ปืน บราวนิงก์ ไฮเพาเวอร์ 9ม.ม., บราวนิงก์ เบบี้ขนาด 6.35ม.ม., ลูกซองบราวนิงก์ ออโต้ A-5 และยังมีปืนทางทหาร
อีกหลายกระบอก ปืนเหล่านี้จะตอกยี่ห้อ Browning แต่ก็จะระบุชื่อ FN ไว้ในฐานะผู้ผลิตด้วย
ปืนไรเฟิล เอฟเอ็ม .375 H&H กระบอกนี้ไม่ได้ถูกออกแบบโดยจอนห์ บราวนิง แต่ส่วนหนึ่งก็ตีตรา
Browning เพื่อส่งเข้าไปขายในอเมริกาด้วย ปืนรุ่นนี้เป็นปืนไรเฟิลที่ใช้ระบบลูกเลื่อนของเมาเซอร์ 98 ซึ่งเป็นระบบเดียวกับปืนประจำการหลักของกองทัพเยอรมันในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ระบบลูกเลื่อน
ถูกพัฒนาขึ้นโดย นาย พอล เมาเซอร์ ยอดนักออกแบบปืนชาวเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1898 และก็อยู่ยง คงกระพันมาจนถึงทุกวันนี้
ถึงแม้จะถูกออกแบบมานานถึงกว่าหนึ่งร้อยปี ระบบ เมาเซอร์ 98 ก็ยังเป็นลูกเลื่อนที่คนส่วนใหญ่ยกย่อง ว่าเป็นระบบปืนยาวลูกเลื่อนที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นมาในโลก นอกจากความแข็งแรงที่ทำให้มันสามารถรับ
ความดันของกระสุนแรงสูงได้แล้ว สิ่งที่เป็นที่ชื่นชมกันมากในระบบลูกเลื่อนของเมาเซอร์ก็คือ Control Round Feed ซึ่งหมายถึงการป้อนกระสุนจากแม็กกาซีนเข้าสู่รังเพลิงโดยที่ขอรั้งจะจับจานท้ายกระสุน
ทันทีที่กระสุนเคลื่อนตัวสูงขึ้น ซึ่งก็จะป้องกันการผิดพลาดจากการเอียงหรือกระแทกของปืนจนอาจจะทำ ให้ขัดลำได้ (ระบบลูกเลื่อนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะจับจานท้ายกระสุนก็ต่อเมื่อลูกเลื่อนถูกกระแทกปิดกับท้าย
รังเพลิง) และขอรั้งปลอกของลูกเลื่อนแบบนี้จะแข็งแรงและจับจานท้ายกระสุนได้แน่นมากทำให้การดึง ปลอกกระสุนที่ยิงแล้วทำได้แน่นอนมาก
|
 |
 |
|
ข้อเด่นอีกอย่างของ เมาเซอร์ 98 ก็คือปลอกกระสุนที่ยิงแล้วจะถูกดีดออกเมื่อกระชากลูกเลื่อนจนสุดเท่า นั้น ซึ่งจะป้องกันการผิดพลาดจากการดึงลูกเลื่อนไม่สุดทำให้กระสุนนัดต่อไปในแม็กกาซีนไม่ถูกป้อนเข้าสู่
รังเพลิงบนกระดาษสิ่งเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับนักล่าสัตว์ที่กำลังเผชิญหน้ากับสัตว์ อันตรายแล้ว สิ่งเหล่านี้คือการชี้ขาดว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ต่อไปหรือไม่
ลูกเลื่อนของ FN มีการปรับปรุงจากระบบดั้งเดิมของเมาเซอร์เล็กน้อย สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือการย้ายคัน เซฟจากด้านท้ายของลูกเลื่อนมาไว้ที่โครงปืนด้านขวา ทั้งนี้ก็เพราะเซฟแบบของเมาเซอร์เดิมนั้นอยู่ค่อน
ข้างสูงและจะทำให้การติดกล้องเล็งทำได้ลำบาก
|
|
 |
 |
|
ภาพที่ 16 เมื่อเทียบกับลูกเลื่อนปืนเมาเซอร์ แท้ๆที่มีเซฟอยู่ที่ท้ายลูกเลื่อน
|
|
 |
 |
|
มิติของตัวปืนโดยทั่วๆไปแล้วนับว่าเป็นปืนขนาด .375 H&H ที่กระทัดรัดมากที่สุดกระบอกหนึ่ง ลำกล้อง ยาว 24 นิ้ว ซึ่งเป็นความยาวมาตรฐานของปืนไรเฟิลโดยทั่วไป ความยาวทั้งกระบอก 44.5 นิ้ว แม็ก
กาซีนบรรจุ 3 นัดบวกหนึ่งในลำกล้องทำให้ตัวปืนไม่ใหญ่โตจนเกินจะจับถือ น้ำหนักตัวปืนไม่รวมกระสุน 3,700 กรัม หนักเอาเรื่องเมื่อแบกเข้าป่าแต่ก็นับว่าเบามากแล้วสำหรับปืนคาลิเบอร์นี้
ศูนย์หน้าเป็นแบบใบมีดแต่ยอดเป็นแท่งทรงกระบอกเข้ากับศูนย์หลังรูปตัวยู ศูนย์หลังเป็นแบบพับเลือก ระยะยิงได้ที่ 100, 200 และ 300 เมตร พานท้ายทำด้วยไม้วอลนัทเหลาในทรงแบบยุโรปพร้อมยางกับ กระแทกเพื่อซึมซับแรงรีคอยล์
ตลอดเวลาที่ใช้งานในป่า ปืนกระบอกนี้ไม่เคยติดศูนย์กล้องเพราะอาจารย์ฉัตรชัยบอกว่าป่าเมืองไทยใน ยุคนั้นทึบมากจนไม่เคยต้องยิงอะไรที่ระยะเกินห้าสิบหลาเลยซักครั้ง แต่ก่อนที่จะเก็บเข้าตู้เป็นครั้งสุดท้าย
นั้นอาจารย์ฉัตรชัย ได้ทำการติดกล้องเล็ง เรดฟิลด์ ขนาด 4 เท่าเอาไว้เผื่อจะเอาไว้ยิงในป่าที่เริ่มจะโล่งขึ้น แต่ก็ตัดสินใจเลิกล่าสัตว์เสียก่อนที่จะได้ใช้ ปืนกระบอกนี้จึงอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมยิง ลำกล้อง
สะอาดขาววับ ทั้งๆที่วางอยู่ในตู้ปืนมากว่ายี่สิบปี
|
|
 |
 |
|
ภาพที่ 29 พานท้ายสไตล์ยุโรป
|
|
 |
 |
|
กระสุน .375 Holland & Holland Magnum ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ฮอลแลนด์ แอนด์ฮอลแลนด์ แห่งประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี 1912 โดยเป็นกระสุนแบบแรกที่ไม่มีจานท้ายแต่มีขอบ(belt) ซึ่งก็เป็นที่นิยม
ทำกันในกระสุนหลายๆขนาดในเวลาต่อมา . 375 H & H ได้รับความนิยมอย่างมากหลายคนกล่าวว่ามันคือ กระสุนล่าสัตว์ที่ดีที่สุดขนาดหนึ่ง เพราะมีกระสุนให้เลือกใช้ได้หลายชนิด หัวกระสุนมีน้ำหนักตั้งแต่
200เกรน ถึง 350เกรน จึงสามารถใช้ได้กว้างขวางกับทั้งสัตว์เล็กและใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลก
.375 H&H นับได้ว่าเป็นกระสุนไรเฟิ้ลขนาดหนักที่แพร่หลายที่สุดในเมืองไทย เพราะขนาดที่ใหญ่กว่านี้ถ้า
ไม่ราคาแพงเกินไปก็ ใหญ่เกินกว่าที่กฎหมายไทยจะอนุญาตได้ เมื่อเลือกใช้หัวขนาด 300 เกรน ความเร็ว 2,700 ฟิต/วินาที และให้แรงประทะสูงสุด 4,615ฟุต-ปอนด์ ซึ่งนับว่าแรงเกินพอสำหรับแบกเข้าป่าเมือง
ไทย ถ้าไม่ไปเจอเข้ากับตะขาบยักษ์หรือไดโนเสาร์!
|
|
 |
 |
|
ภาพที่ 30 กระสุน 375 H&H เมื่อเทียบกับ กระสุน ขนาด .357 ที่มักจะเรียกสับสนกัน จะเห็นว่าใหญ่ กว่ากันราวพ่อกับลูกคนเล็ก อีกนัดคือกระสุนขนาด .22LR ความยาวของ 375H&H ยาวกว่าซองบุหรี่
ก้นกรองเสียอีก
|
|
|
 |
 |
|
ภาพที่ 31 กระสุน 375 H&H ที่มีหัวกระสุนต่างกันเพื่อให้เลือก ใช้งานได้ จากซ้ายไปขวา กระสุนซอฟพ็อยท์ ขนาด 300 เกรน กระสุนหัวแข็งฟูลแพชท์ 300 เกรน และ กระสุน ซิลเวอร์ทิป 300 เกรน
|
|
 |
|
|
|
 |
 |
|
การทดสอบ
เรานำปืนกระบอกนี้ไปทดสอบกันที่ ไร่ม่อนเนินแก้ว เพราะให้บรรยากาศเหมาะกับลักษณะของปืนมากกว่า
สนามยิงปืนมาตรฐาน และยังมี แบ็คสต็อปเป็นเนินเขาที่ทำให้มั่นใจว่าหัวกระสุนขนาด 300เกรนจะหลุดไป เพ่นพ่านที่ไหน เราติดเป้าทดสอบกันที่ระยะ 50 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ปืนกระบอกนี้ได้ถูกใช้งานในป่าทึบมา
ตลอดเวลาอันโชกโชนของมัน คุณชัยยศ ชิโนกุล คนตั้งศูนย์กล้องให้กับปืนกระบอกนี้เมื่อยี่สิบปีก่อน เป็นผู้เริ่มทดสอบเป็นคนแรกโดยนั่งยิงพาดปืนกับรั้วไม้
แต่เราก็ต้องแปลกใจเมื่อกระสุนลั่นเพราะแทนที่จะมีรูบนเป้า กิ่งมะม่วงขนาดท่อนแขนที่อยู่ห่างออกไปทาง ขวาร่วมเมตรก็ขาดลงมาจากต้นราวกับถูกฟันด้วยขวาน เมื่อนัดที่สองก็ไม่ปรากฎร่องรอยบนเป้าอีกก็ทำ
ให้เรามั่นใจว่ากล้องที่เคยปรับไว้ได้ที่เมื่อยี่สิบปีก่อนโดยไม่มีใครแตะต้องได้เคลื่อนไปซะแล้ว จึงเป็นข้อ ควรระวังสำหรับเจ้าของปืนไรเฟิล ปืนที่เคยตั้งกล้องไว้อย่างเที่ยงตรงดีแล้ว ทิ้งระยะเวลานานเข้า ตัว
กล้องและเส้นเล็งอาจเคลื่อนได้ ก่อนนำไปใช้งานจริงควรยิงทดสอบศูนย์ดูอีกทุกครั้ง
หลังจากทำการไซต์อินโดยการเล็งผ่านรู้ลำกล้องอย่างคราวคุณชัยยศก็สามารถนำกลุ่มกระสุนมาตกลงใน
กระดาษได้ เมื่อมาถึงตอนนี้ผมและ บ.ก.พิชญ ได้ขอทดลองยิงดูบ้าง แรงถีบของ 375 H&H Magmum จัดอยู่ในขั้นที่ยังพอควบคุมได้ ไม่แรงจนเกินสนุก แรงถีบเป็นการถอยหลังมาตรงๆไม่กระดกสูงขึ้น
มากอย่างปืนลูกซอง หลังจากลองยิงกันอีกหลายนัดเราจึงพบว่ากลุ่มกระสุนเริ่มย้ายที่ เราสันนิฐานกันว่า น่าจะเกิดจากการชำรุดของกล้องเล็ง ดังนั้นจึงได้ทดสอบกันอีกครั้งโดยถอดศูนย์กล้องออกและใช้ศูนย์
เปิดที่ติดมากับตัวปืน
|
 |
 |
|
ภาพที่ 36 ดูภาพก็คงไม่ต้องอธิบาย
|
|
 |
 |
|
ภาพที่ 47 อาจารย์ฉัตรชัยขณะกำลังอธิบาย ประวัติและรายละเอียดของปืนให้ บ.ก. พิชญ จุลศิริและผมฟังที่บ้านท่านเอง
|
|
 |
 |
|
บทสรุป
ทางทีมงาน กันส์ เวลิด์ รู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสทดสอบยิงจริง และนำข้อมูลของ"ปืนครู"
กระบอกนี้มาให้ท่านผู้อ่านได้ชมกัน เรามิได้ทำการทดสอบปืนกระบอกนี้เพื่อแสดงประสิทธิภาพของมันเช่น การทดสอบปืนใหม่ แต่หากเป็นการทดสอบเพื่อนำปืนที่มีตำนานกระบอกนี้มาให้ชมกัน
ถึงแม้บทบาทของปืนกระบอกนี้ในฐานะปืนล่าสัตว์จะปิดฉากลงไปนานกว่ายี่สิบปีแล้วเพราะเจ้าของของมัน ให้สัจจะที่จะเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่างเด็ดขาด (ยกเว้นเพื่อป้องกันชีวิตตนเองและผู้อื่น) แต่หากความยิ่ง
ใหญ่ของมันในฐานะ ปืนที่เป็นจุดกำเนิด ของเพชรพระอุมาก็ยังจะคงมีอยู่ตลอดไป .
ธัชรวี หาริกุล
มกราคม 2543
ขอขอบคุณ 1) อาจารย์ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ที่กรุณาให้ปืนและกระสุนเพื่อการทดสอบ และยังให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์อีกมากมาย 2) คุณชัยยศ ชิโนกุล ผู้ให้การชี้แนะและร่วมทดสอบ
3) คุณไกรสร ศุภกรโกศัย ผู้เอื้อเฟื้อสถานที่ทดสอบ
|
|