จาำกใจผู้จัดทำเวปไซด์

       ข้อสอบต่างๆเหล่านี้ได้มาจาก หนังสือ เฉลยข้อสอบ สาขาการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2545-2546 เฉพาะภาคทฤฎี รวม 2ปี ซึ่งได้จัด ทำด้วย คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย ในยุควาระนี้ ซึ่งจะหมดวาระในปี 2548 และจะได้ทำการ เลือกตั้ง คณะกรรมการวิชาชีพขึ้นใหม่

      นับว่าเป็นโชคดีของผู้จะสอบขึ้นทะเบียน เป็นอันมาก เพราะไม่เคยมาก่อนที่คณะกรรมการวิชาชีพจะทำในลักษณะนี้ และนับว่าเป็น ประโยชน์ ต่อผู้เตรียมตัวสอบด้วย อย่างน้อยได้รู้แนวข้อสอบทฤฎีว่ามีแนวอย่างไรบ้าง และผู้จัดทำ ก็ได้เพิ่ม ข้อสอบภาคปฎิบัติที่สอบถามจาก ผู้ที่เคยสอบมาและจดจำมาบอก คนละนิดคนละหน่อย เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้สอบทีหลัง

      ผู้จัดทำปราถนาให้่วงการแพทย์แผนไทย มีความก้าวหน้า ดุจเมื่อครั้งโบราณ อย่างน้อยเราคนไทย ก็ควรจะรู้ในสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดมา ตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ก่อนนั้นคนที่จะเรียนการแพทย์แผนไทยนั้น ต้องฝากตัวเป็นศิษย์และคอยรับใช้อาจารย์ และจดจำเท่านั้น ไม่มีตำราให้ เหมือนในปัจจุบัน แต่บางที่ก็อาจมองไม่เห็นคุณค่า เพราะได้มาง่ายเกินไป จึงมองไม่ค่อยเห็นประโยชน์การแพทย์แผนไทย หวังสอบให้ผ่าน เพื่อได้ใบอนุญาตมาเท่านั้น เพื่อเหตุผลอย่างไรก็ตาม พอได้เสร็จก็ไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและตัวเอง หรือใช้ช่วยเหลือคนอื่นก็ยังดี กว่าจะปล่อยให้ความรู้ที่ได้เรียนหายไป
     ถึังแม้ว่าท่านจะสอบได้หรือไม่ได้ก็ตาม ท่านก็มีความรู้ทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งความรู้ด้านเภสัชกรรมไทยและเวชกรรมไทยนั้น สามารถใช้ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ได้มากที่สุดเพราะเป็นของจริงทดสอบได้ เห็นจริง

 

 

  
การสอบเวชกรรมไทยนั้น จะแบ่งการสอบเป็น ภาคเช้า(เวชกรรม 1)  และภาคบ่าย(เวชกรรม 2)

 



ข้อสอบสาขาการแพทย์แผนไทย
ประจำปี 2545-2546
(ภาคทฤษฎี)

จัดทำโดย : คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย

 


คำนำ

     พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้บุคคล ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาติเป็นผู้ประกอบโรค ศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทต่างๆ จะต้องผ่านการทดสอบ หรือสอบความรู้ จากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย โดยกองประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ทำการจัดสอบความรู้ ผู้ขอขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย เป็นประจำทุกปี โดยจะมีการสอบในปลายเดือน เมษายน ของทุกปี ซึ่งมีผู้เข้าสอบในประเภทต่างๆ รวมกว่า 6,000 คน หลังการสอบ จะมีผู้เข้าสอบ ขอดูคะแนนและผลการสอบ และมีการเรียกร้องให้คณะกรรม การวิชาาชีพ เปิดเผยข้อสอบและธงคำตอบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในส่วนภูมิภาค จะมีความยากลำบากในการขอดูคะแนน และผลการสอบ ซึ่งจะต้องเดินทางมากรุงเทพๆ

     คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าสอบทุกท่าน และ เป็น แนวทางสำหรับผู้ขอสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ในการที่จะได้ ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฎิบัติ เกี่ยวกับการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ และได้ฝึกหัด ทดสอบ การทำข้อสอบเก่า เพื่อให้เกิดทักษะในการสอบ ซึ่งจะยังประโยชน์ ให้กับผู้เข้าสอบ ดังนั้น คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย จึงได้มีมติให้จัดทำคู่มือ เฉลยข้อสอบ สาขาการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2545 และ พ.ศ. 2546 (ภาคทฤษฎี)

     คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย หวังว่าคู่มือ เฉลยข้อสอบสาขาการแพทย์แผนไทย ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์และแนวทาง ในการสอบ สำหรับผู้ประสงค์จะขอสอบขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยบ้างตามสมควร

 

 


ตัวอย่าง

ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับในอนุญาต
เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. .......

-----------------------------

      เพื่อให้การสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาิตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประจำปี พ.ศ. ... เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย บริสุทธิ์ และยุติธรรม
     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23(1) และมาตรา 33(1) (ก) (ข) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 คณะกรรมการ วิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย จึงออกประกาศสำหรับปฎิบัติไว้ดังต่อไปนี้
     ข้อ 1. ประกาศนี้เรียกว่า " ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ..."
     ข้อ 2. ให้ใช้ประกาศนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศนนี้เป็นต้นไป
     ข้อ 3. ให้ยกเลิก " ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาติเป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ....."
     ข้อ 4. บรรดากฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ในส่วนที่ำกำหนดไว้ก่อนประกาศนี้ ใ่ช้บังคับซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน
     ข้อ 5. ในประกาศนี้
               " คณะกรรมการ" หมายถึง คณะกรรมการการดำเนินการจัดสอบที่ได้รับการแต่งตั้ง
               " กรรมการ" หมายถึง ผู้เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการดำเนินการจัดสอบทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
     ข้อ 6.  ให้สำนักงานสาธารสุขจังหวัด ที่รับผิดชอบแจ้งให้ผู้มีสิทธิเข้าสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบโรค ศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ทราบกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ในข้อ 7,ข้อ8 และข้อ9
     ข้อ 7.  การสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประจำปี พ.ศ. .... ได้กำหนด ให้มีการสอบ ๒ ภาค คือ ภาคทฤษฎี และภาคปฎิบัติ โดยกำหนดวันและเวลาสอบดังนี้
          7.1    สอบภาคทฤษฎี
                       วันที่ ....เมษยน พ.ศ. ....
                       สอบประเภทเวชกรรมไทย เวลา 09.00-12.00 น. และ เวลา 13.30-16.30 น.วันที่ ....เมษายน พ.ศ. ....
                       สอบประเภทเภสัชกรรมไทย เวลา 09.00-12.00 น.
                       สอบประเภทผดุงครรภ์ไทย เวลา 13.30-16.30 น.
          7.2    สอบภาคปฎิบัติ ให้ผู้ที่สอบผ่านการสอบภาคทฤษฎีไปสอบภาคปฎิบัติ ณ สนามสอบที่กำหนดไว้ดังนี้
                       7.2.1   ประเภทผดุงครรภ์ไทย  สอบประมาณเืดือนมิถุนายน พ.ศ. ... ณ สนามสอบกรุงเทพมหานคร
                       7.2.2   ประเภทเวชกรรมไทย สอบประมาณเดือน มิถุนายน พ.ศ. .... ณ สนามสอบ กรุงเทพมหานคร
                       7.2.3   ประเภทเภสัชกรรมไทย สอบประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ.... ณ สนามสอบกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค
      
     ข้อ 8. สถานที่สอบ
              กำหนดเขตการสอบภาคทฤษฎี สาขาการแพทย์แผนไทย แบ่งเป็น 12 เขต โดย กำหนดสถานที่สอบไว้ดังนี้
              8.1   ส่วนกลาง สอบที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สำหรับ ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบหรือยื่นสมัครสอบ ณ กรุงเทพ มหานคร และผู้ที่อยู่ในเขต 1 จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสมุทรปราการ
              8.2   ส่วนภูมิภาค สอบที่จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของแต่ละเขต ซึ่งคณะกรรมการสอบแต่ละเขตจะกำหนด สถานที่สอบและแจ้งให้ผุ้มีสิทธิ เข้าสอบ ในเขตของตนได้ทราบต่อไปตามข้อ 9
     
     ข้อ 9.   เขตจังหวัดที่เป็นสถานทีสอบมีดังนี้
               9.1   เขต 2 จังหวัดลพบุรี เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบ ซึ่งมีภูมิลำเนา หรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัด ลพบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสรุบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสุพรรณบุรี
               9.2   เขต 3 จังหวัดชลบุรี  เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภุมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัด ชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว
               9.3   เขต 4  จังหวัดนครปฐม เป็นเขตสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัด นครปฐม จังหวัดกาญจน บุรี จังหวัีดประจวบคีรีขันธ์  จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุครสาคร
               9.4   เขต 5 จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดมหาสารคาม
               9.5   เขต 6  จังหวัดขอนแก่น  เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดขอนแก่น จังหวัด กาฬสินธุ์ จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย และจังหวัดหนองบัวลำภู
               9.6   เขต 7  จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเขตสอบสำหรับผุ้มีสิทธิเข้าสอบ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดนครพนม จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร
               9.7   เขต 8  จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเขตสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัด ตาก จังหวัดสุโขทัย  จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดอุทััยธานี
               9.8   เขต 9  จังหวัดพิษณุโลก เป็นเขตสอบสำหรับผุ้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัด พิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดน่าน
               9.9   เขต 10  จังหวัดเชียงใหม่  เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนา หรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
               9.10  เขต 11  จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเขตสอบสำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนาหรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัด นครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่
               9.11   เขต12  จังหวัดสงขลา  เป็นเขตสอบสำหรับผุ้มีสิทธิเข้าสอบซึ่งมีภูมิลำเนา หรือยื่นสมัครสอบ ณ จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลา และจังหวัดสตูล
     
     ข้อ 10.   ผุ้เข้าสอบต้องนำใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการสอบ และบัตรประจำตัวสอบ หรือบัตรประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ ไปแสดงต่อกรรมการในวันสอบ มิฉะนั้น อาจไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ
     ข้อ 11.   ให้กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนันสนุนบริการสุขภาพ จัดทำส่งบัญชีรายชื่อผุ้มีสิทธิ์เข้าสอบ ไปให้ประธานคณะกรรมการ ก่อนกำหนดการสอบพอสมควร เพื่อตรวจสอบผุ้มีสิทธิเข้าสอบในวันสอบ ถ้าไม่มีชื่อในบัญชีผุ้เข้าสอบไม่อนุญาตให้เข้าสอบ
     ข้อ 12.   ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นเขตการสอบ กำหนดและจัดเตรียมสถานที่สอบ และแจ้งสถานที่สอบไปให้จังหวัดต่างๆ ที่จะ มารวมสอบในเขตการสอบของตนตามระเบียบข้อ 9 ทราบล่วงหน้าพอสมควร
     ข้อ 13.   ให้เจ้าหน้าที่กองการประกอบโรคศิลปะซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ เป็นผุ้นำซองข้อสอบไปยังสนามสอบ ณ เขตการสอบ ตลอดจนประสานงาน เกี่่ยวกับการดำเนินการสอบจนแล้วเสร็จ
     ข้อ 14.   ให้คณะกรรมการจัดทำแผนที่นั่งผุ้เข้าสอบตามลำดับหมายเลขตามเลขที่ประจำตัวผุ้เข้าสอบ ซึ่งกองการประกอบโรคศิลปะ ได้กำ หนด และนำบัญชีรายชื่อผุ้เข้าสอบแสดงไว้ ที่หน้าห้องสอบ ก่อนถึงกำหนดเวลาการสอบ ให้กรรมการเรียกชื่อผุ้เข้าสอบนั่งตามลำดับหมายเลข ผุ้เข้าสอบที่ไม่เข้าสอบ หรือไม่มาสอบ ให้เว้นที่นั่งนั้นไว้โดยไม่จัดผู้ใดไปนั่งแทน และห้ามมิให้ผุ้เข้าสอบนั่งนอกเหนือจากแผนผัง ไม่ว่ากรณี ใดๆทั้งสิ้น
     ข้อ 15.   ก่อนถึงกำหนดเวลาสอบ ให้คณะกรรมการตรวจความเรียบร้อยของซอง หรือกล่องบรรจุข้อสอบก่อน เมื่อเรียบร้อย ให้บันทึกและ ทำการเปิดซองหรือกล่องบรรจุข้อสอบ ต่อหน้าคณะกรรมการและตัวแทนผู้เช้าสอบอย่างน้อย 3 คน พร้อมกัน แล้วดำเนินการสอบทันที หากไม่ เรียบร้อย ให้บันทึกเหตุดังกล่าวไว้และให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการว่า จะให้ดำเนินการสอบหรือไม่
     ข้อ 16.   ก่อนแจกกระดาษคำถาม ให้กรรมการประกาศให้ผุ้เข้าสอบทุกคนได้ทราบว่า ห้ามทุจริตในการสอบไม่ว่าด้วยประการใดๆ เช่น การดูกันหรือบอกกัน เอาตำราเข้าห้องสอบหรือคัดลอกเข้าไปเป็นบางส่วน หรือมีผุ้เขียนส่งเข้าไป ๆลๆ ห้ามนำอุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสาร ทุกชนิดเข้าห้องสอบ หากมีการตรวจพบว่ามีการทุจริต เกิดขึ้น ให้กรรมการบันทึกไว้ในกระดาษคำตอบว่า "ทุจริต" ทันที และจะตัดสิทธิ์ ไม่ให้ เข้าสอบในวิชานั้น และวิชาต่อไปที่เหลือทุกวิชา โดยจะปรับตกทุกประเภท ทุกวิชา สำหรับการสอบในปีนี้
     ข้อ 17.   ถ้าผู้สมัครสอบมาถึงสนามสอบหลังจากเริ่มต้นการสอบวิชานั้นครึ่งชั่วโมงขึ้นไป ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบในวิชานั้น
     ข้อ 18.   ในกรณีผู้เข้าสอบทำข้อสอบเสร็จเรียบร้อย ต้องนั่งรอในห้องสอบจนกว่าจะครบสี่สิบห้านาที นับแต่คณะกรรมการๆ ให้เีิริ่มต้นการ สอบวิชานั้น
     ข้อ 19.   ห้ามผู้เป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้คุมเข้าสอบ
     ข้อ 20.   กระดาษสำหรับผู้เข้าสอบเขียนคำตอบให้ใช้กระดาษคำตอบที่กองประกอบโรคศิลปะจัดเตรียมมาให้สำหรับการสอบของแต่ละปี เท่านั้น และให้จ่ายกระดาษคำตอบให้ผู้เข้าสอบประเภทละ 1 ชุด ต่อคนเท่านั้น
     ข้อ 21.   ให้ผู้เข้าสอบเขียนชื่อตัว ชื่อสกุล รหัสเขตสอบ และเลขที่ประจำตัวสอบให้ชัดเจนด้วยตัวบรรจง บนหัวกระดาษคำถามหน้าแรก
                  สำหรับการสอบภาคทฤษฎี ให้ใช้ดินสอดำความเข้มอย่างน้อย 2 B ระบายรหัสเขตสอบและเลขที่ประจำตัวในช่องที่กำหนดไว้ ให้เต็มช่องและให้เซ็นชื่อในช่องเซ็นชื่อของกระดาษคำตอบด้วย
           สำหรับการสอบภาคปฎิบัติ ให้ผุ้เข้าสอบเขียนชื่ตัว ชื่อสกุล รหัสเขตสอบ และเลขที่ประจำตัวสอบให้ชัดเจน ด้วยตัวบรรจง บนหัวกระดาษคำตอบหน้าแรกและบนกระดาษคำตอบทุกแผ่น
     ข้อ 22.   เมื่อกรรมการดำเนินการแล้วเสร็จ ให้กรรมการอย่างน้อย 2 คน ลงชื่อกำกับในกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบทุกแผ่น กรณีข้อสอบอัตนัย ใ้ห้เซ็นชิดขอบบรรทัดล่างสุดของคำตอบ
     ข้อ 23.    ให้คณะกรรมการเก็บกระดาษคำถามคืน พร้อมตรวจนับให้ครบจำนวจและทำลายตามระเบียบงานสารบรรณ และรวมรวม เอกสารที่เกี่ยวกับการสอบดังต่อไปนี้ เข้าห่อผนึกและลงชื่อกรรมการที่ห่อผนึกนั้นคือ
                      (1)  กระดาษคำตอบ แยกตามรายวิชา แยกจังหวัด และเรียงลำดับชื่อตามบัญชี
                      (2)  บัญชีรายชื่อซึ่งมีลายเซ็น ผู้เข้าสอบ เรียงลำดับชื่อตามบัญชี
     ให้ประธานคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ ผุ้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากประธานกรรมการ นำห่อผนึกดังกล่าวในวรรคแรกส่งให้ กองการประกอบโรคศิลปะด้วยตนเองโดยด่วนที่สุด ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้ค้างคืน ขอให้จัดส่งในวันรุ่งขึ้นเป็นอย่างช้า ในกรณีนี้ให้แจ้งคณะ กรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ทราบด้วยว่าล่าช้า เพราะเหตุใด ลงในซองคำตอบ แล้วให้เขียนบนซองว่า " ลับมาก-ด่วนมาก"
     ข้อ 24.   ผู้เข้าสอบผุ้ใดไม่ปฎิบัติตามระเบียบหรือปฎิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ด้วยประการใดๆ คณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย จะไม่พิจาณากระดาษคำตอบทุกวิชา และให้ถือว่าผู้เข้าสอบนั้นสอบตก
     ข้อ 25.   ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ เป็นผุ้รักษาการตามระเบียบนี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ....เดือน.........พ.ศ......

ลงชื่อ ..........................................
( ......................................)
ประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
  
      

 


คำแนะนำ และข้อปฎิบัติในการสอบ

1.     โปรดตรวนนับกระดาษข้อสอบ ให้ครบก่อนลงมือทำข้อสอบ
2.    ข้อสอบมีจำนวน 100 ข้อ ๆละ 1 คะแนน เป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
3.   เขียนชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวสอบทุกหน้า ด้วยปากกา
4.   เขียนชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวผู้สอบ วิชาที่สอบ วัน เวลาและสถานที่สอบในกระดาษคำตอบด้วยปากกา
5.   ให้ตอบใน กระดาษคำตอบ ที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น
6.   ระบายรหัสประจำตัวสอบ (เลข 10 ตัว) ในช่องวงกลมแถวที่  1-10 ด้วยดินสอ 2B
7.   การระบายรหัสประจำตัวผู้สอบและคำตอบ ให้ใช้ดินสอดำชนิด 2B หรือมากกว่า ระบายลงในวงกลม ที่ต้องการให้เต็ม เมื่อต้องการแก้ไข คำตอบ ให้ใช้ยางลบดินสอลบออกให้สะอาดก่อน แล้วจึงระบายลงในวงกลมที่ต้องการใหม่ ห้ามใช้วิธีขีดฆ่าหรือทำให้เกิดรอยขูดขีดบนกระดาษ คำตอบ
8.   เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว ให้ยกมือเพื่อแจ้งให้กรรมการคุมสอบมาเก็บกระดาษข้อสอบและกระดาษคำตอบตรงที่นั่งสอบ ห้ามนำข้อสอบออก นอกห้องสอบโดยเด็ดขาด
9.   ผู้เข้าสอบจะต้องอยู่ในห้องสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 45 นาที นับแต่เริ่มดำเนินการสอบ จึงจะอนุญาตให้ออกจากห้องสอบได้
10. ห้ามนำเอกสารและอุปกรณ์การสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ เว้นแต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ ได้แก่ ปากกา ดินสอ และยางลบ หากผุ้สอบนำ อุปกรณ์การสื่อสารติดตามตัว จะต้องปิดเครื่องมืด หรืออุปกรณ์การสื่อสารทุกชนิด และห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารในขณะทำการสอบ ผุ้ใดฝ่าฝืน จะปรับตกในวิชานั้นทันที
11. หากผุ้เข้าสอบผุ้ใดกระทำการทุจริตในการสอบ คณะอนุกรรมการจัดสอบความรู้ๆ จะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและปรับตกในวิชานั้นทันที

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  โปรดระมัดระวังการระบายรหัสประจำตัวผู้สอบในกระดาษคำตอบ ให้ถูกต้องและตรงกับรหัสประจำตัวที่เขียนไว้ และระบายคำตอบให้ดำทึบ เต็มช่องที่กำหนดให้สะอาดเรียบร้อย

การไม่ปฎิบัติตามคำแนะนำข้างต้นนี้ อาจทำให้ไม่ได้รับการตรวจกระดาษคำตอบ

 



                                       คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย                                        

การสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทยเวชกรรมไทย
ประจำปี พ.ศ.2545

 

ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย 1

สอบวันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ.2545
เวลา 9.00 - 12.00 น.

คำชี้แจง

     1.   โปรดตรวนนับกระดาษข้อสอบให้ครบก่อนลงมือทำข้อสอบ ( มีจำนวน 20 หน้า)
      2.   ข้อสอบมีจำนวน 100 ข้อๆละ 1 คะแนน เป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
      3.   เขียน ชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวผู้สอบในข้อสอบทุกหน้า ด้วยปากกา
      4.   เขียนชื่อ-สกุล รหัสประจำตัวผุ้สอบ วิชาที่สอบ วัน เวลาและสถานที่สอบในกระดาษคำตอบ ด้วยปากกา
      5.   ให้ตอบในกระดาษคำตอบ ที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น
      6.   ระบายรหัสประจำตัวผู้สอบ (เลข 8 ตัว) ในช่องวงกลมแถวที่ 1-8 ด้วยดินสอ 2B
      7.   ระบายรหัสชุดวิชา ลงในช่องรหัสชุดวิชา เช่น ชุดวิชา ก  ให้ระบายลงในช่องที่ 1 เลข 1 ด้วยดินสอ 2B ชุดวิชา ข ให้ระบายลงในช่อง             เลขที่่ 1 เลข 2 ด้วยดินสอ 2B
      8.   ระบายรหัสประจำตัวผุ้สอบและคำตอบ ให้ใช้ดินสอดำ 2B หรือมากกว่า ระบายลงในวงกลมที่ต้องการให้เต็ม เมื่อต้องการแก้ไขคำตอบ             ให้ใช้ยางลบดินสอลบออกให้สะอาดก่อน แล้วจึงระบายลงในวงกลมที่ต้องการใหม่ ห้ามใช้วิธีขีดฆ่าหรือทำให้เกิดรอยขูดขีดบน             กระดาษคำตอบ
      9.   เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้ว ให้ยกมือเืพื่อแจ้งให้กรรมการคุมสอบมาเก็บกระดาษข้อสอบและกระดาษคำตอบตรงที่นั่งสอบ ห้ามนำข้อสอบ             ออกนอกห้องสอบโดยเด็ดขาด
      10. ผุ้เข้าสอบจะต้องอยู่ในห้องสอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง นับแต่เิริ่มดำเนินการสอบ จึงจะอนุญาตให้ออกจากห้องสอบได้
      11. ห้ามนำเอกสารและอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ เว้นแต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ ได้แก่ ปากกา ดินสอ และยางลบ หากผุ้สอบ              นำอุปกรณ์ การสื่อสารติดามตัว จะต้องปิดเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การสื่สารทุกชนิด และห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารในขณะทำการสอบ              ผุ้ใดฝ่าฝืน จะปรับตกในวิชานั้นทันที
      12. หากผุ้เข้าสอบผุ้ใดกระทำการทุจริตในขณะสอบ คณะอนุกรรมการจัดสอบความรู้ๆ จะไม่ตรวจกระดาษคำตอบและปรับตกในวิชาที่              สอบทันที

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โปรดระมัดระวังการระบายรหัสประจำตัวผุ้สอบในกระดาษคำตอบให้ถูกต้องและตรงกับรหัสประจำตัวที่เขียนไว้
และระบายคำตอบให้ดำทึบเต็มช่องที่กำหนดให้สะอาดเรียบร้อย

การไม่ปฎิบัติตามคำชี้แจงนี้อาจทำให้ไม่ได้รับการตรวจกระดาษคำตอบ

 

 

คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย 1
วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ.2545 เวลา 09.00 - 12.00 น.

ชื่อ - นามสกุล.....................................................................................รหัสประจำตัวสอบ......................................

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ข้อ 1.     การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาติมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
                  1.   การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
                  2.   การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
                  3.   การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
                  4.   การโฆษณายาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
ข้อ 2.     นายโชคขายสมุนไพรที่เข้าเมล็ดสลอดทั้งๆที่ยังอยู่ในลักษณะที่ยังไม่แปรสภาพ แต่อาจถูกจับข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้              เพราะ
                 1.   ขายยาโบราณที่เป็นอันตราย
                 2.   นายโชคไม่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
                 3.   ขายยาตำรับอันตราย
                 4.   ขายยาสมุนไพรที่เป็นอันตราย
ข้อ 3.     ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์              เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ของผู้อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบ              อนุญาติ
                 1.   15 วัน
                 2.   20 วัน
                 3.   25 วัน
                 4.   30 วัน
ข้อ 4.     ผู้ใดผลิตยาปลอมต้องระวางโทษสถานใด
                1.   จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงห้าหมื่นบาท
                2.   จำคุกตลอดชีวิต
                3.   จำคุกห้าปีและปรับห้าหมื่นบาท
                4.   จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
ข้อ 5.     ผู้รับอนุญาตผลิตยาหรือขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่เป็นการขายส่งจะมีโทษสถานใด
                1.   ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสามพันบาท
                2.   ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามพันบาท
                3.   ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
                4.   ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ 6.     การกระทำในข้อใดที่ผู้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการเสมือนการขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
                1.   เปลี่ยนตัวผุ้ดำเนินการสถานพยาบาล
                2.   เปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาต
                3.   เปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลใหม่
                4.   ย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น
ข้อ 7.     ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่งมีโทษประการใด
               1.   จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               2.   จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               3.   จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               4.   ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ 8.     เมื่อท่านเป็นผู้ป่วย และเข้าไปรักษาในคลินิคแพทย์ สิ่งสำคัญที่ท่านควรจะต้องตรวจสอบในคลินิคนั้นคืออะไร
               1.   ป้ายชื่อคลินิคตรงกับชื่อแพทย์หรือไม่
               2.   ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
               3.   วุฒิบัตรแสดงความรู้หรือคุณวุฒิของแพทย์
               4.   อุปกรณ์การแพทย์รวมทัั้งเวชภัณฑ์
ข้อ 9.     สมศรีมีความประสงคืจะขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาล แต่ผุ้อนุญาตไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ สมศรีควรทำอย่างไร
               1.   อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรววสาธารณสุข
               2.   อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
               3.   อุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี
               4.   อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสถานพยาบาล
ข้อ10.    อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตรงตามข้อใด
               1.   ฉบับละ 2,000 บาท
               2.   ฉบับละ 1,000 บาท
               3.   ฉบัีบละ 500 บาท
               4.   ฉบับละ 200 บาท
ข้อ 11.   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัีฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 8(2) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 นั้น นอกจากการ              พ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว พ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
               1.   ขาดคุณสมบัติ
               2.   ลาออก
               3.   รัฐมนตรีให้ออก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
               4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 12.   กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกรรมการวิชาชีพที่ได้รับเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้ง หรือ              เลือกตั้งอีกได้
               1.   สองปี
               2.   สามปี
               3.   สี่ปี
               4.   ห้าปี
ข้อ 13.   การกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ทำคำชี้แจง หรือนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อ คณะอนุกรรมการวิชาชีพ ผุ้สอบ               สวนความผิดของตนได้ ภายในกำหนดระยะเวลากี่วัน
               1.   10 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
               2.   15 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
               3.   20 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
               4.   30 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง
ข้อ 14.    ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
               1.   เสนอความเห็นต่อคณะรัรฐมนตรีในการกำหนดนโยบาย
               2.   ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการวิชาชีพ
               3.   พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นที่ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
               4.   รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 15.    คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 มีจำนวน
               1.   ไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
               2.   ไม่น้อยกว่า 13 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
               3.   ไม่น้อยกว่า 14 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
               4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 16.    นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้น               ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้านาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน นาย ก. จะถูกลงโทษ               อย่างไร
                1.   อาจถูกจำคุกหรือปรับ
                2.   ถูกยึดทรัพย์เรียกค่าตอบแทนที่เคยได้รับ
                3.   ถูกว่ากล่าวตักเตือน
                4.   ทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว
ข้อ 17.    ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษไม่ยอมรับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้ทำอย่างไร
                1.   ให้ปิดคำวินิจฉัยไว้ในที่เปิดเผย ณ ภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา
                2.   ใ้ห้ส่งทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับ
                3.   ให้ลงประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวัน
                4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 18.    ผู้ประกอบโรคศิลปะผุ้ใดฝ่าฝืน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและศาลพิพากษาลงโทษคดีประกอบโรคศิลปะผิดสาขา คดีได้ถึงที่สุดแล้ว ให้                คณะกรรมการวิชาชีพ สั่งเพิกถอนใบอนุญาติตั้งแต่เมื่อไร
                1.   ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
                2.   ตั้งแต่วันที่ทราบว่ากระทำความผิด
                3.   ตั้งแต่วันที่สั่งพักใบอนุญาต
                4.   ตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารฟ้องศาล
ข้อ 19.    พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเมื่อใด
                1.   ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                2.   ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                3.   ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
                4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 20.   ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขา เลือกกรรมการวิชาชีพเป็น                ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ
                 1.   ยี่สิบวัน
                 2.   ยี่สิบห้าวัน
                 3.   สามสิบวัน
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 21.    ที่เกิดโลหิตระดูของสตรีเื่มื่อจะมีมาให้ดุจไข้จับร้อนๆหนาวๆ ปวดศีรษะมากข้อใดถูกต้อง
                1.   โลหิตระดูเกิดเมื่ออายุ 15 ปี
                2.   โลหิตระดูเกิดเืมื่อร้อนตามผิวหน้า
                3.   โลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น
                4.   โลหิตระดูบังเกิดแต่การเจ็ฐบั้นเอวบ่อยๆ
ข้อ 22.    พระคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้่วยสตรีภาพ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา มีกายแตกต่างจากชายอย่างไร
                1.   มีระดู เป็นประจำทุกเดือน
                2.   มีประจำเดือนครั้งละ 3-5 วัน
                3.   มี ถัน จริต ที่ประเวณี และต่อมโลหิตระดู
                4.   มีกำลังกายอ่อนแอกว่าชาย มีความอ่อนหวาน
ข้อ 23.   เมื่อจะมีระดูมาให้มีอาการ กระทำให้ท้องขึ้นท้องพองจุกเสียด ตัวร้อน คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า เป็นลักษณะโลหิตอันบังเกิดจาก               กองธาตุใด
                1.   ปถวีธาตุ
                2.   อาโปธาตุ
                3.   วาโยธาตุ
                4.   เตโชธาตุ
ข้อ 24.    อาการปราำกฎ เมื่อจะใกล้มีระดูมา ให้เป็นไข้จับ ให้สบัดร้อนสบัดหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ครั้นมีระดูออกมาแล้่ว อาการก็หายไป               เป็นโลหิตระดูในข้อใด
                1.   เกิดแต่หัวใจ
                2.   เกิดแต่ขั้วดี
                3.   เกิดแต่เส้นเอ็น
                4.   เกิดแต่กระดูก
ข้อ 25.    ข้อใดเป็นชื่อของหญิงที่มีน้ำนมเป็นโทษแก่ทารก โดยหญิงนั้นมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างเนื้อ
                1.   กาลกิณี
                2.   ยักขินี
                3.   หัสดี
                4.   หรดี
ข้อ 26.    ข้อใดไม่ใช่ลักษณะน้ำนมพิการในหญิง 3 จำพวก
                1.   สตรีแท้งบุตร
                2.   สตรีระดูขัด
                3.   สตรีอยู่ไฟไม่ได้
                4.   สตรีมีครรภ์อ่อน
ข้อ 27.    ครรภ์วิปลาศ สาเหตุที่ทำให้สตรีทั้งครรภ์ตกไป (แท้งบุตร) เกิดจากสาเหตุใด
                1.   ทำงานหนักเกินกำลัง
                2.   พักผ่อนไม่เพียงพอ
                3.   กินของทีไม่ควรกินหรือกินยาขับโดยตั้งใจ
                4.   ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเพิ่ม
ข้อ 28.    คัมภีร์ปฐมจินดากำหนดโลหิตระดูสตรีที่เป็นปกติโทษ 5 ประการ คือ
                1.   โลหิตบังเกิดมาแต่หัวใจ ดี เนื้อ เอ็นและกระดูก
                2.   โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย มังสัง ดี เส้นเอ็น และกระดูก
                3.   โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย ดี เนื้อ เอ็น และนหารู
                4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 29.    ในคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวไว้ว่า สัตว์ที่ปฎิสนธิในชมพูทวีปมีหลายสถาน อยากทราบว่า " สัตว์ที่เกิดเป็นฟองฟักไข่ " นั้นมีชื่อเรียกว่า               อะไร ?
                 1.   ชลามพุชะ
                 2.   สังเสทชะ
                 3.   อุปปาติกะ
                 4.   อัณฑะชะ
ข้อ 30.    เมื่อสัตว์ในครรภ์ปฎิสนธิครบ 1 สัปดาห์ จะพัฒนาเป็น
                 1.   ดังไข่งู
                 2.   น้ำล้างเนื้อ
                 3.   ชิ้นเนื้อ
                 4.   ปัญจสาขา
ข้อ 31.    ลักษณะซาง ซางนิลเกิดในกระหม่อม แล้วลงมาเกิดขึ้นในเพดาน มีจำนวนยอดตามข้อใด ?
                 1.   1 ยอด
                 2.   3 ยอด
                 3.   4 ยอด
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 32.    ลักษณะแห่งน้ำนมแม่ที่ดี สมควรเลี้ยงกุมาร กุมารี คือข้อใด ?
                 1.   หญิงที่มีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ
                 2.   หญิงที่มีกลิ่นตัวดังดอกอุบล
                 3.   หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ
                 4.   หญิงที่มีกลิ่นตัวเปรี้ยว
ข้อ 33.    สตรีตั้งครรภ์ขึ้นได้ 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนก็ดี จะแสดงอะไรให้ปรากฎแก่คนทั้งหลาย
                 1.   มีเส้นผ่านหน้าอกเขียว
                 2.   เม็ดรอบหัวนมโตขึ้น
                 3.   หัวนมดำคล้ำขึ้น
                 4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 34.    คัมภีร์มุขโรคได้กล่วถึงโรคอะไรบ้าง ?
                 1.   โรคที่เกิดขึ้นในปากในคอ
                 2.   โรคที่เกิดขึ้นในตา
                 3.   โรคที่เกิดขึ้นในท้อง
                 4.   โรคที่เกิดขึ้นในจมูก
ข้อ 35.    ชื่อ กาละมุขะ ในคัมภีร์มุขโรค มีลักษณะอย่างไร
                 1.   ลิ้นโตมันสีเขียว
                 2.   ลิ้นโตดำ
                 3.   บวมขึ้นใีนคอ
                 4.   บวมทั้งคอ
ข้อ 36.    ทำให้กายคนไข้แข้งกระด้าง ตึงชา เนื้อหนังเหี่ยว แข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษกัฎมุขขบตอด ธาตุใด้พิการ
                 1.   เป็นพราะปถวีธาตุพิการ
                 2.   เป็นเพราะอาโปธาตุพิการ
                 3.   เป็นเพราะเตโชธาตุพิการ
                 4.   เป็นเพราะวาโยธาตุพิการ
ข้อ 37.    มุขโรคเกิดจากอะไร
                 1.   เกิดจากน้ำลาย
                 2.   เกิดจากลม
                 3.   เกิดจากโลหิต
                 4.   เกิดจากทุกสิ่งที่อยู่ในปาก
ข้อ 38.    กาฬที่ทำพิษให้สลบ ถ้าไม่รู้ถึงโรคสำคัญว่าลมจับ ถ้าสงสัยให้เอาเทียนส่องดู คือกาฬอะไร
                 1.   กาฬแม่ตะงาว
                 2.   กาฬฟองสมุทร
                 3.   กาฬตะบองพะลำ
                 4.   กาฬตะบองชนวน
ข้อ 39.    บ้อใดที่กล่าวถึงชื่อและอาการไม่ถูกต้อง
                 1.   สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วนจะเป็นแผลบริเวณศีรษะ รักษาอย่างไรก็ไม่หาย
                 2.   สันนิบาตทุวันโทษ จะปัสสาวะเหลือง
                 3.   สันนิบาตเจรียงอากาศจะปัสสาวะเหลืองดุจน้ำกรักอันแก่
                 4.   สันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะจะขัดปัสสาวะ
ข้อ 40.    ไข้งูสวัด(ตวัด) มีลักษณะการผุดอย่างไร
                 1.   ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทรายขึ้นมาเป็นแถวๆ มีสัณฐานเหมือนงู เป็นเม็ดพองๆ เป็นเงาหนอง ถ้าหญิงเป็นซาย ชายเป็นขวา
                 2.   ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทราบทั่วทั้งตัว มียอดแหลมๆสีดำๆ
                 3.   ผุดขึ้นมาเป็นฝีดาษทั่วทั้งตัว ทำพิษให้สลบ
                 4.   ถูกหมดทุกข้อ
บ้อ 41.    ไข้ใดมีอาการขมในปาก อยากกินแต่ของแสลง เนื้อสั่นระริก และเสียวไปทั้งตัว จุกเสียดบิดขี้เกียจ ยอกเสียดในอก ร้อนรุ่มกลุ้มใจ                หายใจขัดเพราะในท้องมีก้อน อาการดังกล่าวนี้เป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ไข้เพื่อดี
                  2.   ไข้เพื่อลม
                  3.   ไข้เพื่อกำเดา
                  4.   ไข้เพื่อโลหิต
ข้อ 42.    ไข้ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนแต่น้ำลาย เป็นไข้อะไร
                  1.   ไข้ที่เกิดจาดเลือด
                  2.   ไข้ที่เกิดจากเลือดและลม
                  3.   ไข้ที่เกิดจากเลือดลมและน้ำเหลือง
                  4.   ไข้ที่เกิดจากเลือดลม, น้ำเหลืองและเสมหะ
ข้อ 43.   ไข้มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้น คางแข็ง ปากแห้ง               น้ำลายหนียว ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของไข้อะไร
                  1.   กำเดาสมุำฎฐาน
                  2.   เสมหะสมุฎฐาน
                  3.   โลหิตสมุำฎฐาน (ไข้เพื่อโลหิต) 
                  4.   ถูกทุกข้อ
ข้อ 44.    ไข้มีอาการให้ปวดศีรษะมาก ให้ตาแดง ตัวร้อนเป็นเปลว ให้ไอ สะบัดร้อนสะท้านหนาว ใ้ห้ปากแห้ง คอแห้ง เพดานแห้ง ฟันแห้ง               ให้เซื่อมมัว ให้เมื่อยไปทั้งตัว จับไม่เป็นเวลา บางทีผุดขึ้นเป็นเม็ด บางทีให้ไอเป็นโลหิตออกทางจมูก ทางปาก บางทีใ้ห้ชักเท้ากำ มือ               กำ เป็นอาการของไข้อะไร
                  1.   ไข้กำเดาน้อย
                  2.   ไข้กำเดาใหญ่
                  3.   ไข้หวัดน้อย
                  4.   ไข้หวัดใหญ่
ข้อ 45.    ไข้ลำประชวร นัยน์ตาขุ่นคล้ำและมัว เป็นไข้เพื่ออะไร
                  1.   ลม
                  2.   ดี
                  3.   กำเดา
                  4.   เสมหะ
ข้อ 46.    คัมภีร์ตักศิลา เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงลักษณะอาการการรักษาไข้พิษไข้กาฬต่างๆ โดยกำหนดฝีกาฬ จัดแบ่งได้กี่ชนิด ?
                  1.   4 ชนิด
                  2.   5 ชนิด
                  3.   6 ชนิด
                  4.   7 ชนิด
ข้อ 47.    ชื่อใดเป็นชื่อไข้ประดง(ไข้กาฬแทรกไ้ข้พิษ)
                  1.   ไข้ประดงช้าง, ม้า, วัว, ควาย
                  2.   ไข้ประดงดิน,น้ำ,ลม,ไฟ
                  3.   ไข้ประดงเสือ,สิงห์,กระทิง,แรด
                  4.   ไข้ประดงมด,แมว,ลิง,แรด
ข้อ 48.    ในคัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ ได้กล่าวถึงสันนิบาตชนิดหนึ่ง เมื่อจับแล้วมีอาการให้หน้าเหลืองดุจทาขมิ้น ฝ่ามือฝ่าเท้าเหลือง               เวียนศีรษะ แสบตา กระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง คืออาการสันนิบาตชนิดใด
                  1.   สันนิบาตบังเกิดพื่อเสมหะ
                  2.   สันนิบาตเจรียงพระสมุทร
                  3.   สันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะ
                  4.   สันนิบาตเจรียงอากาศ
ข้อ 49.    มีลักษณะผุดขึ้นมาเป็นแผ่นสีแดง ทำพิษให้ปวดศีรษะ เซื่อมมัว จับสะท้านร้อน สะท้านหนาว ตรงกับไข้อะไร
                  1.   ไข้งูสวัด
                  2.   ไข้เริมน้ำค้าง
                  3.   ไข้ลำบาบเพลิง
                  4.   ไข้กำแพงทะลาย
ข้อ 50.    มีลักษณะผุดขึ้นมาเหมือนตาปลา ทำให้ปวดแสบปวดร้อน เรียกว่าประดงชนิดใด
                  1.   ประดงลิง
                  2.   ประดงแมว
                  3.   ประดงแรด
                  4.   ประดงไฟ
ข้อ 51.    ยารักษาไข้พิาไข้กาฬที่แพทย์แผนโบราณนิยมใช้กันมากใช้ยาอะไร ?
                 1.   ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง
                 2.   รากชิงชี่ รากหญ้านาง รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร
                 3.   ใบย่านาง ใบมะขาม เถาวัลย์เปรียง รากฟักข้าว ข้าวสาร
                 4.   ใบมะยม ใบคนทีสอ ใบมะนาว ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย
ข้อ 52.    ลักษณะของไข้วันเวลาที่ไข้กำเริบมีกำลังวันเท่าใด
                 1.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 9 วัน, โลหิตกำเริบ 8 วัน,ลมกำเริบ 12 วัน
                 2.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 8 วัน, โลหิตกำเริบ 9 วัน, ลมกำเริบ 12 วัน
                 3.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 9 วัน, โลหิตกำเริบ 7 วัน, ลมกำิเริบ 13 วัน
                 4.   กำเดากำเริบ 4 วัน, เสมหะกำเริบ 7 วัน, โลหิตกำเริบ 9 วัน, ลมกำเริบ 13 วัน
ข้อ 53.   ลักษณะไข้ ทุวันโทษ มีอาการหนาว ต่อมาจะรู้สึกร้อน(ร้อนๆ หนาวๆ) วิงเวียน เหงื่อไหล ปวดหัว นัยน์ตามัว เบื่ออาหาร               เป็นทุวันโทษ ไข้ประเภทใด ?
                 1.   ลมและกำเดา
                 2.   ลมและเสมหะ
                 3.   กำเดาและเสมหะ
                 4.   กำเดาและโลหิต
ข้อ 54.   ลักษณะไข้มีอาการเร่าร้อน กระหายน้ำ กลางคืนนอนหลับไม่สนิท จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อตก หน้าเหลือง อาเจียนเป็นสีเหลือง               มีโลหิต นัยน์ตาแดงจัด เป็นไข้ตรีโทษอะไร
                 1.   ตรีโทษ โลหิต เสมหะและกำเดา
                 2.   ตรีโทษ เสมหะ กำเดาและลม
                 3.   ตรีโทษ กำเดา โลหิตและลม
                 4.   ผิดหมดทุกข้อ
ข้อ 55.    ลักษณะผุดขึ้นตามตัวขนาดเท่าผลปลัง เมล็ดถั่วดำ เมล็ดถั่วเขียว หรือเมล็ดจิงจ้อ มีเงาหนอง ตรงตามข้อใด
                 1.   กาฬทาม
                 2.   กาฬทูม
                 3.   กาฬละลอกแก้ว
                 4.   ผิดทุกข้อ
ข้อ 56.    สันนิบาตสองคลอง สาเหตุเกิดจากป่วงอะไร
                 1.   ป่วงลิง
                 2.   ป่วงงู
                 3.   ป่วงลม
                 4.   ป่วงลูกนก
ข้อ 57.    อาการผุดขึ้นมาเหมือนผิวมะกรูด ทำพิษให้ปวดร้อน คัน เป็นอาการของไข้ประดงใด
                 1.   ไข้ประดงแรด
                 2.   ไข้ประดงช้าง
                 3.   ไข้ประดงแมว
                 4.   ไข้ประดงลิง
ข้อ 58.    การวิเคราะห์ลักษณะประเภทไข้ ไข้เพื่อเสมหะเอกโทษ คืออาการใด
                 1.   ให้หนาว ให้ร้อน ขนลุก แสยงขน จุกอก ให้หลับไหล กินไม่ได้ อ่อนแรง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าซีดเผือด ให้ปากหวาน ให้ราก
                 2.   ให้ปากขม ร้อนละเมอเพ้อคลั่ง ปวดศีรษะ อยากน้ำ กายเหลือง หน้าตาเหลือง ปัสสาวะแดง ให้ตึงแตกระแหง เป็นไข้
                 3.   ให้ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก หน้าตาแดง ปัสสาวะเหลืองๆ
                 4.   ให้ขนลุก ขนชัน หนาวสะท้าน ปวดศีรษะ เวียนหน้าตา มักโกรธง่าย เสียดแทงในอก กระหายน้ำ ท้องเป็นก้อน
ข้อ 59.    กาลเอกโทษเสมหะ เสมหะกระทำเต็มที่ไม่มีระคน ในข้อใด
                 1.   เวลา 07.00 - 08.00 น.
                 2.   เวลา 08.00 - 09.00 น.
                 3.   เวลา 09.00 - 10.00 น.
                 4.   เวลา 10.00 - 11.00 น.
ข้อ 60.    ไข้ใดมีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล เป็นเพราะถูกลม เสมหะมาทับระคน คนไข้เป็นอะไร
                 1.   ไข้เพื่อลมและเสมหะ
                 2.   ไข้เพื่อเสมหะและกำเดา
                 3.   ไข้เพื่อกำเดาและลม
                 4.   ไข้เพื่อโลหิตและลม
ข้อ 61.    ไข้เพื่อเสมหะ ท่านกำหนดไว้ว่ามีกี่องศา จึงจะเป็นสันนิบาต ?
                 1.   กำหนดไว้ 30 องศา
                 2.   กำหนดไว้ 15 องศา
                 3.   กำหนดไว้ 20 องศา
                 4.   ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 62.    ไข้สังวาลย์พระอินทร์ เป็นไข้พิษในข้อใด
                  1.   ไข้พิษไข้กาฬ 21 จำพวก
                  2.   ไข้กาฬแทรกไข้พิษ 8 จำพวก
                  3.   ไข้กาฬ 10 จำพวก
                  4.   ฝีกาฬในไข้พิษ 10 จำพวก
ข้อ 63.    คนไข้ผิวขาว โลหิตรสหวาน ใช้ยารสเผ็ดร้อน และขม เป็นการวิเคราะห์โรคตามวิธีใด
                 1.   เป็นการวิเคราะห์ตามการสังเกตุผิวกาย
                 2.   เป็นการวิเคราะห์ตามโหงวเฮ้ง
                 3.   เป็นการวิเคราะห์ตามโลหิตฉวี
                 4.   เป็นการวิเคราะห์ตามกระแสเลือด
ข้อ 64.    คนไข้มีอาการหนังสากชาไปทั้งตัว แม้แมลงวันจะจับหรือไต่ที่ตัวก็ไม่รู้สึก ให้แสบร้อนเป็นกำลัง สาเหตุอะไรพิการ
                 1.   เนื้อพิการ
                 2.  หนังพิการ
                 3.   ผมพิการ
                 4.   เอ็นพิการ
ข้อ 65.    คนไข้มีอาการให้เมื่อยขบขัดทุกข้อทุกกระดูก ให้ยกมือยกเท้าไม่ไหว เจ็บปวดเป็นกำลังเป็นอาการของลมอะไร
                 1.   ลมอโธคมาวาตาพิการ
                 2.   ลมอุทธังคมาวาตาพิการ
                 3.   ลมกุจฉิสยาวาตาพิการ
                 4.   ลมโกฎฐาสยาวาตาพิการ
ข้อ 66.    คนไข้อะไรพิการที่มีลักษณะอาการคือ บวมมือ บวมเท้า เป็นน้ำเหลืองตก ผอมแห้ง คือ
                 1.   เสมหะพิการ
                 2.   น้ำมูกพิการ
                 3.   มันเหลวพิการ
                 4.   ไขข้อพิการ
ข้อ 67.   เดือน 11, 12, และ 1  ทั้งสามเดือนนี้ อาหารที่กินมันผิดสำแดง อาโปธาตุพิการ มักให้ขึ้งโกรธ สะดุ้งตกใจ หวาดกลัว เกิดจากอะไร
                 1.   ดีพิการ
                 2.   เสมหะพิการ
                 3.   หนองพิการ
                 4.   โลหิตพิการ
ข้อ 68.   เตโชธาตุพิการ ให้เย็นในอก จุกเสียดขัดอก กระทำให้เกิดลม 6 จำพวก ลมในข้อใดไม่ใช่
                 1.   ลมอัสวาตะ
                 2.   ลมชิวหาสดมภ์
                 3.   ลมมหาสดมภ์
                 4.   ลมอนุวาตะ
ข้อ 69.   ธาตุ 4 เป็นตรีโทษ อาการให้ผอมเหลือง ซูบ เศร้าหมอง จุกอกเป็นก้อนในทรวงและท้องให้ราก สะอึก เรอ ใจสั่น หวานปาก อาเจียน              ร้อนอก ปวดศีรษะ เจ็บอก คันตัว ผุดแดงดังสีเสียด ไอเป็นดังหืด ตามัว เกิดกับธาตุใด
                 1.   ปถวีธาตุ
                 2.   อาโปุธาตุ
                 3.   วาโยธาตุ
                 4.   เตโชธาตุ
ข้อ 70.   ในคัมภีร์โรคนิทาน คำว่า มรณะด้วยโบราณโรค หมายถึงข้อใด
                 1.   สิ้นอายุปรโยสาน
                 2.   โอปักกะมิกาพาธ
                 3.   ธาตุดิน ขาดก่อน
                 4.   สิ้นลมหายใจเข้าออก
ข้อ 71.    ในสมุฎฐานฤดู 6 เฉพาะ เหมันตฤดู ข้อใดถูกต้องที่สุด
                 1.   พิกัดเสมหะสมุฎฐาน วาตะสมุฎฐานระคน
                 2.   พิกัดปิตตะสมุฎฐาน เสมหะสมุฎฐานระคน
                 3.   พิกัดวาตะสมุำฐาน ปิตตะสมุฎฐานระคน
                 4.   พิกัดปิตตะสมุฎฐาน วาตะสมุฎฐานระคน
ข้อ 72.    พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงลักษณะอาการของตรีโทษนั้น ข้อใด ไม่ใช่อาการของตรีโทษ
                 1.   ร้อนกระวนกระวาย
                 2.   ลงท้องเป็นมูกเลือด
                 3.   หายใจขัดทั้งเข้าออก
                 4.   ตัวเหลืองเหมือนทาขมิ้น
ข้อ 73.    พระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึง " อาหารผิดสำแดง" หมายความว่าอะไร
                 1.   อาหารไม่ถูกรสปาก
                 2.   อาหารไม่ถูกกับธาตุ
                 3.   อาหารบูดเน่า
                 4.   อาหารรสจัด
ข้อ 74.    พิกัดกองสมุฎฐาน ได้แก่อะไรบ้าง ?
                 1.   ธาตุสมุฎฐาน อายุสมุฎฐาน ฤดูสมุฎฐาน กาลสมุฎฐาน
                 2.   อายุสมุฎฐาน ฤดูสมุฎฐาน อาโปสมุฎฐาน กาลสุมฎฐาน
                 3.   วัยสมุำฎฐาน ธาตุสมุฎฐาน อายุสมุฎฐาน กาลสมุฎฐาน
                 4.   ปัถวีสมุำฐาน ฤดูสมุฎฐาน อายุสมุฎฐาน กาลสมุฎฐาน
ข้อ 75.     มีอาการให้ตัวเย็น และตัวขาวซีด สากชาไปทั้งตัว สวิงสวาย หากำลังมิได้ เป็นอาการของข้อใด
                 1.   เสโทพิการ
                 2.   อัสสุพิการ
                 3.   เมโทพิการ
                 4.   เขโฬพิการ
ข้อ 76.    มูลเหตุของการเกิดโรคตามคีมภีร์ธาตุวิวรณ์มีกี่ประการ
                  1.   4 ประการ
                  2.   6 ประการ
                  3.   8 ประการ
                  4.   10 ประการ
ข้อ 77.    เสมหะกำเริบในเวลาใด
                  1.   เวลาเที่ยงวัน อาหารยังไม่ย่อยยับ เวลาเที่ยงคืน
                  2.   เวลาเช้า บริโภคอาหารแล้ว เวลาพลบค่ำ
                  3.   เวลาบ่าย อาหารย่อยแล้ว เวลานอนหลับ
                  4.   เวลาบ่าย อาหารยังไม่ย่อย เวลาเที่ยงคืน
ข้อ 78.     ให้มีอาการดิ้นรน มือ เท้า ขวักไขว่่ ให้พลิกตัวไปๆมาๆ ให้ทุรนทุราย ให้หาวเรอบ่อยๆ คือธาตุใดพิการ
                  1.   อุทธังคมาวาตาพิการ
                  2.   อโธคมาวาตาพิการ
                  3.   อังคมัีงคานุสารีวาตาพิการ
                  4.   อัสสาสะปัสสาสะวาตาิพิการ
ข้อ 79.     อาการไ้ข้ต่อไปนี้ เป็นการแสดงออกของไข้ใด อาการปวดหัว ตัวร้อน หน้าแดง ตาแดง น้ำตาคลอ นัยน์ตาแดงดังโลหิต
                  1.   ไข้เพื่อโลหิต
                  2.   ไข้เพื่อกำเดา
                  3.   ไข้เพื่อเสมหะ
                  4.   ไข้เืพื่อดี
ข้อ 80.     อาการทำพิษให้เน่าเปื่อย ให้ขาดเป็นชิ้นๆ ดุจถูกงูพิษสัตถมุขขบกัด เป็นอาการของธาตุใดพิการ
                  1.   ปถวีธาตุ
                  2.   วาโยธาตุ
                  3.   เตโชธาตุ
                  4    อาโปธาตุ
ข้อ 81.     อาการให้คลุ้มคลั่งดุจเป็นบ้า ให้หิวโหยหาแรงไม่ได้ ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก เป็นอาการของอะไรพิการ
                  1.   ปิตตังพิการ
                  2.   หทยังพิการ
                  3.   นหารูพิการ
                  4.   เสมหังพิการ
ข้อ 82.     อาโปธาตุเมื่อขาดใป 11 ยังเหลืออะไรอยู่
                  1.   น้ำลายยังอยู่
                  2.   น้ำดียัีงอยู่
                  3.   โลหิตยังอยู่
                  4.   น้ำมูตรยังอยู่
ข้อ 83.     ในรัชสมัยใด ที่ทรงจัดสร้างรูปจุดนวดที่วัดกลาง จังหวัดสงขลา
                  1.   รัชกาลที่  1
                  2.   รัชกาลที่ 2
                  3.   รัชกาลที่ 3
                  4.   รัชกาลที่ 4
ข้อ 84.     ศิลาจารึกตำรับบาบนฝาผนังของวัดโพธิ์ จ้ดทำขึ้นในสมัยใด
                  1.   รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                  2.   รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                  3.   รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                  4.   รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ข้อ 85.     หมอที่หลงเชื่อว่ายาของตนดี รักษาไข้หายได้โดยไม่ตรวจอาการไข้ก่อนที่จะวางยา จัดว่าลุแก่อคติข้อใด
                  1.   ฉันทาคติ
                  2.   โทสาคติ
                  3.   ภยาคติ
                  4.   โมหาคติ
ข้อ 86.     ข้อใดคือพิกัดเบญจโลธิกะ
                  1.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์เทศ จันทน์ชะมด จันทนา
                  2.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์ชะมด เนระพูสี  มหาสดำ
                  3.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์ชะมด จันทนา เนระพูสี
                  4.   จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์เทศ จันทนา มหาสดำ
ข้อ 87.     คนไข้มีอาการ "ให้ลงท้อง ให้จุกเสียด ให้พะอืดพะอม ให้สะอึก" ท่านจะพิเคราะห์ว่าเป็นอะไร
                  1.   อันตังพิการ
                  2.   อันตคุณังพิการ
                  3.   อุทริยังพิการ
                  4.   กรีสังพิการ
ข้อ 88.    จำพวกสัตว์น้ำ มีสรรพคุณในการรักษานั้น ในข้อใดที่จะใช้รักษากระษัยปลาหมอ ดี แก้พยาธิกิน แก้ผมร่วงเป็นหย่อมๆช่วยให้ผมดำ
                  1.   ปลาช่อน
                  2.   ปลาหมอ
                  3.   ปลากระเบน
                  4.   ปลาพยูน
ข้อ 89.    เตโชธาตุ 4 อย่าง อย่างไรที่สำหรับร้อนระส่ำระสาย ต้องอาบน้ำ และพัดวี
                  1.   ปริณามัคคี
                  2.   ปริทัยหัคคี
                  3.   ชิรณัคคี
                  4.   สันตับปัคคี
ข้อ 90.     ธาตุดิน มีกี่ประการ
                  1.   20 ประการ
                  2.   21 ประการ
                  3.   22 ประการ
                  4.   อาจมากกว่านี้ก็ได้
ข้อ 91.    นกเป็นสัตว์ที่มีปีกบินไปมาได้ในอากาศ ถ้าจะปรุงยาแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้พิษตานซาง จะใช้นกใด
                  1.   นกนางแอ่น
                  2.   นกกาหรืออีกา
                  3.   นกกรด
                  4.   นกยูง
ข้อ 92.    น้ำมันไขข้อ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
                  1.   ปุพโพ
                  2.   ลสิกา
                  3.   วสา
                  4.   เสโท
ข้อ 93.    ผู้ป่วยที่อาการให้ขัดข้อมือข้อเท้า เป็นมองคร่อ คือปอดเป็นหวัด เกิดจาก
                  1.   สันตัปปัคคีพิการ
                  2.   ชิรนัคคีพิการ
                  3.   ปริทัยหัคคีพิการ
                  4.   ปริณามัคคีพิการ
ข้อ 94.    พิกัดจตุวาตผล คือการจำกัดจำนวนตัวยา 4 อย่าง เรียกว่า พิกัดจตุวาตผล ข้อใดถูก
                  1.   เหง้าขิง กระลำพัก อบเชยเทศ โกฐเชียง
                  2.   เหง้าขิง กระลำพัก โกฐหัวบัว ชะเอมเทศ
                  3.   เหง้าขิง อบเชยเทศ กระลำพัก โกฐหัวบัว
                  4.   เหง้าขิง โกฐหัวบัว อบเชยเทศ ชะเอมเทศ
ข้อ 95.    มัามในความหมายแพทย์แผนไทย หมายถึงข้อใด ?
                  1.   ยกนัง
                  2.   วักกัง
                  3.   ปัปผาสัง
                  4.   อันตัง
ข้อ 96.    เมื่อพิการให้อกแห้ง ให้กระหายน้ำ และเป็นโรค เช่นริดสีดวงผอมแห้ง ชื่อว่าอะไรพิการ
                  1.   ยกนัง
                  2.   กิโลมกัง
                  3.   ปิหกัง
                  4.   ปัปผาสัง
ข้อ 97.    ฤดู 3 หนึ่งปีแบ่งออกเป็น 3  ฤดูๆละ 4 เดือน วสันตฤดู นับตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด
                  1.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เืดือน 4 ถึง 15 ค่ำเืดือน 8
                  2.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเืดือน 8 ถึง 15 ค่ำเือน 12
                  3.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเืดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำเืดือน 4
                  4.   นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเืดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
ข้อ 98.    สัตว์น้ำ ที่มีสรรพคุณในการทำยาต่างๆ ได้ ถ้าจะใช้ทำยาขับเลือดเน่าร้าย หลังจากคลอดบุตร และขับน้ำคาวปลา ควรใช้อวัยวะของ                  สัตว์ชื่อใด
                  1.   ตะพาบน้ำ
                  2.   ปลากระเบน
                  3.   ปลาพะยูน
                  4.   ปลาวาฬ
ข้อ 99.    อวัยวะธาตุที่ทำหน้าที่ขับปัสสาวะออกจากร่างกาย เรียกว่าอะไร
                  1.   หทยัง
                  2.   ยกนัง
                  3.   ปิหกัง
                  4.   มัตถเกมัตถลุงคัง
ข้อ 100.  อาการทำให้ร้อนภายนอกภายใน มือเท้าเย็น เหงื่อออก เกิดจากธาตุใดพิการตรงกับข้อใด?
                  1.   ชิรณัคคีพิการ
                  2.   สันตัปปัคคีพิการ
                  3.   ปริทัยหัคคีพิการ
                  4.   ลมสุมนาพิการ


ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย2 ปี พ.ศ.2545
ย้อนกลับหน้าหลัก เวชกรรมไทย