ข้อ 1. การกระทำต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการ "ขาย" ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับที่มีผลบังคับในปัจจุบัน
1. การขายส่ง
2. การแจกยาเพื่อการค้า
3. การมีไว้เพื่อการขาย
4. ทั้งข้อ 1, ข้อ2, และข้อ 3
ข้อ 2. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาในกรณีใด
1. โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
2. โดยแสดงภาพของผู้ป่วย
3. โดยผ่านอินเตอร์เนท
4. โดยแสดงภาพและคำรับรองสรรพคุณของผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 3. ถ้าผุ้ผลิตลักลอบผสมตัวยาเสตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ถือว่าเป็นการผลิต
1. ยาผิดมาตราฐาน
2. ยาปลอม
3. ยาแผนปัจจุบัน
4. ยาอันตราย
ข้อ 4. นายวิบูลย์จะขายยาแผนโบราณที่จังหวัดนนทบุรี จึงได้มายื่นขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาติ ให้วินิจฉัยว่านายวิบูลย์ปฎิบัติถูกต้องหรือไม่
1. ถูกต้องเพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาติสำหรับการออกใบอนุญาติทุกชนิดทั่วราชอาณาจักร
2. ถูกต้องเพราะการออกใบอนุญาติสำหรับการขายยาผู้อนุญาติอาจเป็นเลขาธิการหรือผุ้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
3. ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาติสำหรับการขายยาในต่างจังหวัดต้องเป็นผุ้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น
4. ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาติสำหรับการขายยาคือปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ 5. นายสัญญาเป็นผู้รับอนุญาติขายยาแผนโบรารและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยด้วย จะผลิตยาแผนโบราณสูตร ซึ่งพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีมาก จึงได้มายื่นคำขอขึ้นทะเบียน ตำรับยากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายสัญญาจะขึ้น ทะเบียนตำรับยาได้หรือไม่
1. ได้ เพราะกฎหมายให้ผุ้ที่จะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาติผลิตหรือขายยา
2. ได้ เพราะนายสัญญาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ มีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
3. ไม่ได้ เพราะต้องขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
4. ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายผุ้ที่จะขึ้นทะเบียนยาที่จะผลิตได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยา
ข้อ 6. กรรมการสถานพยาบาลผุ้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัีฐมนตรีแต่งตั้ง ในฐานะผุ้ทรงคุณวุฒิอื่นตามมาตรา 7 (2) มีจำนวนกี่คน
1. ไม่เกิน 3 คน
2. ไม่เกิน 4 คน
3. ไม่เกิน 2 คน
4. ไม่เกิน 5 คน
ข้อ 7. นายทรงเป็นกรรมการสถานพยาบาลผุ้ทรงคุณวุฒิ จะต้องพ้นจากตำแหน่งในกรณีใด
1. ป่วยเป็นโรคหัวใจ รอการผ่าตัดอยู่ที่โรงพยาบาล
2. ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ในจำนวน 4 พันล้านบาท
3. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งเดือนในความผิดลหุโทษ
4. พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
ข้อ 8. ในกรณีผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาติสถานพยาบาลแล้วขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดกี่ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาต
1. 1 ปี
2. 2 ปี
3. 3 ปี
4. 4 ปี
ข้อ 9. ผุ้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษสถานใด
1. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เิกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินสองหมื่นบาท
4. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 10. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผุ้ป่วยไว้ค้างคืน ตรงตามข้อใด
1. ฉบับละ 2.000 บาท
2. ฉบับละ 1,000 บา่ท
3. ฉบับละ 500 บาท
4. ฉบับละ 200 บาท
ข้อ 11. กรรมการประกอบโรคศิลปะซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผุ้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. 2 ปี
2. 3 ปั
3. 4 ปี
4. 5 ปี
ข้อ 12. คณะกรรมการวิชาชีพมีอำนาจที่จะสั่งพักใบอนุญาตผุ้ประกอบโรคศิลปะที่กระทำผิดได้เป็นเวลานานเท่าใด
1. ตามที่เห็นสมควร
2. ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 1 ปี
3. ไม่เกิน 3ปี
4. ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 2 ปี
ข้อ 13. ความหมายของเภสัชกรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมยเดิมที่สำคัญคือ
1. มีการกำหนดความหมายของเภสัชกรรมไทยไว้อย่างครอบคลุม
2. มีการกำหนดในเรื่องการควบคุมและการประกันคุณภาพยา
3. มีการกำหนดเรื่องการจัดจำหน่ายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
4. มีการกำหนดเรื่องการผลิตยาต้องใช้กรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย
ข้อ 14. ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติห้ามในเรื่องอะไร
1. ห้ามโฆษณาการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
2. ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
3. ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะต่อตนเอง
4. ห้ามกระทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ามียาสมุนไพรที่มีสรรพคุณวิเศษ
ข้อ 15. นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ก.ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้า นาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน ใครมีหน้าที่ ดำเนินการ
1. พนักงานเจ้าหน้าที่
2. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
3. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย
4. คณะอนุกรรมการสอบสวน
ข้อ 16. ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขาเลือกกรรมการวิชาชีพเป็น ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการวิชาชีพ
1. ยี่สิบวัน
2. ยี่สิบห้าวัน
3. สามสิบวัน
4. ผิดทุุกข้อ
ข้อ 17. เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย สั่งพักใช้ใบอนุญาตของนาย ว. ผุ้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ ต้อง แจ้งคำวินิจฉัย ให้นาย ว.ทราบภายในระยะเวลา
1. 7 วัน
2. 15 วัน
3. 1 เดือน
4. ไม่มีกำหนด
ข้อ 18. ระหว่างที่นายธงชัย ถูกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต นายธงชัยยังคงแสดงให้ผุ้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอยู่ ดังนี้ถือว่า นายธงชัย ต้องระวางโทษ
1. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 19. หน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมและกำหนดมาตราฐานในการประกอบโรคศิลปะ เป็นหน้าที่ของใคร
1. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
2. คณะกรรมการวิชาชีพ
3. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ 20. องค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย
1. บุคคลที่ได้รับเลือกทั้งหมด
2. บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งทั้งหมด
3. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งกับกรรมการโดยตำแหน่ง
4. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้ง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งและตัวแทนจากหน่วยราชการ
ข้อ 21. การนวดบริเวณเนื้อตายที่มีสีดำจากเลือดไปเลี้ยงน้อย อาจเกิดอันตรายที่ต้องระมัดระวังให้มากคือ
1. ก้อนเลือดสีดำไปอุดตันสมอง
2. เกิดแผลติดเชื้อ
3. เส้นเลือดอักเสบ
4. ทำให้ช๊อคหมดสติได้
ข้อ 22. การบวมแบบใดที่ไม่ควรนวด
1. บวมน้ำ
2. บวมอักเสบ
3. บวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน
4. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 23. ในตำราโรคนิทานของพระยาวิขยาธิบดีกล่่าวว่า " เส้นเอ็นย่อมเป็นรู ........ชูให้ฟูฟอน" ข้อความที่เว้นไว้คือ
1. เส้นลม
2. ลมเลือด
3. โลหิต
4. น้ำเหลือง
ข้อ 24. ลมจันทกะลา เป็นลมประจำเส้นประธานใด
1. เส้นอิทา
2. เส้นสุมนา
3. เส้นปิงคลา
4. เส้นสหัสรังษี
ข้อ 25. ลมตาลตะคุณ เกิดจากเส้นใดก่อโทษ
1. เส้นปิงคลา
2. เส้นสุมนา
3. เส้นกาลทารี
4. เส้นทวารี
ข้อ 26. ลมศุญทะกะลา เป็นลมประจำของเส้นประธานเส้นใด
1. เส้นทวารี
2. เส้นสุมนา
3. เส้นคิชฌะ
4. เส้นปิงคลา
ข้อ 27. วิธีการนวดแบบใดที่ควรทำการเปรียบเทียบช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อก่อนและหลังการนวด
1. การดึง
2. การกด
3. การบิด
4. การตัด
ข้อ 28. เส้นที่ไปสิ้นสุดที่รากตาขวาคือเส้นใด
1. ปิงคลา
2. ทวารี
3. สหัสรังษี
4. รุชำ
ข้อ 29. เส้นที่ลงไปถึงปลายนิ้วเท้าคือเส้นใด
1. สหัสรังษี
2. กาลทารี
3. รุชำ
4. อิทา
ข้อ 30. เส้นสิบตามที่ท่านพรรณาในตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11 มีลักษณะอย่างไร
1. สถิตย์ลึกสักสามนิ้ว
2. ล้อมเป็นจันทราศูนย์
3. เป็นแนวแถวทอดเรียงกัน
4. ถูกทุกข้อ
ข้อ 31. ขิงแห้ง พริกเทศ พริกไทย ลูกจันทน์ การบูร ควรใช้รักษาโรคอะไร จึงได้ผลดี
1. ลมจุกเสียด โลหิตระดูพิการไม่ปกติ
2. ขับโลหิตเน่าร้ายทั้งปวง
3. แก้กระษัยจุกเสียด
4. แก้ลงท้อง แก้ปวดท้อง
ข้อ 32. ให้กระหายน้ำ ไข้ตัวร้อน ใช้ขนานใดตรงกับอาการป่วย
1. ยาจันทลีลา
2. ยามหานิลแท่งทอง
3. ยาประสะจันทน์แดง
4. ยาจันทหฤทัย
ข้่อ 33. คนไข้มาพบท่านด้วยอาการเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล ต้วร้อน ไอ จาม ท่านจะให้ยาขนานใดรับประทาน
1. ยาากล่อมนางนอน
2. ยาจันทลีลา
3. ยาประสะจันทน์แดง
4. ยาชื่อแก้ว 5 ดวง
ข้อ 34. คนป่วยมีอาการจุกเสียดบ่อยๆ เวลากินกล้วยสุก แต่เส้นท้องไม่ตึง ท้องไม่ผูกควรใช้ยาขนานใดให้ตรงกับอาการของโรค
1. ยาธรณีสัณฑะฆาต
2. ยาเนาวหอย
3. ยาธาตุบรรจบ
4. ยาแก้กระษัย
ข้อ 35. นาย ก.อายุ 25 ปีเศษ บ้านอยู่ในกทม. มาพบแพทย์ ตรวจแล้วพบว่ามีอาการเป็นไข้ตัวร้อนมา 2 วัน ไม่ไอ ท้องไม่ผูก ใช้ยาอะไรแก้
1. ยาเหลืองปิดสมุทร
2. ยาหอมทิพโอสถ
3. ยาธาตุบรรจบ
4. ยาจันทลีลา
ข้อ 36. ผู้สูงอายุมักจะเป็นลม หัวใจเต้นไม่ปกติ ท่านหมอมีความเห็นว่าควรใช้ยาชนิดใด
1. ยาหอมเทพวิจิตร
2. ยาหอมทิพย์โอสถ
3. ยาจันทหฤทัย
4. ยาจันทร์สามโลก
ข้อ 37. ยาแสงหมึก มีสรรพคุณรักษาโรคใด
1. แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ
2. แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำใบกะเพราต้ม
3. แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำลูกมะแว้งเครือ
4. ถูกทุกข้อ
ข้อ 38. ชั่ง มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
1. 1 หาบ
2. 1,000 ตำลึง
3. 60,000 กรัม
4. ถูกทุกข้อ
ข้อ 39. การเก็บตัวยาเพื่อให้ได้ตัวยาที่มีฤทธิ์แรงและมีสรรพคุณดี ในเวลา 06.00 - 09.00 น. ฤทธิ์ของยาจะอยู่บริเวณใด?
1. ทั่วทั้งต้น
2. ใบ
3. ราก
4. เปลือก
ข้อ 40. การบูร มีสรรพคุณแก้โรคอะไร
1. ให้ย่อยอาหารพลันแรก แก้จักษุโรค แก้ริดสีดวง
2. แก้พรรดึก แก้ริดสีดวงในท้อง
3. แก้พิษฝี แก้ฟกบวม
4. แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต
ข้อ 41. การรู้จักตัวยา 5 ประการ นั้นรู้ได้อย่างไร
1. การรู้จักต้น ใบ ดอก ลูกหรือฝัก และราก ของเภสัชวัตถุ
2. การรู้จักว่าสิ่งใดคือพืชวัตถุ สิ่งใดคือสัตว์วัตถุ สิ่งใดคือธาตุวัตถุ
3. การรู้จัก รูป รส กลิ่น สี และชื่อ ของเภสัชวัตถุ
4. การรู้จัก สิ่งใดคือเภสัชวัตถุ สิ่งใดคือตัวยา สิ่งใดคือยา
ข้อ 42. คณะเภสัช เป็นการศึกษาให้รู้จักพิกัดยา พิกัดยานี้ได้มีการกำหนดแบ่งออกเป็นหมวดๆตามข้อใด?
1. พิกัด2 พิกัด มหาพิกัด
2. พิกัดน้อย พิกัด มหาพิกัด พิกัดพิเศษ
3. จุลพิกัด พิกัด มหาพิกัด
4. จุลพิกัด พิกัด มหาพิกัด พิกัดทั่วไป
ข้อ 43. ชุมเห็ดเทศ ข้อใดเป็นการใช้ไม่ถูกต้อง?
1. ใบสด ใช้แก้กลาก
2. ใบสด ใช้แก้ท้องผูก
3. ดอกสด ใ้ช้แก้กลาก
4. ดอกสด ใช้แก้ท้องผูก
ข้อ 44. ตัวยาต่อไปนี้ ดอกดีปลี 1 ส่วน รากช้าพลู 2 ส่วน เถาสะค้าน 3 ส่วน ลูกสมอพิเภก 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 8 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน ใช้แก้ในกองใด
1. แก้เตโชธาตุกำเริบ
2. แก้เตโชธาตุหย่อน
3. แก้เตโชธาตุพิการ
4. แก้เตโชธาตุระคน
ข้อ 45. ตัวยารสเมาเบื่อมีอะไรบ้าง?
1. พาดไฉน
2. เถาขี้กาทั้ง 2
3. ตานทั้ง 5
4. สะแกทั้ง 5
ข้อ 46. ตัวยาและส่วนประกอบใดต่อไปนี้ เป็นมหาพิกัดอะไร ดอกดีปลี 2 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 1 ส่วน เถาสะค้าน 5 ส่วน รากช้าพลู 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 3 ส่วน แก้ในกองใด
1. ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองวาโยธาตุ
2. ทศเบญจกูล แก้กองในปถวีธาตุ
3. โสฬสเบญจกูล แก้ในกองธาตุลม
4. ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองอาโปธาตุ
ข้อ 47. ท่านจะปรุงยาให้คนไข้เพื่อฟอกเลือด บำรุงโลหิตสตรี จะใช้ในข้อใด
1. ใบส้มเสี้ยว รกมะดัน ใบมะขาม
2. ใบมะขาม คำฝอย รากไทรย้อย
3. รกมะดัน ใบมะยม รากต่อไส้
4. ใบมะขาม คำไทย แก่นปรู
ข้อ 48. เทียนแกลบ สรรพคุณ ขับลม แก้เสมหะ เป็นตัวยาที่อยู่ในพิกัดใด?
1. เนาวเทียน
2. สัตตะเทียน
3. เทียนพิเศษ
4. เบญจเทียน
ข้อ 49. ใน 1 ตำลึงจีน มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
1. 1 ตำลึงไทย
2. 2 ตำลึงไทย
3. 10 สลึง
4. 5 สลึง
ข้อ 50. ยาธรณีสันฑะฆาต เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้แก้กระษัยเส้น เถาดานท้องผูก ยาขนานนี้มีข้อห้ามใช้สำหรับผู้ป่วยกลุ่มใด เพราะ เหตุใด
1. ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ เพราะเป็นยารสร้อน เข้าพริกไทยมาก จะทำให้ไข้มากขึ้น
2. ผู้ป่วยท้องเสีย เพราะมียาดำ รงทอง จะทำให้ถ่าย ท้องเสียมากขึ้น
3. สตรีมีครรภ์ เพราะเป็นยารสร้อน มีพริกไทย และยาระบายจะทำให้แท้งได้
4. ถูกทุกข้อ
ข้อ 51. ยารสประธาน 3 รส ข้อใดถูกต้อง
1. ร้อย เย็น และรสหวาน
2. เย็น สุขุมและฝาด
3. รสสุขุม เย็นและร้อน
4. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 52. รากของผักคราดหัวแหวน มีสรรพคุณแก้อะไร?
1. ขับพยาธิ
2. แก้อาการเจ็บคอ
3. แก้ไตพิการ
4. แก้ปอดบวม
ข้อ 53. รากช้าพลู เป็นต้วยาประจำธาตุอะไร
1. เตโชธาตุ
2. วาโยธาตุ
3. อาโปธาตุ
4. แก้ปวดบวม
ข้อ 54. สมุนไพรข้อไหนที่จะใช้ทำยา แก้ร้อนภายใน แก้ข้อข้อ บำรุงเนื้อและกระดูก บำรุงร่างกาย
1. เมล็ดงา
2. เมล็ดถั่วเขียว
3. เมล็ดถั่วเขียว
4. เมล็ดถั่วลิสง
ข้อ 55. ส่วนประกอบของสูตรยากวาดแสงหมึก นอกเหนือจากตัวยาหมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทน์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ดีงูเหลือม ชะมด พิมเสน คือข้อใด?
1. ใบกระสัง
2. ใบแมงลัก
3. ใบกะเพรา
4. ใบโหระพา
ข้อ 56. สารหนูมีโทษอย่างไร
1. ชักกระตุก หยุดหายใจ และตายในที่สุด
2. กัดกระเพาะ ทำให้อาเจียนเป็นเลือด
3. ท้องร่วง ปวดท้องอย่างรุนแรง
4. ประสาทหลอน เป็นบ้า
ข้อ 57. สิ่งต่อไปนี้เป็นสัตว์วัตถุ ให้ท่านพิจารณาว่า รสและสรรพคุณของสัตว์วัตถุใดถูกต้อง?
1. นกนางแอ่น ใช้รังทำยา รสมันคาว สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ปวดข้อ บำรุงกำลัง
2. นกกา หรืออีกา ใช้กระดูกและขนทำยา สรรพคุณ แก้พิษกาฬ แก้พิษตานซาง แก้ไข้กาฬ
3. น้ำผึ้ง ใช้น้ำหวานในรังทำยา รสหวาน สรรพคุณ ใช้ผสมยาปั้นเม็ด แก้ตาฟาง แก้ไอ
4. ถูกทุกข้อ
ข้อ 58. การตรวจเส้นสุมนา ตามตำราวเวชศึกษาให้ทำอย่างไร
1. ใช้นิ้วกดเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ
2. ใช้นิ้วกดเหนือไหปลาร้า
3. ใช้นิ้วกดเหนือกระดูกหน้าอก
4. ใช้นิ้วกดใต้ลิ้นปี่
ข้อ 59. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเส้นอัษฎากาศ
1. ไม่ควรกดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
2. ตรวจชีพจรที่ข้อมือแทนก็ได้
3. เป็นเส้นขั้วหัวใจตอนบน
4. เกี่ยวข้องกับลมปัตฆาต ราทยักษ์
ข้อ 60. ตรวจชีพจรพบว่า เดินตื้น เต้นเร็วและเดินแรง เม็ดใหญ่ แต่เดินไม่เสมอ มีหยุด แสดงถึงร่างกายผิดปกติอย่างไร
1. อ่อนเพลีย
2. อาการหนักรักษาไม่ได้
3. มีพิษร้อนจัด เพ้อได้
4. ใจเหี่ยวแห้ง
ข้อ 61. ตามตำราเวชศึกษา เส้นที่อยู่เหนือสะดือ 1 นิ้วเศษ เป็นเส้นต่อเนื่องกับเส้นสุมนา มีหน้าที่รับโลหิต จากเส้นสุมนาจ่ายไปตามอวัยวะ ตอนล่างทั่วไปมีขาและเท้าเป็นต้น เรียกว่าเส้นอะไร
1. เส้นกาลทารี
2. เส้นสุมนา
3. เส้นสหัสรังษี
4. เส้นอัมพฤกษ์
ข้อ 62. ตามตำราเวชศึกษา เส้นสุมนาถ้าพิการ จะทำให้เกิดเป็นโรคลมชนิดใด
1. ชิวหาสดมภ์
2. บาดทะจิต
3. พิตคุณ
4. ตุลาราก
ข้อ 63. ถ้าตรวจพบผู้ป่วยมีลิ้นเป็นฝ้าละออง น่าจะป่วยเพราะโรคใด
1. ไข้รากสาด
2. ไข้กาฬ
3. ธาตุพิการ
4. น้ำลายพิการ
ข้อ 64. ถ้าตรวจพบผุ้ป่วยรู้สึกยอกในซี่โครงที่ 3-4 ด้านซ้าย มีไข้สูง ฟังเสียง หัวใจเต้นเบา ติดขัด ท่านวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรคใด
1. วัณโรค
2. ถุงหุ้มหัวใจอักเสบ
3. หัวใจอ่อน
4. หัวใจบวม
ข้อ 65. ถ้าท่านตรวจชีพจรผู้ป่วยแล้วพบว่ามีลักษณะเดินตื้น เต้นแรงและเร็ว เม็ดใหญ่ เดินเสมอท่านคิดว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างไร
1. มีพิษร้อน แต่โรคยังเบา
2. มีพิษร้อน โรคปานกลาง
3. มีกำลังน้อย อ่อนเพลีย
4. มีไข้พิษ ไข้กาฬ ค่อนข้างมาก
ข้อ 66. ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจบวม เสียงหัวใจเต้นจะเป็นอย่างไร
1. ดังติ๊กๆ และช้า
2. ดังฟืดๆ แฟดๆ
3. ดังทึบและฝืด ไม่โปร่ง
4. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 67. ถ้าผู้ป่วยมีอุจจาระสีดำเป็นเมือกมัน ท่่านคิดว่าไม่น่าจะเกิดโรคใด
1. ไข้อติสาร
2. ไข้รากสาด
3. โรคซาง
4. ไข้กาฬ
ข้อ 68. ต้อแววนกยูงมีลักษณะอย่างไร
1. เป็นแววอยู่กลางตาดำ
2. ตามันดังเยื่อลำใยขาว
3. เห็นเป็นก้อนขาวเป็นเงาอยู่กลางตาดำ
4. ตาดำเป็นจุดขาวแวววาวดังขนนกยูง
ข้อ 69. โรคตาชนิดไหน ที่เจ็บกระบอกตาเวลานอน ตาเป็นดุจเยื่อไม้?
1. ต้อฝี
2. ต้อก้นหอย
3. ต้อวาโย
4. ต้อกระจก
ข้อ 70. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร ลมเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระ มีดีซึมอยู่เป็นอันมาก เรียกชื่อว่าอะไร
1. ทักษณะคุละมะ
2. ปิตตะคุละมะ
3. โลหิตคุละมะ
4. รัตตะคุละมะ
ข้อ 71. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
1. กล่าวถึงว่าด้วยโรคลมทั่วๆไป
2. กล่าวว่าด้วยลมที่ทำให้เกิดโรคและมีอาการต่างๆ
3. กล่าวว่าด้วยลมพิษและลมร้าย
4. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 72. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
1. โรคมูตร ตามคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร มีกี่ประการ
2. 12 ประการ
3. 18 ประการ
4. 20 ประการ
ข้อ 73. ลมทีบังเกิดให้เนื้อตัวบวม เรียกว่าลมอะไร?
1. ลมกำเดา
2. ลมผูกธาตุ
3. ลมปถวีกำเริบ
4. ลมกระษัยจุกอก
ข้อ 74. ลมที่มีลักษณะและอาการ เมื่อแรกให้หาวเรอ และให้เหียน ขากรรไกรแข็. ถ้าขบมิลง ให้แน่นิ่ง ไม่ไม่รู้สึกตัว ปลุกมิตื่น กำหนด 3 วัน ถึง 7 คืน เป็นลักษณะและอาการของลมอะไร
1. ลมมหาสดมภ์
2. ลมอัศมุขี
3. ลมชิวหาสดมภ์
4. ลมอุทรวาต
ข้อ 75. อาการทั้งสลบทั้งลงทั้งอาเจียน มิรู้ก็ว่าสันนิบาตสองคลอง มือเขียว หน้าเขียว ชัก มิรู้ก็ว่าป่วงให้ลงกำหนด 3 วัน คือลักษณะและอาการของโรค
1. ลมบาทาทึก
2. ลมบาดทะจิต
3. ลมมหาสดมภ์
4. ลมอีงุ้มอีแอ่น
ข้อ 76. ชื่อของโรคเรื้อนทีเรียกตามลักษณะอาการของโรค ในคัีมภีร์วิถีกุฎโรคมีหลายชื่อได้แก่ข้อใด
1. เรื้อนวิมาลา เรื้อนหูด เรื้อนบอน เรื้อนดอกหมาก เรื้อนมะไฟๆ เป็นต้น
2. เรื้อนกุฎฐัง เรื้อนกวาง เรื้อนกระดูก เรื้อนหูหนาตาเล่อ เรื้อนหิดๆ เป็นต้น
3. เรื้อนเกล็ดปลา เรื้อนมะเฟือง เรื้อนมะไฟ เรื้อนมูลนก เรื้อนดอกหมากๆ เป็นต้น
4. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 77.
บางทีจับให้เซื่อมมึน บางทีให้ร้อนในกระหายน้ำ หอม สอึก บางทีให้จุกเสียด ข้อมือกำ เท้างอ มือสั่น บางทีให้ปวดแสบปวดร้อน เป็นกำลัง เป็นลักษณะของ
1. ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 3
2. ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 4
3. ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 1
4. ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 2
ข้อ 78. ฝีที่มักขึ้นที่กระหม่อม กำดัน สันหลัง ขาทั้งสองข้าง ใต้ศอก ใต้รักแร้ ไหล่ทั้งสอง เป็นฝีชนิดใด
1. ชนิดคว่ำประเภทที่ 1
2. ชนิดคว่ำประเภทที่ 2
3. ชนิดหงายประเภทที่ 1
4. ชนิดหงายประเภทที่ 2
ข้อ 79. ฝียอดเดียวคว่ำประเภทที่ 4 ถ้าเกิดในเดือน 11- เืดือน 4 เนื่องจากเหตุใด
1. ดี ลม เสมหะ ระคนกัน
2. ลม น้ำเหลือง กำเดา ระคนกัน
3. ดี น้ำเหลือง โลหิตระคนกัน
4. โลหิต ลม เสมหะ ระคนกัน
ข้อ 80. " อุปปาติกะวัณโรค" บังเกิดด้วยอาโปะาตุ คือฝีชื่ออะไร
1. ฝีมานทรวง
2. ฝีกุตะณะราย
3. ฝีมะเร็งทรวง
4. ฝีดาวดาษฟ้า
ข้อ 81. คัมภีร์ทิพย์มาลา ได้กล่าวถึงลักษณะฝีไว้กี่ประการ
1. 10 ประการ
2. 15 ประการ
3. 17 ประการ
4. 19 ประการ
ข้อ 82. ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือดและเสลดเน่าเรียกว่าอะไร
1. กาฬพิพิธ
2. กาฬพิพิธ
3. กาฬมูตร
4. กาฬสูตร
ข้อสอบ ข้อ 77-
ข้อ 77. ไข้หนึ่งมีลักษณะผุดขึ้นเป็นเม็ดแดง เป็นแถว หญิงมักขึ้นซ้าย ชายมักขึ้นขวา สะพายแล่ง คล้ายสังวาลย์
1. ไข้ข้าวไหม้ใหญ่
2. ไข้กระดานหิน
3. ไข้สังวาลย์พระอินทร์
4. ไข้ข้าวไหม้เกรียม
ข้อ 78. ลักษณะกุฎโรคที่เกิดขึ้นแล้วมีผิวนวลดุจน้ำผิวน้ำเต้า ซึ่งชาวโลกสมมุติว่า เรื้อนน้ำเต้า เกิดจากกองธาตุอะไร
1. ปถวีธาตุ
2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ
4. เตโชธาตุ
ข้อ 79. ลักษณะฝียอดเดียวชนิดหงาย 2 ถ้าบังเกิดในเดือน 5-6-7-8-9-10 เกิดเพื่ออะไร
1. เพื่อลม น้ำเหลือง กำเดาระคนกัน
2. เืพื่อ ดี ลม เสมหะระคนกัน
3. เืพื่อ ดี โลหิต เสมหะระคนกัน
4. ไม่มีข้อใดถูก
ข้อ 80. ข้อใดจัดอยู่ในปัจจุบันกรรมอติสาร
1. อุตราวาตอติสาร
2. อมุธาตุอติสาร
3. มุศกายธาตุอติสาร
4. รัตตธาตุอติสาร
ข้อ 81. คนไข้เืมื่อพิการ ทำให้แข็งกระ้ด้างตึงขา ผิวหนังเหี่ยวแห้งแข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษขบกัดคือข้อใด
1. ปถวีธาตุ
2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ
4. เตโชธาตุ
ข้อ 82. คัมภีร์ทิพย์มาลา กล่าวถึงอะไร
1. ลักษณะของอติสาร
2. ลักษณะของฝีภายใน
3. ลักษณะของฝีภายนอก
4. ลักษณะของฝีกาฬ
ข้อ 83. ถ้ากินปอดให้กระหายน้ำ ให้หอบ ถ้ากินม้าม ให้หลับอาการคล้ายปีศาจสิง หมายถึงอาการของอะไร
1. กาฬพิพัธ
2. กาฬพิพิธ
3. กาฬมูตร
4. กาฬสิงคลี
ข้อ 84. ฝีหนึ่งเกิดใต้ลิ้น สัณฐานดังดวงจันทร์ อ้าปากออกเห็นหนึ่งลับอยู่ในลำคอ ไม่เห็นครึ่งหนึ่ง ให้ฟกบวมเป็นกำลัง กินข้าวกินน้ำมักให้ สำลักทางจมูก ถ้าแก่แดงดังผลอุทุมพร ฝีนั้นชื่ออะไร
1. ฝีฟองสมุทรร์
2. ฝีทันตมูลา
3. ฝีครีบกรด
4. ฝีราหูกลืนจันทร์
ข้อ 85. แรกเป็นมีอาการให้ยอกเสียด หายใจขัดในทรวงอก เจ็บหน้าอกทั้งกลางวันและกลางคืน เสมหะเหนียว ซูบผอมให้แน่นหน้าอกเป็น กำลัง
1. ฝีวัณโรคชื่อฝียอดคว่ำ
2. ฝีวัณโรคชื่อฝีรากชอน
3. ฝีวัณโรคชื่อฝีธนูทวน
4. ฝีวัณโรคชื่อฝีมารทรวง
ข้อ 86. กระษัย เป็นกลุ่มอาการของโรคอะไร?
1. กลุ่มอาการของโรคมะเร็ง
2. กลุ่มอาการของโรคริดสีดวง
3. กลุ่มอาการของโรคกระเพาะอาหาร
4. กลุ่มโรคเรื้อรังเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย
ข้อ 87. กระษัยในข้อใดเกิดในลำไส้
1. กระษัยเต่า
2. กระษัยปลาหมอ
3. กระษัยปลาดุก
4. กระษัยลิ้นกระบือ
ข้อ 88. กษัยลม เกิดเพื่อลม 6 จำพวก ตั้งอยู่ 4 แห่ง อยู่อย่างไร ข้อไหนที่ตั้งไม่ถูก
1. ใต้สะดือ 1 แห่ง
2. เหนือสะดือ 1 แห่ง
3. ริมสะดือซ้าย 1 แห่ง
4. ริมฝีปากขวา 1 แห่ง
ข้อ 89. อาการที่ท้องน้อยและหัวเหน่าแข็งดุจแผ่นศิลา เคลื่อนไหวตัวไม่ได้ นานเข้าลามมาถึงยอดอก บริโภคอาหารไม่ได้ ปวดขบดังจะขาด ใจตาย เป็นอาการของกระษัยอะไร
1. กระษัยราก
2. กระษัยเหล็ก
3. กระษัยศิลา
4. กระษัยดาน
ข้อ 90. กาฬต่อไปนี้เป็นกาฬอะไร เป็นตั้งแต่ดีลงมาอุจจาระปัสสาวะ เนื้อตัวเหลืองดังบมิ้นทา กระหายน้ำ หอบหายใจขัด ละเมอเพ้อพก 3 วัน จักอาสัญ
1. กาฬสิงคลี
2. กาฬมูตร
3. กาฬสูตร
4. กาฬพิพิธ
ข้อ 91. ตรีสัณฑะฆาต ถ้าบังเกิดแก่ผุ้ใด มักให้มีอาการต่างๆ ถ้าเกิดขึ้นในปอด จะมีอาการอย่างไร
1. เจรจาด้วยผี พูดเพ้อเจ้อ คลั่งเพ้อต่างๆ
2. ลงเป็นโลหิต แล้วเป็นผีเข้าสิง เข้าจำอยู่
3. ให้จุกเสียด ท้องเฟ้อ เป็นมาน
4. ทำให้กระหายน้ำเป็นอันมาก
ข้อ 92. ทุราวสามี 4 จำพวก จำพวกใดที่รักษาไม่ได้
1. ปัสสาวะออกมาเป็นสีขาว
2. ปัสสาวะออกมาเป็นสีเหลือง
3. ปัสสาวะออกมาเป็นสีโลหิตสดๆ
4. ปัสสาวะออกมาเป็นสีดำดังน้ำคราม
ข้อ 93. ปัสสาวะออกมาแดงขุ่นข้น เป็นสีดำดุจดั่งน้ำครามคือ
1. มุตฆาต
2. มุตกิต
3. ทุราวสา
4. ถูกทุกข้อ
ข้อ 94. อุจจาระมีกลิ่นหม็นเหมือนหญ้าเน่ามีอาการอย่างไร?
1. เจ็บหน้าอก น้ำลายไหล ตาแดง
2. เจ็บคอ ค้ดจมูก เมื่อยตัว
3. เจ็บหน้าอก เจ็บในท้อง เจ็บในกระดูก
4. ปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียน
ข้อ 95. กลิ่นอุจจาระเหม็นดังข้าวบูด เกิดเพราะกองสมุฎฐานใดเป็นเหตุ
1. ปถวี
2. อาโป
3. วาโย
4. เตโช
ข้อ 96. ท่านเห็นว่ากองมหาภูตรูปใดผิด
1. กองมหาภูติรูปดิน 20
2. กองมหาภูตรูปอากาศ 10
3. กองมหาภูตรูปอาโป 12
4. กองมหาภูตรูปวาโย 6
ข้อ 97. โทษ 15 ประการ ในโรคอุจจาระธาตุ ข้อใดที่ไม่ถูกต้อง
1. ให้แน่นในอกคับใจ
2. ให้คันไปทั่วร่างกาย
3. ให้ร้อนกระหายน้ำ
4. ให้เจรจาพร่ำพรู
ข้อ 98. ธาตุสมุฎฐานทั้ง 4 นั้น มีธาตุอะไรเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรคทั้งหลาย?
1. ปถวีธาตุ
2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ
4. เตโชธาตุ
ข้อ 99. ในคัมภีร์อุทรโรค ท่านหมายเอาโรคอะไร
1. โรคกระเพาะอาหาร
2. โรคท้องมาน
3. โรคกระษัย
4. โรคชรา
ข้อ 100. อาโปธาตุพิการ ลักษณะของอุจจาระธาตุมีสีอะไร?
1. ดำ
2. ขาว
3. เขียว
4. แดง