สมาคมวูซูแห่งประเทศไทย
WUSHU FEDRATION OF THAILAND
         
หน้าแรก
ทำเนียบผู้ยริหารสมาคม
วัตถุประสงค์ของสมาคม
ประเภทของวิชาวูซู
ติดต่อสมาคม
ประวัติกีฬาวูซู
ประวัติกีฬาวูซูในประเทศไทย
กติกาแข่งขันกีฬาวูซประเภทยุทธลีลา
กติกาแข่งขันกีฬาวูซประเภทค่อสู้
สถาบันวูซู - กังฟ
สมาคมกีฬามังกร&สิงโตประเทศไทย
ประกาศ

ประวัติกีฬาวูซ

        กีฬาวูซูมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน  โดยพัฒนาควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของจีน   ซึ่งวิชาวูซู ได้เริ่มมีขึ้นในยุค"ซางโจว" ด้วยการนำเอาวิชวูซูไปใช้ในการฝึกกำลังทหาร  พร้อมให้ความสำคัญ  ในด้านเทคนิคการต่อสู้ที่ใช้ใน สนามรบ   ในยุคนี้มีการแสดงวิชาต่อสู้ด้วยมือเปล่า  ทั้งการร่ายรำยัง มุ่งเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ พลานามัย และต่อต้านโรคภัย 
       ต่อมาในยุค "จิ้น - ฮั่น"   วูซู ได้ถูกนำไปใช้กับการร่ายรำดาบ  ร่ายรำกระบี่  และการร่ายรำดาบ วงเดือนคู่ และการร่ายรำอาวุธยาว เช่น ง้าว คล้ายคลึงกับการฝึกกระบวนเพลงยุทธ
      ยุค "ถัง - ซ้อง" มีการฝึกยุทธรวมกันเป็นค่าย  เป็นคณะการต่อสู้บนเวที มีกรรมการและมีกติกา การแข่งขัน
     ยุค "หมิง - ชิง" เป็นยุคที่วิทยายุทธหรือการฝึกวูซูเฟื่องฟูและเจริญรุ่งเรืองที่สุด  สำนักวิทยายุทธ ต่างๆ ที่ถ่ายทอดวูซู ได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้  วิทยายุทธในยุคนี้ที่ปรากฎ   ได้แก่  32 แบบต่อสู้(ซาน เสือเอ้อซื่อ) เพลงหมัดหกท่า เพลงหมัดวานร หมัดปาจือฉวน หมัดเนอฉวน หมัดเส้าหลินฉวน และ เพลงหมัดพลังภายใน เป็นต้น
    ยุค "หมิง - กว๋อ"  มีการจัดตั้งสมาพันธ์เยี่ยมยุทธ (จิงอู่ถี่อี้อุย) และตามมาด้วยการจัดตั้งสมาพันธ์ "จงหวาอู่สือฮุ่ย" และ "จื้อโหยวฉุยเสีย" ซึ่งสมาพันธ์ต่างๆ เหล่านี้  ก็ได้ให้การเผยแพร่และนำมาซึ่ง การพัฒนาวูซูในยุคนี้
     ในปี ค.ศ. 1928  รัฐบาลก๊กมินตั๋ง  ได้สถาปนาองค์กร "จงหยาง  กว๋อซูกว่าน"  (The central of  chiness  kkoshu  insitiute) ขึ้นเป็นสถาบันที่เกี่ยวกับวิทยายุทธส่วนกลางของประเทศไทย  ได้ จัดให้มีการแข่งขันและประลองยุทธระดับชาติขึ้น คือ วิชามวยประเภทต่างๆ อาวุธยาว และอาวุธสั้น ประเภทต่างๆ  รวมทั้งการประลองยุทธ(แข่งขันต่อสู้) และมวยปล้ำ  ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 ได้จัดตั้ง คณะทัวร์วูซู  ลงมาเยือนประเทศทางภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเช้าร่วมแสดงในมหกรรม กีฬาโอลิมปิค ครั้งที่ 11 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี  ซึ่งต่อมาวิชาวูซูก็ได้รับการบรรจุไว้เป็น บทเรียนอย่างเป็นทางการตามวิทยาลัยพลศึกษา และคณะวิชาการต่างๆ ของประเทศจีน
     ปี ค.ศ. 1956 สถาปนาสมาคมวูซูแห่งปักกิ่งขึ้น วูซูจึงกลายเป็นกีฬาประเภทหนึ่งอย่างเป็นทางการ คณะกรรมการบริหารกีฬาของจีนก็ได้ร่วมกันบัญญัติกติกากีฬาวูซูขึ้น   พร้อมนำมาเรียบเรียงตีพิมพ์ ประเภทของวูซู  ด้วยรูปแบบที่เรียบง่ายออกมาหลายประเภท  อาทิ  ตำราฝึกไท่จี๋ฉวน  ระดับเริ่มต้น ระดับพัฒนา และระดับสูง  รวมทั้งรูปแบบกระบวนเพลงยุทธต่างๆ อาทิ หมัดมวย ดาบ กระบี่ ทวน และพลอง เป็นต้น ส่งผลให้วูซูกลายเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนทางพลศึกษาในระดับโรงเรียนต่างๆ ตามมหาวิทยาลัย และกำหนดเป็นวิชาชีพวูซูอีกด้วย ต่อมารัฐบาลจีนได้สถาปนาสถาบันค้นคว้า วิชา วูซูขึ้น  เพื่อศึกษาค้นคว้าวิชาวูซู สร้างความกระจ่างชัดขั้นพื้นฐานของวิชาวูซูให้ปรากฏ และผลักดัน กีฬาวูซูสู่โลกกว้าง
     ปี ค.ศ. 1987 มีการจัดมหกรรมกีฬาวูซูระดับเอเชียขึ้นเป็นครั้งแรก ณ เมืองโยโกยากาม่า ประเทศ ญี่ปุ่น  พร้อมกับมีการจัดตั้งสหพันธ์วูซูแห่งเอเชียขึ้นมา  ต่อมา ในปี ค.ศ. 1988 ได้จัดการแข่งขันวูซู โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ส่วน คือ วูซูประเภทยุทธลีลา และประเภทประลองยุทธ ในการดำเนินการ
ครั้งนี้   กีฬาวูซูประเภทประลองยุทธ ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาวูซู ใน
ระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการในครั้งนี้เอง
     ปี ค.ศ. 1990  กีฬาวูซูได้ถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์  ครั้งที่ 11  ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และในปีนี้เองได้มีการสถาปนาสหพันธ์วูซูนานาชาติขึ้นมาอย่างเป็นทางการ
     กีฬาวูซูมิเพียงได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าเฉพาะอยู่ภายในประเทศจีนเท่านั้น  แต่ยังประสบ ความสำเร็จในการผลักดันเข้าสู่ระดับนานาชาติอีกด้วย   นับว่าเป็นการบรรลุเป้าหมายในอุดมการณ์ 
เผยแพร่กีฬาวูซูสู่มวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง

 

 

 

้์

 

ติดต่อสมาคม
ลิขสิทธิ์  2548  โดยนายวรนาถ (บูล)    ดิษยบุตร
สถาบันวูซู -กังฟู
สมาคมกีฬามังกร&สิงโตแห่งประเทศไทย