หากท่านมีคำถามว่า "กำลังเริ่มดำเนินธุรกิจชิ้นใหม่
จะจดทะเบียนพาณิชย์แบบไหนดี?"
ทางทีมงานของเรา สรุปข้อดี-ข้อเสีย ของธุรกิจ
3 ประเภทข้างต้น
แต่ท่านควรนำมา
พิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ที่ท่านมีอยู่แล้ว
ทั้งนี้ท่านไม่ควรคำนึงถึงจำนวนข้อที่ระบุไว้ เช่น
จำนวนข้อเสียของห้างหุ้นส่วน
มีมากกว่าจำนวนข้อเสียของร้านค้า
ดังนี้
บริษัท(นิติบุคคล)
ข้อดี
- มีความน่าเชื่อถือ
มากกว่าห้างหุ้นส่วน
และร้านค้า
- สามารถจัดหาเงินทุนเพิ่มได้ง่ายกว่า
- จำกัดความรับผิดชอบ
เท่ากับมูลค่าหุ้นที่นำมาลง
ข้อเสีย
- การจัดตั้งมีหลายขั้นตอน,ใช้เวลาจัดตั้งนานกว่า
และ ค่าใช้จ่ายสูง
ตามมูลค่าทุนที่จดทะเบียน
- มีหน้าที่หักภาษี ณ.ที่จ่าย
และ นำส่งสรรพากร
ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
- ประเภทบัญชี
ที่กฎหมายกำหนดมีมาก
- ผู้จัดทำบัญชี
ต้องมีคุณสมบัติ
ตามที่พระราชบัญญัติ
การบัญชีกำหนด และ
งบการเงิน
ที่นำส่งหน่วยงานราชการ
ต้องผ่านการตรวจสอบ
จากผู้สอบบัญชี
รับอนุญาตเท่านั้น
ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง
ห้างหุ้นส่วน(นิติบุคคล)
ข้อดี
- การจัดตั้งสะดวกรวดเร็ว
และ ค่าใช้จ่าย
ในการจัดตั้งต่ำกว่า
เมื่อเทียบ กับบริษัท
- มีความน่าเชื่อถือมาก และ
จัดหาเงินทุนได้ง่ายกว่า
เมื่อเทียบกับร้านค้า
- ผู้เป็นหุ้นส่วน (ยกเว้นหุ้นส่วนผู้จัดการ)
สามารถจำกัด ความรับผิดชอบ
ในหนี้สินของห้างฯได้
ข้อเสีย
- การจัดตั้งสะดวกรวดเร็วน้อยกว่า
และ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า
เมื่อเทียบกับร้านค้า
- มีความน่าเชื่อถือน้อย และ
จัดหาเงินทุนได้ยากกว่า
เมื่อเทียบกับบริษัท
- มีหน้าที่หักภาษี ณ.ที่จ่าย
และ นำส่งสรรพากร
ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
- ประเภทบัญชีที่
กฎหมายกำหนดมีมาก
- ผู้จัดทำบัญชี
ต้องมีคุณสมบัติ
ตามที่พระราชบัญญัติ
การบัญชีกำหนด และ
งบการเงิน
ที่นำส่งหน่วยงานราชการ
ต้องผ่านการตรวจสอบ
จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
หรือ ผู้ตรวจสอบภาษี
ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง
ร้านค้า(บุคคลธรรมดา)
ข้อดี
- การจัดตั้งสะดวกรวดเร็ว
และ ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
- ไม่มีค่าใช้จ่าย
ในการตรวจสอบบัญชี เพราะ
ไม่มีหน้าที่จัดทำ
งบการเงินนำส่ง
หน่วยงานราชการ
- หน้าที่หักภาษี ณ.ที่จ่าย
และ นำส่งสรรพากร
มีเพียงเงินเดือน(ภงด1,1ก)เท่านั้น
ข้อเสีย
- ความน่าเชื่อถือมีน้อย
- เจ้าของรับผิดชอบหนี้สิน
ไม่จำกัดจำนวน
- จัดหาเงินทุนเพิ่มได้ยากกว่า
เนื่องจาก
เป็นกิจการเจ้าของคนเดียว
กรณีที่ท่านต้องการ
เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)
ธุรกิจทั้ง3 ประเภทนี้
มีสิทธิที่จะจดทะเบียน(ภพ.01)
เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้เหมือนกัน
เมื่อเข้าระบบแล้ว
มีหน้าที่ต้องยื่น ภพ.30
ทุกเดือนเหมือนกัน
การชำระภาษีเงินได้ปีละ 2
ครั้งเหมือนกัน
ต่างกันที่อัตราภาษีเท่านั้น
|