ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หลักการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือ
ภาษีที่เก็บจากเงินได้ของบุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
หรือกองมรดกที่ยังไม่แบ่ง
โดยเก็บจากเงินได้ทุกชนิดไม่ว่าจะได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
เว้นแต่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย
การคำนวณภาษีกำหนดตามปีประดิทิน
กฎหมายกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้ในรูปแบบต่าง
ๆ
กันตามประเภทเงินได้
และยังกำหนดให้หักค่าลดหย่อนต่าง
ๆ
ได้อีกเพื่อเป็นการทุเลาภาระภาษีเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้วถือเป็นเงินได้สุทธินำไปคำนวณ
ภาษีตามอัตราภาษีเงินได้
ซึ่งมีอัตราก้าวหน้าเริ่มจากร้อยละ
5
จนถึงร้อยละ 37
ของเงินได้สุทธิ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
หลักการ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร
มีหลักการจัดเก็บจากกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
(ตามปกติมีกำหนด
12 เดือน) นอกจากวิธีการจัดเก็บตามหลักการดังกล่าว
ยังมีวิธีการจัดเก็บภาษีโดยวิธีอื่นอีก
คือ
เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด
ๆ
หรือเก็บจากค่าโดยสาร
ค่าระวางฯ
ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
หรือเก็บจากการจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ
ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนวิธีการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องคำนวณตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้
เพื่อรัฐจะได้กำกับดูแูลการคำนวณกำไรสุทธิที่พึงต้องเสียภาษีให้เหมาะสมเป็นธรรม
ระหว่างผู้เสียภาษีกับรัฐ
ฉะนั้น
กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี
(Accounting Profit or Loss) ที่คำนวณตามวิธีการทางบัญชีในแต่ละรอบ
ระยะเวลาบัญชี
อาจแตกต่างจากกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษี
(Taxable Profit or Taxable Loss) ซึ่งเป็นการคำนวณจากรายได้หักด้วยรายจ่ายของกิจการเช่นเดียวกับวิธีการคำนวณทางบัญชี
แต่รายได้และรายจ่ายนั้น
จะต้องเป็นรายได้และรายจ่ายที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้
เช่น
รายได้จำนวนใดต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้
หรือรายจ่ายใดที่จะหักเป็นค่าใช้จ่ายได้
รายจ่ายใดหักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้
ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวรายได้และรายจ่ายที่ต้องคำนวณ
ตามเงื่อนไขทางภาษีจึงอาจแตกต่างจากรายได้และรายจ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง
และลงรายการทางบัญชีไว้ผลต่างนี้เอง
ที่เป็นข้อแตกต่างของกำไรสุทธิ
หรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีกับกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
ทางภาษีอากร
กำไรสุทธิทางภาษี
เมื่อเสียภาษีเงินได้ตามอัตราภาษี
และมีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร
บุคคลผู้รับเงินปันผลที่มีภูมิลำเนา
ในประเทศไทยมีสิทธิได้เครดิตภาษีด้วย
นอกจากหลักการดังกล่าวข้างต้นแล้วประมวลรัษฎากรยังได้กำหนดให้มีการเก็บภาษีเงินได้
จากนิติบุคคลประเภทมูลนิธิและสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่ง
มีรายได้อีกด้วย
โดยเก็บจากรายได้ของมูลนิธิและสมาคมที่ได้รับในลักษณะประกอบกิจการหารายได้
(Unrelated Profit) ส่วนรายได้ที่เป็นค่าลงทะเบียน
ค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก
หรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค
หรือจากการให้โดยเสน่หา
ไม่ต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลักการ
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภค
โดยผู้ที่รับภาระภาษีขั้นสุดท้าย
ได้แก่ ผู้บริโภค
ประเทศไทยเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่วันที่
1
มกราคม 2535 และตั้งแต่เริ่มนำมาใช้บังคับ
มีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีมาแล้ว
3 ครั้ง
คือตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม 2534 ถึงวันที่
15 สิงหาคม 2540
เก็บในอัตราร้อยละ
7.0 ตั้งแต่วันที่
16 สิงหาคม 2540
ถึงวันที่ 31 มีนาคม
2542 จัดเก็บในอัตราร้อยละ
10.0 ตั้งแต่วันที่
1 เมษายน 2542 ถึงวันที่
30 กันยายน 2545
เก็บในอัตราร้อยละ
7.0 และตั้งแต่เมื่อวันที่
1 ตุลาคม 2545 จะจัดเก็บในอัตราร้อยละ
10.0
ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้จัดเก็บอยู่ที่อัตราร้อยละ
7.0
เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ใช้อัตราร้อยละ
7.0 ไปจนถึง 30
กันยายน 2546 (การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถลดอัตราในช่วงเวลาใดก็ได้โดยออกพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งต้องติดตามอยู่เสมอ)
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
หลักการ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific
Business Tax) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคเฉพาะอย่าง
ซึ่งกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะไม่ถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
ดังนั้นกิจการที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจึงเป็นกิจการที่คำนวณมูลค่าเพิ่มของการขายสินค้าหรือการให้บริการได้ยาก
จึงจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะแทน
|