MMX คือกลุ่มคำสั่งใหม่ของซีพียูซึ่งมีเพิ่มมาอีก 57 คำสั่ง คำสั่งชุดนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการคำนวณที่ต้องใช้บ่อย ๆ ในมัลติมีเดียแอพพลิเคชัน โดยเฉพาะแอพพลิเคชันที่ต้องทำงานเป็นลูปขนาดใหญ่จะได้รับประโยชน์มาก อินเทลเชื่อว่ามัลติมีเดียแอพพลิเคชันส่วนใหญ่จะทำงานแบบอัลกอริธึมที่ซ้ำ ๆ กัน เพื่อคำนวณข้อมูลขนาด 8 บิต หรือ 16 บิต เท่านั้น อินเทลกล่าวว่า MMX ไม่ได้ย่อมาจาก Multimedia Extensions แต่เป็นชื่อรหัสที่ใช้แทนชุดคำสั่งเท่านั้น สำหรับ MMX นี้ เป็นคำสั่งที่เร่งความเร็วโดยใช้เทคนิคการประมวลผลแบบขนาน MMX ไม่ได้เป็นโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ แต่เป็นชุดคำสั่งที่จะถูกเพิ่มเติมให้กับโปรเซสเซอร์เพนเทียมและเพนเทียมโปร โปรเซสเซอร์ตัวแรกที่สามารถใช้ MMX ได้ ใช้รหัส P55C จะออกวางตลาดได้เป็นครั้งแรกในออสเตรเลีย ในช่วงกลางปี 1997 ส่วนเพนเทียมโอเวอร์ไดรฟ์ที่ใช้ MMX ได้ จะออกมาภายหลัง และเพนเทียมโปรที่ใช้เทคโนโลยี MMX อินเทลจะวางตลาดในอเมริกาในต้นปี 1997
MMX ทำงานอย่างไร
?
MMX ทำงานผ่านวิธีการที่เรียกว่า Single Instruction,
Multiple Data ( SIMD ) ซึ่งยอมให้ข้อมูลหลาย ๆ ชุดถูกนำมาประมวลผลขนานกันไป
โดยพื้นฐานแล้ว MMX จะยอมให้การประมวลผลข้อมูลสในลักษณะของแบตซ์มากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว
ๆ MMX จะใช้รีจิสเตอร์ขนาด 64 บิตเพื่อเก็บข้อมูล ดังนั้นโปรแกรมจะเก็บข้อมูลขนาด
8 บิตต่อไบต์ไว้ได้ถึง 8 ชุด ข้อมูลขนาด 16 บิตต่อเวิร์ดได้ 4 ชุด ข้อมูลขนาด
32 บิตต่อดับเบิลเวิร์ดได้ 2 ชุด และข้อมูลขนาด 64 บิต ได้ 1 ชุด ซึ่งเมื่อเราอัดข้อมูลไว้ในรีจิสเตอร์มากกว่า
1 ชุด โปรเซสเซอร์ที่มี MMX จึงสามารถปรมวลผลแบบขนานได้ด้วยคำสั่งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการบวก
สะสม เปรียบเทียบ หรือโอเปอเรชันอื่น ๆ จะสามารถทำงานแบบแบตซ์กับข้อมูล 2,
4, 8 ชุดได้พร้อมกัน ประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลที่ใช้งานมีขนาดเล็ก
ๆ เพราะจำนวนคำสั่งจะลดลงประมาณ 1 ใน 8 จากเดิม MMX จะช่วยเพิ่มความเร็วกับการทำงานแบบวนลูปจำนวนมาก
ๆ ซึ่งใช้มากในมัลติมีเดียแอพพลิเคชัน หรือในกราฟิกแอพพลิเคชันที่ต้องคำนวณมาก
ๆ ซีพียูจะต้องประมวลผลค่าแต่ละพิกเซลด้วยคำสั่งหนึ่งคำสั่ง แต่ถ้าใช้ MMX
ซีพียูจะประมวลผลพิกเซลได้ 2, 4, 8 พิกเซลด้วยคำสั่งเดียว ชุดคำสั่งใหม่ประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับคำสั่งในรีจิสเตอร์
MMX คำสั่งเหล่านี้จะใช้สำหรับการคำนวณพื้นฐานกับข้อมูลที่อัดอยู่ในรีจิสเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละตัว การแปลงค่าบิตในข้อมูล ทำโอเปอเรชันทางตรรก
( AND/OR NOT ) และเลื่อนข้อมูลแต่ละบิต MMX มีรีจิสเตอร์ขนาด 64 บิต อยู่
8 ตัว รีจิสเตอร์ใหม่จะถูกตั้งชื่อให้เหมือนกับรีจิสเตอร์ที่มีใน Floating-point
unit นั่นหมายถึงระบบปฏิบัติการสามารถติดต่อกับรีจิสเตอร์โฟลติ้งพอยน์ได้เช่นเดียวกับรีจิสเตอร์
MMX ทำให้ไม่ต้องไปออกแบบระบบปฏิบัติการใหม่ นอกจากนี้โปรแกรมที่สร้างก่อนที่จะมี
MMX ใช้ยังสามรถนำมาทำงานได้ดีบนโปรเซสเซอร์ MMX
ปัญหาสำคัญของ MMX คือโปรแกรมที่เรียกใช้ชุดคำสั่ง MMX จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการประมวลผลแบบใหม่นี้ได้เท่านั้น ประสิทธิภาพของเกมที่คุณชื่นชอบจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหากคุณซื้อโปรเซสเซอร์ MMX มาใช้ นอกเสียจากว่าเกมนั้นสามารถเรียกใช้ความสามารถของ MMX มาใช้ได้โดยตรง แม้ว่า MMX จะแพร่หลายแล้วก็ตาม เราจะยังไม่เห็นแอพพลิเคชันที่เรียกใช้ MMX มีมากนัก อย่างไรก็ตามผู้ขายส่วนใหญ่จะบอกว่าซอฟต์แวร์ทำงานได้ทั้งโปรเซสเซอร์ที่มีและไม่มี MMX แทนที่จะจำกัดตัวเอง ทั้งนี้ซอฟต์แวร์สามารถตรวจสอบได้เองว่ามี MMX อยู่หรือไม่ และสามารถเลือกใช้เทคนิคการประมวลผลแบบอนุกรมหรือขนานได้ ขณะที่การพัฒนาการโปรเซสเซอร์ที่มี MMX ยังไม่แน่นอน แต่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เริ่มหันมาสนับสนุนการใช้ชุดคำสั่ง MMX แล้ว เช่น คอมพลายเลอร์บางตัว ซอฟต์แวร์ทางด้านเดสท์ท้อปพับลิชชิง มัลติมีเดียแอพพลิเคชัน และเพื่อเป็นการแนะนำการใช้เทคโนโลยี MMX อินเทลได้แนะนำ Internet Media Developer Support Program เพื่อที่จะแนะนำการพัฒนาสำหรับอินเทอร์เน็ต DVD และ MMX
ไมโครซอฟต์ประกาศว่าผลิตภัณฑ์หลายตัวของตนสนับสนุนการใช้ MMX เช่น Direct 3D, Active Movie APIS นอกจากนี้ Visual C++ ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4.1 เป็นต้นไปสามารถคองพายเลอร์ให้โค้ดสามารถเรียกใช้ประโยชน์จาก MMX ได้อย่างเต็มที่ด้วย Watcom ก็ประกาศที่จะสนับสนุน MMX ในคอมพายเลอร์ C++ เวอร์ชันใหม่ที่จะออกมา บอร์แลนด์เองก็พร้อมจะสนับสนุน MMX ในเทอร์โบคอมพายเลอร์ทั้ง Pascal และ C++ รวมทั้ง Symantec ด้วยที่จะสนับสนุน MMX ในคอมพายเลอร์ C++ ด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่พร้อมจะสนับสนุน MMX ในอนาคต
RISC ยังเป็นคู่แข่ง
เมื่อมีการเปิดตัวคำสั่ง MMX ในชิพของอินเทลนั้น
อาจเป็นการปลุกบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นให้หันมาสนใจบ้างก็ได้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก
MMX โดยตรงก็ดูจะเป็นคู่แข่งของอินเทลที่สร้างเกม เดสค์ท้อปพัลลิชชิง ซีเอดี
ดิจิตอลเอนิเมชัน นอกจากนี้ก็คงเป็นผู้ผลิตเครื่อง RISC จาก Sun, Silicon
Graphics เนื่องจากผู้บริโภคอาจหันมาใช้เทคโนโลยีของอินเทลที่มีราคาถูกกว่า
สำหรับผู้ที่ใช้ Cyrix, AMD ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะ AMD ได้รับลิขสิทธิ์เทคโนโลยี
MMX จากอินเทล และจะมีใช้เป็นครั้งแรกในโปรเซสเซอร์ K6 แต่ Cyrix ไม่ได้รับลิขสิทธิ์การใช้เทคโนโลยีใหม่
แต่โปรเซสเซอร์ M2 ซึ่งเป็นคู่แข่งของเพนเทียมโปร มีคำสั่งไบนารีที่เข้าได้กับชุดคำสั่งใหม่
ทำให้ใช้แอพพลิเคชัน MMX ยังทำงานได้ ส่วนผู้ผลิตโปรเซสเซอร์รายอื่นยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่นี้ได้
ไม่ว่าจะเป็น Power PC ของโมโตโรล่า, MIPS และ Alpha ของ Digital แม้ว่าสนับสนุนคำสั่งการประมวลผลแบบขนานก็ตาม
ดังนั้นอินเทลจึงดูได้เปรียบกว่าสำหรับแอพพลิเคชันที่ทำงานมัลติมีเดีย อย่างไรก็ตาม
ทาง Silicon Graphics กลับไม่เห็นว่าเทคโนโลยีของอินเทลเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับเวอร์กสเตชันคุณภาพสูงและเซอร์ฟเวอร์
เพราะเชื่อว่าคงไม่มีผู้ผลิตพีซีรายใดที่จะสร้างเครื่องที่มีความสามารถเอนกประสงค์ไว้ในตัวเดียวกัน
ผู้ใช้ที่ต้องทำงานซับซ้อนยังคงต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพระดับเวอร์กสเตชันอยู่ดี
ทางแอปเปิ้ลเองซึ่งเป็นผู้นำด้านเดสค์ท้อปพัลลิชชิงก็คิดว่า ถ้า MMX ทำงานได้อย่างจริงจัง
ก็คงเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะ Adobe Photoshop จะทำงานได้เร็วขึ้น 400 เปอร์เซ็นต์
บนโปรเซสเซอร์ MMX ตามตัวเลขของอินเทล แต่แอปเปิ้ลเชื่อว่าคงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า
18 เดือน จึงจะมีแอพพลิเคชันที่สนับสนุน MMX ออกมาให้ใช้ทางด้านอินเทลเองก็เชื่อมั่นว่า
MMX จะมีประโยชน์โดยเฉพาะจะทำให้พีซีที่ใช้เพนเทียมโปร ซึ่งมี MMX สามารถทำงานในลักษณะเวอร์กสเตชันอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ยังมั่นใจว่าจะมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการใช้ MMX ออกมาแน่นอนในระยะเวลาอันสั้น
คงไม่ต้องสงสัยเลยว่า MMX จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานทางด้านมัลติมีเดียของระบบที่ใช้
x86 และจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น