|
บทฝึกแปลที่ ๙
ใจความประฐมเทศนา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช
ใจความปฐมเทศนา ตอนที่ ๑
ตอนที่ ๑ พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ท่างที่บรรพชิตคือนักบวช
ซึ่งมุ่งความหน่าย มุ่งควาสิ้นราคะ คือความคิด ความยินดี
มุ่งความตรัสรู้ มุ่งพระนิพพาน ไม่ควรส้องเสพ อันได้แก่
กามสุขัลลิกานุโยค
ความประกอบตนด้วยความสดชื่นอยู่ในทางกาม และ
อัตตกิลมถานุโยค
ความประกอบการทรมาณตนให้ลำบากเดือดร้อนเปล่า
เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นของต่ำทราม ที่เป็นกิจของชาวบ้าน
ที่เป็นของปุถุชน มิใช่กิจของบรรพชิต ผู้มุ่งผลเช่นนั้น ส่วนอีก
หนทางหนึ่งซึ่งเป็นข้อปฏิบัติ เป็นหนทางกลาง อยู่ระหว่าง
ทางทั้งสองนั้น แต่ว่าไม่ต้องแวะอยู่ในทางทั้งสองนั้น เป็น
ข้อปฏิบัติที่ให้เกิดจักษุคือดวงตาเห็นธรรม จะทำให้เกิดญาณ
คือความหยั่งรู้ ทำให้เกิดความสงบระงับ ทำให้เกิดความ
รอบรู้ ทำให้เกิดความดับกิเลส อันได้แก่ ทางที่มีองค์ประ
กอบ ๘ ประการ อันเป็นของประเสริฐ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี่ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
In the first part of the Buddha pointed out the manners
of practice that should be avoided by the monks or those
who remounce the world, who aspire for the disillusioned
weariness, the elimination of enjoyment and attachment
i.e. the Englightenment or Nibbana. These are the two
extremes of sensual indulgence and self-mortification,
bhoth to be avoided by the aspirants with the above-mentioned
purpose. His discovery, so he informed the Five Ascetics, is
between the two extremes, being not associated with any fo them.
It is the practice conducive to the 'Eye' (of Wisdom), the Insight,
the peace, the Supreme Knowledge, the Self-Enlightenment,
the Nibbana( Extinction of Defilements). This is the Noble
Eightfold path, which consists of
Right View,
Right Aspirations,
Right Speech,
Right Action,
Right Livelihood,
Right efforts,
Right Mindfulness and
Right Meditation.
|