|
บทฝึกแปล จากพระไตรปิฏกที่ ๑
๊Unparalleled almsgiving: อสทิสทาน
When the Lord was staying at Savatthi, in
Anathapindika's Resort in Jeta's Grove, at the
time when king Pasenadi of Kosala had inaugurated
unparalleled almsgiving, lasting seven days, to the
order of monks with the Buddha at its head,
when the great welathy merchant Anathapindika,
in conformity with this,(had inaugurated one)
lasting three days and when the great female
layfollower Visakha had likewise given a great
almsgiving, news of ( such) unparalleled almsgiving
became well known throughout this entire
Jambudipa.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี พระเจ้าปัสเสนทิโกศล
ทรงถวายอสทิสทาน ๗ วัน แด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน ท่านอนาถะบิณฑิกะ มหาเศรษฐี ก็ถวาย ๓ วัน
พอสมควรแก่อสทิสทานนั้น นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
ก็ถวายมหาทานเหมือนอย่างนั้น ประวัติความเป็นไปแห่ง
อสทิสทาน ได้ปรากฏทั่วชมพูทวีป
Here and there people began to talk amongst themselves
wondering whether it were due solely to generosity
great fruition or whether it were due to generosity that
was in accordance with one's own means. When the
monks heard such talk as this they informed the Lord.
The Lord said,
" It is not due, monks, solely to the excellence
of the merit-offering that alms will be of especially
great fruition but also to the successful attainment of
a heart of devotion and to the successful attainment of
the field. Therefore even a mere fistful of rice-bran,
a mere rag, spread of grass or leaves, or even a mere
fall nut in the putrid urine of cattle will, when established
with a devout heart in a person worthy of donations,
be of especially great fruition, of great brightness
and of great pervasiveness. "
ครั้งนั้น มหาชนยกเรื่องขึ้นพูดกันในที่นั้น ๆ ว่า
ทานจักมีผลมาก แม้ด้วยการบริจาคพอสมควรแก่ทรัพย์
สมบัติของตน ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว ก็กราบทูล
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านมิใช่จักมีผลมาก
ด้วยการถึงพร้อมแห่งไทยธรรมอย่างเดียว ที่แท้ ท่านจัก
มีผลมาก ก็ด้วยความถึงพร้อมแห่งจิตเลือมใส และด้วย
ความถึงพร้อมแห่งเขต(ทักขิไณยบุคคล) เพราะฉะนั้น
ทานวัตถุเพียงสักข้าวกำมือหนึ่งก็ดี เพียงผ้าเก่าผืนหนึ่งก็ดี
เพียงเครื่องลาดทำด้วยหญ้าก็ดี เพียงเครื่องลาดทำด้วย
ใบไม้ก็ดี เพียงสมอดองน้ำมูตรเน่าก็ดี บุคคลมีจิตเลื่อม
ใส่แล้ว ตั้งไว้ในทักขิไณยบุคคล ท่านแม้นั้น รุ่งเรืองมาก
แผ่ไพศาลมาก ดังนี้"
-----------------------------------------
พระไตรปิฏกภาษาอังกฤษ แปลจากภาษาบาลีโดย
Peter Massefield แห่งสมาคมบาลี กรุงลอนดอน
|