สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ที่ตั้งอาณาเขต

ลักษณะภูมิประเทศ

ทำเนียบผู้ว่าราชการฯ

 



 

ดินแดนประวัติศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอนถือเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัย
ที่สะสมอารยธรรมและสืบทอดกันมายาวนานจากหลักฐานทางโบราณคดีท
ี่พบในดินแดนแห่งนี้ทำให้ทราบว่าสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีอิทธิพลต่อการดำรง
ชีวิตและการพัฒนาการของเมืองเป็นอย่างยิ่งสุราษฎร์ธานีเป็นศูนย์กลางชุมชนเมือง
ที่ถูกจัดตั้งด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอนเป็นศูนย์กลางการค้าขายนับแต
่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยพัฒนามาพร้อมๆกับชุมชนโบราณอีกหลายแห่งที่อยู่บริเวณรอบ
อ่าวบ้านดอน ประกอบด้วยชุมชนเมืองสำคัญ ๆในอดีตดังต่อไปนี้
เมืองโบราณมีศูนย์กลางที่ราบลุ่มคลองไชยาเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 10 เกิดผสมผสาน
ระหว่างวัฒนธรรมด้านศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธแบบเถรวาท มีชื่อเสียงมากเมื่อครั้ง
วัฒนธรรมศรีวิชัยเจริญรุ่งเรื่องในราวพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมืองไชยาเป็นเมืองหนึ่งใน
เมืองสิบสองนักษัตรของอาณาจักรนครศรีธรรมราช ชื่อว่าเมืองบันไทยสมอ
เป็นเมืองขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นเมืองสิบสอง นักษัตรของนครศรีธรรมราช ชื่อ "เมืองสะอุเลา"
ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มลำน้ำท่าอุแท และคลองกะแดะควบคู่กันในอำเภอกาญจนดิษฐ์ อายุอยู่ในราว
พุทธศตวรรษที่ 18-19 เป็นต้นมา เป็นชุมชนกระจัดกระจายพบว่าตำบลช้างขวาและใกล้เคียง
มีศิลปกรรมสมัยทราวดี สมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าให้ย้าย " เมืองท่าทอง " จากริมคลองท่าเพชร
(คลองท่าทองใหม่)มาตั้งที่"บ้านดอน"เนื่องจากบริเวณนี้เป็นชุมชนหนาแน่นชาวบ้านส่วนหนึ่งอพยพ
มาจากเมืองท่าทองได้รับความเสียหายจากศึกพม่าครั้งก่อนและบ้านดอนเป็นท่าเรือรับส่งสินค้า
โปรดเกล้าให้ยกฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครพระราชพระราชนามใหม่ให้ว่า
" เมืองกาญจนดิษฐ์ "สมัยรัชการ ที่ 5 ร.ศ.117 ( พ.ศ.2441 ) ทางการได้ออกข้อบังคับลักษณะ
การปกครองหัวเมือง โดยปฏิรูปการปกครองให้ท้องที่หลายอำเภอรวมกัน มีผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผู้บังคับบัญชาและรวมหลายหัวเมืองเป็นมณฑลเรียกว่า ปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล
โปรดเกล้าให้รวมเมืองไชยา เมืองกาญจนดิษฐเมืองหลังสวน และเมืองชุมพรเป็น " มณฑลชุมพร
" พ.ศ.2442 รวมเมืองไชยา เมืองกาญจนดิษฐ์เป็นเมืองเดียวกัน
(เมืองคีรีรัฐนิคมรวมกับเมืองไชยาก่อนแล้ว ) เข้าเป็นเมืองไชยา
สมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2458 ย้ายศาลาว่าการมณฑลจากชุมพร มาตั้งที่บ้านดอนบริเวณเดียวกับศาลากลางเมืองไชยา (บ้านดอนเดิม) ยกฐานะเมืองท่าทองเป็นอำเภอกาญจนดิษฐส่วนเมืองไชยาเก่าให้เป็น " อำเภอพุมเรียง " แต่ราษฎรยังเรียกว่าเมืองไชยาเมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปักใต้ ได้ประทับ ณ เนินเขาใกล้กับเมืองพุนพินทรงเห็นภูมิประเทศคล้ายกับเมือง "สุรัฐ" ของอินเดียมีแม่น้ำ " ตาปิตี " ไหลผ่านจึงพระราชทานนามเมืองนี้ว่า "สุราษฎร์ธานี " คือเมืองคนดี เมื่อ 29 กรกฎาคม 2458 หลังจากนั้นอีก 1 เดือน จึงพระราชทานชื่อแม่น้ำสายที่ไหลผ่านว่า " แม่น้ำตาปี " เมื่อเดือน สิงหาคม 2458 และพระราชทานพลับพลาที่ประทับว่า " พระตำหนักสวนสราญรมย์ "พร้อมทั้งให้เรียกชื่อควนท่าข้ามว่า "สวนสราญรมย์"
สำหรับอาคารที่ทำการมณฑล (ศาลากลางจังหวัด ) เคยย้ายไปตั้งที่ทำการที่ตำบล
ท่าข้ามอำเภอพุนพินแล้วย้ายกลับมาที่บ้านดอน
เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่บ้านดอน ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ศาลากลางจังหวัดถูกเผาทำลายและสร้างขึ้นใหม่ในพื้นที่เดียวกัน แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2497
และอาคารหลังนี้ถูกวางระเบิดเสียหาย จึงได้ย้ายไปทำการสร้างใหม่ที่ถนนดอนนก
ซึ่งเดิมเป็นสนามกีฬาจังหวัดจนกระทั่งปัจจุบัน

สุราษฎร์ธาน ีเป็นเมืองแห่งนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระราชทานนามสะพานข้ามแม่น้ำตาปีว่า " สะพานจุลจอมเกล้า " และเขื่อนเชี่ยวหลานในอำเภอบ้านตาขุนว่า " เขื่อนรัชประภา "