หน้าหลัก เกี่ยวกับวัด ประมวลภาพ สาระน่ารู้เกี่ยวกับพุทธ บทสวดมนต์ ลิงค์ ติดต่อวัด Deutsch
 การบริหารคณะสงฆ์
 การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม
 กฎหมายสงฆ์ของไทย
 พระไตรปิฎก
 พุทธประวัติ
 วันสำคัญทางพุทธศาสนา
   

    

พระไตรปิฎก

          เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา   ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า   ไว้เป็นหมวดหมู่   แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ
                1.  พระวินัยปิฎก   ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ   ภิกษุและภิกษุณี
                2.  พระสุตตันตปิฎก   ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป   มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
                3.  พระอภิธรรมปิฎก   ว่าด้วยธรรมะล้วน   ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบแผนผังพระไตรปิฎก
       

          พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
                1.  มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ   เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์
                2. ภิกษุณีวิภังค์   ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี
                3.  มหาวัคค์   ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก   และพิธีกรรมทางพระวินัย   แบ่งออกเป็นขันธกะ 10  หมวด
                4.  จุลลวัคค์    ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย   ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา   แบ่งออก เป็นขันธกะ 12 หมวด
                5.  บริวาร    ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย   เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ   วินิจฉัยปัญหาใน 4  เรื่องข้างต้น

          พระสุตตันตปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
                1.  ทีฆนิกาย     ว่าด้วยพระสูตร   หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว   มี 34 สูตร
                2.  มัชฌิมนิกาย    ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป มี   152  สูตร
                3.  สังยุตตนิกาย    ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่น กัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป     โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต   ว่าด้วยเรื่องมรรคคือ ข้อปฎิบัติ เป็นต้น    มี   7,762  สูตร
                4.  อังคุตตรนิกาย    ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1   ธรรมะหมวด 2   ธรรมะหมวด   10   แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ   1, 2, 10  ตามหมวดนั้น มี   9,557  สูตร
                5.  ขุททกนิกาย    ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด   รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ   และชาดก   รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน   4 หมวดข้างต้น   แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง

          พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ
                1.  ธัมมสังคณี    ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม
                2. วิภังค์   ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ
                3.  ธาตุกถา    ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก
                4.  ปุคคลบัญญัต ิ   ว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด   และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
                5.  กถาวัตถุ   ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม   จำนวนหนึ่งประมาณ   219  หัวข้อ   เพื่อถือเป็นหลักในการ ตัดสินพระธรรม
                6.  ยมก    ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ
                7.  ปัฏฐาน    ว่าด้วยปัจจัย   คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน   24  อย่าง

 

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
                1.  พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย     สมัยเมื่อนิครนถ์   นาฎบุตร   เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่ง สิ้นชีพ   พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา   จึงพร้อมกับพระอานนท์ไป เฝ้าพระพุทธเจ้า   พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้ง โดยอรรถและพยัญชนะ   เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป
                2.  พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย   ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง   เมื่อพระผู้มีพระภาค แสดงธรรมจบแล้ว   ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ   พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม   ร้อยกรองพระธรรมวินัย   โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10  ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ   พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่อง ที่ถูกต้อง   เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้   แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะ ใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
           

     >>>หน้า 2

ที่มา : หอมรดกไทย

 

   
     
 
 
Copyright (c) 2005 All rights reserved, Sponsored by Siam Focus   
Wat Yarnsangvorn Vienna, Kohlgasse 41, 1050 Vienna, Austria, Tel./Fax: +43-(0)1-5488078
Contact Wat, Contact Webmaster