จากค่ายอื่นๆ (AMD และ Cyrix)
AMD หรือชื่อเต็มว่า Advance Micro Device ก่อตั้งในปี 1969 และเข้าสู่ธุรกิจการผลิตอุปกรณ์ Semiconductor จากนั้นในปี 1991 ก็ได้เข้ามาสู่วงการผลิต CPU แข่งกับ Intel ก็ออกตาม Intel มาเรื่อย เค้าออก i286 ก็ตั้งชื่อว่า AM286 วางจำหน่ายเรื่อยมาจนถึงรุ่นของ Pentium ที่ Intel จดลิขสิทธิ์ชื่อ AMD ก็เลยคิดค้นชิปของตัวเองออกจำหน่ายบ้างในชื่อของ K5
K5
เป็น CPU ตัวแรกของ AMD ที่ส่งมาเพื่อสู้กับ Intel โดยเฉพาะ ทำงานบน Socket 7 และใช้ PR-Rating เป็นการวัดความเร็ว CPU โดยมีตั้งแต่ 75-166 Mhz , Front Side Bus ทำงานที่ 50-66 Mhz มีรุ่นให้คุณงงเล่นๆทั้งหมด 4 รุ่นด้วยกันได้แก่
- K5-75,90,100 ที่ใช้ระบบการผลิตแบบ .60 Micron
- K5-100 ที่ใช้ระบบการผลิตแบบ .35 Micron
- K5-PR120, PR133 ซึ่งจริงๆแล้วเร็วเท่า Pentium 90 และ Pentium100 ใช้ระบบการผลิตแบบ .35 Micron
- และตัวสุดท้าย K5-PR166 ก็งงเหมือนกันครับ หลายรุ่นวุ่นวายไปหมด
K6
หลังจากนั้น ก่อนหน้าที่ Pentium II จะวางจำหน่าย AMD ก็ปล่อย CPU ออกมาชิงตัดหน้าก่อน 1 เดือนได้แก่รุ่น K6 ครับ ออกวางจำหน่ายในเดือนเมษายน 1997 ใช้ระบบการผลิตแบบ .35 Micron ออกแบบระบบการทำงานโดย Nexgen ทีมพัฒนาของ AMD มีความเร็วตั้งแต่ 166 ไปจนถึง 233 Mhz สนับสนุนความสามารถ MMX มี L1 Cache ถึง 64Kb ใช้สถาปัตยกรรมแบบ RISC ซึ่ง K6 นี้ได้เปิดตัวสวย ทำชื่อเสียงให้แก่ AMD มากเลยทีเดียว
K6-2
เป็น K6 รุ่นที่ 2 วางจำหน่ายเมื่อ พฤษภาคม 1998 จุดแตกต่างระหว่าง K6 และ K6-2 ก็คือชุดคำสั่ง 3DNow! ที่ทาง AMD หวังจะนำมาสู้กับ MMX เจ้า CPU ตัวนี้แหละครับที่มาแย่งตลาดส่วนล่างของ Intel ไปจนทำให้ Intel ทนไม่ไหวส่ง Celeron มาเล่นด้วยนี่แหละครับ ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและราคาที่ถูก K6-2 ก็เลยเป็น CPU รุ่นทำชื่อให้ AMD ครับ K6-2 มี L1 Cache 64 KB และ L2 Cahe อยู่บนเมนบอร์ดซึ่งก็มีตั้งแต่ 512k ไปจนถึง 2MB ครับ ทำงานที่ความเร็วเท่ากับ Front Side Bus ของ CPU ครับ . K6-2 ตัวแรกเปิดตัวที่ความเร็ว 266Mhz ครับ และตอนนี้ก็วิ่งไปจนถึง 475Mhz แล้วและยังอาจจะไปได้ไกลกว่านี้อีกด้วย K6-2 มีด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นตั้งแต่ 266 ไปจนถึง 366 และ 380 ไปจนถึง 475 สิ่งที่แตกต่างระหว่าง 2 รุ่นนี้ก็คือ รุ่นหลังจะเปลี่ยน ตัว Core ชิปข้างในเป็น CXT Core ผลที่ได้ก็คือ ลดความร้อนและระบบข้างในเสถียรขึ้น
Sharptooth (K6-III)
เป็นCPU ตัวแรกของ AMD ที่มีการนำเอา L2 Cache มาใส่ไว้ในตัว CPU ด้วยหลังจากที่ใส่ไว้บน Mainboard ซะนาน เจ้า K6-3 เนี่ยถ้าจะให้เปรียบก็เหมือนกับ K6-2 ที่มี L2 Cache 256 K ในตัวและมี L3 Cache บนเมนบอร์ดช่วยกันทำงานอีก ซึ่งด้วยพลังของ Cache 3 Level นี้เลยทำให้ K6-3 เป็น CPU ที่ส่งมาตีกับ Pentium II และ III นันเองครับ K6-3 ออกวางจำหน่ายเมื่อ กุมภาพันธ์ปี 1999 และออกมาด้วยกัน 2 รุ่นคือ K6-3 400 และ 450 ครับ ส่วนรุ่น 500 กำลังจะออกมาในไม่ช้า
K7 (Athlon)
ในช่วงที่ K6-2 กับ K6-3 กำลังทำตลาดกันอย่างเมามัน AMD เองก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ ซุ่มผลิต CPU พลังแรงหวังที่จะโค่น Pentium III ให้ได้ครับ ซึ่งนี่แหละครับ ที่มาของ AMD K-7 หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า Athlon Athlon เป็น CPU ตัวแรกของ AMD ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีจาก Intel เลย ซึ่ง PU ตัวนี้ AMD หวังจะแทงตลาดระดับสูงให้ได้เลยวางสเป๊กมาซะเว่อร์เลยครับ L1 Cache ที่มากถึง 128K , L2 Cache ขนาดตั้งแต่ 2 512K ไปจนถึง 8MB ซึ่งดีไม่ดี อาจจะไปได้ถึง 16MB ใช้ระบบ EV-6 Syetem Bus ของ Alpha Processor ซึ่งในทางทฤษฏีสามารถสนับสนุนระบบ Multiprocessor ด้วย Front Side Bus 200 Mhz เป็น CPU ตัวแรกที่ใช้ FSB สูงถึงขนาดนี้ และสามารถวิ่งไปได้ถึง 400Mhz เลยทีเดียว ทำงานบน Slot-A ซึ่งเป็น Slot ที่ AMD ทำขึ้นเอง อ้อ อีกอย่างเป็น CPU ตัวแรกของทาง AMD ทีมีชื่อเป็นของตัวเองครับ ซึ่ง Athlon ก็มีทั้งหมด 3 รุ่นแบ่งตาม ขนาดของ L2 Cache และความเร็วนะครับ โดยมี Athlon Professional , Athlon Ultra แล้วก็ Athlon Select ครับ Athlon ที่วางขายอยู้ในปัจจุบัน ก็มีรุ่น 500 ,550 ,600 และ 650 นะครับ คาดว่าปีหน้าเราคงจะได้เห็น Athlon 800Mhz แถมดีไม่ดี จะพัฒนาเป็นรุ่น Copper ใช้ระบบการผลิตที่ .18 Micron ซึ่งจะทำให้วิ่งไปได้ถึง 1Ghz เลยทีเดียวครับ
K8
โครงการต่อไปของ AMD ครับ ซึ่งตอนนี้ยังดูเป็นไข่อยู่เลยครับ ยังไม่ค่อยมีรายละเอียดมากเท่าที่ควร ทาง Jerry Sanders ประธานบริษัท AMD ได้ออกมาประกาศในงาน Microprocessor Forum ไว้ว่า K8 จะเป็นอะไรที่กระชากใจพวกเราทุกคนครับ ก็ไม่รู้จะกระชากไปได้แค่ไหนนะครับเนี่ย แต่เท่าที่รู้ก็คือ K8 จะเป็น CPU 64 Bit ตัวแรกของ AMD ครับ
"Code Name" ของซีพียูจาดทางค่าย Cyrix
6x86. Or M1
ผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็น CPU ตัวที่เท่าไหร่ของ Cyrix นะครับ แต่ออกมาในช่วงเวลาเดียวกับ AMD K-5 โดยมีรุ่นตั้งแต่ 6x86 120 ไปจนถึง 200 ครับ ทำงานบน Socket 7 ใช้ Front Side Bus ตั้งแต่ 50-75 ครับ ใช้ PR-Rating ในการวัดระดับคงามเร็วของ CPU เช่นเดียวกับ AMD สำหรับเจ้า 6x86 เป็น CPU ที่ยังมีความผิดพลาดอยู่ครับ ทำให้เครื่องล่มบ่อยๆ เลยขายไม่ค่อยดีนัก
MediaGX
CPU อีกตัวนึงจากสายพันธุ์ของ Cyrix ครับ เป็น CPU รุ่นครบเครื่องครับ แทบจะมีทุกอย่างของเมนบอร์ดอยู่บนตัวมันเลยทีเดียว เพราะในตัวมันเองมี PCI Controller และ Memory Controller ในตัว พร้อมกับ ชิปเร่งความเร็ว Graphic ในตัวด้วย (อะไรจะขนาดนั้น!) ความเร็วอยู่ที่ 180-233 Mhz ครับ ใช้ระบบการผลิตที่ .50 Micron
6x86MX
เป็นการเอา 6x86 มาออกแบบใหม่เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ เพิ่ม L1 เป็น 4 เท่าจากของเดิมเป็น 64K ครับทำให้ ประสิทธิภาพโดยรวมวิ่งขึ้นมาอีกเยอะเลยทีเดียว ความเร็วเริ่มต้นที่ 166 ไปจนถึง 266 Mhz ครับ
Cyrix MII
เป็น CPU หลักของ Cyrix ในขณะนี้ครับ เริ่มผลิตครั้งแรกเมื่อ มีนาคม 1999 สเป๊กคล้ายๆกับ K6-2 ครับ มี L1 Cache 64 K L2 Caheอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานบน Socket 7 สนับสนุนชุดคำสั่ง MMX ใช้ระบบการผลิตแบบ .25 Micron คาดว่าจะเปลี่ยนเป็น .18 Micron ในไม่ช้าครับ
Gobi (MII+)
CPU ตัวนี้มีชื่อด้วยกัน 2 ชื่อครับ ตอนแรกจะใช้ชื่อว่า เจได แต่ท่าทาง LucasArt จะไม่ยอมเลยต้องเปลี่ยนชื่อเป็นโกบี้ ครับ เป็น CPU ตัวแรกของ Cyrix ที่ทำงานบน Socket 370 สนับสนุนชุดคำสั่ง MMX และ 3DNow! L1 Cache 64K และ L2 Cache 256K บนตัวCPU ทำงานที่ความเร็วเท่ากับ CPU ครับ
MediaPC
เป็น CPU รุ่นต่อจาก MediaGX ครับ ทำงานบน Socket7 ที่ความเร็ว 233-300 Mhz ใช้ Core ตัวเดียวกับ Gobi แต่เพิ่ม graphics accelerator กับ peripheral controllers แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใคร เกิดอะไรขึ้นกับ CPU ตัวนี้
Mojave (M3)
นี่คงจะเป็นอาวุธลับที่ Cyrix จะเอามาเพื่อยันตลาดของตัวเองแหละครับ เป็น CPU ระดับสูงทีเดียว ใช้ระบบการผลิตแบบ .18 Micron มี L1 Cache 32K และ L2 Cache 256 บนตัวCPU สนับสนุนชุดคำสั่ง MMX และ 3dNow! คาดว่าจะมีความเร็วประมาณ 600-800 Mhz ใช้ Front Side Bus 100 เหมือนเดิมครับ มีชิปเร่งความเร็ว 3D และชิปควบคุมหน่วยความจำในตัว ตามแผนคาดว่าจะวางจำหน่ายช่วงครึ่งหลังของปี 2000 ครับ
"Code Name" ของซีพียูจาดทางค่าย Rise
Rise นี่คงจะหาคนที่รู้จักได้น้อยมากเลยทีเดียว เพราะว่า ไม่มีในบ้านเราไม่มีใครนำเข้ามาเลยครับ เท่าที่เห็นก็จะไปโผล่แถวๆญี่ปุ่นหรือไต้หวันมากกว่า Rise ทำ CPU ที่ออกมาเพื่อใช้กับเกมมากกว่าที่จะเอามาทำงานครับ CPU ตัวแรกของ Rise คือ mP6 ครับ ลองมาดู Spec กันเลยดีกว่า
mP6
เป็น CPU ตัวแรกของ Rise ครับ ดูท่าทางจะไปโผล่ใน Notebook มากกว่าใน PC เป็น CPU ที่ยังไม่ค่อยดีนักครับ ผลิตความร้อนสูงแถม L1 cache น้อยมากครับ แค่ 16K เอง ส่วน L2Cache ก็อาศัยบนบอร์ดน่ะครับว่าจะให้ได้มากแค่ไหนก็ 512K ไปจนถึง 2MB นะครับ CPU ของ Rise เองก็วัดระดับความเร็วด้วย PR-Rating เช่นดียวกับ สำหรับรุ่น mP6 นี้มีความเร็วอยู่ที่ 166-366 Mhz ครับและในปี 2000 Rise คาดว่าจะผลิต mP6 ไปให้ถึง PR-466 Mhz ให้ได้ครับ
mP6 II
CPU ตัวนี้ เป็นอะไรที่เหมือนๆกับการพัฒนาของ K6-2 ไป K6-3 นั่นแหละครับ ก็คือ พัฒนาโดยการเพิ่ม L2 cache จำนวน 256KB ไปบนตัว CPU ด้วย ความเร็วเริ่มต้นที่ PR-200 Mhz อย่างไรก็ตามในเมื่อเดือนสิงหาคม 1999 ที่ผ่านมา ทาง Rise ได้ยกเลิกแผนการผลิต CPU ตัวนี้เพราะเนื่องจากว่าต้นทุนการผลิตที่แพงเกินไปครับ
Tiger
เป็น mP6 II บน Socket 370 ครับ
"Code Name" ของซีพียูจาดทางค่าย Centaur
พูดถึงชื่อบริษัท Centour นี่หลายๆคนคงไม่รู้จักเหมือนกับ Rise ที่พูดไปตะกี๊นะครับ แต่ถ้าพูดถึง Winchip ล่ะก็หลายคนต้องร้องอ๋อแน่ เพราะเป็๋น CPU ที่ราคาถูกๆแสนถูกยิ่งกว่า AMD ที่มาตีตลาดบ้านเราไม่นานมานี่เอง แต่นะครับ เนื่องจากราคาถูกคุณภาพก็เลยสมกับราคาไปในเวลาเดียวกัน มาดูตัวแรกกันเลยดีกว่าครับ
Winchip C6
เป็๋น CPU ตัวแรกที่ส่งมาตีตลาดระดับล่างครับ ทำงานที่ Front Side Bus 66 Mhz ออกแบบมาเพื่อให้ใช้บน Socket 7 ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ .35 Micron . สนับสนุนชุดคำสั่ง MMX วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม 1997 ครับ มีรุ่นที่มีความเร็วตั้งแต่ 180-200Mhz ครับ
Winchip-2
ขยับขยายขึ้นมากอีกนิดนึงกับ Winchip-2 ครับ เพิ่ม L1 Cache เป็น 64 แล้วก็ L2 Cache บนเมนบอร์ดขนาดตั้งแต่ 512K-2MB เหมือน CPU ทั่วๆไปครับ สนับสนุน MMX และ 3DNow! ทำงานที่ความเร็วตั้งแต่ 200-300 Mhz และ Front side Bus ทำงานที่ 100Mhz ครับ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใน Winchip-2 นอกจากจะเป็นรายละเอียดที่ผมกล่าวไป ก็คือ ตัว FPU( Floating Point Unit) ที่เปลี่ยนใหม่ทำให้คำนวนได้เร็วขึ้นกว่าเดิมครับ
Winchip-2A
อันนี้ก็เป็น Winchip-2 แหละครับ แต่ทำการแก้ไข Error เกี่ยวกับ คำสั่ง 3DNow! แล้ว
Winchip-3
สำหรับ Winchip-3 ตัวนี้ เหมือนกับ K6-3 เลยครับ ทำการเพิ่มเติม L2 Cache ไปบนตัว CPU แล้วเลื่อน L2 ตัวเก่าที่อยู่บนเมนบอร์ดมาเป็น L3 แทน ซึ่ง CPU ตัวนี้จะมีความเร็วตั้งแต่ 300 Mhz เป็นต้นไปครับ แต่อนาคตของ CPU ตัวนี้ยังหมองหม่นอยู่นะครับ เนื่องจากว่า VIA ผู้ผลิตเมนบอร์ด Chipset ชื่อดัง ได้เข้ามาสู่ธุรกิจผลิต CPU กะเค้าด้วย เลยทำการซื้อ ทั้ง Cyrix และ Centour ผลก็คือตอนนี้ทาง Centour ยังต้องรอคำสั่งจากทาง VIA อยู่นั่นแหละครับว่าจะปล่อยได้เมื่อไหร่
Winchip-4
เป็น CPU รุ่นถัดจาก Winchip-3 ครับ ทำงานที่ 400-500 Mhz ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ .25 Micron หลังจากนั้นค่อยย้ายไปผลิตบน .18 Micron ตามลำดับซึ่งจะเร่งความเร็วไปได้ถึง 500-700 Mhz เลยทีเดียว และผมก็คิดว่าอาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบ Form-Factor ก็ได้ ซึ่งทาง Centour ก็ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากเกี่ยวกับ CPU ตัวนี้นะครับเอาล่ะครับก็หมดแล้ว กับ CPU Naming อ่านกันจนตาแฉะเลยล่ะสิครับ ขอบคุณที่ทนอ่านจนจบครับ หลังจากอ่านเจ้านี่จบแล้ว ผมคิดว่าคุณคงจะเข้าใจการดู RoadMap หรือสายการผลิต CPU ของบริษัทแต่ละเจ้าได้ไม่ยากแล้วนะครับ