เมื่อขุนพิเรนทรเทพนำคณะปฏิวัติจับขุนวรวงศาธิราช
แม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร ์กับบุตรีน้อยฆ่าทิ้งคาเรือพระที่นั่งนำศพไปเสียบประจานแล้ว
ก็ให้หลวงราชนิกูล พระรักษมณเฑียร กับเจ้า พนักงานทั้งปวง นำเรือพระที่นั่งไชยสุพรรณหงส์
ไปยัง วัดราชประดิษฐาน อัญเชิญพระภิกษุ เฑียรราชา ให้ปริวรรตลาผนวช เชิญเสด็จลงเรือไชยสุพรรณหงส์อลังการ์
ประดับด้วย เครื่องสูง มยุรฉัตรพัด โบก จามรมาศ ดาษดาด้วยเรือดั้งกันแห่เป็นขนัดแน่น
โดยชลมารควิถีเชิญ เสด็จเข้า สู่พระราชวัง ครั้นได้ มหามหุติวารศุภฤกษ์พิชัยดฤถี
จึงประชุมสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ คามวาสี อรัญวาสี มุขมาตยา มนตรี กวีโหราราชครูหมู่พราหมณ
ปโรหิตาจารย์ โอมอ่านอิศวร เวทวิษณุมนต์พร้อมทั้งพุทธจักร อาณาจักร มอบเครื่อง
เบญจราชกกุธภัณฑ์ อภิเษก กทกมุรธารา ปราบดาภิเษก ถวัลยราช ประเพณี สืบศรีสุริยวงศ์กษัตริย์ทรง
พระนาม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า
และ พระองค์ได้ทรงรับ พระศรีศิลป์รัชทายาทสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่กำพร้า
ทั้งพระราชบิดา และ พระมารดา คือท้าวศรีสุดาจันทร์มาเลี้ยงดูไว้ ด้วย พระเมตตาการุญ
รุ่งขึ้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ก็ทรงทำพิธีสำคัญบำเหน็จความ
ชอบแก่ผู้ กู้แผ่นดินต่อทุรยศให้คืนสู่สันติสุข ขุนพิเรนทรเทพ ผู้นำคนสำคัญ
ซึ่งบิดาเป็น พระราชวงศ์พระร่วง มารดาเป็นพระราชวงศ์ แห่งสมเด็จ พระไชยราชา
ธิราชเจ้า ทรงโปรดให้ เป็นสมเด็จ พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ครองเมือง พระพิษณุโลก
ตรัสเรียกสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอพระ สวัสดิราช ถวาย พระนามพระวิสุทธิกษัตริย์
เป็นพระอัครมเหสีเมืองพระพิษณุโลก พระราชทาน เครื่องราชาบริโภคให้ครบถ้วน อย่างสม
พระเกียรติยศ ขุนอินทรเทพได้เป็นเจ้าพระยา ศรีธรรม โศกราช ครอง เมืองนครศรีธรรมราช
รับพระราชทานลูก พระสนมเอกองค์หนึ่ง เป็นคู่ครอง พร้อมเครื่องสูงตามตำแหน่ง
หลวงศรียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดี หมื่นราชเสน่หา เป็น เจ้าพระยามหาเทพ รับพระราชทาน
ลูกพระสนม และ เครื่อง สูงครบครัน ส่วนหมื่นราชเสน่หานอกราชการผู้ยิงมหาอุปราช
(น้องชายขุน วรวงศาธิราช)ตกช้างตาย ได้เป็นพระยาภักดีนุชิตพร้อมเครื่องสูงตามตำแหน่ง
และ ลูกพระสนม เป็น ภรรยา พระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก ได้เป็นเจ้าพระยาพิชัย
เจ้าพระยาสวรรคโลกพระราชทานเจียดทองซ้ายขวากระบี่บั้งทอง เต้าน้ำทอง พระ หลวงขุนหมื่น
ที่ร่วมเป็นร่วมตาย ต่างได้รับพระราชทาน บำเหน็จความชอบ โดย อนุกรมลำดับ เสร็จพระ
ราชพิธี แต่งตั้ง พระราชทานครบถ้วนแล้ว สมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสสาบานว่า
'กษัตริย์ พระองค์ใดขึ้น ครองพิภพในภายหน้า อย่าให้กระทำร้าย แก่ญาติพี่น้องพวก
พงศ์สมเด็จ พระมหา ธรรมราชาธิราชเจ้า เจ้าพระยา ศรีธรรมโศกราช เจ้าพระยา มหาเสนา
เจ้าพระยามหาเทพ ให้โลหิต ตกลงในแผ่นดิน ถ้ากษัตริย์พระองค์ใด มิได้กระทำ ตามคำเรา
สาบานไว้อย่า ให้ กษัตริย์พระองค์นั้นคงอยู่ในเศวตฉัตร'ประกาศสัตย์สาบานประหนึ่ง
'ล้างอาถรรพย์' มิให้มีการเข่นฆ่าอาฆาตชิงอำนาจราชศักดิ์กันสืบต่อไป ขอให้
สิ้นสุด ปานาติบาตกรรมไว้เพียงนี้ มิเป็น 'อาถรรพย์' สืบเนื่อง ประหนึ่งลูกโซ่
ต่อเชื่อมร้อยรัด ขณะปรับเปลี่ยนแผ่นดิน ของไทย สมเด็จพระเจ้า หงสาวดี ทรง
เห็น เป็นจุดอ่อน เชี่อว่า หัวเมืองขอบขัณฑเสมาและเสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวง จะกระด้างกระเดื่องต่อกรุงศรีอยุธยา
จึงยกทัพรีบรุดมาตีเมืองหลวงไทย โดยผ่าน ทางด่านเจดีย์ ๓ องค์เมือง กาญจนบุรี
ตีเมืองกาญจนบุรีได้ จับกรมการถามข่าว ทางพระนครทราบว่า เกิดจลาจลจริง
แต่พระเฑียรราชา ขึ้นครองแผ่นดิน เรียบร้อยแล้ว เสนาพฤฒามาตย์ และหัวเมืองทั้งปวงเป็นปกติ
พร้อมมูลอยู่ สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดี ผิดคาดแต่ยกทัพมาถึงขั้นนี้แล้ว จะกลับก็ไม่มีเกียรติเอาเสียเลย
จึงคิดเข้าชานเมืองพอเห็นพระนครแล้วจะกลับ หยั่งเชิงทหาร ศรีอยุธยาว่า จะม
ีผู้ใดออกมารับทัพบ้างทรงพระดำริเสร็จนำทัพเข้าตีเอา เมืองสุพรรณบุรี อันเป็น
ทางผ่านได้ เดินทัพตัดทุ่งเข้าท้ายป่าโมก ข้าม เข้าตั้งค่ายหลวง ที่ตำบลลุมพลี
ณ วันอังคาร ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนยี่ ศักราช ๘๙๒ ปีขาล โทศก(พ.ศ.๒๐๗๓) ทอดพระเนตร
เห็นกำแพงพระนครศรีอยุธยา ปราสาทราชมณเฑียรอยู่ ๓ วัน ก็ยกทัพกลับโดยไม่ทำอะไร
ขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าตกพระทัยทราบ ข่าวศึก ระดมพล นอก
เมืองในเมือง เตรียมรับ เป็น โกลาหล ช่วงนั้นพระยาละแวกแห่งเมืองเขมร รู้ข่าวการผลัด
แผ่นดินไทยก็ฉวยโอกาส ยกทัพ มาตีเมือง ปราจีนบุรีจับ คนสอบ ถามเรื่องเมืองหลวง
พอตระหนักถึงความพร้อม มีพระเจ้าแผ่นดินเรียบร้อย จึงยั้ง แค่นั้น ไม่กล้ารุกคืบหน้าได้แต่
กวาดครัว อพยพชาวปราจีน กลับเมืองละแวก เป็น อันมาก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชรธิราช
ทราบเรื่องพระยาละแวก แอบตี ปราจีน ก็ทรงพระพิโรธ ยกทัพหลวงไปทางปัตมองถึงเมืองละแวกทัพเรือไปทาง
ปากน้ำ พุทไธมาสเข้าคลองเชิงกระชุ่ม กองหน้าตั้งห่าง เมืองแค่ ๑๐ เส้น ทัพหลวง
ห่าง ๑๕๐ เส้นหมายตีเมืองละแวกให้แหลกลาญ พระยาละแวกนกรู้ เห็นจวนตัว ก็มีศุภอักษร
แต่ง เสนาบดีมาสวามิภักดิ์ ขอพระราชทานอภัยโทษที่ล่วงล้ำก้ำเกิน จะถวาย คืนทรัพย์สินผู้คน
ที่กวาด ต้อนมาทั้งหมด นำเครื่องราชบรรณาการ กับ นักพระสุโท นักพระสุทันราชบุตรออกมาเฝ้า
แทบ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงรับการสวามิภักดิ์นั้น ขอตัวราชบุตรทั้งสองของพระยาละแวก
มาเลี้ยงเป็น โอรส บุญธรรม แล้วยกทัพกลับทรงพระกรุณาให้นักพระสุทัน ขึ้นไปครองเมือง
สวรรคโลก
ต่อมา พ.ศ. ๒๐๗๘ ได้ข่าวนักพระสัฏฐาไปเอากองทัพญวนมายึดเมืองละแวก เสีย บิดาของนักพระสุโทนักพระสุทันแก่ญวน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงเรียก นักพระสุทันที่ครองเมือง สวรรคโลกลงมา เป็นแม่ทัพคุมพล
ไปตีเมืองคืน 'ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ในเกณฑ์พระชันษาร้ายถึงฆาต มิอาจคุมทัพไปในครั้งนี้'
พระสุทัน กราบทูลแต่ทรงตรัสว่า 'มุขมนตรี ปรึกษาพร้อมแล้ว ประการหนึ่ง กรุง
กัมพูชาธิบดีก็เป็นของเจ้าอยู่ จำต้องไป' พระสุทันหรือพระองค ์สวรรคโลก
มิอาจ ทัดทาน จำใจนำทัพไปตีเมืองละแวกคืน ผลปรากฏว่า พระสุทันเสียชึวิต ตามดวง
คายคอช้างทัพที่นำไปสามหมื่นทั้งบกและเรือก็แตกพ่าย เสียหายอย่างหนัก กลับพระนคร
ศึกใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา เกิดขึ้นอีกครั้ง ใน พ.ศ. ๒๐๘๖ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี
ยกทัพมากกว่าครั้งแรกสิบเท่า หมาย เอา กรุงศรีอยุธยา ให้ได้ ไม่เหยียบชานเมือง
มองเฉยเหมือน ครั้งก่อน โดยเคลื่อนพลในวัน อาทิตย์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๒ เวลา
อุษาโยก ทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลปราบทวีป เป็นราช พาหนะ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช
ทรงทราบข่าวศึก ก็ตรัสให้เทครัว เมืองตรี จัตวา และแขวง จังหวัดเข้า พระนคร
มีพระราชกำหนดขึ้นไปถึงเมือง พระพิษณุโลก ว่าถ้าศึกหงสาวดีมาติด พระนครศรีอยุธยา
เมื่อใดให้สมเด็จ พระมหาธรรมราชา เอาทัพเมืองเหนือทั้งปวง ยกมาเป็น ทัพ ขนาบ
ให้พระยาจักรี ตั้งค่ายที่ตำบลลุมพลีถือพลหมื่นห้าพัน ใส่เสื้อแดงหมวกแดง พระมหานาค
วัด ภูเขาทอง สึกออกมาตั้งค่ายสกัดกั้น ทัพเรือ ขุดคลองนอกค่าย ตั้งแต่วัดภูเขาทอง
จนถึงวัดป่าพลู เรียก 'คลองมหานาค' มาจนทุกวันนี้ เจ้าพระยามหาเสนา ถือพล หมื่นห้า
ตั้งค่าย ณ บ้านดอกไม้ ป้อม ท้องนาหันตรา พลใส่เสื้อเขียวหมวกเขียว พระยาพระคลังถือพลหมื่นห้าตั้งค่ายป้อมท้ายคู
พลใส่เสื้อ เหลืองหมวกเหลือง พระยาสุนทรสงคราม เจ้าเมืองสุพรรณบุรี ถือพลหมื่นหนึ่ง
ตั้งค่าย ป้อมจำปา พลใส่ เสื้อดำหมวกดำ ในพระนคร ก็ตกแต่ง ป้องกันเป็นสามารถ
ศึกหงสาวดีใน ครั้งนี้ มีบันทึกใน ประวัติศาสตร์ชาติไทยถึง วีรสัตรี คนแรก
แลสมเด็จพระเจ้า หงสาวดี อาศัยฤกษ์ ยาม ขับพลเข้าตี ทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
เรียกว่า ศุภนิมิตราชฤกษ์คือพระอาทิตย์ แจ่มดวงหมด เมฆ หมอก มีคิขณราชบินหน้าทัพ
ถ้าเรียกในศัพท์สมัยใหม่ก็ว่า......ตะวันกล้ามหากาฬ ศึกครั้งนี้เป็นอย่างไร
ใครคือวีรสัตรีแห่งประวัติศาสตร์ไทยคนแรก ท่านทราบหรือไม่ ....
[HOME]
[NEXT]