ในการเดินทางโดยรถไฟสายเหนือ
เมื่อเข้าเขตจวนจะถึงสถานีรถไฟอยุธยา ภาพสอง ข้างทางจะปรากฎ
ให้เห็นซากชอง โบราณสถาน เป็นเจดีย์ โบสถ์ วิหาร อยู่มากมาย แต่ ที่เห็นสะดุดตาที่สุด
คือเจดีย์ทรงกลม องค์ใหญ่ องค์ หนึ่งที่สูงกว่าโบราณสถานอื่นๆ อัน ปรากฎให้เห็น
ในลักษณะเอียงซวนเซจน น่ากลัวว่า
จะล้ม ในวันใด วันหนึ่ง โดย มากคน ที่เห็นเจดีย์องค์นี้ก็จะรู้จักว่าเป็น เจดีย์ของ
วัดใหญ่ชัยมงคล ที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมือง พระนครศรีอยุธยา ทาง มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเกาะ
การที่เจดีย์วัดใหญ่
ชัยมงคล เป็นที่สะดุดตาแลเห็นได้แต่ ไกลก็ด้วยขนาด ความสูงประมาณ 60 เมตร ลักษณะของ
องค์เจดีย์เป็นฐานสี่เหลี่ยมสำหรับเดินโดยรอบ องค์เจดีย์ เรียกว่า ฐานทักษิณ
สูงเฉพาะฐาน ประมาณ 15 เมตร ความกว้างของฐาน รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสด้านละ 32 เมตร
40 เซนติเมตร เป็นที่ตั้งขององค์ เจดีย์ใหญ่ ตรงกลาง และมีเจดีย์ทิศที่มุม ทั้งสี่ด้วย
ปัจจุบันบริเวณ วัดใหญ่ชัยมงคล มี พระสงฆ์ เข้าจำพรรษา ทางเข้าของวัดปัจจุบัน
จะอยู่ ทางทิศเหนือซึ่งอยู่ติดกับถนนแต่ โดยข้อเท็จจริงของประวัติ สถาปัตยกรรมแบบนี้
ภายในบริเวณวัดทั้งหมด ในปัจจุบันแต่เดิม เป็นเขตพุทธาวาสคือ เป็นสัดส่วนที่จัดไว้เฉพาะที่
เป็นเจดีย์ สำคัญ วิหาร โบสถ์ เท่านั้น ส่วนกุฎิสงฆ์ อื่นๆนั้น จะจัดไว้เป็นสัดส่วน
หนึ่งต่างหาก นอกบริเวณนี้เรียกเขตสังฆวาส หรือที่อยู่อาศัยของสงฆ์ ดังนั้น เมื่อ
วัดมีบริเวณอยู่ เท่าที่เห็น
ในปัจจุบัน จึงเป็นการรวมเอาสังฆวาสคือ กุฎิ สงฆ์ และ
สิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ ปะปนเข้าไป อยู่ในบริเวณ
พุทธาวาส ซึ่งประกอบด้วย เจดีย์ โบสถ์ วิหาร ต่างๆ อันเป็นโบราณสถานไปอย่าง ผิดในวัตถุประสงค์
ของผู้สร้างแต่เดิม ภายในบริเวณพุทธาวาส มี โบราณสถาน ที่น่าชมอยู่หลายแห่ง นับจากึ่งอยู่ติด
กับถนนแต่ โดยข้อเท็จจริง ของประวัติสถาปัตยกรรมแบบนี้ ภายใน บริเวณวัด ทั้งหมดในปัจจุบัน
แต่เดิม เป็นเขตพุทธาวาสคือ เป็นสัดส่วนที่จัดไว้เฉพาะ ที่ เป็นเจดีย์ สำคัญ
วิหาร โบสถ์ เท่านั้น ส่วนกุฎิสงฆ์ อื่นๆ
นั้น จะจัด ไว้เป็นสัดส่วนหนึ่งต่างหาก นอก บริเวณนี้ เรียกเขตสังฆวาส หรือที่อยู่อาศัยของสงฆ์
ดังนั้น เมื่อ วัดมีบริเวณอยู่ เท่าที่เห็นในปัจจุบัน จึงเป็นการรวมเอาสังฆวาสคือ
กุฎิสงฆ์ และ สิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ ปะปน เข้าไป อยู่ในบริเวณ พุทธาวาส ซึ่งประกอบด้วย
เจดีย์ โบสถ์ วิหาร ต่างๆ อันเป็นโบราณสถาน ไปอย่าง ผิดในวัตถุประสงค์ ของผู้สร้าง
แต่เดิม ภายใน บริเวณพุทธาวาส มีโบราณสถาน ที่น่าชม อยู่หลายแห่ง
นับจากกำแพงเขตพุทธาวาส ซึ่งปัจจุบัน เป็นกำแพงวัด มีซุ้มประตู เข้าสู่บริเวณภายในถึง
8 ซุ้ม ด้านทิศ ตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้าแต่เดิม มีซุ้มประต ูเรียง กันอยู่
3 ซุ้ม ด้านข้างทิศเหนือและทิศใต้ มีซุ้มประตู ข้างละ 2 ซุ้ม ด้านตะวันตก มีซุ้ม
ประตูซุ้มเดียวที่มุมกำแพง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิหาร ขนาดใหญ่พอสมควร
ประดิษฐาน พระพุทธรูป ปางไสยาสน์ ปัจจุบันองค์ พระถูกขุดค้นทำลายเพื่อหาสมบัติมีค่า
จนอยู่ในสภาพ ที่ เกือบจะหมดเค้าของเดิม ในแนวกึ่งกลาง จากตะวันออก ไปตะวันตก
เป็นที่ตั้งของ สิ่งก่อสร้างโบราณ สำคัญ เรียงในแนวเดียวกันจากหน้าไปหลังคือ
พระอุโบสถ ขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้รับการ ปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่เป็น บางส่วน ถัดไปเป็น
บริเวณที่ล้อมรอบด้วย ระเบียงคต รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
ในบริเวณ พุทธาวาสนี้ ถัดไปด้านหลัง จึงเป็นวิหารขนาดใหญ่ เหลือร่องรอยเพียงฐาน
และเสาส่วน หลังคาที่เป็น กระเบื้องเครื่องไม้ ไม่เหลือให้เห็นแล้ว นอกจากนี้
บนช่วงรอบนอกระเบียงคต รูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า กับกำแพง เขตพุทธาวาส ล้อมรอบด้วยเจดีย็รายซึ่งสร้าง
แซมขึ้นใน สมัยที่ต่างๆ กัน บางองค์ ก็ยังคงรูปทรง ให้เห็น ได้บางองค์ก็เหลือเพียงซากของกองอิฐ
เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มีจำนวนถึง 28 องค์ ทางเข้าสู่บริเวณภายใน ระเบียงคตด้านหน้านั้น
เป็นซุ้มประตู อยู่ด้านข้างโบสถ์ 2 ซุ้ม ระเบียงคต เหลือสภาพให้เห็นเพียง แนวของเสาด้านหน้า
ส่วนหลังคานั้นได้ชำรุดสูญหายไปแล้วเช่นกันตลอดแนว ระเบียงคต ที่ล้อมรอบ บริเวณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สลักจากหินทราย
มีอายุสมัย ต่างๆกัน แต่ส่วน ใหญ่จะชำรุด พระเศียร หลุดหักตกหล่นอยู่ทั่วไป บริเวณภายใน
ระเบียงคตเป็นที่ตั้งของจุดที่เป็น ประธาน ของวัดคือ พระเจดีย์องค์ใหญ่ฐานสูงที่กึ่งกลางดังได้
กล่าวแล้วแต่ต้น แต่ก็ยังมีส่วนสำคัญ อันเป็นโบราณ สถานที่น่าสนใจอีก 2 แห่งคือที่หน้าฐานเจดีย์องค์ใหญ่
เป็นที่ตั้ง ของวิหารรูปสี่เหลี่ยม ขนาดเล็กสองหลัง วิหารทั้งสองหลัง เป็น ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น
2 องค์ ประทับนั่งในปางมารวิชัย แต่จากการชำรุด ทรุดโทรม ของหน้า ตัก พระพุทธรูปองค์หนึ่งอิฐที่หลุดร่วง
ไปได้ เผยให้เห็น ข้อเท็จจริง อันเป็นหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ แต่เดิมพระพุทธรูปนี้เป็น
พระพุทธรูป ยืน สมัยต่อมาที่มีการก่อสร้าง องค์พระเจดีย์ใหญในรูปทรงที่เห็น ใน
ปัจจุบัน จึงได้มีการ เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระพุทธรูป ยืนทั้งสององค์ โดยการพอกอิฐรอบๆ
พระบาทของพระ พุทธรูปขึ้นเป็นฐาน และ ก่ออิฐเลยขึ้นมาถึงเอวขององค์พระ พร้อมทั้งตกแต่งอิฐ
ที่ก่อขึ้นมานั้น ให้มีรูปร่าง เป็นท่อนขาของ พระพุทธรูปที่ประทับ ในท่า ขัดสมาธิ
หลักฐานที่องค์ พระมีความสอดคล้อง กับหลักฐาน ที่พบใหม่ภายใน องค์เจดีย์ มาจนตราบเท่าทุก
วันนี้
เมื่อครั้งที่กรมศิลปกรได้เข้าทำการบูรณะได้พบว่า
เจดีย์องค์ใหญ่ ที่ปรากฎ แก่สายตา ในัจจุบัน ได้
ก่อสร้างครอบเจดีย์อีกองค์ไว้ภายในเจดีย์องค์ใน มีแบบแผนเป็นเจดีย์ ทรง กลมที่นิยมสร้างกันใน
สมัยยุคต้น ของ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งแบบแผนดังกล่าวนี้ อาจเป็นแบบ ของเจดีย์ในสมัยก่อน
สร้างกรุง
ศรีอยุธยา ด้วยก็ได้ แต่เดิมวัดใหญ่ชัยมงคลคงได้รับการขนานนาม จากชาวท้องถิ่น
ที่อยุธยาว่า วัดใหญ่ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจาก เพราะ เป็นซาก วัดโบราณที่มี สถูปเจดียฺ์ขนาดใหญ่อยู่ก็ได้ประวัติของวัด
จะเป็น มาเช่นไรก็ไม่มีใครทราบน่ชัด นอกจากเรื่องบอกเล่า ที่มีลักษณะ เป็น นิทานปรัมปรา
ที่มีแบบแผนการ
เล่า เรื่อง เพื่ออธิบายที่มา ของ ปรากฏการณ์ สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของ คน ใน
สมัยก่อนว่า ในสมัยก่อน
การสร้าง กรุงศรีอยุธยา คือสมัยที่ กรุงอโยธยา เป็น เมืองหลวงอยู่นั้นมีเชื้อสายของกษัตริย์ไทย
และ กษัตริย์มอญเมืองหงสาวดี 2 องค์คือ พระนเรศน์ และ พระนารายณ์ โดย พระนเรศน์
เป็นเชื้อสาย ของ กรุงหงสาวดี เรียกกันว่า พระนเรศน์หงสา ส่วนพระนารายณ์นั้นเป็นเชื้อสายของอโยธยา
ทั้งสอง องค์มี
ฐานะ เป็น ลูกพี่ลูกน้องกันโดยพระมารดาของพระนเรศน์หงสาเป็นอาหญิงคือเป็นน้องสาวของพระบิดา
ของ พระนารายณ์ ทั้งสองเมืองต่าง ก็คบค้าไปมา หาสู่กันฉันท์ เครือญาติ ต่อมาทั้งสองฝ่าย
มีการผิดใจ
กัน จนถึงกับพระนเรศน์หงสายกทัพมอญมาเพื่อ จะล้อมตีเอากรุงอโยธยา ฝ่ายพระนารายณ์
ขณะนั้น กำลังยังไม่พร้อม จึง เจรจาความเมืองสร้างพระเจดีย์แข่งกัน
โดยฝ่ายพระนเรศน์หงสา สร้าง เจดีย์ที่ ปัจจุบันเป็นเจดีย์ภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ส่วนพระนารายณ์ สร้างเจดีย์ตรงที่เป็นวัด ใหญ่ชัยมงคลนี้ เมื่อสร้างไปนั้น เจดีย์ภูเขาทองทำทีท่าว่าจะสร้างเสร็จก่อน
พระนารายณ์จึงใช้กลอุบาย สร้างเจดีย์ด้วย ผ้าคลุม โครงไม้ภายใน ฝ่ายมอญ หงสามอง
แต่ไกลนึกว่า ฝ่าย อโยธยา สร้าง เจดีย์เสร็จ ก่อนแล้ว ฝ่ายตนแพ้แน่แล้ว จึงพากันยกทัพหนีกลับกรุงหงสาวดีไป
เมื่อมอญ กลับ ไปแล้ว พระนารายณ์ จึงให้สร้างเจดีย์ด้วยอิฐต่อไป จนเสร็จ จึงได้ชื่อว่าเจดีย์ชัยมงคลประวัติของวัดใหญ่ชัยมงคล
คงมีลักษณะ การเล่าเรื่องเป็นปรัมปราคติเช่นนี้ จนกระทั้ง เมื่อ สมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ได้ทรงศึกษาค้นคว้า เพื่อหาตำแหน่งของวัดป่าแก้ว
ซึ่งปรากฎใน เหตุการณ์ ประวัติศาสตร์บันทึก เป็นลาย ลักษณ์อักษรหลายแห่งเหตุการณ์สำคัญก็คือ
เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งในพระราช พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ได้บันทึกไว้ว่าหลังจากที่พระองค์
ทรงได้รับชัยชนะจากการทำ ยุทธหัตถีกับ พระมหาอุปราชา แห่งพม่าแล้ว เมื่อกลับมาว่าราชการ
พระองค์ได้สั่งให้ทำการลงโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกอง ทั้งหลาย ที่ไม่สามารถติดตามเสด็จช้างพระที่นั่งของ
พระองค์ได้ทัน เมื่อขณะที่พระองค์ทรงช้างพระที่นั่ง นำทัพ เข้าเผชิญหน้ากับทัพพม่า
แต่ชะตาของแม่ทัพนายกองยังดีอยู่บ้างที่ทำให้ สมเด็จพระวนรัตน์วัดป่าแก้ว ได้เข้ามา
ทูลขอชีวิตบรรดาแม่ทัพนายกอง เหล่านั้นจากสมเด็จพระนเรศวรไว้ได้
ในการศึกษาตอนแรก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ
ไม่ ทรงพบ ชื่อวัดป่าแก้ว
ว่า จะมี อยู่ในกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง พระองค์ได้สังเกตพบว่าวัดใหญ่ ตามคำเรียกของคนกรุงศรีอยุธยา
นั้น มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดเจ้าพญาไทย ดังปรากฏอยู่ในบทเสภาเรื่องขุนช้าง
ขุนแผน ตอนตั้งชื่อ พลายแก้ว ว่าเวลาเกิดของพลายแก้วนั้น มีฤกษ์ยามตรงกับเวลาที่พระเจ้ากรุงจีน
ได้เอาลูกแก้วมา ถวาย เพื่อประดับยอดเจดีย์ใหญ่ ในวัดเจ้าพญาไทย ที่สร้างขึ้นแข่งกับมอญหงสา
ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า พลายแก้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา ดำรงราชานุภาพ
จึงนำมาทรงคิดต่ออีกว่า มีคำไทยเป็น ศัพท์เก่าอยู่คำหนึ่งที่ใช้เรียกพระสงฆ์ว่า
เจ้าไทย ดังนั้น เมื่อเติมคำว่า พญา ซึ่งมีความ หมายว่ายิ่งใหญ่ เข้าไป เป็นชื่อว่า
วัดเจ้าพญาไทย จึงมีความหมายว่า เป็นวัด ของ สงฆ์ ชั้นผู้ใหญ่ คือวัดของพระสังฆราช
นั่นเองส่วนชื่อวัดว่าป่าแก้ว ซึ่งปรากฏอยู่ในพระราช พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา
นั้น ทรงเห็นว่า ไม่น่าจะเป็น ชื่อวัดแต่ควรจะเป็นชื่อของคณะสงฆ์ คือคณะป่าแก้วซึ่งจะพบว่ามีอยู่ทั่วไปทั้งภาคใต้
และ ภาคเหนือ ดังนั้นเนื่องจากตามทำเนียบสมณศักดิ์ ครั้งกรุงเก่าว่ามีพระสังฆราชสององค์องค์หนึ่งคือ
สมเด็จพระ อริยวงศ์วัดมหาธาตุ อันเป็นวัดในเมืองหรือคามวาสี อีกองค์หนึ่งคือสมเด็จพระวนรัตน์
ซึ่งเป็น สังฆราช ฝ่ายอรัญวาสี อันเป็นวัดที่ปฏิบัติเจริญวิปัสนากรรมฐาน ดังนั้นวัดสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี
ควรเป็น วัดเจ้า พญาไทย ซึ่งในความหมายของชื่อ ก็หมายถึงวัดของสังฆราชอยู่แล้ว
โดยที่วัดนี้เป็นวัดคณะสงฆ์ คณะป่าแก้ว ด้วยเหตุนี้พระวนรัตน์วัดป่าแก้ว ที่มาทูลขอชีวิตบรรดาแม่ทัพนายกองจากสมเด็จพระนเรศวร
นั้นก็คือพระ สังฆราช ที่มาจากวัดเจ้าพญาไทย รือที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า วัดใหญ่นั่นเอง
ต่อมา ชื่อวัด ใหญ่ได้กลายมาเป็น วัดใหญ่ชัยมงคล ก็ด้วยการศึกษาต่อไปของสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอกรมพระยา ดำรงเดชานุภาพ ทีได้ทรงพิจารณา เห็นว่า เหตุการณ์ เมื่อพระวนรัตน์วัดป่าแก้ว
ได้เข้าไปเฝ้าทูลขอชีวิต บรรดาแม่ทัพนายกองครั้งนั้น คงมิได้ทูลขอชีวิตเพียงอย่างเดียว
ท่านควรจะจะได้ทูล แนะนำ ให้สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ได้ทรงเฉลิมพระเกียรติ์ที่มีชัยชนะ
ครั้งนั้นด้วยการบำเพ็ญพระราช กุศล ตามเยี่ยง อย่าง พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย มหาราชของลังกา
ผู้ปรากฏ เรื่องราว อยู่ หน้งสือ มหาวงศ์พงศาวดาร ลังกาว่า พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย
คือกษัตริย์สิงหลผู้กอบกู้เอาเอกราชของชาวลังกา จาก การปกครองของ พระราชาทมิฬในการกู้เอกราช
ครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระราชาเอลาวะ พระราชา แห่งทมิฬ จนได้รับชัยชนะซึ่งในการฉลองชัยชนะครั้งนั้นพระเจ้า
ทุฏฐคามณีอภัย ทรงโปรด ให้ สร้างพระ เจดีย์องค์หนึ่งขึ้นตรงที่ทรงชนช้างชนะและสร้างพระมหา
สถูปอีกองค์หนึ่ง เพื่อเป็นการฉลองชัยชนะขึ้น ภายในเมืองอนุราชปุระ ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชคงจะได้ทรงปฏิบัติตามคำแนะนำของพระวนรัตน์
จึงได้ทรงสร้าง พระเจดีย์องค์ใหญ่องค์หนึ่ง ขนาน นามว่า พระเจดีย์ชัยมงคล ขึ้นที่วัดเจ้าพญาไทย
อันเป็นวัดที่สถิตย์ของพระวนรัตน์เอง การสร้างภาพทางประวัติศาสตร์ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม
พระยาดำรงราชานุภาพตอนนี้ อาจพิจารณาได้ว่าส่วนหนึ่งได้รับการดลใจจากเรื่องพระนเรศน์หงสา
และ พระนารายณ์อโยธยา ซึ่งเป็นปรัมปราคติของไทยโดยทั่วไป ที่มักจะนำมาใช้อธิบาย
ที่มา ของ ศาสนสถาน ขนาดใหญ่ อันเป็นที่รู้จักของคนในละแวก เดียว กัน อีกส่วนหนึ่ง
น่าจะ มาจากอิทธิพล จากหนังสือ มหาวงศ์ในเรื่องราวที่พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยกษัตริย์ชาวสิงหลผู้ทรงชนช้างชนะพระราชาทมิฬเอลาวะ
ด้วยเหตุนี้ นับจากบัดนั้นเป็นต้นมา
วัดใหญ่ จึงได้รับการขนานนามต่อท้ายว่า ชัยมงคล เพื่อเป็น การเฉลิม พระเกียรติ์
ของ วีรบุรุษไทย พระองค์หนึ่งนามว่า "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" มาจนตราบ เท่าทุก
วันนี้
ภาพวาดสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถึ
กับพระมหาอุปราชา (ภาพวาดฝาผนังที่พระอุโบสถวัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา)