วัดภูเขาทอง
วัดภูเขาทองเป็นวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่นอกตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา
ไปทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือ ประมาณ ๒ กิโลเมตร เศษ ประวัติการก่อสร้างวัดและองค์พระเจดีย์ประธาน
ซึ่งพบหลักฐาน ทาง พงศาวดารประกอบกับคำให้การ ของ ชาวกรุงเก่า มีความเป็นได้
๓ ประการ ดังจะได้นำมาเสนอ เป็นแนวทางให้ท่านพิจารณา
๑. พงศาวดารเหนือกล่าวว่า สมัยหนึ่งพระนเรศวรหงสา
กษัตริย์มอญผู้ครองเมือง สะเทิม ได้ยกพยุห แสนยากร ๔๐ แสน มาล้อม กรุง ได้ตั้งค่ายอยู่
ณ ตำบลนนตรี เมื่อได้ทราบ ว่า พระนารายณ์ได้ครองราชย์สมบัติ ก็เกรง พระเดชานุภาพ
มาก จึงแต่งหนังสือแจ้งไปยัง พระนารายณ์ เป็นใจความว่า ที่ได้ยกพล มาครั้งนี้
เพื่อจะสร้างวัดพนันกันคนละวัด ฝ่าย พระนารายณ์ ก็รับคำพนันนั้น โดยตรัสว่า "พระเจ้าพี่จะ
สร้างก็ สร้างเถิดคนละมุมเมืองเจ้าพี่สร้างทางทิศพายัพ เราจะอยู่ข้างทิศหรดี"
พระนเรศวรหงสา จึงสร้าง พระเจดีย์ กว้าง ๓ เส้น สูง ๗ เส้น ๔ วา ๒ ศอก ก่ออยู่
๑๕ วันถึงบัวกลุ่มให้นามว่า "วัดภูขาทอง" พระนารายณ์เห็นว่า จะแพ้ จึงคิดเป็นกลอุบายทำโครงไม้เอาผ้าขาวคาด
พระนเรศวรหงศา เห็นเช่นนั้น คิดกลัว ก็เลิกทัพ กลับไป เจดีย์ที่ พระนารายณ์ทรงสร้างพงศาวดารเหนือกล่าวว่า
คือ เจดีย์วัดใหญ่ ชัยมงคลนั่นเอง
๒.พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า สมเด็จพระราเมศวร ซึ่งเป็นราชโอรสของ
สมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ที่
สถาปนา วัดนี้ขึ้น ซึ่งมีความ ตามพงศาวดารว่า "ศักราช ๗๔๙ เถาะ นพศก (พ.ศ.๑๙๓๐)
สถาปนาวัดภูเขาทอง"
๓.สำหรับองค์พระเจดีย์ประธานของวัดนั้น ตามหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า ว่า
พระเจ้า หงสาวดี บุเรงนอง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒อันเป็นปีที่ไทยต้อง
เสีย กรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าครั้งแรก ความในคำให้การ ของชาว กรุงเก่าเขียนไว้ดังนี้
" ใน เวลาเมื่อพระเจ้าหงสาวดียังประทับอยู่ พระนคร ศรีอยุธยานั้นได้โปรดให้สร้าง
พระเจดีย์ ใหญ่องค์หนึ่ง ที่ตำบลภูเขาทอง ขนานนามพระเจดีย์องค์นั้นว่า เจดีย์ภูเขาทอง
ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ "
เมื่อได้ พิจารณาหลักฐาน ทั้ง ๓ ประการที่ได้ยกมานี้ และได้อ่านพงศาวดารฉบับอื่น
ประกอบ ด้วยแล้ว ทำให้เชื่อ ได้ว่า สมเด็จพระราเมศวรสร้างไว้เพียงองค์ขนาดเล็ก
ต่อมา เมื่อ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง มีชัยชนะเหนือ กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.
๒๑๑๒ แล้วจึง โปรดให้สร้างเจดีย์ทับหรือ ครอบเจดีย์เก่า ของสมเด็จ พระราเมศวร
อีกชั้นหนึ่ง ส่วนความ ตามพงศาวดารเหนือ นั้น ถ้าจะพูดถึง ศักราช และ ขนาดขององค์เจดีย์และกำลังพลทหารแล้ว
ก็ไม่น่าเชื่ออย่างไรก็ดีก็ยังมีเค้าซึ่งแสดงถึงความจริง สอดคล้องกับคำให้การของ
ชาวกรุงเก่าอยู่บ้างในข้อที่ว่า พระนเรศวรหงสา เป็นกษัตริว์หงสาวดี ยกพลมาล้อมกรุง
ตั้ง อยู่ที่ทุ่ง นนตรี ซึ่งน่าจะหมายถึง กรุงศรีอยุธยา มีข้อที่น่าคิดและน่าพิจารณาอยู่อีกประการหนึ่งว่า
พระเจดีย์องค์ที่ พระเจ้าหงสาวดีสร้างนี้ กล่าวกันว่าจะเป็น แบบเจดีย์มอญ ว่าโดยหลักฐานทางเอกสารจะเป็นแบบ
นั้นจริงหรือไม ่ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดเจดีย์องค์นี้
ไทยสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกที่มีชัยชนะ แก่กษัตริย์มอญอย่าง ใหญ่หลวง ณ ที่นั้นไทย
ได้ชัยชนะ และตีทัพอันใหญ่หลวง ของข้าศึก แตกพ่ายไป การที่แกมเฟอร์ เขียนไว้ว่าไทย
เป็นผู้สร้าง พิจารณาแล้วเป็นได้ทั้งน่าเชื่อ และ ไม่น่าเชื่อ ที่ว่าไม่น่าเชื่อ
ก็เห็นจะมีอยู่เพียง ประการเดียวคือได้รับการบอกเล่า ผ่านล่าม
จึงไม่เข้าใจในภาษาอย่างซึ้งหรืออาจได้รับ การบอกเล่าจากฝรั่งซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่ผิดพลาดก็ได้
ส่วนที่ว่า น่าเชื่อนั้น ดูออก จะมีน้ำหนักอยู่ โดยเหตุผลดังนี้ จากการค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติมมีหลักฐานว่า
หลังจากที่ พระ เจ้าหงสาวดีสร้างครบ ๑๒๑ ปี หมอแกมป์เฟอร ์ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นหมอประจำ
คณะฑูต ของเนเธอร์แลนด์ ได้เดิน ทางไปยัง ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างทางได้แวะเข้ามาพักที่
กรุง ศรีอยุธยาเป็นเวลา ๒๓ วัน (ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มิถุนายน ถึงวันที่ ๔ กรกฏาคม
พ.ศ. ๒๒๓๓)ได้พรรณาบรรยายภาพของเจดีย์ภูเขาทองไว้ รู้สึกใกล้ชิด กับรูปทรง หรือแบบ
อย่างที่เป็น อยู่ในปัจจุบันมาก หมอแกมป์เฟอร์ยังได้บันทึกไว้ว่า เจดีย์องค์นี้
ไทยสร้างขึ้นเป็น ที่ระลึกที่มีชัยชนะ แก่กษัตริย์มอญอย่างใหญ่หลวง ณ ที่นั้นไทยได้ชัยชนะ
และ ตีทัพ อันใหญ่หลวงของข้าศึกแตกพ่ายไป การที่ แกมเฟอร์ เขียนไว้ว่า ไทยเป็นผู้สร้าง
พิจารณาแล้ว เป็น ได้ทั้งน่าเชื่อและไม่น่าเชื่อ ที่ว่าไม่น่าเชื่อ ก็เห็นจะมีอยู่
เพียง ประการเดียว คือได้รับการบอกเล่า ผ่าน ล่าม จึงไม่เข้าใจในภาษาอย่างซึ้ง
หรืออาจได้รับการบอกเล่า จากฝรั่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่ผิด พลาด ก็ได้ ส่วนที่
ว่าน่าเชื่อนั้น ดูออก จะมีน้ำหนักอยู่โดยเหตุผลดังนี้
๑.พม่าจะสร้างเจดีย์เป็นที่ระลึก ใน ชัยชนะ
ครั้งนี้ขึ้นมาในประเทศไทย จนมีขนาด ใหญ่ถึงปานนี้เชียวหรือ ๒.จากคำให้การของชาวกรุงเก่า
(ที่ยังตก เป็นเชลยอยู่ในพม่า) ที่ว่า พระเจ้า หงสาวดี บุเรงนองโปรดให้สร้างขึ้นนั้น
การให้การซึ่ง ไทยที่ตก เป็นเชลย พม่าใน เวลานั้น อาจไว้ กับพม่าในเรื่องที่
ผ่านมา แล้วถึง ๗๗ ปี ผิด พลาดไปก็ได้หรือบางทีจะให้ การเสริม กับ พม่า เพื่อเอาใจในฐานะที่
ตนตกเป็นเชลย ก็เป็นไปได้
๓.แกมป์เฟอร์รับฟังความจากคนไทยผ่านล่ามหรือจะไม่ผ่าน
ก็ตาม แต่คนไทยคนนั้น ก็ยัง มีชีวิตอยู่ ในปี พ.ศ. ๒๒๓๓ ก่อนคำให้การของชาวกรุงเก่าถึง
๗๗ ปี
๔.ในเรื่องรูปทรงแบบอย่างของเจดีย์นั้น แกมป์เฟอร์ได้พรรณนา ไว้ละเอียดลออถี่ถ้วน
ใกล้เคียงกับ ของ จริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก ดังจะขอยกข้อเขียนนั้นมาลงไว้
เป็นแนวทางพิจารณาดังนี้