๒.พระวิหารหลังเดิม ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถเรียกชื่อกันต่อๆมาแต่โบราณว่า
วิหารขาว พระประธาน ในวิหารขาว เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแต่ได้ชำรุดทั้งองค์ เศียรหัก
ฝาผนังวิหาร ชำรุดหักพังเหลือแต่ซาก
๓.พระวิหารสรรเพชญ์ (ประชาชนมักเรียกชื่อ
วิหารคันธารราฐ) เพราะเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป พระนามว่า พระคันธารราฐ และเรียกชื่อว่าวิหารเขียน
เพราะมีลวดลาย เขียน ในพระวิหาร และ มีชื่อ เรียกกันว่า วิหารน้อย เพราะ มีขนาดน้อยด้วย
มีความยาวประมาณ ๑๖ เมตร กว้างประมาณ ๖ เมตร มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันออก ของพระ อุโบสถ ห่างจากพระอุโบสถ ประมาณ ๒ เมตรเศษ พระยาไชยวิชิต
(เผือก) ผู้รักษากรุงใน รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๘๑
ผู้สร้างได้อัญเชิญ พระพุทธรูปศิลา (ศิลาเขียว) ประทับนั่ง ห้อยพระบาท พระนามว่า
พระคันธารราฐ ย้ายมาจากวัดมหาธาตุใน เกาะเมือง ข้างวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นวัด ร้างในยุคนั้น มาประดิษฐานใน วิหารน้อย ที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ผู้สร้างได้จารึกไว้
ในศิลา ติดตั้งไว้ที่ฝาผนัง เมื่อ พ.ศ.ที่สร้างว่า
"พระคันธารราฐ"นี้พระอุบาลีซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมาราม
นำมาจากประเทศลังกาในคราวที่ ท่านเป็นสมณฑูต พร้อม ด้วยพระสงฆ์สยามวงศ์ นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานใน
ประเทศลังกา นักโบราณคดีมีความเห็นว่า เป็นพระพุทธรูป สมัยทวาราวดี สร้างระหว่าง
พ.ศ.๑๐๐๐-๑๒๐๐ และ สันนิษฐานว่า ก่อนที่จะนำมาไว้ที่วัดมหาธาตุ พระนคร ศรีอยุธยา
ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา นั้น เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัด พระเมรุชิการาม จังหวัดนครปฐม
เนื่องจาก ทางราชการ ได้ ขุดพบเรือนแก้วที่ชำรุด สันนิษฐานว่า เป็นเรือนแก้ว
ของ พระพุทธรูปองค์นี้
๔.มณฑปนาคปรก ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารน้อย พระยาไชยวิชิต(เผือก)
สร้างขึ้นไว้ในปีที่สร้าง พระ วิหารน้อย และ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลานาคปรก
ซึ่งย้ายมาจากวัดมหาธาตุพร้อมกับ พระคันธารราฐ มาประดิษฐานไว้ ใน มณฑปนาคปรก
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ วัดพระเมรุว่าง จากเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ อยู่รักษาวัดเพียงองค์เดียว
ทางกรม ศิลปากรจึงนำพระพุทธรูปศิลานาคปรกหน้าวิหารสรรเพชญ์ ไปเก็บรักษาไว้ ณ
พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ กรุงเทพฯ
๕.พระพุทธรูปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ
ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๒๕ เมตร สูง ประมาณ ๑.๘๕ เมตร เดิมประดิษฐานอยู่
ณ พระวิหารหลังเดิม (วิหารขาว) มีแต่พระเศียร ปูนหุ้ม อยู่ บางส่วน ของพระเศียรชำรุด
พระเศียร เป็นพระพุทธรูปสมัย เชียงแสน มีพระลักษณะงดงามมาก และในพระวิหารมีองค์พระไม่มีเศียร
(องค์กับเศียรต่างองค์กัน) ต่อกันไม่ได้ กาลต่อมามีผู้มีจิตศรัทธานำ พระพุทธรูปองค์นี้ไป
ซ่อมแซมใหม่ โดยการนำเอาทององค์พระเก่าที่ชำรุดหักพังเป็นชิ้นส่วน จ้างช่าง หล่อเป็นองค์
พระลักษณะสมัยเชียงแสน เหมาะสมกับ พระเศียรเชื่อมต่อ เป็นองค์พระพุทธรูป สมัย
เชียงแสนที่สมบูรณ์ และถวายพระนามว่า "หลวงพ่อแสน" เดิม ประดิษฐาน
อยู่หอปริยัต ิหน้ากุฎิ เจ้าอาวาส เนื่องจากพระลักษณะของพระพุทธรูป องค์นี้ สวยงาม
มาก เจ้าอาวาส เห็นว่า จะไม่ ปลอดภัย จากการโจรกรรม จึงได้นำไปเก็บรักษา ไว้ในกุฎิเจ้าอาวาส
จนกระทั่งปัจจุบันนี้