ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

รุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ณ บริเวณที่แม่น้ำสำคัญ ๓ สาย ไหล มาบรรจบกัน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะ -สม ต่อการเกษตรกรรม อันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อ อำนวย ต่อการค้าทั้งภายใน และภายนอก จนทำให้เมืองอยุธยาเติบโต เป็นศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจ และการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาค เอเซียและของโลก
ในระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ ๒๐-๒๓ พื้นที่ประเทศไทย ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา แบ่งออก เป็นเมือง ใหญ่น้อย ซึ่งต่างมีอิสระในการปกครองไม่ขึ้นต่อกัน เช่นทางภาคเหนือ มีอาณาจักร ล้านนา และอาณาจักรสุโขทัย ทางใต้มี เมืองนนครศรีธรรมราช ทางตะวันตกมีเมืองสุพรรณบุรี ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ก็ยังมีอิทธิพล ของอาณาจักรขอมแพร่หลาย อยู่ก่อน โดยมี ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลพบุรี
เชื่อกันว่าบริเวณเมืองอยุธยา เคยเป็นที่ตั้งของ เมืองอโยธยา ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของลพบุรี มาก่อน
โดยมีหลักฐานพระราชพงศาวดาร กล่าวถึง การสร้างพระเจ้าพนัญเชิง เมื่อปี พ.ศ.๑๘๖๗  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น องค์ใหญ่ อันแสดงให้เห็นว่าขณะนั้น ชุมชนอโยธยามีขนาดใหญ่  มีฐานะ ทาง เศรษฐกิจมั่งคั่ง จึงมีทั้งกำลังคน และ กำลังทรัพย์ในการสร้าง พระพุทธรูป ขนาดใหญ่ขึ้นได
เมื่ออิทธิพลของอาณาจักรขอมเริ่มเสื่อมลง นับตั้งแต่พุทธศควรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ทำให้เมือง ที่เคยตกอยู่ภายใต้ การปกครองต่างตั้งตัวเป็นอิสระ ในบริเวณที่ลาบลุ่มภาคกลางนั้น
มเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ โดยรวบรวมเอากลุ่มเมืองที่มีความสัมพันธ์กัน ทางด้าน เครือญาติ เข้าด้วยกัน เมืองเหล่านี้อาทิเช่น เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสวรรค์บุรี เป็นต้น ต่อจากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา โดยลำดับด้วยพระปรีชาสามารถ ของกษัตริย์องค์ต่อๆมา ได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง และดำรงฐานะศูนย์กลาง ของ สยามประเทศสืบต่อเนื่องมาถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดิน สืบเนื่องต่อกันมา ๓๓ พระองค์จาก ๕ ราชวงศ์ พระเจ้าเอกทัศน์(พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๑๐) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่....... กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายลงเมื่อ วันพุธที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ วันที่กองโจรพม่าภายใต้การนำ ของเนเมียวสีหบดีบุกเข้าพระนคร ได้เผาผลาญ ทำลายมหาปราสาทราชวัง วัดวาอาราม บ้านเรือน ปล้นสะดมทั้งทองคำและเพขรนิลจินดาจากพระบรมมหาราชวัง  และกวาดต้อนชาวพระนคร ไปเป็นเชลยกว่า ๒๐๐,๐๐๐  คน
ลักษณะทางกายภาพของเมืองโบราณอยุธยา
ศูนย์กลางของเมืองอยุธยาคือ ส่วนที่เป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ ๓ สาย และตัวเกาะมีกำแพง เมืองล้อมรอบ อีกชั้นหนึ่ง เมื่อ พระเจ้าอู่ทองแรกสร้างเมืองนั้น กำแพงเมืองทำด้วยดิน มา เปลี่ยนป็นอิฐในสมัย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ กำแพงเมืองทั้งหมด มีความยาวประมาณ ๑๒.๕ กิโลเมตร หนา ๕ เมตร สูง ๖ เมตร มีป้อมปืนประจำอยู่โดยรอบ จำนวน ๑๖ ป้อม มีประตูเมือง ๑๘ ประตู ประตูช่องกุด(ประตูเล็ก) ๖๑ ประตู ประตูน้ำ ๒๑ ประตู รวมมีประตูทั้งสิ้น ๙๙ ประตู  กรุงศรีอยุธยาได้ถูกออกแบบให้เป็นเมืองน้ำ ผังเมืองที่สมบูรณ์และสวยงาม เกิดจากความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้เรียนรู้จากธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เพราะแม่น้ำหลัก ๓ สาย นำความ อุดมสมบูรณ์มาสู่กรุงศรีอยุธยาก็จริง แต่ในฤดูฝนปริมาณน้ำจะมีมาก และไหลหลากลง มามาก เกินความจำเป็น ดังนั้นการสร้างเมืองของชาวอยุธยาจึงได้รักษาแม่น้ำลำคลอง ของเดิมเอาไว้ และ ขุดคูคลองเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแนว เหนือใต้ให้เป็นแนวตรง เชื่อมต่อกับแมน้ำ ลำคลอง ของเดิมทำให้กระแสน้ำไม่ไหลเข้าปะทะทำลายเมืองโดยตรง แต่กลับระบาย ออกไปจากตัวเมืองได้โดยเร็ว จึงพบว่าเมืองอยุธยา มีแม่น้ำลำคลอง มากมายเป็นเครือข่ายโยงใยกัน ทั้งนอก เมืองและในเมือง ในตัวเมืองนั้น คูคลองสายหลักมากกว่า ๑๐ สายถูกขุดขึ้นใหม่ทั้งในแนวเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตกแบ่งพื้นที่ออก เป็นแปลง สี่เหลี่ยมขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ละแปลง ใช้เป็นเขตวัด เขตวัง และที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ ขนานไปกับแนวคูคลองก็คือ ถนน สร้าง เป็นถนนดินแ ละถนนอิฐ โดยมีสะพานจำนวนมากสร้างข้ามคลองเหล่านี้ มีทั้งสะพานไม้ สะพาน ก่ออิฐ สะพานก่อด้วย ศิลาแลง และสะพานสายโซ่ซึ่งเป็นสะพานยกได้อีกแบบหนึ่ง รวมทั้งสิ้นกว่า ๓๐ สะพาน นอกตัวเมืองเป็นที่ต่ำกว่า ใช้เป็นพื้นที่ สำหรับเกษตรกรรมมีแม่น้ำลำคลองนำน้ำเข้าไป หล่อเลี้ยงอย่างทั่วถึงสองฝั่งน้ำเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวอยุธยา ซึ่งจะปลูก สร้างบ้านเรือนอยู่ เป็นกลุ่มๆ สลับไปกับวัดวาอาราม เบื้องหลังของหมู่บ้านคือทุ่งกว้างสำหรับเกษตรกรรม

ารปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา รุงศรีอยุธยาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธฺราชย์ พระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข ที่มีอำนาจสูงสุดใน การปกครอง แผ่นดิน ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ทรง มอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครอง ดูแลเมือง ลูกหลวง หลานหลวง ต่างพระ เนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชอมีเจ้านายใน ราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองราชธานี ศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ(พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงปฎิรูปการปกครอง ลดทอน อำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหาร ราชการแผ่นดิน ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายทหาร มีสมุห พระกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ในฝ่ายพลเรือน นั้นยัง แบ่งออกเป็น ๔ กรมหรือ จตุสดมภ์ คือ สี่เสาหลัก ได้แก่ กรมเวียงหรือนครบาลทำหน้าที่ปกครองดูแลบ้านเมือง กรมวังหรือธรรมมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแล กิจการพระราชวัง กรมคลังหรือโกษาธิบดีทำหน้าที่ดูแลด้านการค้าและการต่างประเทศ กรมนา หรือเกษตราธิการทำหน้าที่ดูแลเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบการปกครองนี้ ใช้สืบต่อมา ตลอด สมัยอยุธยา

[HOME]

1