ตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์
เป็นราชธานีของสยามประเทศมาจนประเทศพม่า เสียอิสรภาพ ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ รวมเวลา ๑๐๓ ปี ไทยได้ทำ สงครามกับพม่าถึง ๑๐ ครั้งเป็นสงครามฝ่ายพม่าบุกรุก
๕ ครั้ง ฝ่ายไทยไปบุกรุก ๕ ครั้ง ถ้ากล่าวตามรัชกาล ไทยกับพม่าทำสงครามกันเมื่อในรัชกาลที่๑
๗ ครั้ง
รัชกาลที่๒ ครั้ง ๑ รัชกาลที่๓ ครั้ง ๑ รัชกาลที่๔ ครั้ง ๑ ในรัชกาลที่๕ เป็นแต่เพียง
ไทยยกกองทัพไปขับไล่พม่าหาถึงรบพุ่งกันไม่
ถ้าว่าโดยการที่รบพุ่ง รบกันเข้มงวดอยู่แต่เมื่อในรัชกาลที่ ๑ ยุคเดียว ต่อมาก็เป็น
แต่อย่างวิวาทกันทางปลายแดนหาถึงรบรับขับเคี่ยวกันเหมือนเมื่อรัชกาลที่ ๑ ไม่
ในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าปดุง ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินพม่ามีอานุภาพมาก คล้ายกับ
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแต่ปางก่อน เมื่อได้ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงเป็นอาณาเขตแล้ว
หมายจะตีเอาเมืองไทยให้จงได้ ยกกองทัพ มาใหญ่หลวงยิ่งกว่าศึกพม่าครั้งไหนๆ ที่เคย
ปรากฏมาในพงศาวดาร แต่ฝ่ายไทยต่อสู้ด้วยใช้ยุทธวิธีซึ่งคิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่
๑ นั้น สามารถเอาชัยชนะพม่าได้ ทีหลังพม่าก็ครั่นคร้าม ไทยจึงไปตีพม่าบ้าง แต่ก็หาสำเร็จไม่
ได้แต่หัวเมืองลื้อเขินของพม่ามาเป็นของไทย
ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่าจะเตรียมมาตีเมืองไทยอีก แต่มีเหตุขัดขวางเสียทั้ง ๒ คราว
คราว แรกจึงเป็นเพียงแต่มาปล้นหัวเมืองในมณฑลภูเก็ตมีเมืองถลางเป็นต้น กองทัพกรุงฯ
ลงไปปราบปรามก็พ่ายแพ้ไป คราวหลังพอเตรียมทัพกันทั้งสองฝ่ายเผอิญเกิดเหตุใน เมืองพม่าๆ
ต้องถอยกองทัพไปทางอื่นเลยไม่ได้รบกันคราวหลัง จึงหานับในจำนวน สงครามไม่
ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่ออังกฤษตีเมืองพม่าครั้งแรก อังกฤษมาชวนไทยเป็นสัมพันธมิตร
ไปช่วยรบพม่า กองทัพ ไทยได้ยกไปช่วยอังกฤษถึงเมืองเมาะตะมะ และได้รบพุ่งกับ พม่าแต่ไม่มากนัก
เรื่องการสงครามครั้งนี้ในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เป็นแต่ให้กองทัพไทย
ไป รักษาปลายแดน หามีรายการปรากฏไม่ ข้าพเจ้าได้พบรายการในจดหมายเหตุเก่าบ้าง
พบในจดหมายเหตุของเฮนรีเบอร์นีทูตอังกฤษที่เข้ามา อยู่ในเมืองไทยในเวลา การ สงครามครั้งนั้นบ้าง
จึงทราบรายการเห็นว่าเรื่องราวเป็นคติน่ารู้ จึงได้เก็บเนื้อ ความมา เรียบเรียงให้ปรากฏในหนังสือนี้ที่ว่าเป็นคติน่ารู้ไม่ใช่ในกระบวนรบพุ่ง
ที่จริงเรื่องรบพุ่ง ไม่สู้มีสาระอันใดนัก ข้อสำคัญอยู่ในเรื่องราวที่ไทยกับอังกฤษเป็นสัมพันธมิตรกัน
ครั้งนั้น อย่างแปลกประหลาดน่าพิศวง เพราะไทยกับอังกฤษมีลัทธิธรรมเนียมผิดกัน
มีความ นิยมก็ผิดกันทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างไÁè่รู้ลัทธิธรรมเนียมและความนิยมของกันและกัน
ใช่แต่ เท่านั้นซ้ำไม่ชอบกันและไม่ไว้ใจกัน ด้วยเหตุที่เกิดเป็นสัมพันธมิตรกัน
เพราะอังกฤษ ยังไม่รู้ว่าพม่าจะมีกำลังใหญ่หลวงสักเพียงไร เห็นว่าไทยเป็นศัตรูกับพม่าเคยรบพุ่งกัน
มาแต่ก่อน จึงมาชวนไทยไปช่วยรบเพื่อประโยชน์ของอังกฤษฝ่ายข้างไทยก็อยากทำลายกำลังพม่า
แต่มุ่งหมายจะทำแต่เพียงที่สมแก่ประโยชน์ของไทย กิริยาที่เป็นสัมพันธมิตรกัน
จึง เกิดไม่พอใจกันด้วยประการต่างๆตั้งแต่ต้นจนปลายบางคราวถึงเกือบจะรบกันขึ้นเองก็มี
หากแต่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามรักษาทางไมตรี จึงดีกันมาจนตลอดการสงคราม เรื่องตอนนี้แต่ต้องอ่านด้วยทรงไว้ในใจอย่างหนึ่งว่า
ในสมัยนั้นไทยเรายังไม่ได้เคย สมาคมกับชาวยุโรป ทั้งความรู้และความนิยมก็ยังเป็นอย่างโบราณ
ควรจะพิจารณาดู แต่ทางการอันเป็นความมุ่งหมายของรัฐบาลไทยในสมัยนั้น ก็แลเห็นว่าท่านตริตรอง
เลือกเฟ้นด้วยรู้ว่าอย่างไรจะเป็นประโยชน์หรือมิเป็นประโยชน์แก่เมืองไทย และ
พยายามรักษาประโยชน์ไว้ได้ในที่สุด
ถึงรัชกาลที่ ๔ ไทยได้บุกรุกตีเมืองเชียงตุงจึงเกิดรบกับพม่า มูลเหตุแห่งสงครามครั้งนี้
มีมาแต่ในรัชกาลที่ ๓ เป็นมรดกตกมาในรัชกาลที่ ๔ จึงได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง
เพราะเหตุการณ์ทำให้เห็นว่าจำเป็น มิใช่ปรารถนาจะตีเมืองพม่า แต่ทำไปโดยไม่รู้
ภูมิลำเนาการจึงไม่สำเร็จ ไทยกับพม่าได้รบกันครั้งนี้เป็นครั้งที่สุด ซึ่งปรากฏใน
พงศาวดาร ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระเจ้ามินดงซึ่งครองแผ่นดินพม่าถูกอังกฤษชิงเอาหัว
เมืองมอญเสียหมดหันมาปรารถนาจะเป็นไมตรีกับไทยได้พยายามจะทำทางไมตรี หลายครั้ง
แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงเห็นประโยชน์ที่จะ เป็นไมตรีกับพม่าก็ทรงเฉยเสีย
ในรัชกาลที่ ๕ มีพวกพม่าเงี้ยวเขิน ซึ่งเป็นคนของพม่าเข้ามาตั้งภูมิลำเนา ที่เมือง
เชียงแสน แต่แรกเป็นแต่อพยพเข้ามาตั้งทำมาหากินคราวละครัวหนึ่งสองครัว ว่าจะมา
ขอพึ่งบารมีอยู่อย่างเป็นราษฏรพลเมือง ครั้นนานเข้าพวกพม่ามาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
ถึงพันเศษก็ตั้งต้นปกครองกันเอง ไม่ยอมอยู่ในบังคับบัญชา เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่
จึงโปรดให้กองทัพเจ้านายในมณฑลพายัพขึ้นไปขับไล่พวกพม่าเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๑๘
พวกพม่าจึงทิ้งเมืองเชึยงแสนหนีกลับเมืองพม่า การสงครามในระหว่างไทย กับพม่า
ในชั้น กรุงเทพฯ มีเรื่องราวเป็นเค้าเงื่อนดังแสดงมา แต่นี้จะอธิบายให้ปรากฏต่อไป
สงครามครั้งที่ ๑ คราวพม่ายกกองทัพมา
๕ ทาง
ตอนที่ ๑ รบพม่าที่ลาดหญ้า
ตอนที่ ๒ รบพม่าที่ปากพิง
ตอนที่ ๓ รบพม่าทางแหลมมลายู
สงครามครั้งที่ ๒ คราวรบพม่าที่ท่าดินแดง
สงครามครั้งที่ ๓ ครวรบพม่าตีเมืองนครลำปางและเมืองป่าซาง
สงครามครั้งที่ ๔ คราวไทยตีเมืองทวาย
สงครามครั้งที่ ๕ คราวไทยตีเมืองพม่า
ตอนที่ ๑ เรื่องเมืองทวายสวามิภักดิ์
ตอนที่ ๒ เรื่องรบพม่า
สงครามครั้งที่ ๖ คราวพม่าตีเมืองเชียงใหม่
สงครามครั้งที่ ๗ คราวขับไล่พม่าจากเขคลานนาไทย