วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นแผ่นดินปลาย หรือ แผ่นดินที่ ประเทศชาติได้พัฒนาก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ไม่ใคร่จะมีการสร้างวัดวาอาราม กันมาก เหมือนกับ แผ่นดิน ต้นๆ คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓
"วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" เป็นวัดที่มีแบบอย่างทางศิลปะพิเศษแตกต่างไปจากวัดอื่นๆ ไม่ว่าจะ เป็นวัดที่สร้างในสมัยอื่น หรือวัดที่สร้างในสมัยเดียวกันก็ตาม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หรือ ที่เรียกกันสั้นๆว่า วัดราชบพิธฯ
ประวัติของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า วัดราบพิธฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร ตั้งอยู่กลางเมืองคือ ด้านทิศใต้ของกระทรวงมหาดไทย อยู่ในตำบล วัดราชบพิธเขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับพระอัครมเหสี วัดราชบพิธฯ เป็นวัดที่มีลักษณะพิเศษ ต่างไปจากวัดอื่นประการหนึ่งคือ เป็นวัดที่มีเสมาหรือสีมา ซึ่งเป็น เครื่องกำหนดเขตพระอุโบสถ แตกต่างไปจากวัดทั่วไป ซึ่งโดยปกติเสมาหรือสีมา จะมีอยู่ตาม มุมพระอุโบสถ หรือ ติดอยู่กับตัว พระอุโบสถ เช่นเสมาของพระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพฯเป็นต้น แต่เสมาของ วัดราชบพิธฯ เป็นเสมาขนาดใหญ่ และตั้งอยู่บนกำแพงรอบวัด ถึง ๘ ด้าน การตั้งเสมาหรือสีมา ให้ครอบครุมเนื้อที่รอบวัดนี้ เป็นการขยายเขตทำสังฆกรรมของสงฆ์ให้กว้างออกไป แทนที่จะทำได้ เฉพาะในพระอุโบสถ เท่านั้น การตั้งสีมาหรือเสมาลักษณะนี้ มีอยู่อีกวัดหนึ่งใกล้ๆกับวัดราชบพิธฯ คือวัด ราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม จากลักษณะการสร้างเสมาที่แตกต่างไปจากวัดอื่นนี้ ได้ เกี่ยวข้องกับชื่อวัดด้วยคือมีสร้อยว่า มหาสีมารามอันหมายถึง วัดที่มีเสมาใหญ่ หรือ มหาเสมา นั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็น วังของพระบรมเธอชั้น ๓ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ และบ้านเรือนราษฏร ใน บริเวณนั้น แล้ว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒ อันเป็นปีที่สอง ในรัชกาลของ พระองค์ ขณะที่พระองค์มี พระชนมายุเพียง ๑๘ พรรษา เท่านั้น แม่กองที่ดำเนินการ สร้าง วัดราชบพิธฯ คือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ซึ่งเป็นสถาปนิก ฝีมือเยี่ยม ในสมัยนั้น แม้ว่าเนื้อที่ของวัดราชบพิธฯจะไม่มากเหมือนวัดอื่นคือ ด้านยาวจากด้าน ตะวันออก ไปตามถนนเพื่องนคร ๓ เส้น ๖ ศอก ด้านใต้ซึ่งเป็นด้านกว้างตามคลองสะพานถ่าน กว้าง ๒เส้น ๘ วา จัดเป็นวัดเล็กๆเท่านั้น แต่จากการจัดวางฝังและแบ่งเนื้อที่ที่ดี ทำให้วัดราชบพิธฯมีความ งดงาม นอกจากนี้สิ่ง ก่อสร้าง ทางสถาปัตยกรรม ยังมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากวัดอื่นๆ มีพระอุโบสถ พระวิหารและระเบียงล้อมพระมหาเจดีย์ในลักษณะวงกลม ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เคย ปรากฏ มาก่อน
ารประดับตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคาร ยังทำอย่างประณีตบรรจง ตามลักษณะ ศิลปะซึ่งเป็นแบบพระราชนิยมในสมัยนั้น ความวิจิตรพิศดารของศิลปกรรมต่างๆ ในวัด ราชบพิธฯ ซึ่งนับ แต่แรกเริ่มสร้างมาจนปัจจุบันก็มีอายุถึง ๑๑๓ ปีแล้ว วัดราชบพิธฯจึงเป็นวัด ในใจกลางกรุง รัตนโกสินทร์ ที่มีศิลปกรรมล้ำค่าที่ควรแก่การชมอย่างยิ่ง
ศิลปกรรมสำคัญของวัดราชบพิธฯ
ศิลปกรรมล้ำค่าที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้ที่สำคัญที่สุดของวัดคือ พระอุโบสถ พระวิหาร และพระ ระเบียง ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากวัดอื่นอย่างมาก ตัวพระอุโบสถ เป็นพระ อุโบสถขนาด ๕ ห้อง มีพระวิหารประกอบ ๓ หลัง คือซ้าย ขวา และด้านหลัง ระหว่างวิหาร และพระอุโบสถ แต่ละช่วง จะเชื่อมกันด้วยวิหารคตเป็นลักษณะวงกลม มีพระเจดีย์ใหญ่ อยู่กลาง อันเป็นรูปแบบของการสร้าง โบสถ์วิหารแบบใหม่
อกเหนือไปจากลักษณะพิเศษในการวางผังแล้ว การตกแต่งประดับประดา ได้โปรดฯให้สั่ง กระเบื้องเคลือบมาจากเมืองจีน เพื่อประดับผนัง มาประดับผนังด้านนอก และ ชานพระ อุโบสถทั้งหมด ส่วนบานประตูหน้าต่าง ก็ประดับด้วยลายมุกทำเป็นลายไทย และ เครื่องราช อิสริยาภร์ต่างๆ ซึ่งสถาปนาขึ้นในรัชกาลนี้ออกแบบโดย ม.จ. ประวิช ชุมสายหรือ เจ้าครอกต๋ง ซึ่งเป็นสถาปนิก ฝีมือ เยี่ยมในสมัยนั้น ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มมงกุฏประดับปูนปั้นปิดทอง ประดับกระจกแพรวพราว ภายในพระอุโบสถก็ตกแต่งแปลกไปกว่าที่อื่น คือ ออกแบบผนัง และเพดานแบบศิลปะโกธิค ผนัง ระหว่างช่องหน้าต่าง ตกแต่งเป็นรูป พระราชลัญจกร ประจำรัชกาลพระองค์ คือตราแผ่นดินอันประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฏจักรี ตรี โล่ ช้าง ไอราพต พระมหาสังวาลย์นพรัตน์ พระสายสร้อย และ เครื่องเบญจราชกุธภัณฑ์ เป็นต้น ผู้ออกแบบทั้งหมดคือ เจ้าครอกต๋ง หรือ หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย เช่นกัน
ย่างไรก็ตามรูปแบบของพระอุโบสถ และวิหาร และการตกแต่งทั้งหมดนี้ จะเห็นว่าทำอย่าง วิจิตร พิศดาร มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ไม่มีที่ใดเหมือน นับเป็นวัดเด่นที่สุดวัดหนึ่งในสมัย รัชกาลที่ ๕
นอกจากพระอุโบสถ และพระวิหารแล้ว วัดราชบพิธฯ ยังมีศิลปกรรมที่ควรชมอีกหลายสิ่ง เช่น พลับพลาเปลื้องเครื่อง และเกย ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่ไม่ใคร่มีในวัดอื่น ลับพลานี้อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ ติดกับกำแพงวัด เป็นศาลาหลัง เล็กๆ มีผนังปิดทุกด้าน ประดับกระจกปิดทองงดงาม สร้างไว้สำหรับพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จ เข้าไปเปลื้องเครื่องทรง หรือเปลี่ยนเครื่องทรง ในการเสด็จไปพระราช ทานผ้าพระกฐินที่วัดนี้ พลับพลา นี้ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ก็เป็นสิ่งก่อสร้าง ที่แสดงถึงพระราช ประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินในสมัยนั้น
สิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ควรชมอีกอย่างหนึ่งของวัดราชบพิธฯ คือ สุสานหลวง ทาง ด้านทิศ ตะวันตกของพระอุโบสถ สุสานนี้ส่วนมากจะสร้างเป็นอนุสาวรีย์ บรรจุพระอัฐิ ของ เจ้านายในพระราชวงศ์จักรี ลักษณะของอนุสาวรีย์ ทำอย่างพิเศษ ต่างไปจากแห่งอื่นๆ คือ ทำเป็นศิลปะฝรั่ง แบบ โกธิค แบบศิลปะขอม และแบบศิลปะไทย บริเวณสุสานได้จัดตกแต่ง เป็นสวนมีไม้ดอก และซุ้มต้นไม้ ร่มรื่น นับเป็นสิ่งช่วยเสริมสร้างความกลมกลืนกับบริเวณอื่นๆ ของวัดได้ดี ศิลปกรรมต่างๆของวัดราชบพิธฯ ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าวัดนี้เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระราชนิยมของพระองค์ มีเอกลักษณ์ เฉพาะที่ แตกต่างไปจากวัดอื่นๆ และเป็นศิลปกรรมที่มีความวิจิตรพิสดารควรแก่การชม และการ ศึกษาหาความรู้เป็นอย่างยิ่ง

HOME BACK

1