วัดอรุณราชวราราม

ท่านที่เดินทางมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ว่าจะจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ หรือจากทิศใต้
ไปสู่ทิศเหนือ ตรงบริเวณเยื้องฝั่งตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง จะแลเห็นพระพุทธปรางค์วัด อรุณราชวราราม ลอยเด่น เป็นสง่า ดุจจะอยู่กลางแม่น้ำ เพราะพระปรางค์อยู่เหนือท้องคุ้ง
จึงเห็นเด่นทั้งทางทิศเหนือ หรือจากทิศใต้ น่าอัศจรรย์ ในความใจกล้าของช่างที่ออกแบบก่อสร้าง ในการกำหนดให้พระพุทธปรางค์ ขนาดมหึมา อยู่ริมตลิ่ง อันเป็น ท้องคุ้งน้ำเซาะ และถึงแม้ว่าองค์พระพุทธปรางค์จะสูง ถึง ๘๑ เมตร๘๕ เซนติเมตร ก็ดูไม่โงนเงน เพราะมี พระปรางค์ทิศประกอบอยู่สี่ทิศ ทำให้เกิดความรู้สึกว่า พระพุทธปรางค์ องค์ใหญ่ มั่นคง และ เมื่อเข้าชมใน ระยะใกล้ ก็จะเห็นความวิจิตร งดงาม ของลวดลายประดับต่างๆ ดังนั้น ในเอกสารของชาว ต่างประเทศที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ตั้งแต่ สมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ถือว่าพระพุทธปรางค์องค์นี้ เป็น สัญญาลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทย และเป็น ที่รู้จัก แพร่หลาย ทั่วไปในนานาประเทศวัดอรุณราชวราราม เป็น พระอารามหลวงที่สำคัญ ยิ่ง ของชาติวัดหนึ่งกรมศิลปากร จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียน เป็นโบราณ สถานสำคัญของชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ ทั้งนี้เพราะนอกจาก พระ พุทธ ปรางค์ พระอุโบสถ พระระเบียงคต พระวิหาร เป็น ศิลปกรรม ชั้นยอดของชาติแลัว พระอารามหลวงแห่งนี้ยังมีความสำคัญใน ประวัติศาสตร์ ตั้งแต่รัชกาล สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช และถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วย
วัดอรุณราชวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของแม่น้ำ เจ้าพระยาและฟากตะวันออกของถนนอรุณอัมรินทร์ ระหว่างคลองนครบาลหรือ คลองวัดแจ้ง กับ พระราชวัง เดิมซึ่งเป็นกองบัญชาการกองทัพเรือในปัจจุบัน และอยู่ในพื้นที่ แขวงวัดอรุณเขตบางกอก ใหญ่ กรุงเทพ มหานคร เป็นวัดโบราณสร้างมา ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาเดิมเรียกว่าวัดมะกอก ภายหลัง เติมเป็นชื่อ วัด มะกอกนอก แล้วเปลี่ยนเป็น วัดแจ้ง วัดอรุณราชธาราม และวัด อรุณราชวราราม ดัง ปัจจุบันตามลำดับ มูลเหตุที่ วัดนี้มี ชื่อว่าวัดมะกอก สันนิษฐานว่าคงมาจากชื่อตำบลบางมะกอก จึง เรียกว่าวัดมะกอก ต่อมา มีวัดมะกอกใน ในคลองบางมะกอกใหญ่เกิดขึ้นจึงต้องเรียกวัดมะกอกเดิมว่า วัดมะกอกนอก เพื่อให้ทราบว่าเป็นคนละวัด ส่วนที่เปลี่ยนเป็นวัดแจ้งนั้น เล่ากันเป็นปรัมปราสืบ
มาว่าเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้กรุง
ศรีอยุธยาได้แล้ว มีพระราช ประสงค์จะย้าย ราชธานี มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาพล ล่องมา ทาง ชลมารคเมื่อถึงหน้าวัดนี้ก็ได้ อรุณ หรือรุ่งแจ้งพอดี ทรง พระราชดำริเห็นเป็นอุดมมงคลฤกษ์ จึงโปรดให้เทียบ เรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ แล้ว เสด็จขึ้นไปทรงสักการะบูชา พระมหาธาตุองค์เดิมซึ่งสูง ๘ วา ต่อมา เมื่อ ทรงบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดนี้ใหม่ แล้ว จึงเปลี่ยนชื่อ เป็นวัดแจ้ง เพื่อให้ เหมาะกับเหตุการณ์ อย่างใด ก็ตาม ในแผนที่เมืองธนบุรี ที่เรือเอก เดอ ฟอร์บัง และนายช่าง เอด ลามาร์ ชาว ฝรั่งเศส ทำไว้ใน สมัยสมเด็จ พระนารายณ์ มหาราช ได้ระบุชื่อและที่ตั้งวัดเลียบ หรือ วัดแจ้งไว้ แลัว เพราะฉะนั้นคำบอกเล่า ปรัมปราว่า สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดแจ้ง จึงน่าจะตกไป
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่ครั้ง ยังทรง ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้า ลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และประทับอยู่ ที่พระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี นั้นได ้ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่ มาสำเร็จลงใน พ.ศ.๒๓๖๓ อันเป็นระยะเวลาที่ทรงเสวยราช สมบัติ แล้วได้ ๑๒ ปี จึงโปรดเกล้าฯให้มี การฉลองแล้ว พระราชทาน ชื่อใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม ถึง สมัย รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้บูรณะปฏิสังขรณ์ เพิ่มเติมอีก แล้วทรง เปลี่ยนสร้อยชื่อวัดเป็นวัดอรุณราชวราราม ดังที่เรียกกันมาจน ปัจจุบัน ที่กล่าวกันว่า พระ อารามหลวงแห่งนี้ มีความสำคัญใน ทางประวัติศาสตร์ เพราะเมื่อ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสร้าง พระราชวังใหม่ ทรงเอากำแพงป้อมวิชัยประสิทธิ์ เป็นที่ตั้งพระราชวัง แลัวขยายเขต กั้น ออกไปถึงคลอง นครบาล หรือ คลองวัดแจ้ง ดังนั้นวัดแจ้ง จึงตกเข้ามาอยู่กลาง พระราชวัง จำเป็นต้องยกเว้นเลิก มิให้พระ สงฆ์อยู่อาศัย และได้ทรงปฎิสังขรณ์พระอุโบสถ และ พระวิหาร ของเดิม ที่อยู่หน้าพระพุทธปรางค์ ให้บริบูรณ์ดีเท่าที่จะทำได้
ครั้นถึง พ.ศ.๒๓๒๒ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช แต่ยังดำรงพระยศ เป็นเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกตีได้เมืองเวียงจันทร์ ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์ คือ พระแก้วมรกต และ พระบาง ลงมา ด้วยสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี โปรดให้ จัดขบวนแห่ ขึ้นไปรับ และ อัญเชิญ ไว้ ณ วัดแจ้งนี้ เป็น เวลา ๕ ปี จึงอัญเชิญ มาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ ต่อมา
ในปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เกิดจลาจลมี เหตุการณ์วุ่นวายในแผ่นดิน พระยาสวรรค์ ได้ยึด อำนาจ การปกครอง บังคับให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงผนวช เป็นพระภิกษุ แล้วเชิญเสด็จไปคุม พระองค์ไว้ที่พระอุโบสถหลังเดิมนั้น ปัจจุบันในพระอุโบสถหลังนี้ยังมีพระแท่น ประทับเป็นไม้ กระดาน แผ่นเดียว กว้าง ๑๗ นิ้วฟุต ยาว ๑๒๐ นิ้วฟุต ตั้งอยู่ ความสำคัญของวัด อรุณราชวรารามอีกประการคือเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชประเพณีสร้างวัดประจำรัชกาลเป็น พระราชประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกันมาแต่ สมัย กรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงทุ่มเทพระราชทรัพย์เป็น จำนวน มาก สถาปนาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารขึ้น จาก วัดโบราณ และ
ต่อมาก็ได้อัญเชิญ
พระบรมอัฐิของพระองค์ท่าน มาบรรจุไว้ที่ผ้าทิพย์แท่นชุกชี พระประธาน ในพระอุโบสถ จึงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ วัดประจำรัชกาลที่๒ คือวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ ยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และได้ทรงผูกพันอยู่กับวัดนี้มาก จนถึงขนาดทรงปั้นหุ่น พระพักตร์พระประธานในพระอุโบสถด้วยพระองค์เอง วัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือวัดราชโอรสา รามราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างตั้งแต่ยังเป็นพระเจ้า ลูกยาเธอ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงเป็นวัดที่นำศิลปกรรมแบบจีน เข้ามาผสมผสาน กับ ศิลปกรรมไทยได้อย่างกลมกลืน งดงามยิ่ง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นวัด ประจำ รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นในสวนหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นวัดฝ่าย ธรรมยุติกนิกายที่อยู่ใกล้ สามารถทรงบำเพ็ญพระ ราช กุศล ได้อย่างสะดวก วัดประจำรัชกาล นั้นข้อสำคัญ คือต้องมีการอัญเชิญ พระบรมอัฐิ หรือพระบรมราช สริรังคาร ในรัชกาลนั้น มาประดิษฐานไว้ที่ผ้าทิพย์ ใต้ พระพุทธบัลลังก์พระ ประธานในพระอุโบสถ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ เสด็จ เสวยราชสมบัติได้เพียง ๒ ปี ก็โปรด ให้ สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหารขึ้น เป็น วัด ประจำรัชกาลตามประเพณี แต่ต่อมา ใน ปลายรัชกาล ได้ทรงสร้างวัดเบญมบพิตร ดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ขึ้นเป็นเพระอารามหลวง ประจำ พระราชวัง ดุสิต เมื่อเสด็จสวรรคต แล้วได้อัญเชิญ พระบรมราชสริรังคาร มาบรรจุไว้ที่ใต้พระประธาน ในพระอุโบสถ และมีการ บำเพ็ญพระราชกุศลถวาย เนื่องในวันคล้ายวัน เสด็จ สวรรคตที่วัดนี้เป็น ประจำทุกปี

HOME NEXT

 

1