วัดอรุณราชวราราม

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศ พระบรมราชโองการ ชัดเจน ว่าไม่ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล เพราะมีอารามหลวงมากพอแล้ว จึงได้ทรงสถาปนา โรงเรียน มหาดเล็กหลวง หรือ โรงเรียน วชิราวุธในปัจจุบันขึ้น เพื่อเป็น อนุสาวรีย์ดุจดัง พระอาราม หลวงประจำรัชกาล ของพระองค์ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วได้อัญเชิญ พระบรมราชสริรังคาร ไปบรรจุ ไว้ที่พระพุทธบัลลังก์ พระประธานใน พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ที่เคยทรงผนวช ส่วน วัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวคือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เนื่องจาก ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และ วัดประจำ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อนันทมหิดล ได้แก่วัดสุทัศน์เทพวราราม และมีการอัญเชิญ พระ บรมราชสริรังคาร ไปบรรจุไว้ใต้ พระพุทธ บรรลังก์ พระ ประธาน ในพระวิหารหลวง จึงสรุปได้ว่า วัดประจำ รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา ไม่มีหลักฐาน เป็น ทางการ นอกจากเป็นที่เข้าใจกัน และในทางปฏิบัติ เมื่อมีพระราชพิธีเกี่ยว เนื่องกับ พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาล ใด ทางสำนักพระราชวังก็จะนิมนต์พระสงฆ์วัด นั้นมาในพระราชพิธีนั้น
เพราะเหตุที่พระพุทธปรางค์เป็นศิลปกรรมที่สง่างาม เด่น ที่สุดในวัดอรุณราชวรารามจึงขอบรรยาย รายละเอียด ของพุทธศิลป์องค์นี้พอสังเขป พระพุทธปรางค์ เดิมที่ สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีหลักฐานว่า มีลักษณะ เป็นแบบใด นอกจาก กล่าวว่าสูงประมาณ ๘ วา เป็น ปูชนียสถานที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์และ วิหารน้อย หน้าพระพุทธปรางค์ เมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศ หล้านภาลัย เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติแล้ว มีพระราช ศรัทธาจะเสริมสร้างให้สูงใหญ่เป็นพระมหาธาตุสำหรับ พระนคร แต่ทรงกระทำได้เพียงโปรดให้กะที่ขุดราก เตรียมไว้เท่านั้น การยังค้างอยู่เพราะสวรรคตเสียก่อน ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ มีพระ ราชดำริ ที่จะสนอง พระราชประสงค์ ของสมเด็จพระบรมชนกนารถ จึงโปรดให้เสริมสร้างพระปรางค์ใหญ่สูงถึง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว ข้อที่ ควร สันนิษฐาน คือการออกแบบ พระพุทธปรางค์ สำเร็จลงใน รัชกาลที่ ๒ หรือรัชกาลที่ ๓ ผู้สร้าง ผู้เรียบเรียง ได้ เคยพบ หลักฐานว่า การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในสมัยโบราณช่างจะทำหุ่นจำลองขึ้น ให้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร
พระราชทาน พระราช วินิจฉัย ดังนั้นถึงแม้ว่า การ สถาปนาพระพุทธ ปรางค์ ในรัชกาลที่ ๒ จะกระทำ เพียงกะที่ขุดรากหรือเรียก อย่างปัจจุบันว่าการลง เสาเข็มได้ถูกต้อง และโดยพระราช อัธยาศัยก็ โปรดทรงงานศิลปหัตถกรรม ด้วยพระองค์เอง การ สถาปนาพระมหาธาตุประจำพระนครทั้งที พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้องทรงสนพระ ราชหฤทัย ควบคุมการออกแบบหรือภาษาโบราณว่า "ให้อย่าง" ด้วยพระองค์เองแน่ พระปรางค์ที่เห็น ในปัจจุบันได้รับการบูรณะ ครั้งใหญ่ใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีรั้วล้อมทั้ง ๔ ด้าน ตอนล่าง เป็นกำแพง ก่ออิฐ ถือปูนเตี้ยๆ ทาด้วยน้ำปูนสีขาว ตอนบนเป็นรั้วเหล็ก ทาสีแดง มีรูป ครุฑ จับนาคติดอยู่ ตอนบนทุกช่องแต่ละช่องกั้นด้วยเสาก่ออิฐถือปูนด้านตะวันตกหลังพระพุทธปรางค์ มี เก๋งจีนแบบของเก่า เหลืออยู่ ๑ เก๋ง หน้าบัน และใต้เชิงชายประดับด้วย กระเบื้อง เคลือบสี ประตูเข้า พระพุทธ ปรางค์เดิมมี ๙ ประตู เป็นประตูซุ้ม แบบวัดราชประดิษฐ์ ซุ้มเหนือ บานประตู ทำเป็นรูปพระ ราช ลัญจกรประจำรัชกาล ๕ รัชกาล คือ รัชกาลที่๑ รูปอุณาโลม อยู่ในกลีบบัว รัชกาลที่ ๒ รูปครุฑจับนาค รัชกาลที่ ๓ รูปอุณาโลม ใน พระมหาปราสาท รัชกาลที่ ๔ รูป พระมหามงกุฏ และ รัชกาลที่ ๕ รูปพระเกี้ยว ลานพระพุทธ ปรางค์ ตั้งแต่รั้วถึงฐานพระพุทธปรางค์ ปูด้วยกระเบื้องหิน แต่ละมุม ด้านใน ของรั้วมีแท่น ก่อไว้ ลายเป็น ขาโต๊ะ ตั้งติดกัน เข้าใจว่าคงเป็นที่ตั้งเครื่องบูชา หรือวางของ รอบๆ ฐานพระพุทธปรางค์ มีตุ๊กตา หินแบบจีน เป็นรูป สัตว์ต่างๆ เช่น วัว ควาย ลิง สิงห์โต กับรูปทหารจีน ตั้งไว้เป็นระยะๆ พระพุทธ ปรางค์องค์ใหญ่ มีบันไดขึ้น สู่ทักษิณชั้นที่ ๑ ระหว่าง ปรางค์ทิศและมณฑปทิศ หรือ ปราสาททิศ ด้านละ ๒บันได รวม ๔ ด้าน เป็น ๘ บันได เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ ๑ เป็นฐาน ของ ทักษิณ ชั้นที่ ๒ รอบฐานมีรูป ต้นไม้ประดับด้วย กระเบื้อง เคลือบสีต่างๆ เหนือขึ้นไป เป็น เชิงบาตร ประดับด้วย กระเบื้องเคลือบ สี ลาย ดอกไม้ ใบไม้ มีบันไดขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ ๒ ตรง หน้ามณฑปทิศ มณฑปละ ๒ บันได คือทางซ้ายและ ขวา ของมณฑป รวม ๘ บันได เหนือ พื้น ทักษิณชั้นที่ ๒ เป็นฐานของ ทักษิณ ชั้นที่ ๓ มีช่อง รูปกินนร และ กินรี สลับกัน โดยรอบ

NEXT

 

1